บทที่ ๘ การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

บทที่ ๘

การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย


๑. ทั่วไป

ก. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายและการหาหลักฐานเริ่มแรกก่อนที่จะยิงนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วิธี หรือ มาตรการที่ถูกต้องที่สุดที่มีอยู่ หรือใช้ได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้

๑) ปลอดภัยต่อฝ่ายเรา

๒) ประหยัดกระสุน (ยิงปรับแต่น้อย)

๓) ประหยัดเวลา (ยิงหาผลได้เร็ว)

๔) เพิ่มพูนผลการยิงให้ทวีขึ้น (เกิดจากการจู่โจมมากขึ้น)

ข. กุญแจของความถูกต้องในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายของ ผตน. นั้นจะต้อง

๑) กำหนดที่อยู่ของตนให้ถูกต้องในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายของ ผตน. นั้นจะต้อง

๒) ใช้ภูมิประเทศเด่น ๆ ช่วยในการหาความสัมพันธ์ระหว่าง แผนที่กับพื้นที่บริเวณเป้าหมาย

๓) ศึกษาแผนที่และภูมิประเทศอย่างละเอียดต่อเนื่อง

๔) หาจุดหรือตำบลที่เส้นทางตารางต่าง ๆ ของแผนที่ขีดผ่านและจดจำไว้ให้ดี

๕) เตรียมใช้เครื่องช่วยในการตรวจการณ์ต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในบทที่ ๖ อย่างประณีต และใช้อย่างมากที่สุดเสมอ

๖) พยายามแสวงประโยชน์จากการยิงที่แล้ว ๆ มา

๒. วิธีกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

ก. โดยทั่วไปแล้ว ผตน. กำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีหลัก ๓ วิธีด้วยกัน คือ

๑) พิกัดตาราง (Grid Coordinate)

๒) โปล่าร์ (Polar Coordinate Plot)

๓) ย้ายจากจุดที่ทราบ (Shift from a Know Point)

ข. ปกติแล้วการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายจะมีการปรับการยิง จะประกอบด้วย ๒ ส่วนใหญ่ คือ

๑) แนวตรวจการณ์ หรือทิศทางของแนวตรวจการณ์ที่ ผตน. ใช้ตรวจปละปรับการยิง

๒) ที่ตั้งของเป้าหมาย ได้แก่ ที่อยู่ของเป้าหมายหรือตำบลที่จะยิงในแผนที่ อาจจะกำหนดด้วยวิธีการหลายแบบและอาจมีหลายองค์ประกอบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ ศอย. สามารถกำหนดที่ตั้งนั้นลงในแผ่นเรขายิงได้

ค. แนวตรวจการณ์ คือ แนวที่ ผตน. ใช้อ้างในการที่จะกำหนดว่า เป็น ขวา – ซ้าย – หน้า – หลัง ในการดึงกระสุนเข้าสู่เป้าหมายหรือตำบลที่ต้องการ ซึ่งเรียกว่าการปรับการยิงหรืออ้างในการตรวจผลการยิง แนวตรวจการณ์นี้ ปกติแล้วนิยมใช้อยู่ ๔ แบบ กล่าวคือ

๑) มุมภาคผู้ตรวจการณ์ – เป้าหมาย (แนว ตม.) ได้แก่ มุมภาคตาราง หรือ มุมภาคเข็มทิศจาก ผตน. ไปยังเป้าหมาย วิธีนี้สะดวกและนิยมใช้มากที่สุด เช่น

“มุมภาค ๑๒๐๐ หรือ มุมภาค ๔๘๐๐” เป็นต้น

๒) แนวปืน – เป้าหมาย (แนว ปม.) ถ้า ผตน. ม่อาจหามุมภาค ตม. ได้ แต่ทราบว่าแนว ปม. อยู่ในแนวใดก็อาจใช้แนว ปม. ในการตรวจการณ์ได้ เช่น

“ทิศทาง แนว ปม.” เป็นต้น

๓) ทิศหลัก ได้แก่การกำหนดทิศหลักทั้ง ๘ ทิศ ที่จะใช้อ้างในการตรวจการณ์ ผตน. ไม่สามารถหามุมภาคได้ แต่สามารถทราบทิศหลักเหล่านั้น เช่น

“ทิศทางตะวันออกเฉียงใต้” เป็นต้น

๔) แนวอ้างอื่น ถ้า ผตน. ไม่อาจหาหรือทราบแนวตรวจการณ์ดังกล่าวแล้วได้ ก็อาจกำหนดแนวใดแนวหนึ่งขึ้นเป็นแนวตรวจการณ์ได้แต่ต้องมั่นใจว่า ศอย. สามารถทราบได้ เช่น แนวถนน, ทางรถไฟหรือ ยอดเขาต่าง ๆ เช่น

“ทิศทางยอดเขา ๖๔๒ เขา ๕๓๔” เป็นต้น

ง. แนวตรวจการณ์นี้จำเป็นต้องบอกเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะต้องปรับการยิง ผตน. ไม่สามารถบอกได้ในครั้งแรกหรือเมื่อ ผตน. ต้องเคลื่อนที่จะรายงานแนวตรวจการณ์ก่อนที่จะปรับ ในนัดนั้น ๆ ก็ได้ เช่น มุมภาค ๑๔๐ ขวา ขวา ๔๐ เพิ่ม ๑๐๐ เป็นต้น

จ. แนวตามข้อ ๒), ๓), และ ๔) ใช้มากในกรณีที่

๑) ผตน.ไม่มีเครื่องวัดมุมภาค

๒) ผตน.ใช้เข็มทิศไม่ได้ เช่นอยู่บนรถถัง

๓) ผตน. เคลื่อนที่อยู่เสมอ เช่น ผตอ. หรือเมื่อต้องเดินไปกับทหารราบหรือนั่งอยู่ในรถถังเป็นต้น

๓. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยพิกัดตาราง

ก. แผนที่ทางทหารจะมีตารางระบบ ยูทีเอ็ม เอาไว้สำหรับกำหนดที่ตั้งต่าง ๆ เรียกว่าพิกัดตาราง ประกอบด้วยพิกัดตะวันออก (แกนตั้ง) และพิกัดเหนือ (แกนนอน)

ข. องค์ประกอบของการกำหนดที่ตั้ง ม. ด้วยพิกัดตาราง คือ

ก. พิกัด (ตะวันออก – เหนือ) จำนวน ๘ หรือ ๖ ตำแหน่ง (ละเอียด ๑๐ หรือ ๑๐๐ ม.)

ข. แนวจรวจการณ์ ถ้าเป็นมุมภาคใช้เต็ม ๑๐ มิล

ค. ตัวอย่างเช่น กำหนดที่ตั้ง ม. ด้วยพิกัดตาราง

พิกัด ๘๔๖๔๕๔๓๒ มุมภาค ๘๐๐

พิกัด ๙๖๒๔๘๕ มุมภาคเข็มทิศ ๑๒๐๐

พิกัด ๙๔๓๕๔๔ ทิศทางปืนเป้าหมาย

พิกัด ๕๖๔๓๒๙๘๔ ทิศทางยอดเขา ๔๕๖ เขา ๓๒๓

ง. การกำหนดที่ตั้ง ม. แบบนี้ไม่จำเป็นต้องบอกความสูงของเป้าหมายเพราะ ศอย. สามารถหาได้จากแผนที่อยู่แล้ว แต่ถ้า ผตน.ทราบความสูงของ ม. ได้แน่ชัดและดีกว่า ศอย. อาจจะบอกไปด้วยก็ได้

จ. เป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว หรือ เคยยิงมาแล้ว ผตน. จะขอยิงก็คงใช้องค์ประกอบแบบพิกัดตารางนี้ เช่น เป้าหมาย ๖๐๑ มุมภาค ๑๒๐๐ เป็นต้น

ฉ. การหาพิกัดของจุดใด ๆ นั้น ผตน.หาได้โดย

๑) การตรวจ (Map Spot) คือเปรียบเทียบลักษณะภูมิประเทศกับแผนที่แล้วกำหนดจุดที่ ม. อยู่ลงไปแล้ววัดพิกัดด้วยบรรทัดฉากหรือประมาณด้วยตา

รูปที่ ๘ – ๑ การกำหนดพิกัดเป้าหมายด้วยการตรวจ

๒) การกรุบแบบโปล่าร์ (Polar Plot) ดำเนินการดังนี้

ก) หาที่อยู่ของตนเอง

ข) วัดมุมภาคไปยังเป้าหมาย

ค) ประมาณหรือหาระยะไปยังเป้าหมาย

รูปที่ ๘ – ๒ การกำหนดพิกัดเป้าหมายด้วยวิธีกรุยแบบโปล่าร์

ง) ใช้แผ่นพัดตรวจการณ์, โค้งวัดมุมหรือขีดแบ่งเอาเอง ลากเส้นมุมภาคที่วัดได้ลงบนแผนที่

จ) ด้วยระยะที่หาได้จากข้อ ค) กำหนดที่อยู่ของ ม. ลงบนเส้นมุมภาคนั้น

ฉ) ใช้บรรทัดฉากวัดพิกัดของจุดที่ตั้งเป้าหมายนั้น

ช) การเตรียมการต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าดังที่กล่าวไว้แล้วในบทที่ว่าด้วยเครื่องช่วยในการตรวจการณ์ จะทำให้ ผตน. กำหนดที่ตั้งต่าง ๆ ได้รวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

ซ) ในการกำหนดที่ตั้งใด ๆ ลงบนแผนที่นั้นจะต้องพิจารณาลักษณะภูมิประเทศ ประกอบกับแผนที่อย่างรอบคอบก่อนเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาด

ช. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยพิกัดตารางนี้เป็นวิธีที่ใช้มาก และเป็นประโยชน์มากเพราะ

๑) ไม่จำเป็นต้องทราบที่อยู่ของ ผตน. หรือที่ตรวจการณ์ก็ได้

๒) ไม่ต้องอ้างกับจุดอื่นใดซึ่งอาจผิดพลาดหลายต่อ โดยปกติ ผตน. กำหนดที่ตั้ง ม. ด้วยวิธีพิกัดตารางละเอียด ๑๐๐ เมตร (๖ ตำแหน่ง) เว้นไว้แต่พิกัด จล. และเป้าหมายตามแผนจำเป็นต้องละเอียด ๑๐ เมตร (๘ ตำแหน่ง)

๔. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยวิธีโปล่าร์

ก. วิธีโปล่าร์คือ วิธีแสดงที่ตั้งโดยอาศัยระยะและทิศทางจากจุดหลักจุดหนึ่ง โดยปกติแล้ว ผตน. อาศัยที่อยู่ของตนเองหรือที่ตั้งที่ตรวจการณ์เป็นจุดหลักที่ใช้อ้าง

ข. องค์ประกอบของวิธีโปล่าร์

๑) จุดอ้าง ถ้าเป็นที่อยู่ของ ผตน. และศอย. ทราบแล้วไม่ต้องบอก

๒) มุมภาค หรือทิศทางจากจุดอ้างไปยังจุดนั้น (มิล หรือองศา)

๓) ระยะจากจุดอ้างไปยังจุดนั้น (เมตรหรือหลา)

๔) แตกต่างสูงของจุดนั้นกับจุดอ้าง (สูงขึ้น – ต่ำลง)

ค. ตัวอย่างเช่น

- มุมภาค ๑๐๖๐ ระยะ ๒๐๐๐ สูงขึ้น ๔๐ แสดงว่าใช้ที่อยู่ของ ผตน. หรือ ต. เป็นจุดอ้าง

- จากยอดเนิน ๖๓๐ มุมภาค ๑๒๐๐ ระยะ ๓๐๐๐๐ ต่ำลง ๖๐๐ แสดงว่าใช้ยอดเนิน ๖๓๐ เป็นจุดอ้าง

- จากพิกัด ๖๔๘๐๕๓ มุมภาค ๒๐๐ ระยะ ๑๐๐๐ แสดงว่า ผตน. ขณะนั้นอยู่ที่พิกัด ๖๔๘๐๕๓

ง. ข้อควรระลึกในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยวิธีโปล่าร์

๑) ที่ตั้งของจุดอ้าง ศอย. ต้องทราบ เช่น ผตน. ได้รายงานที่อยู่ของตนแล้ว หรือทราบว่า ต.ต่าง ๆ อยู่ ณ พิกัดใด ถ้ายังไม่ทราบต้องแจ้งให้ทราบ

๒) มุมภาคควรให้ละเอียดและถูกต้องที่สุด ปกติใช้ ๑๐ มิล

๓) ทิศทางอื่น ๆ เช่น ตะวันออก เหนือเป็นต้น รวมทั้งมุมภาคเข็มทิศ ก็อาจใช้เป็นข้อกำหนดที่ตั้งได้เช่นกัน

๔) สำหรับทิศทางตรวจการณ์นั้น ถ้า ผตน. กำหนดที่ตั้งด้วยวิธีโปล่าร์จากที่อยู่ของตน และใช้แนวนั้นเป็นแนวตรวจการณ์ไม่ต้องบอกอีก แต่ถ้าแนวตรวจการณ์เปลี่ยนแปลงหรือใช้จุดอื่นเป็นจุดอ้างต้องบอกทิศทางตรวจการณ์ด้วยเสมอ

๕) ระยะปกติใช้เต็ม ๑๐๐ เมตร แต่ถ้าทราบระยะถูกต้องกว่านี้ก็ใช้ละเอียดกว่านี้ได้ความถูกต้องก็จะดีขึ้น เช่น ในกรณีที่ ผตน.มีกล้องเลเซอร์

๖) สำหรับแตกต่างสูงนั้น ในกรณีที่ต้องการยิงหาผลเลย ผตน. ต้องบอกเสมอ ในกรณีอื่น ๆ เช่น ภารกิจปรับการยิง, หรือไม่แน่ใจในความสูงหรือต้องการความรวดเร็วไม่ต้องบอกก็ได้ ถ้าแตกต่างสูงนั้น ไม่มากกว่า ๓๐ เมตร

จ. วิธีโปล่าร์มีข้อดีก็คือ

๑) ผตน.ไม่ต้องใช้แผนที่ประกอบ

๒) เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วมาก

ฉ. ส่วนข้อเสียได้แก่ ในขณะเคลื่อนที่ ผตน. ย่อมยากและเสียเวลาในการเข้าประมวลรายงานที่อยู่ของตนเอง และเสี่ยงต่อการที่ข้าศึกจะดักจับได้

ช. วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปก็คือ

๑) เมื่อเห็นเป้าหมาย ผตน. ใช้เข็มทิศหรือกล้องสองตาวัดมุมภาคไปยังเป้าหมายนั้น

๒) ประมาณระยะไปยังเป้าหมายนั้น

๓) ประมาณหรือวัดความสูงของเป้าหมาย โดยใช้เข็มทิศ เอ็ม. ๒ วัดมุมทางดิ่งแล้ว นำมาคำนวณหาแตกต่างสูงโดยใช้ กฎ กผร.

รูปที่ ๘ - ๓ การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยวิธีโปล่าร์

๕. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยย้ายจากจุดที่ทราบที่ตั้ง

ก. จุดทราบที่ตั้งคือจุดที่ ผตน. และ ศอย. ทราบที่ตั้งอยู่แล้วและกรุยลงในแผ่นเรขายิงแล้ว หรืออาจจะกรุยลงได้ง่าย ๆ เช่น จุดยิงหาหลักฐาน, เป้าหมายที่เคยยิงแล้ว, ยอดเขาหรือภูมิประเทศที่เด่น ๆ ซึ่งปรากฏอยู่ในแผนที่

ข. องค์ประกอบของการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยย้ายจากจุดทราบที่ตั้งคือ

๑) จุดทราบที่ตั้งที่ใช้อ้าง

๒) แนวตรวจการณ์ที่ใช้อ้างไปยังเป้าหมาย

๓) การย้ายทางข้างหรือทิศจากจุดอ้างไปยังเป้าหมาย

๔) การย้ายทางระยะเปรียบเทียบระหว่างจุดอ้างและเป้าหมาย

๕) การย้ายทางสูงหรือแตกต่างสูงระหว่างจุดอ้างและเป้าหมาย

ค. วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปก็คือ

๑) ผตน.กำหนดจุดทราบที่ตั้งที่ใช้อ้าง เช่น จาก จล.๑ จากยอดเนิน ๖๔๒

๒) หาทิศทางตรวจการณ์ไปยังเป้าหมายด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเหล่านี้

ก) มุมภาค ตม. เช่น มุมภาค ๑๓๐๐, มุมภาคเข็มทิศ ๖๐

ข) ทิศหลัก เช่น ทิศทางตะวันออก, ทิศทางตะวันตกเฉียงใต้

ค) แนว ปม. เช่น ทิศทางแนวปืนเป้าหมาย

ง) แนวที่ทราบได้ง่ายอื่น ๆ เช่น ทิศทางถนนพหลโยธินไปโคกสำโรง

๓) หาการย้ายทางข้างจากจุดอ้างไปยังเป้าหมาย โดยวัดง่ามมุมระหว่างจุดอ้างและเป้าหมายหรือโดยการกะประมาณ เมื่อวัดง่ามมุมได้แล้วนำมาคำนวณหาการย้ายทางข้างโดยใช้กฎ กผร. เมื่อง่ามมุม น้อยกว่า ๖๐๐ มิล และใช้กฎของไซน์ ถ้าง่ามมุมตั้งแต่ ๖๐๐ มิลขึ้นไป เช่น

ก) วัดง่ามมุมจาก จล. ไปยัง ม. ได้ ๑๐ มิล ระยะไป จล. ๒๐๐๐ เมตร ระยะไป ม. ๒๕๐๐ เมตร อยู่ทางขวาารย้ายทางข้าง (ใช้กฎ กผร.) = ๒๐๐๐/๑๐๐๐ คูณ ๑๐๐ = ขวา ๒๐๐ (ดูรูป)

รูปที่ ๘ – ๔ การย้ายทางข้างโดยใช้กฎ กผร.

ข) วัดง่ามมุมจาก จล. ไปยัง ม. ที่อยู่ทางขวาได้ ๗๐๐ มิล ระยะ จล. ๒๐๐๐ ม. ระยะไป ม. ๑๕๐๐ ม. การย้ายทางข้าง (ใช้กฎของไซน์) = ๖ คูณ ๒๐๐๐ = ขวา ๑๒๐๐ (ดูรูป)

รูปที่ ๘ – ๕ การย้ายโดยใช้กฎของไซน์

หากใช้แนวอ้างหรือแนวตรวจการณ์อื่น ๆ ที่มิใช่แนว ตม. ก็ให้ประมาณว่าเป้าหมายอยู่ทางขวาหรือซ้ายของจุดอ้างไปเท่าใดโดยใช้แนวอ้างนั้นเป็นหลักในการคิดขวาซ้าย

๔) หาการย้ายทางระยะ โดยเปรียบเทียบกับแนวอ้างที่กำหนด ถ้าใช้แนว ตม. เป็นแนวอ้าง ก็คงใช้กฎ กผร. และกฎของไซน์ดังกล่าวแล้วในข้อ ๓) ก) และ ข) ข้างบน เช่น

ก) จากตัวอย่าง ๓) ก) การย้ายทางระยะคือ ๒๕๐๐ – ๒๐๐๐ = เพิ่ม ๕๐๐

ข) จากตัวอย่าง ๓) ข) การย้ายทางระยะคือ ๑๕๐๐ – (ไซน์ ๙๐๐ คูณ ๒๐๐๐) = ๑๕๐๐ – (๘ คูณ ๒๐๐๐) = ลด ๑๐๐

หากเป็นการใช้แนวอ้างอื่น ๆ ก็ให้พิจารณาเอาว่าเป้าหมายอยู่หน้าหรือหลังจุดอ้างเท่าใด โดยยึดแนวอ้างนั้นเป็นหลัก

๕) การย้ายทางสูงนั้นมีข้อพิจารณาเช่นเดียวกับวิธีโปล่าร์กล่าวคือ

ก) เมื่อกำหนดที่ตั้งเป้าหมายอย่างละเอียดเช่นในภารกิจที่จะยิงหาผลเลย ควรหาและรายงานให้ ศอย. ทราบเสมอ

ข) ในกรณีที่ต้องการความเร่งด่วนหรือมีการปรับ หากแตกต่างสูงระหว่างเป้าหมายและจุดอ้างไม่มากกว่า ๓๐ เมตร ผตน. ก็ไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้

การหาแตกต่างสูงนั้นอาจจะกระทำได้โดยใช้กล้อง ผบ.ร้อย หรือเข็มทิศ เอ็ม.๒ วัดมุมดิ่งเปรียบเทียบกัน ระหว่างจุดอ้างและเป้าหมายแล้วใช้กฎ กผร. คำนวณหาความสูงของ ๒ จุดนั้นเช่นในกรณีข้อ ๓)

ก) สมมุติว่า ผตน.วัดมุมดิ่งของ จล.ได้ + ๕ มิล วัดมุมดิ่งของ ม. +๖ มิล ก็จะหาค่าความสูงที่แตกต่างจากความสูงของ ผตน.ได้ดังนี้

แตกต่างสูงของ ต. – จล. = ๕ คูณ ๒๐๐๐/๑๐๐๐ = + ๑๐ ม.

แตกต่างสูงของ ต. – ม. = ๖ คูณ ๒๕๐๐/๑๐๐๐ = + ๑๕ ม.

นั่นคือ ม. สูงกว่า จล. = ๑๕ – ๑๐ = สูงขึ้น ๕

ง. ข้อดีของการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายแบบนี้ก็คือ ผตน. ไม่ต้องใช้แผนที่ประกอบ มีความถูกต้องพอสมควรแต่เป็นวิธีที่ช้าที่สุด ในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายทั้ง ๓ แบบ

จ. ในกรณีที่ทัศนวิสัยเลว, แผนที่เชื่อถือไม่ได้ ภูมิประเทศลวงตา หรือ ผตน. ต้องเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเป็นต้น ผตน. อาจจะลำบากในการกำหนดจุดที่ทราบที่ตั้งได้ถูกต้อง การแก้ปัญหาก็อาจกระทำได้โดยขอให้ ศอย. ยิง หมายพิกัดหรือหมายภูมิประเทศเด่น ๆ หรือแม้แต่การหมายกึ่งกลางเขตปฏิบัติการ แล้วใช้ตำบลระเบิดนั้น เป็นจุดทราบที่ตั้ง และทำการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีย้ายจากจุดที่ทราบที่ตั้งนี้ก็ได้

๖. สรุปการกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

ก. พิกัดตาราง

๑) พิกัดตาราง (พิกัด) ๑๐๐ หรือ ๑๐ เมตร

๒) มุมภาค ตม. (มุมภาค) ๑๐ มิล

ข. วิธีโปล่าร์

๑) มุมภาค ตม. (มุมภาค) ๑๐ มิล

๒) ระยะ ตม. (ระยะ) ๑๐๐ เมตร

๓) แตกต่างสูง ตม. (สูงขึ้น, ต่ำลง) เมตร

ค. ย้ายจากจุดทราบที่ตั้ง

๑) จุดทราบที่ตั้ง (จาก)

๒) มุมภาค ตม. (มุมภาค) ๑๐ มิล

๓) การย้ายทางข้าง (ขวา, ซ้าย) ๑๐ เมตร

๔) การย้ายทางระยะ (เพิ่ม, ลด) ๑๐๐ เมตร

๕) การย้ายทางสูง (สูงขึ้น, ต่ำลง) เมตร

ง. มุมภาค ตม. นั้น ปกติแล้วใช้อ้างถึงแนวตรวจการณ์และเป็นแนวอ้างในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีโปล่าร์ และการย้ายจากจุดที่ทราบที่ตั้งนอกจากจะใช้แนว ตม. แล้ว อาจใช้แนวอื่น ๆ แทนได้

๑) แนวปืนเป้าหมาย

๒) ทิศหลักทั้ง ๘

๓) แนวที่ทราบได้อื่น ๆ

จ. ตัวอย่างการกำหนดที่ตั้งแบบต่าง ๆ

๑) พิกัดตาราง พิกัด ๔๑๓๔๙๒ มุมภาค ๒๑๐

๒) โปล่าร์ มุมภาค ๑๒๑๐ ระยะ ๒๐๐๐ ต่ำลง ๑๕ จากยอดเนิน ๔๖๒ มุมภาค ๑๒๒๐ ระยะ ๑๕๐๐ ต่ำลง ๔๕

๓) ย้ายจาก จล.๑ มุมภาค ๕๑๐ ขวา ๑๕๐ ลด๔๐๐ ต่ำลง ๓๕ จากยอดเนิน ๕๑๐ ทางรถไฟไปวัฒนานคร ซ้าย ๔๑๐ เพิ่ม ๑๑๐๐ ต่ำลง ๔๙๕