บทที่ ๒ การจัดและหน้าที่ความรับผิดชอบ

บทที่ ๒

การจัดและหน้าที่ความรับผิดชอบ


๑. ทั่วไป

การใช้ ป.สนาม ให้ได้ผลนั้น โดยปกติแล้วต้องการการตรวจการณ์บางแบบประกอบด้วยเสมอ อาจจะเป็นการตรวจการณ์ด้วยสายตา (คน) ตรวจการณ์ด้วยเครื่องมืออีเลคโทรนิคต่าง ๆ (เช่น เรดาร์) หรือการตรวจการณ์ทางอ้อมใด ๆ (เช่น ศึกษาภาพถ่ายทางอากาศ)

ผู้ตรวจการณ์หน้าเป็นเจ้าหน้าที่หลักคนหนึ่งในระบบการตรวจการณ์ของทหารปืนใหญ่ จึงจัดประจำหน่วย ทหารปืนใหญ่เกือบจะทุกหน่วยในรูปของหมู่ตรวจการณ์หน้า

๒. การจัดหมู่ตรวจการณ์หน้า

ก. โดยปกติหมู่ตรวจการณ์หน้าประกอบด้วย

๑) ผู้ตรวจการณ์หน้า ยศร้อยโท ๑ นาย

๒) นายสิบลาดตระเวน ยศจ่าสิบเอก ๑ นาย

๓) นายสิบติดต่อ ยศจ่าสิบเอก ๑ นาย

๔) พลวิทยุโทรศัพท์ ยศสิบตรี ๑ นาย

๕) ทหารบริการ พลทหาร ๑ นาย จาก บก.ร้อย

ข. อาวุธยุทโธปกรณ์ที่สำคัญ

๑) รยบ. ๑/๔ ตัน พร้อมรถพ่วง ๑ คัน

๒) วิทยุ AN/GRC – 160 ๑ เครื่อง

๓) วิทยุ AN/PRC – 68 ๒ เครื่อง

๔) โทรศัพท์สนามพร้อมสาย ๑/๒ ไมล์ ๓ เครื่อง

๕) กล้องสองตา ๒ กล้อง

๖) ปลย. เอ็ม. ๑๖ ๔ กระบอก

๗) เข็มทิศ เอ็ม.๒ ๔ อัน

๘) นาฬิกาจับเวลา ๑ เรือน

ค. หมู่ตรวจการณ์หน้าจัดไว้ในหน่วยต่าง ๆ ดังนี้

๑) ในร้อย ป. ของ พัน ป.ชต. (๑๐๕ มม.) กองร้อยละ ๓ หมู่

๒) ในร้อย บก.และบร พัน ป.ชร.(๑๕๕ มม.) ๒ หมู่

ง. ศป. มีแนวความคิดในอันที่ปรับอัตราการจัดของหมู่ตรวจการณ์หน้าใหม่ ให้เหมาะกับภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น (ขณะนี้ยังไม่ด้เปลี่ยนแปลง) โดยเปลี่ยนชื่อเป็นชุดยิงสนับสนุน (ชยส. Fire Support Team = FIST) ดังนี้

๑) หัวหน้าชุดยิงสนับสนุน (Fist Chief) ร.ท. ๑ นาย

๒) นายสิบยิงสนับสนุน (FS SGT) จ. ๑ นาย

๓) ผู้ตรวจการณ์หน้า (FO) จ. ๓ นาย

๔) พลวิทยุโทรศัพท์ (ผช.ผตน. RTO ASS FO) ส.อ. ๓ นาย

๕) พลขับ (พข. Driver) ส.อ. ๒ นาย

๖) ยุทโธปกรณ์หลักประกอบด้วย

ก) รยบ. ๑/๔ ตัน พร้อมรถพ่วง ๒ คัน

ข) วิทยุ VRC – 47 ๑ เครื่อง

ค) วิทยุ GRC – 160 ๒ เครื่อง

ง) วิทยุ PRC – 77 ๓ เครื่อง

จ) โทรศัพท์ ๖ เครื่อง

ฉ) เครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์ ๔ กล้อง

๗) ขีดความสามารถที่ต้องการคือ

ก) สามารถจัดพวก ผตน. พวกละ ๒ นาย ได้ ๓พวก และเมื่อจำเป็นอาจจัดพวกที่ ๔ ก็ได้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจการณ์ให้เพียงพอกับความจำเป็น

ข) สามารถประสานการยิงสนับสนุนให้กับกองร้อยกลยุทธแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓. หน้าที่หรือความรับผิดชอบของ ผตน.

ก. ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการณ์หน้านั้น หมายความว่าได้รับมอบงานหลัก (Job) หรือ ชกท. ให้ ย่อมมีหน้าที่ (Duties) หรือความรับผิดชอบ (Responsibilities) หลายประการ และแต่ละหน้าที่ก็จะมีงาน (Tasks) ที่จะต้องกระทำให้ได้อยู่หลายงาน หรือ หลายกิจกรรมด้วยกัน

ข. ความจริงมีอยู่ว่าผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งอย่างแท้จริงนั้น จะต้องรู้ว่าตนมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องอะไร และต้องรู้ว่ามีงานอะไรบ้างที่ตนจะต้องทำเพื่อให้บรรลุความรับผิดชอบนั้น รู้วิธีทำงานนั้น และฝึกฝนทำงานนั้นมาแล้วอย่างเชี่ยวชาญ

ค. หน้าที่ความรับผิดชอบของ ผตน. นั้นมีหลายอย่าง แต่เมื่อสรุปลงแล้วจะได้ ๔ ประการหลัก ๆ คือ

๑) หน้าที่ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของชุดหลักยิงหรือระบบหลักยิง

๒) หน้าที่ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของระบบค้นหาเป้าหมาย

๓) หน้าที่ในฐานะเป็นผู้ประสานการยิงสนับสนุนของกองร้อย

๔) หน้าที่ในฐานะผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วย

๔. งานของ ผตน. ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของชุดหลักยิง

ก. ชุดหลักยิง ( Gunnery Team) ของทหารปืนใหญ่ ประกองด้วย ผู้ตรวจการณ์ ศูนย์อำนวยการยิงและส่วนยิง ผู้ตรวจการณ์หน้าเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจการณ์

ข. ระบบหลักยิง (Gunnery System) ได้แก่ระบบของทหารปืนใหญ่ส่วนหนึ่งในอันที่จะหาหลักฐานยิงให้กับอาวุธและกระสุนซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย, ที่ตั้งอาวุธ และกรรมวิธีในการหาหลักฐานยิง ผตน. เกี่ยวข้องกับการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กับที่ตั้งอาวุธที่จะทำการยิง

ค. งานของ ผตน. ในบทบาทนี้หลัก ๆ ก็คือ ช่วยในการแก้ปัญหาทางหลักยิงให้สามารถทำการยิง ป. ได้อย่างรวดเร็ว,ทันเวลา,แม่นยำและได้ผลดียิ่งขึ้นด้วยการกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย, การขอยิง, การปรับการยิง และตรวจผลการยิง งานที่จะต้องทำให้ได้มาตรฐานได้แก่

๑) การเลือกและการใช้ที่ตรวจการณ์

๒) การเขียนภาพภูมิประเทศสังเขป

๓) การหาทิศทางในบริเวณเป้าหมาย

๔) การกำหนดและรายงานที่ตั้งตรวจการณ์

๕) การรายงานสถานการณ์ทางยุทธวิธีไปยัง ศอย. และนยส.

๖) การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีพิกัดตาราง

๗) การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีโปล่าร์

๘) การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีย้ายจากจุดที่ทราบ

๙) การเตรียมและการส่งคำขอยิง

๑๐) การปรับการยิงเป็นพื้นที่โดยวิธีสร้างห้วงควบตามลำดับขั้น

๑๑) การปรับการยิงบนพื้นที่โดยวิธีสร้างห้วงควบเร่งด่วน

๑๒) การขอและปรับการยิงกระสุนส่องแสงโดยวิธีส่องสว่างต่อเนื่องและประสานส่องสว่าง

๑๓) การขอและปรับการยิงโดยการยิงคืบ

๑๔) การขอและการปรับการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย

๑๕) การขอและการปรับการยิงเป้าหมายรูปร่างผิดปกติ

๑๖) การขอและการปรับการยิงโดยเทคนิคการใช้เสียง

๑๗) การหาทิศทางหรือพิกัดของตำบลใด ๆ โดยใช้เทคนิคการยิงหมายพิกัด

๑๘) การดำเนินการยิงควันฉับพลัน

๑๙) การดำเนินการยิงฉากควันเร่งเด่วน

๒๐) การดำเนินการยิงข่มฉับพลัน

๒๑) การดำเนินการยิงข่มเร่งด่วน

๒๒) การเลือกและกำหนดที่ตั้งจุดยิงหาหลักฐานและจุดอ้าง

๒๓) การดำเนินการยิงหาหลักฐานประณีต

๒๔) การดำเนินการยิงหาหลักฐานแบบ เอบีซีเอ

๒๕) การดำเนินการยิงโดยวิธีตรวจการณ์ร่วม

๒๖) การดำเนินการยิงทำลาย

๒๗) การดำเนินการยิงหาหลักฐานของ ค.

๒๘) การขอและการปรับการยิงปืนเรือ

๒๙) การขอและปรับการยิง ๒ ภารกิจพร้อมกัน

๓๐) การดำเนินการยิงต่อ ม. ที่ปรากฏและหายไปอย่างรวดเร็ว

๓๑) การดำเนินการยิงกระสุนพิเศษอื่น ๆ

๕. งานของ ผตน. ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของระบบ คปม.

ก. ในระบบ คปม. ผู้ตรวจการณ์หน้าย่อมมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการค้นหา, พิสูจน์ทราบ และกำหนดที่ตั้งเป้าหมายต่าง ๆ ให้ถูกต้องและทันเวลาพอที่จะโจมตีอย่างได้ผล

ข. การเฝ้าตรวจสนามรบแล้วรายงานข่าวสารต่าง ๆ ให้หน่วยเหนือและหน่วยที่เกี่ยวข้องได้ทราบ งานที่จะต้องทำให้ได้มาตรฐานในบทบาทนี้ได้แก่

๑) การเตรียมและดำเนินกรรมวิธีต่อแผนผังการมองเห็น

๒) การวิเคราะห์และรายงานหลุมระเบิดและสะเก็ดระเบิด

๓) การรวบรวมและรายงานข่าวสาร

๔) การดำเนินกรรมวิธีต่อเชลยศึกหรือผู้ต้องสงสัย

๕) การจดจำทหารและยุทโธปกรณ์ของข้าศึก

๖) การจดจำยานเกราะของข้าศึก

๗) การจดจำอากาศยานของข้าศึก

๘) การเฝ้าตรวจสนามรบ

๖. งานของ ผตน. ในฐานะเป็นผู้ประสานการยิงสนับสนุนของกองร้อย

ก. ในฐานะ ผปยส. ของกองร้อยกลยุทธ ผตน. ย่อมมีความรับผิดชอบหรือหน้าที่หลักในการให้คำแนะนำแก่ ผบ.ร้อย ที่ตนสนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องการยิงสนับสนุนทั้งปวง

ข. การวางแผนและประสานการยิงสนับสนุน ให้ผสมผสานเข้ากับแผนการดำเนินกลยุทธของหน่วยนั้น งานหรือความชำนาญในเรื่องนี้ได้แก่

๑) การเตรียมและดำรงแผนที่การยิงสนับสนุน

๒) การเตรียมและดำรงแผนสถานภาพการยิงสนับสนุน

๓) การเตรียมแผ่นบริวารแผนที่

๔) การเตรียมแผ่นบริวารขีดความสามารถของการยิงสนับสนุน

๕) การเตรียมและการดำเนินกรรมวิธีต่อบัญชีเป้าหมาย

๖) การนำ สอก. เข้าโจมตีเป้าหมาย

๗) การวางแผนการยิงสนับสนุนการรบด้วยวิธีรุก

๘) การวางแผนการยิงสนับสนุนการรบด้วยวิธีรับ

๙) การให้คำแนะนำ ผบ.หน่วยกลยุทธเกี่ยวกับเรื่องการยิงสนับสนุนทั้งฝ่ายเรา และฝ่ายข้าศึก

๑๐) การขอการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดและบรรยายสรุปให้นักบิน

๑๑) การรายงานแผนกลยุทธและแผนการยิงสนับสนุนให้หน่วยเหนือ และ สยส. ทราบ

๑๒) การประสานการยิงให้กับกองร้อยกลยุทธ

๑๓) การขอ ฮ. โจมตี

๑๔) การเตรียม การใช้และส่งข่าวแผนการยิงเร่งด่วน

๑๕) การวิเคราะห์เป้าหมายและพิจารณาใช้อาวุธโจมตี

๗. งานของ ผตน. ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วย

ก. ผู้ตรวจการณ์หน้าในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วย ย่อมมีความรับผิดชอบหลักเช่นเดียวกัน ผู้บังคับบัญชาทั้งหลาย คือ เตรียมคนและหน่วยของตนให้พร้อมที่จะปฏิบัติงานในความรับผิดชอบอย่างดีที่สุดและควบคุม กำกับดุแลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ข. โดยสรุป ได้แก่งานของนายทหารสัญญาบัตรทุกนายของกองทัพบกคือ

๑) ปกครองบังคับบัญชา

๒) ปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จโดยให้ประหยัดหรือคุ้มค่า

๓) เตรียมหน่วยให้พร้อมรบโดยให้ประหยัดหรือคุ้มค่า

๔) วางแผนระยะปานกลางและระยะยาว

๕) กำหนดนโยบายและแปลนโยบายของหน่วยเหนือ

๖) กำหนดมาจรฐานต่าง ๆ

๗) สร้างหรือกำหนดระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการปฏิบัติงาน

๘) บริหารและแบ่งมอบกำลังพลและทรัพยากรต่าง ๆ

๙) ดำเนินการฝึกเป็นหน่วย รวมทั้งการวางแผน การจัดหาทรัพยากร การฝึกและการประเมินค่า

๑๐) อำนวยการให้การปฏิบัติงานของหน่วยประหยัดหรือคุ้มค่า

๑๑) การแบ่งมอบอำนาจหน้าที่

๑๒) การติดต่อสื่อสารอย่างถูกต้องและทันเวลาโดยระบบ ๒ ทาง ภายในสายการบังคับบัญชา

๑๓) พัฒนาและฝึกนายทหารและนายสิบใต้บังคับบัญชาของตน

๑๔) พัฒนาและปรับปรุงตนเองให้มีมาตรฐานสูงขึ้น

๑๕) อำนวยการกิจการธุรการและส่งกำลังบำรุงทั้งปวง

๑๖) ให้การสนับสนุนนายสิบและพลทหาร

ค. สำหรับนายสิบในหมู่ตรวจการณ์หน้า ไม่ว่าจะทำหน้าที่ในตำแหน่งใด ย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบ เช่น เดียวกับนายสิบอื่น ๆ โดยทั่วไปนอกเหนือจากงานที่ตนได้รับมอบ กล่าวคือ

๑) ปรับปรุงและพัฒนาพลทหารทั้งเป็นการส่วนตัวและหน้าที่

๒) ฝึกเป็นบุคคลให้กับพลทหารทั้งในการฝึกเบื้องต้นและฝึกตาม ชกท.

๓) ให้ทีม ตอนหรือหมู่ของตนปฏิบัติงานได้อย่างคุ้มค่า

๔) ปรับปรุงลักษณะท่าทางและสภาพร่างกายของทหาร

๕) ทำความคุ้นเคยกับทหารทั้งทางกายและทางใจ รวมไปถึงครอบครัวของเขาด้วย

๖) แนะนำ ควบคุมและรักษาวินัยให้ทวีขึ้นกับนายสิบและพลทหารใต้บังคับบัญชา

๗) ติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลและระหว่างหน่วย

๘) วางแผนและปฏิบัติงานประจำวันของหน่วยภายใต้กรอบของนโยบายที่นายทหารกำหนดขึ้น

๙) ดำรงรักษามาตรฐานของนายทหารชั้นประทวนและพลทหาร ให้มีสมรรถภาพทางทหารอย่างเพียงพอ

๑๐) ซ่อมบำรุง ดูแลรักษาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ได้รับมอบให้พร้อมอยู่เสมอ

๑๑) ดูแลรักษาสำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ทำงานให้สะอาดและเป็นระเบียบ

๑๒) แนะนำ สนับสนุน ตามและร่วมปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายทหารกำหนดขึ้น

ง. หากสรุปกฎหรือหน้าที่ความรับผิดชอบเหล่านี้สั้น ๆ จะได้ว่า

๑) นายทหารบังคับบัญชา วางแผน กำหนดนโยบายและบริหารหน่วยงาน ส่วนนายสิบทำงานประจำวันของหน่วยภายใต้นโยบายที่กำหนด

๒) นายทหารพุ่งความพยายามไปที่การฝึกเป็นหน่วย เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจได้ลุล่วง ส่วนนายสิบพุ่งความพยายามไปยังการฝึกเป็นบุคคล ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติภารกิจมีประสิทธิภาพ

๓) นายทหารมุ่งอยู่ที่ประสิทธิภาพและความพร้อมรบของหน่วย ส่วนนายสิบนั้นมุ่งอยู่ที่ความพร้อมรบ และการใช้งานได้ดีของอาวุธยุทโธปกรณ์ และประสิทธิภาพของการทำงานของตัวนายสิบและพลทหารในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของทีม

๔) นายทหารนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของหน่วย ส่วนนายสิบนั้นเพ่งเล็งที่ตัวทหารแต่ละคนและการนำทีม

๕) นายทหารสนใจโดยเฉพาะต่อมาตรฐาน เกียรติภูมิและสถาบันอาชีพนายทหาร ส่วนนายสิบสนใจโดยเฉพาะต่อมาตรฐาน เกียรติภูมิและสถาบันอาชีพนายสิบและพลทหาร

๘. ผู้ตรวจการณ์หน้าและนายสิบทุกคนในหมู่ในฐานะเป็นทหารปืนใหญ่

ผู้ตรวจการณ์หน้าและเจ้าหน้าที่ทุกนายจะต้องสามารถปฏิบัติงานซึ่งเป็นความชำนาญเบื้องต้นของทหารปืนใหญ่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย งานเหล่านี้ได้แก่งานเกี่ยวกับการที่จะอยู่รอดในสนามรบ และการปฏิบัติการยุทธให้บรรลุผลด้วยดีได้แก่งานเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้

ก. การติดต่อสื่อสาร

๑) การเตรียมและการใช้ตู้สลับสาย SB – 993/GT

๒) การใช้ตู้สลับสาย SB – 22/PT

๓) การติดตั้งโทรศัพท์สนาม

๔) การใช้โทรศัพท์สนาม

๕) การปรนนิบัติบำรุงโทรศัพท์สนาม และสายโทรศัพท์สนาม

๖) การวางสายและการเก็บสาย

ข. การติดต่อสื่อสารด้วยวิทยุ

๑) การติดตั้งและการใช้เครื่องควบคุมระยะไกล

๒) การติดตั้งและการใช้วิทยุ AN/VRC – 64

๓) การติดตั้งและการใช้วิทยุ AN/VRC – 46

๔) การติดตั้งและการใช้วิทยุ AN/PRC – 77 หรือ PRC – 25

๕) การเตรียมและการใช้ประมวลลับ

๖) การปรนนิบัติบำรุงวิทยุแบบต่าง ๆ

ค. ระเบียบการติดต่อสื่อสาร

๑) การส่ง – รับข่าวทางวิทยุโทรศัพท์

๒) การเข้าและการถอดประมวลลับ

๓) การใช้เครื่องมือเข้าประมวลอัตโนมัติ

๔) การใช้เครื่องมือรหัสรับรองฝ่ายหรือระบบรับรองฝ่าย

๕) การเข้าและถอดรหัสตัวเลขและอักษรประจำกริดโซน

๖) การใช้ระบบการ รปภ. ทางการสื่อสาร

๗) การใช้ระบบต่อต้าน ต่อต้านอีเลคโทรนิค

๘) การใช้การสื่อสารสำรอง

ง. การอ่านแผนที่และการใช้เข็มทิศ

๑) การกำหนดจุดลงในแผนที่หรือภูมิประเทศด้วยวิธีสกัดตรง

๒) การวางแผนที่ให้ถูกทิศประกอบกับภูมิประเทศ

๓) การวางแผนที่ให้ถูกทิศโดยใช้เข็มทิศ

๔) การหาที่ตั้งของจุดโดยใช้แผนที่ประกอบภูมิประเทศ

๕) การหาความสูงของจุดต่าง ๆ โดยใช้เส้นลายขอบเขา

๖) การวัดระยะบนแผนที่

๗) การหาระยะระหว่าง ๒ จุดขณะเคลื่อนที่

๘) การกำหนดจุดลงบนแผนที่ด้วยวิธีสกัดกลับ

๙) การเดินทางโดยใช้แผนที่ประกอบเข็มทิศ

๑๐) การวัดมุมภาคโดยใช้เข็มทิศ

๑๑) การเปลี่ยนมุมภาคเข็มทิศเป็นมุมภาคตาราง

๑๒) การวัดมุมภาคบนแผนที่

๑๓) การหาพิกัดของจุดบนแผนที่

๑๔) การเลือกเส้นทางเคลื่อนที่จากแผนที่

จ. ความชำนาญเกี่ยวกับยุทธวิธีเบื้องต้น

๑) การซ่อนเร้นและการพรางตนเองและของใช้ส่วนตัว

๒) การซ่อนเร้นและการพรางอาวุธยุทโธปกรณ์

๓) การซ่อนเร้นและการพรางที่ตั้ง

๔) การสร้างป้อมสนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลุมบุคคล

๕) การใช้สัญญาณผ่าน

๖) การเตรียมและใช้แผ่นจดระยะสำหรับแต่ละอาวุธ

๗) การเคลื่อนที่ในเวลากลางวันและกลางคืน

๘) การกะระยะ

๙) การเคลื่อนที่ภายใต้การยิงเล็งตรง

๑๐) การปฏิบัติเมื่อถูกยิงด้วยอาวุธระยะไกล

๑๑) การถากถางพื้นยิง

๑๒) วินัยในการใช้แสง เสียง และวินัยการทิ้งขยะ

ฉ. การปฐมพยาบาล

๑) การผายปอดหรือการช่วยหายใจ

๒) การห้ามเลือด

๓) การปฏิบัติต่ออาการช็อก

๔) การเข้าเฝือก

๕) การปฐมพยาบาลเมื่อป่วยจากผลของความร้อน

๖) การปฐมพยาบาลเมื่อป่วยจากผลของความชื้นและความเย็น

๗) การทำน้ำให้ปลอดภัยก่อนดื่ม

ช. การป้องกัน นชค.

๑) การสวมและใช้หน้ากากป้องกันไอพิษ

๒) การปรนนิบัติบำรุงหน้ากากป้องกันไอพิษ

๓) การสังเกตและป้องกันตนเองต่อการโจมตีด้วยเคมีชีวะ

๔) การชำระล้างพิษตนเอง

๕) การชำระล้างพิษอาวุธยุทโธปกรณ์

๖) การรับรู้และให้สัญญาณเตือนภัยเมื่อถูกโจมตีด้วยเคมีชีวะ

ซ. การใช้อาวุธประจำกาย

๑) การ ปบ. การแก้ไขเหตุติดขัด การปรับศูนย์รบ และความชำนาญในการใช้ ปลย. เอ็ม.๑๖

๒) การเตรียม การยิงและแก้ไขเหตุติดขัด คจตถ. เอ็ม.๗๒

๓) การเตรียมและใช้เครื่องยิงระเบิด เอ็ม. ๒๐๓

๔) การเตรียม การใช้และกู้เคลโม (ทุ่นระเบิด เอ็ม. ๑๘)

๕) การใช้ระเบิดขว้าง

ฌ. การใช้อาวุธประจำหน่วย

๑) การ ปบ. การแก้ไขเหตุติดขัดและการใช้ ปก.๙๓

๒) การ ปบ. การแก้ไขเหตุติดขัดและการใช้ ปก. เอ็ม.๖๐