บทที่ ๑๔ ผตน.ในฐานะผู้ประสานการยิงสนับสนุนของกองร้อย

บทที่ ๑๔

ผตน.ในฐานะผู้ประสานการยิงสนับสนุของกองร้อย


๑. ทั่วไป

ผตน. ในฐานะที่เป็นผู้ประสานการยิงสนับสนุนให้กับกองร้อยกลยุทธ ย่อมมีหน้าที่หลักอยู่ ๒ ประการ คือ การวางแผนการยิงสนับสนุนและประสานการยิงสนับสนุนให้กับกองร้อยที่ตนประจำอยู่ หน้าที่โดยทั่วไปก็เหมือนกับหน้าที่ของ ผปยส. ทั้งปวง คือ

ก. หน้าที่หรือความรับผิดชอบในการวางแผนการยิงสนับสนุน

๑) ให้คำแนะนำ ผบ.หน่วยในการใช้การยิงสนับสนุนให้ได้ผลสูงสุด

๒) วิเคราะห์อาวุธสนับสนุนที่มี และภารกิจของหน่วยกลยุทธให้สามารถเสนอการแบ่งมอบ และจัดลำดับความเร่งด่วนได้

๓) มั่นใจว่าแหล่งข่าวสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

๔) ศึกษาสถานการณ์ของข้าศึก และภารกิจของหน่วยกลยุทธอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสนอแนะว่าจะโจมตีเป้าหมายใดบ้างและอย่างไร

๕) มองสนามรบให้ออกและเตรียมการช่วยเหลือให้ ผบ.หน่วยสามารถเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติต่าง ๆ ได้อย่างอ่อนตัว

๖) ให้แนวทางและประสานการปฏิบัติของตัวแทนอาวุธสนับสนุนทั้งปวง ให้ผสมผสานกับแผนการปฏิบัติของส่วนรวม

๗) พิจารณาว่ามาตรการประสาน และควบคุมการปฏิบัติใดที่จำเป็นจะต้องใช้เพื่อเกื้อกูลการดำเนินกลยุทธแล้วเสนอแนะการใช้มาตรการเหล่านั้นแก่ ผบ.หน่วย

๘) กำหนดระเบียบหรือข้อจำกัดที่จำเป็นเพื่อให้ความปลอดภัยแก่กำลังฝ่ายเรา

๙) ริเริ่ม พัฒนาและประสานแผนการสนับสนุนให้กลมกลืนและได้ผลมากที่สุด

ข. ความรับผิดชอบหรือหน้าที่ในการประสานการยิงสนับสนุน

๑) ร่วมในการพิจารณาเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ และแผนการยิงสนับสนุนด้วยการให้ข้อเสนอแนะตามความจำเป็นของสภาพการรบที่แปรไป

๒) อำนวยการโจมตีเป้าหมายตามลำดับความเร่งด่วนที่ผู้บังคับบัญชากำหนด

๓) มอบงานให้ระบบอาวุธสนับสนุนที่ได้ผลที่ดีที่สุดทำการโจมตีเป้าหมายต่าง ๆ

๔) ประสานการยิงทั้งปวงในเขตหรือพื้นที่รับผิดชอบของหน่วย

๕) มั่นใจว่ากำลังฝ่ายเราปลอดภัยจากอาวุธฝ่ายเดียวกัน

๖) มั่นใจว่าข่าวสารเป้าหมายได้กระจายและนำไปใช้อย่างต่อเนื่องทันเวลา

๒. การวางแผนการยิงสนับสนุน

ก. การวางแผนการยิงสนับสนุนคือ กรรมวิธีในการวิเคราะห์ การแบ่งมอบและกำหนดการยิงให้กับองค์การยิงสนับสนุนต่าง ๆ ให้ผสมกลมกลืนกับการดำเนินกลยุทธอย่างต่อเนื่อง เพื่อทวีอำนาจกำลังรับให้เพิ่มขึ้นสูงสุด

ข. หลักมูลฐานของการวางแผนการยิงสนับสนุน

๑) เริ่มวางแผนแต่เนิ่นที่สุดและกระทำอย่างต่อเนื่อง

๒) ใช้องค์การค้นหาเป้าหมายทุกชนิดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

๓) พิจารณาใช้องค์การยิงสนับสนุนทั้งปวงที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

๔) เลือกวิธีโจมตีหรือองค์การยิงสนับสนุนที่ให้ผลสูงสุด

๕) จัดให้มีการยิงสนับสนุนอย่างพอเพียงเสมอ

๖) หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น

๗) เตรียมการให้เกิดความอ่อนตัวสูงสุด

๘) ให้มีมรตราการเพื่อความปลอดภัยแก่ฝ่ายเราอย่างเพียงพอ

ค. ความเร่งด่วนในการใช้อาวุธยิงสนับสนุนโจมตีเป้าหมายนั้น ให้ยึดถือหลักที่ว่าเป้าหมายนั้น ๆ จะเป็นอันตรายหรือขัดขวางการปฏิบัติภารกิจเพียงใดเป็นสำคัญ โดยปกติจะโจมตีเป้าหมายตามลำดับความเร่งด่วนดังนี้

๑) ลำดับที่ ๑ ได้แก่ เป้าหมายที่ขัดขวางแผนการปฏิบัติ

๒) ลำดับที่ ๒ ได้แก่ เป้าหมายที่กระทบกระเทือนแผนการปฏิบัติอย่างมาก

๓) ลำดับที่ ๓ ได้แก่ เป้าหมายที่อาจกระทบกระเทือนต่อแผนการปฏิบัติในภายหลัง

๔) ลำดับที่ ๔ ได้แก่ เป้าหมายที่กระทบกระเทือนต่อแผนการปฏิบัติอย่างจำกัด

ง. แผนการยิงสนับสนุนมี ๒ ประเภท กล่าวคือ แผนการยิงสนับสนุนเป็นทางการละแผนการยิงสนับสนุนแบบไม่เป็นทางการ

จ. แผนการยิงสนับสนุนเป็นทางการ ได้แก่ แผนที่ออกจากหน่วยเหนือไปยังหน่วยรองในรูปของคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับ การแบ่งมอบองค์การยิงสนับสนุนต่าง ๆ ให้หน่วยรองและแนวทางหรือข้อจำกัดในการใช้องค์การยิงสนับสนุนเหล่านั้น

๑) โดยปกติแล้ว ถ้ามีเวลาจะกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรปรากฏอยู่ในคำสั่งยุทธการในข้อที่ ๓ เรื่องการยิงสนับสนุนและมักใช้กับหน่วยตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป

๒) ผปยส. และ ผบ.หน่วยจะต้องทราบว่า

ก) มีอาวุธสนับสนุนอะไรบ้างที่จะใช้ได้

ข) อาวุธแต่ละชนิดมีขีดความสามารถและขีดจำกัดอย่างไร

ค) จะได้อาวุธเหล่านั้นมาอย่างไร และ

ง) จะผสมผสานการยิงสนับสนุนให้กับหน่วยกลยุทธอย่างไรจึงจะได้เกิดประโยชน์สูงสุด

๓) ผปยส. จะต้องให้คำแนะนำแก่ผู้บังคับหน่วยในเรื่อง

ก) การแบ่งมอบอาวุธสนับสนุนให้กับหน่วยกลยุทธ เพื่อสนับสนุนอย่างใกล้ชิด การยิงต่อต้านต่าง ๆ การข่ม ปภอ. การยิงเตรียมและโปแกรมการยิงอื่น ๆ

ข) ลำดับความเร่งด่วนในการค้นหาเป้าหมาย

ค) การรวบรวมข่าวสารเพื่อสนับสนุนการค้นหาเป้าหมาย

ง) แนวทางในการโจมตีว่าเมื่อใดและอย่างไรในการที่จะข่ม ตัดรอนกำลังหรือทำลายเป้าหมาย

จ) แนวทางในการค้นหาเป้าหมายสำหรับองค์การค้นหาเป้าหมายต่าง ๆ เช่น จะเฝ้าตรวจที่ไหน เมื่อไรเพื่อหาเป้าหมายที่สำคัญ

๔) แผนการยิงสนับสนุนที่ปรากฏอยู่ในคำสั่งยุทธการข้อที่ ๓ ในข้อที่ว่าด้วยการยิงสนับสนุนนี้ อาจจะขยายความให้ละเอียดโดยแยกออกมาเป็นผนวกและอนุผนวกประกอบคำสั่งยุทธการก็ได้ หัวข้อที่ ๓ ของคำสั่งยุทธการในข้อที่ว่าด้วยการยิงสนับสนุนนี้มักจะประกอบด้วยเรื่องสำคัญ ๆ เหล่านี้ (ทั้งหมดหรือบางส่วน) เช่น

ฉ. การยิงสนับสนุน

๑) ป.สนาม

๒) การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด

๓) การสนับสนุนด้วยปืนเรือ

๔) นิวเคลียร์

๕) เคมี

๖) คำแนะนำในการประสานการยิงสนับสนุน

๕) ลักษณะและส่วนประกอบของแผนการยิงสนับสนุนนี้ ควรจะเน้นเฉพาะเรื่องที่สำคัญ ๆ เท่านั้นให้มีลักษณะที่ง่ายและอ่อนตัวที่สุด โดยปกติจะประกอบด้วย

ก) แนวทาง และคำแนะนำของผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการผสมผสานการยิงกับการดำเนินกลยุทธเข้าด้วยกัน

ข) แจ้งให้หน่วยรองทราบว่า

(๑) ผู้บังคับบัญชาแบ่งมอบอาวุธให้สนับสนุนการดำเนินกลยุทธอย่างไร

(๒) ข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การใช้ การแบ่งมอบกระสุน และอื่น ๆ

(๓) จะได้รับการสนับสนุนอย่างไร

ค) แจ้งให้องค์การยิงสนับสนุนต่าง ๆ ทราบว่า

(๑) ภาระหน้าที่ในอันที่จะสนับสนุนแผนการปฏิบัติของส่วนรวม

(๒) การมอบภารกิจให้หน่วย

(๓) ข้อจำกัดต่าง ๆ และ

(๔) คำแนะนำในการประสานเกี่ยวกับการยิงต่อต้าน การข่ม ปภอ. และการเลือกที่ตั้งเป็นต้น

ง) กำหนดแนวทางหรือหัวข้อข่าวสารสำคัญสำหรับการข่าวกรองและการค้นหาเป้าหมาย

จ) กำหนดแนวทางในการโจมตีเป้าหมายว่าจะยิงข่ม ตัดรอนกำลังหรือทำลายเป้าหมายเมื่อใดและอย่างไร

๖) ผู้แทนขององค์การยิงสนับสนุนต่าง ๆ ใน สยส. จะเป็นผู้ทำแผนการยิงสนับสนุนในส่วนของตน ประกอบเป็นหัวข้อย่อยของแผนการยิงสนับสนุนนี้ (เช่นปืนใหญ่สนาม การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด) อาจจะทำแยกเป็นผนวกหรือไม่ก็ได้ และ ผปยส. เป็นผู้รวบรวมแผนสนับสนุนย่อย ๆ เหล่านี้ให้กลายเป็นแผนการยิงสนับสนุน แล้วแจกจ่ายไปตามสายการบังคับบัญชา

๗) แผนการยิงสนับสนุนนั้นมิใช้ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยรองให้เป้าหมายต่าง ๆ มาอย่างไร แต่ควรจะแจ้งให้หน่วยรองทราบว่า

ก) หน่วยจะต้องทำอะไร

ข) หน่วยจำเป็นจะต้องรู้อะไรในการที่จะปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จได้

ถ้าแผนการยิงสนับสนุนของหน่วยเหนือมีบัญชีเป้าหมายอยู่ด้วยก็ควรมีเฉพาะแต่เป้าหมายที่ ผบ.หน่วยเหนือเห็นว่า เป้าหมายเหล่านั้นกระทบกระเทือนอย่างหนักต่อภารกิจของหน่วยเหนือนั้น มิใช่ว่าหน่วยรองให้เป้าหมายมาแล้วเท่าใด จะนำลงไว้ในบัญชีเป้าหมายทั้งหมด

๘) แผนการยิงสนับสนุนนั้นจะไม่มีคำแนะนำว่าหน่วยรองจะต้องทำอะไรบ้างอย่างไร หน่วยรองจะต้องทราบหน้าที่และงานของตนว่าการที่จะปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบให้สำเร็จนั้นตนจะต้องทำอะไรบ้าง อย่างไร

๙) ผู้แทนขององค์การยิงสนับสนุนต่าง ๆ อาจร่างวิธีการที่หน่วยของตนจะปฏิบัติภารกิจ รวมทั้งรายละเอียดตามแผน แล้วแจ้งให้หน่วยของตนทราบเป็นการเพิ่มเติมสายงานของตนก็ได้แต่จะต้องทำสำเนาเสนอ ผปยส. ด้วย

๑๐) รายละเอียดในการวางแผนการยิงสนับสนุนศึกษาเพิ่มเติมได้จาก รส. ๖ – ๒๐ ส่วนตัวอย่างดูในผนวก ช.

ฉ. แผนการยิงสนับสนุนไม่เป็นทางการ

แผนการยิงสนับสนุนไม่เป็นทางการนี้มักจะไม่กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ตามสถานการณ์ทางยุทธวิธีและก่อให้เกิดการอ่อนตัวเป็นอย่างยิ่ง ลักษณะและแนวทางการทำก็คงคล้ายกับการวางแผนอย่างเป็นทางการก่อให้เกิดการอ่อนตัวเป็นอย่างยิ่ง ลักษณะและแนวทางการทำก็คงคล้าย ๆ กับการวางแผนอย่างเป็นทางการคือ เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร และมอบงานที่จะต้องทำให้กับองค์การยิงสนับสนุนต่าง ๆ ให้เกื้อกูลกันและกันนั่นเอง มีลักษณะและแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

๑) กระทำทุกระดับหน่วยพร้อม ๆ กันในเมื่อเวลา และสถานการณ์ไม่อำนวย ให้วางแผนอย่างเป็นทางการได้

๒) ปกติจะเริ่มจากหน่วยรองไปหาหน่วยเหนือและส่วนที่เป็นหลักก็คือ ผตน.(ชุด ยส.) และ นตน. (นยส.) ของกองพัน

๓) อาจจะเริ่มโดย ผตน. ของแต่ละกองร้อย ส่งบัญชีเป้าหมายตามคำขอไปให้ นตต. หรือ นตต.ขอให้วางแผนการยิงต่อเป้าหมายต่าง ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติของกองพันที่ตนสนับสนุนก็ได้ แต่โดยปกติแล้วจะเป็นดังนี้

ก) ผตน. วางแผนการที่จะโจมตีเป้าหมายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แจ้งให้ ผบ.ร้อยกลยุทธทราบว่า เป้าหมายต่าง ๆ เหล่านั้นคืออะไร อยู่ที่ใด และหมายเลขอะไร

ข) เป้าหมายที่ตกลงใจในการโจมตี แล้วส่วนนี้จะส่งไปให้ ศอย. ของ ค.หรือส่งไปยัง นตต. ของกองพันตามความเหมาะสม

ค) นตต. จะตรวจสอบ และแก้ไขความซ้ำกันที่อาจมีแล้วส่งเป้าหมายเหล่านั้นไปยัง ศอย. พัน.ป.ชต. หรือ ศอย. ร้อย ค.หนัก หรือองค์การยิงสนับสนุนอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

ง) นตต. จะต้องแจ้งให้ ผตน.ทราบถึงการเปลี่ยนแปลต่าง ๆ ที่ตนได้กระทำไป ซึ่งไม่เหมือนกับที่ขอมา

จ) ผตน. และ นตต. ต้องให้คำแนะนำแก่ ผบ.ร้อย และ ผบ.พันให้ทราบว่าแต่ละเป้าหมายนั้น ควรจะใช้อาวุธอะไรโจมตีจึงจะได้ผลดีที่สุด เช่น ใช้ ค. แทน ป.หรือใช้ สอก. แทน ป. เป็นต้น

ฉ) การกระทำเหล่านี้ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมหรือยกเลิกตามความจำเป็นของสถานการณ์

ช) สายการวางแผนอย่างไม่เป็นทางการ ตามรูป ๑๔ – ๑

รูปที่ ๑๔ – ๑ สายการวางแผนการยิงสนับสนุนไม่เป็นทางการ


ซ. อย่างไรก็ตาม การวางแผนการยิงสนับสนุนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและกระทำพร้อม ๆ กันทุกระดับหน่วย รวมทั้งการประสานการยิงสนับสนุนก็จะต้องดำเนินการควบคู่กันไปตลอดเวลา เพื่อที่จะให้การยิงสนับสนุนเกื้อกูลแก่การดำเนินกลยุทธอย่างดีที่สุด

๓. การวางแผนการยิงสนับสนุนในระดับกองร้อย

ก. การวางแผนการยิงอย่างประณีตหรืออย่างเป็นทางการ ผตน. ดำเนินการเมื่อมีเวลาเพียงพอ โดยดำเนินการดังนี้

๑) ผตน. กำหนดหรือพัฒนาเป้าหมายของตนขึ้นจากแหล่งข่าวต่าง ๆ เช่น จากการตรวจการณ์ หน่วยลาดตระเวน ผบ.หน่วยกลยุทธ นตต.ของกองพัน หรือ ฝอ.๒ ของพัน ป. แล้วกรุยเป้าหมายเหล่านี้ลงในแผนที่ตามสัญลักษณ์

๒) อาศัยแนวทางของ ผบ.หน่วย ภูมิประเทศและสถานการณ์ทางยุทธวิธี รวมทั้งประสานกับตัวแทนของอาวุธสนับสนุนอื่น ๆ ที่อยู่กับกองร้อย เช่น ผบ.มว.อาวุธ หรือ ผตปร.เป็นต้น แล้วคัดเลือกเป้าหมายและวิธีโจมตีที่เหมาะ

๓) บรรยายสรุปให้ ผบ.ร้อยกลยุทธทราบถึงแผนการยิงสนับสนุนของตน แล้วปรับปรุงเป็นชั้นสุดท้ายตามที่ ผบ.หน่วยอนุมัติเป็นบัญชีเป้าหมายที่สมบูรณ์ และแยกออกเป็นส่วน ๆ สำหรับแต่ละอาวุธ

๔) ส่งบัญชีเป้าหมายเหล่านี้ด้วยพลนำสาร หรือทางการสื่อสารที่มีบริการ รปภ. ให้มีรายละเอียดเพียงพอที่ ศอย. จะสามารถตกลงใจโจมตีและหาหลักฐานยิงอย่างถูกต้องได้ผล โดย

ก) เป้าหมายสำหรับ ค.ส่งไปยัง ศอย.ของหน่วย ค.

ข) เป้าหมายที่เกินขีดความสามารถของ ค. หรือเห็นว่าควรจะให้องค์การยิงอื่นโจมตีก็ส่งไปให้ นตต. ของกองพัน

ค) หากมีการวางการติดต่อถึง ร้อย ป. ด้วย เมื่อ ร้อย ป. เฝ้าฟังการสื่อสารระหว่าง ผตน.และ นตต. ร้อย ป. ก็ทราบได้ว่าจะต้องทำการโจมตีเป้าหมายใดบ้าง ร้อย ป. อาจหาหลักฐานยิงให้พร้อมไว้แล้วตั้งแต่ขั้นนี้ก็ได้

๕) นตต. จะรวมเป้าหมายต่าง ๆ จาก ผตน.ทุก ๆคน นำมาตรวจสอบ ขจัดความซ้ำซ้อน หรือขัดแย้ง ตัดเป้าหมายที่ไม่จำเป็นออกหรือเพิ่มเข้าไปตามความเหมาะสมแล้วแยกออกเป็นเป้าหมายของแต่ละอาวุธ ส่งบัญชีเป้าหมายเหล่านี้ไปให้หมวด ค. ๘๑ กองร้อย ค.หนัก ศอย. พัน ป. หรืออาวุธอื่น ๆ และแจ้งการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ให้ ผตน. ทราบ

๖) ร้อย ป. ที่เฝ้าฟังการติดต่ออยู่ระหว่าง นตต. กับ ศอย. พัน ป. ก็สามารถทราบได้ทันทีว่าเป้าหมายใดบ้างที่ถูกตัดหรือเพิ่มเติมแล้วก็เตรียมหลักฐานของตนให้พร้อม

๗) ศอย. พัน ป.ชต. จะเรียก ร้อย ป.ต่าง ๆ มาสั่งการเพิ่มเติมก็ได้หากมีการเปลี่ยนแปลงคำขอ หรืออาจจะส่งบัญชีเป้าหมายไปให้แต่ละกองร้อย (เมื่อแยกแล้ว) ก็ได้

๘) ขณะนี้ก็เป็นที่เชื่อได้ว่า กองร้อยกลยุทธพร้อมแล้วในการที่จะได้รับการยิงสนับสนุนตามเวลาที่กำหนด หรือเมื่อร้องขอ

หมายเหตุ ตัวอย่างบัญชีเป้าหมายดูในผนวก ค.

ข. การวางแผนการยิงเร่งด่วน หรือไม่เป็นทางการ กระทำเมื่อมีเวลาจำกัดใช้ได้ทั้งระดับกองร้อย กองพัน หรือกรม ทั้งการรุกและรับ และปกติมักจะไม่ส่งข่าวเป็นลายลักษณ์อักษร ลักษณะการปฏิบัติคงเช่นเดียวกับการวางแผนอย่างประณีต เพียงแต่หาวิธีการที่จะเร่งเวลาให้สั้นเข้า ให้พร้อมยิงเร็วที่สุดเท่านั้น

๑) กรณีที่เป็น ร้อย ป. แยกเฉพาะ (ในการเคลื่อนที่เข้าปะทะ)

ก) ผตน. กำหนดเป้าหมายขึ้นโดยอาจจะยังไม่ทราบที่ตั้งข้าศึกที่แท้จริง แต่ใช้ตำบลที่คาดว่าจะมีข้าศึก หรือข้าศึกจะปรากฏขึ้นแล้วกำหนดหมายเลขกำกับ ทำเป็นบัญชีเป้าหมาย

ข) บัญชีเป้าหมายนี้ส่งตรงไปยัง ศอย. ร้อย ป. แยกเฉพาะของตน โดยมี นตต. และ ศอย. กองพัน เฝ้าฟังอยู่ บางเป้าหมายอาจส่งไปยังหน่วย ค. ตามความจำเป็น

ค) ควรเลือกเอาเฉพาะเป้าหมายที่จำเป็นเท่านั้น และควรจะกำหนดเป็นเป้าหมายยิงข่มเพื่อความรวดเร็วในการสนองตอบ

ง) ขณะเคลื่อนที่ไปเมื่อปรากฏเป้าหมายขึ้น ก็ขอให้ยิงข่มต้อเป้าหมายเหล่านี้โดยวิธีที่รวดเร็วที่สุด หรือใช้เป้าหมายเหล่านี้เป็นจุดทราบ ที่ตั้งเพื่อกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยการย้ายก็ได้

๒) กรณีที่มิใช้กองร้อยแยกเฉพาะ ก็คงดำเนินการในข้อ ก) และข้อ ข) ส่วนข้อ ค) แทนที่จะกำหนดเป็นเป้าหมาย การยิงข่มอย่างเดียวก็อาจกำหนดเป็นกลุ่มเป้าหมายหรืออันดับเป้าหมายเพื่อให้วางแผนการยิงไว้ต่างหากและส่งข่าวไปยัง ศอย. กองพันโดยตรง ซึ่ง นตต. เฝ้าฟังอยู่ เมื่อจำเป็นจะต้องยิงก็ขอผ่าน ศอย. กองพันเช่นปกติ

๔. การประสานการยิงสนับสนุน

ก. การประสานการยิงสนับสนุนคือ กรรมวิธีในการประสานการวางแผนการยิงสนับสนุน และใช้การยิงสนับสนุนเพื่อช่วยให้แผนการปฏิบัติของส่วนรวมบรรลุอย่างดีที่สุด

ข. พูดให้สั้นเข้าก็คือ การวางแผนการยิงสนับสนุนก็คือ คำตอบ ต่อคำถามที่ว่าจะใช้การยิงสนับสนุนอย่างไร ส่วนการประสานการยิงสนับสนุนนั้นได้แก่ เงื่อนไขที่จำเป็นของการปฏิบัติทั้งปวงเพื่อส่งเสริมให้ได้ผลตามแผนนั้น และการบริหาร (แบ่งมอบ การใช้) ทรัพยากรหรือเครื่องมือทั้งปวงในสนามรบให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ค. การวางแผนและการประสานการยิงสนับสนุน เป็นการปฏิบัติที่ต้องกระทำไปพร้อม ๆ กันอย่างต่อเนื่อง เช่น เมื่อกำลังวางแผนการยิงอยู่ การประสานการทำแผนการยิงก็เริ่มต้นขึ้นดังนี้เป็นต้น

ง. ผปยส. และผู้บังคับหน่วยที่จะใช้อาวุธสนับสนุน จะต้องยึดหลักฐานของการประสานการยิงสนับสนุนเหล่านี้ไว้เสมอ

๑) มั่นใจว่าข่าวสารเป้าหมายหมุนเวียนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

๒) พิจารณาใช้อาวุธสนับสนุนทั้งสิ้นที่มีอยู่

๓) ใช้ระดับต่ำที่สุดในการสนับสนุน ถ้าได้ผลเท่าเทียมกัน

๔) เลือกใช้อาวุธที่ได้ผลมากที่สุด

๕) จัดการสนับสนุนให้ตามที่ร้องขอ

๖) หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น

๗) ไม่ลืมพิจารณาประสานการใช้ห้วงอากาศ

๙) ให้มั่นใจว่ามาตรการเพื่อความปลอดภัยของฝ่ายเรามีพร้อมและใช้ได้ผล

๕. มาตรการในการประสานการยิงสนับสนุน

ก. เป็นหน้าที่ของ ผปยส. ในอันที่จะประสานการยิงสนับสนุนทั้งมวลที่ยิงลงในเขต หรือพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยรวมทั้งการยิงที่หน่วยกลยุทธเองร้องขอ เพื่อมิให้การยิงนั้น

๑) เป็นอันตรายต่อฝ่ายเดียวกัน

๒) ขัดขวางการยิงของระบบอาวุธอื่น ๆ และ

๓) ไปรบกวนการปฏิบัติของหน่วยข้างเคียง ผปยส. ดำเนินการให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าวได้ โดยใช้มาตรการประสานการยิงสนับสนุนต่าง ๆ เป็นสำคัญ

ข. เส้นแบ่งเขต (Boundaries) เป็นเส้นที่กำหนดขึ้นเพื่อแบ่งเขตหรือมอบพื้นที่ปฏิบัติการให้หน่วยกลยุทธ ทำการยิงและดำเนินกลยุทธได้อย่างเสรีภายในพื้นที่ของตน การยิงหรือดำเนินกลยุทธข้ามเส้นแบ่งเขตจะต้องประสานกับเจ้าของพื้นที่ก่อนเสมอ ดังนั้นเส้นแบ่งเขตจึงถือได้ว่าเป็นมาตรการประสานการยิงสนับสนุนอย่างหนึ่ง

ค. มาตรการประสานการยิงสนับสนุนโดยตรงนั้นแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ มาตรการอำนวยความสะดวกและมาตรการจำกัดซึ่ง ผปยส. มีหน้าที่ในการเสนอแนะในการใช้และที่ตั้งโดย ผบ.หน่วยกลยุทธเป็นผู้มีอำนาจประกาศใช้

ง. มาตรการอำนวยความสะดวก จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การยิงเข้ามาในพื้นที่หรือข้ามเส้นแบ่งเขตที่เลยเส้นนี้ออกไปทำได้โดยไม่ต้องกระสานเพิ่มเติมอีก ปกติจะใช้สีดำเขียนลงในแผนที่หรือแผ่นบริวาร ประกอบด้วย ชื่อมาตรการหน่วยที่กำหนดและวันเวลาที่มีผลบังคับใช้ ประกอบด้วย

๑) แนวประสานการยิง (นปย. CFL) เสยเส้นนี้ออกไปอาวุธตามภาคพื้นตามแบบ (ป. ค. ป.เรือ) สามารถยิงได้ทุกเวลาภายในเขตของหน่วยจัดตั้งโดยไม่ต้องมีการประสานก่อน ช่วยให้การยิง ม. เลยแนวนี้ออกไปทำได้รวดเร็วขึ้น

๒) แนวประสานการยิงสนับสนุน (นปยส. FSCL) เลยแนวนี้ออกไปสามารถใช้อาวุธได้ทุกระบบ (ทั้ง บ.หรือกระสุนพิเศษ) ทำการโจมตีเป้าหมายได้อย่างเสรีโดยจะไม่เป็นอันตรายต่อฝ่ายเราและไม่ต้องประสานก่อน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การโจมตีเป้าหมายเลยแนวนี้ออกไปทำได้เร็วขึ้น

๓) พื้นที่ยิงเสรี (พยร. FFA) พื้นที่เฉพาะที่หน่วยกำหนดให้การยิงหรือโจมตีเป้าหมายใด ๆ ในพื้นที่แห่งนี้ทำได้โดยไม่ต้องประสานเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ทำการโจมตีเป้าหมายในบริเวณนี้ทำได้รวดเร็วขึ้น

จ. มาตรการจำกัด มาตรการเหล่านี้เขียนด้วยสีแดง ประกอบด้วยชื่อของมาตรการ หน่วยที่กำหนดและวันเวลาที่มีผลบังคับใช้ หน่วยที่จะยิงเข้าไปหรือผลการยิงจะกระทบกระเทือนถึงพื้นที่หรือข้ามแนวได้ จะต้องประสานกับหน่วยที่จัดตั้ง หรือกับหน่วยที่จะกระทบกระเทือนก่อนเสมอทุกครั้งที่จะยิง ประกอบด้วย

๑) แนวจำกัดการยิง (นจย. RFL) แนวซึ่งกำหนดขึ้นไว้ระหว่างส่วนกำบัง ๒ หน่วย ซึ่งหน่วยใดหน่วยหนึ่ง หรือทั้ง ๒ หน่วย กำลังเคลื่อนที่ ซึ่งเมื่อจะยิงข้ามเส้นหรือเมื่อผลการยิงจะกระทบ กระเทือนข้ามเส้นได้ จะต้องประสานกับหน่วยจัดตั้งก่อนเสมอ ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายระหว่างหน่วยกำบังด้วยกัน

๒) พื้นที่จำกัดการยิง (พจย. RFA) พื้นที่ซึ่งตั้งข้อบังคับการยิงไว้อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะการยิงเข้ามาในพื้นที่นี้ ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขตามข้อจำกัดไม่ต้องประสานกับหน่วยจัดตั้ง มาตรการนี้ เพื่อใช้บังคับการยิงตามที่กำหนดไว้ในเงื่อนไข

๓) พื้นที่ห้ามยิง (พหย. NFA) พื้นที่ซึ่งการยิงลงในพื้นที่นี้ หรือการยิงที่กระทบกระเทือนต่อพื้นที่นี้ ห้ามโดยเด็ดขาด เว้นแต่

ก) เมื่อหน่วยที่กำหนดอนุมัติให้ยิงได้ในแต่ละครั้ง (ทีละภารกิจ)

ข) เมื่อข้าศึกในบริเวณนี้โจมตีฝ่ายเรา ผบ.หน่วยที่ถูกโจมตีนั้น ทำการยิงหรือโจมตีเพื่อป้องกันหน่วยของตน พหย. นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อมิให้ทำการยิงในบริเวณนี้หรือที่กระทบกระเทือนกระทำก่อนที่จะตรวจสอบความปลอดภัย

๔) พื้นที่ประสานห้วงอากาศ (พปอ. ACA) รูปกล่องสมมุติในอากาศเหนือบริเวณเป้าหมายซึ่งจะช่วยให้อากาศยานฝ่ายเราปลอดภัยจากการยิงของฝ่ายเรา อาจกำหนดเป็นทางการหรือกำหนดเป็นกล่อง ๓ มิติ ในอากาศ (เช่น กว้าง คูณยาว คูณสูงล่าง คูณสูงบน) แต่โดยมากมักเป็นแบบไม่เป็นทางการ โดยใช้ภูมิประเทศเด่น ๆ (เช่น ห้ามยิง ป. ป.เรือ เหนือแม่น้ำโขง สอก. จะโจมตีทางด้านใต้)

หมายเหตุ รายละเอียดและตัวอย่างดูใน รส. ๖ – ๒๐

๖. ข้อพิจารณาในการเลือกใช้อาวุธยิงสนับสนุน

ก. ผปยส. เสนอแนะการเลือกใช้อาวุธโจมตีเป้าหมายต่าง ๆ แก่ ผบ.หน่วยกลยุทธและนำมาวางแผนการยิงสนับสนุนโดยยึดถือข้อพิจารณามูลฐานเหล่านี้คือ

๑) ประเภทการสนับสนุนที่ต้องการ

๒) การแบ่งมอบอาวุธสนับสนุนให้หน่วยต่าง ๆ

๓) ผลที่ต้องการ เช่น ข่ม ตัดรอนหรือทำลาย

๔) ลักษณะของเป้าหมาย

๕) ขีดความสามารถและขีดจำกัดของอาวุธสนับสนุนแต่ละชนิด รวมทั้งกระสุนที่มีอยู่ ความแม่นยำ ขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ ระยะยิงและขนาดของอาวุธ เป็นต้น

๖) ใช้การยิงสนับสนุนประเภทใดจึงจะประหยัดที่สุด

๗) อาวุธสนับสนุนที่มีอยู่และใช้ได้ แผนการใช้ สิทธิและความเร่งด่วนที่ผู้บังคับบัญชากำหนด

๘) ความยากลำบากในการส่งกระสุนเพิ่มเติม

๙) ความรวดเร็วในการปฏิบัติหรือเวลาสนองตอบที่ต้องการ

๑๐) ปัญหาเกี่ยวกับภูมิประเทศและสภาพอากาศ

๑๑) การเสี่ยงภัยหรืออันตรายของแต่ละระบบอาวุธที่จะเลือกใช้

๑๒) ผลของการยิงข่ม เมื่อต้องใช้ สอก.

๑๓) การติดต่อสื่อสารที่มีอยู่

๑๔) ความปลอดภัยของทหารฝ่ายเดียวกัน

๑๕) สภาพของพื้นที่บริเวณเป้าหมายก่อนการโจมตี

๑๖) ผลทางยุทธวิธีที่จะได้รับ

ข. สำหรับเป้าหมายที่เหมาะสมกับอาวุธแต่ละชนิด ศึกษาเพิ่มเติมจาก รส. ๖ – ๒๐ ส่วนกระสุน ชนวนและวิธีโจมตีรวมทั้งการวิเคราะห์เป้าหมายดูในบทที่ ๑๕

ค. ระบบการยิงสนับสนุน ได้แก่ ส่วนที่จะต้องทำงานให้สอดประสานช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบแบบแผน ในอันที่จะทำให้การยิงสนับสนุนกระทำได้อย่างรวดเร็วอ่อนตัวและได้ผลสูงสุด ประกอบด้วย ๓ ส่วน หรือ ๓ ระบบย่อยคือ ระบบการค้นหาเป้าหมาย ระบบอาวุธและกระสุนและระบบการควบคุมบังคับบัญชา ซึ่งกองร้อยกลยุทธอาจพิจารณาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเมื่อได้รับการแบ่งมอบมาให้

ง. ระบบ คปม. ได้แก่ ส่วนที่จะต้องทำการค้นให้พบ พิสูจน์ทราบและกำหนดที่ตั้งให้ถูกต้องเพียงพอ และแต่เนิ่นที่สุดต่อบรรดาเป้าหมายต่าง ๆ พอที่จะทำการโจมตีได้ทันและให้ได้ผลที่สุด โดยปกติได้แก่

๑) ผู้ตรวจการณ์หน้า ผู้ตรวจการณ์ต่าง ๆ ของ ป.สนาม

๒) ผู้ควบคุมอากาศยานหน้า (ผคน.)ของ ทอ.

๓) ผู้ตรวจการณ์ปืนเรือ (ผตปร.)

๔) เรดาร์ต่าง ๆ

๕) หน่วยลาดตระเวนและเฝ้าตรวจทางอากาศต่าง ๆ

๖) เครื่องมือเฝ้าตรวจระยะไกลต่าง ๆ

๗) หน่วยข่าวกรองทางการสื่อสารและอีเลคโทรนิค

๘) ฐานแสงและฐานเสียง

๙) หน่วยลาดตระเวนต่าง ๆ

จ. ระบบอาวุธและกระสุน ได้แก่เครื่องยิง เครื่องส่งหรือพาหนะในอันที่จะส่งหัวรบเข้าโจมตีเป้าหมายประกอบด้วย

๑) ปืนใหญ่สนาม (ป.)

๒) เครื่องยิงลูกระเบิด (ค.)

๓) การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด (สอก.)

๔) ปืนใหญ่เรือ (ป.เรือ)

๕) เฮลิคอปเตอร์โจมตี (ฮ.โจมตี)

๖) อาวุธ ปภอ. ที่เลือกแล้ว

๗) รถถัง เมื่อใช้ในบทบาทการยิงเล็งจำลอง

๘) การรบกวนด้วยวิทยุและเรดาร์

ฉ. การควบคุมบังคับบัญชา ได้แก่การประสาน การอำนวยการ การกำกับดูแล และการควบคุมบังคับบัญชา ทั้งในทางยุทธวิธีและทางเทคนิค ให้สามารถโจมตีเป้าหมายได้อย่างคุ้มค่าและประสิทธิผลสูงสุดได้แก่บรรดา

๑) แนวทางในการวางแผนของผู้บังคับบัญชา

๒) แนวความคิดในการปฏิบัติของผั้งคับบัญชา

๓) การแบ่งมอบอาวุธ และกระสุนของผู้บังคับบัญชา

๔) ลำดับความเร่งด่วนในการสนับสนุนของผู้บังคับบัญชา

๕) หน้าที่ของ ผปยส. และองค์การวางแผนและประสานการยิงต่าง ๆ

๖) ระเบียบและวิธีปฏิบัติในการวางแผนและประสานการยิงสนับสนุน

๗. แผนการยิงปืนใหญ่

ก. แผนการยิง ป. (ขอใช้คำนี้แทน แผนการยิงสนับสนุนของ ป. เพราะสั้นและเข้าใจง่ายกว่า) เป็นแผนทางยุทธวิธีของ ผบ.หน่วย ป. ในการที่จะใช้อำนาจการยิงของ ป. สนับสนุนการยุทธในครั้งนั้น ๆ และใช้เป็นเครื่องมือในการแจ้งข่าวสาร ให้คำแนะนำและสั่งการแก่หน่วย ป. ต่าง ๆ ในการสนับสนุนการยุทธในรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในแผนการยิงสนับสนุน ปกติแล้ว ฝอ.๓ ของหน่วย ป. นั้น ๆ จะเป็นผู้จัดทำและแจกจ่ายให้หน่วย ป. ต่าง ๆ ภายใต้การบังคับบัญชาหรือที่มาสนับสนุน

ข. แผนการยิง ป. นี้ปกติแล้วจะสั่งการด้วยวาจาไปก่อน เมื่อมีเวลาจึงจะจัดทำเป็นทางการอย่างสมบูรณ์ ซึ่งส่วนมากจะประกอบด้วย

๑) ส่วนข้อความ

๒) บัญชีเป้าหมาย

๓) แผ่นบริวารเป้าหมาย

๔) ตารางยิงตามกำหนดเวลา

๕) ตารางโปรแกรมการยิงหรือโครงการยิงต่าง ๆ

ค. ขั้นตอนในการจัดทำแผนการยิง ป. นั้นทั้งในระดับ กรม ป. และ พัน ป.ชต. ดำเนินการดังนี้

๑) รวบรวมเป้าหมายที่ได้รับจากส่วนต่าง ๆ เช่น ผตน. นตต. เป็นต้น ลงในแผ่นบันทึกงานบัญชีเป้าหมาย และกำหนดวิธีการโจมตีไว้เช่น ยิงเตรียม ยิงทำลายการเตรียม กลุ่มเป้าหมาย อันดับเป้าหมายหรือโปรแกรมการยิง (โครงการเป้าหมาย) ตามความเหมาะสม

๒) กรุยเป้าหมายลงบนแผ่นบริวารเป้าหมาย และกำหนดหมายเลขเป้าหมายที่ยังไม่มีหมายเลข

๓) ตรวจแก้และปรับเป้าหมายที่ซ้ำซ้อนกัน

๔) พิจารณาวิธีโจมตี และมอบให้หน่วยยิงต่าง ๆ โจมตีแต่ละเป้าหมาย

๕) ทำตารางการยิงต่าง ๆ โดยบันทึกลงในแผ่นบันทึกตารางการยิง เมื่อจะมีการยิงตามกำหนดเวลา เช่น ตารางการยิงเตรียม ตารางกลุ่มเป้าหมายหรือโปรแกรมการยิง เป็นต้น

๖) ตรวจสอบให้ละเอียดว่าเป้าหมายต่าง ๆ ได้ดำเนินการแล้วโดยใช้เครื่องหมายที่เหมาะสม

๗) จัดทำส่วนข้อความ

๘) แยกข้อมูลที่สำคัญ ๆ จากแผ่นบันทึกงานบัญชีเป้าหมายและตารางการยิงต่าง ๆ ให้เป็นเอกสารที่สมบูรณ์ประกอบกันเป็นแผนการยิง ป.ที่สมบูรณ์ต่อไป (ตัวอย่างในผนวก ค)

ง. อย่างไรก็ตามแผนการยิง ป. นี้อาจจะไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำให้สมบูรณ์ทุกส่วน บางส่วนอาจจะสั่งการด้วยงาจา และบางส่วนที่ทำเสร็จก็รีบส่งให้หน่วยต่าง ๆ ไปก่อนดังนี้เป็นต้น แต่ส่วนที่จะต้องทำและต้องมีเสมอได้แก่บัญชีเป้าหมาย

จ. ผตน. ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของระบบทหารปืนใหญ่ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการยิง ป. ก็คือ ต้องจัดทำบัญชีเป้าหมายหรือส่งข่าวสารเป้าหมายให้กับส่วนที่เกี่ยวข้อง (ตามปกติส่งผ่าน นตต.) (ดูตัวอย่างบัญชีเป้าหมายในผนวก ค.)

๘. เป้าหมายและสัญลักษณ์เป้าหมายในการวางแผนการยิง ป.

ก. เป้าหมาย (Target) คือ บุคคล อาวุธยุทโธปกรณ์ หรือภูมิประเทศที่เลือกขึ้นเพื่อทำการยิง หรือใช้อ้างอิงในกรณีต่าง ปกติจะกำหนดชื่อให้ด้วยระบบหมายเลขเป้าหมาย สามารถแบ่งตามความมุ่งหมายในการวางแผนการยิงออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑) เป้าหมายตามเหตุการณ์ คือ ม. ที่มิได้วางแผนหรือเตรียมหลักฐานยิงไว้ล่วงหน้า

๒) เป้าหมายตามแผน คือ ม. ที่วางแผนและเตรียมหลักฐานยิงไว้พร้อมแล้ว ม.ประเภทนี้ยังแบ่งออกได้อีก ๒ ชนิดคือ

ก) เป้าหมายตามตารางเวลา วางแผนไว้ให้ยิงตามลำดับของตารางการยิงตามเวลาต่าง ๆ

ข) เป้าหมายตามคำขอ วางแผนไว้แล้วแต่เมื่อจะยิงต้องขอ เพราะมิได้กำหนดไว้ในตารางเวลา

ข. เป้าหมายสำคัญ ม. ที่ ผบ.หน่วยกลยุทธเห็นว่าสำคัญต่อการปฏิบัติของตน ก็จะแจ้งให้ ผปยส. ทราบว่ามี ม.ใดบ้าง รวมทั้งคำแนะนำในการโจมตี เมื่อกองร้อย ป. ได้ทราบว่า ม.ใดเป็น ม. สำคัญ หลังภารกิจยิงแล้วจะหัน ป. มาตั้งหลักฐานยิงของ ม. นี้ไว้ตลอดเวลา รวมทั้งเตรียมกระสุนไว้ส่วนหนึ่งด้วย เช่น เป้าหมาการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย เป็นต้น

ค. สัญลักษณ์ของเป้าหมาย ม.ต่าง ๆ ที่กรุยลงในแผนที่หรือแผ่นบริวารเป้าหมายต่าง ๆ นั้นใช้สัญลักษณ์ดังนี้

๑) ๙๐๔ เป้าหมายธรรมดา ให้กากบาทตรงหรือเอียงก็ได้ จุดตัดของกากบาท คือ กึ่งกลาง

๒) ๙๐๔ เป้าหมายเป็นแนว ขีดตามมาตราส่วน พิกัดในบัญชีเป้าหมายคือจุดกึ่งกลาง พร้อมกับบอกความยาวและแนวเฉียงไว้ด้วย

๓) ๙๐๔ เป้าหมายสี่เหลี่ยมผืนผ้า เขียน ๔ เหลี่ยมตามลักษณะเป้าหมายทั้ง ยาว กว้าง และแนวเฉียง พิกัดในบัญชีเป้าหมายคือ จุดกึ่งกลางของเป้าหมายพร้อมกับบอกความยาว กว้าง และแนวเฉียง (ของด้านยาว) ไว้ด้วย

๔) ๙๐๔ เป้าหมายวงกลม เขียนวงกลมรัศมีตามมาตราส่วน พิกัดในบัญชีเป้าหมาย คือ จุดศูนย์กลางของวงกลม

๕) เป้าหมายพิเศษ ม. ที่จะยิงด้วยกระสุนพิเศษ (นิวเคลียร์) เขียนแบบเป้าหมายในแผ่นเรขายิงโดยมีจุดอยู่กึ่งกลาง ขวาบนเขียนหมายเลขเป้าหมาย ขวาล่าง = ชนิดและขนาดอาวุธ ซ้ายล่าง = หน่วยยิงและเวลาระเบิด ซ้ายบน = ความสูงของตำบลระเบิด

หมายเหตุ ในการวางแผนการยิง ป. ถ้าความยาวของ ม. มากกว่า ความกว้างของกรวยเปิดของกองร้อย ป. หรือมีความลึกเกิน ๒๕๐ เมตร ควรพิจารณาแบ่งเป็นหลาย ๆ เป้าหมายแล้วรวมเป็นกลุ่มเป้าหมายอีกทีหนึ่ง

ง. เป้าหมายรวม เป็นเทคนิควางแผนการยิงที่อำนวยให้ทำการโจมตีเป้าหมายหลาย ๆ แห่งพร้อมกัน หรือตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ที่ใช้กันอยู่เสมอคือ



๑) กลุ่มเป้าหมาย คือเป้าหมายตั้งแต่ ๒ เป้าหมายขึ้นไป ที่ต้องการให้ยิงพร้อม ๆ กัน เขียนที่ตั้ง ม. แล้วขีดเส้นล้อมกรอบ กำหนดชื่อกลุ่ม ม. ตาม รปจ.









๒) อันดับเป้าหมาย คือเป้าหมายหรือกลุ่มเป้าหมายหลาย ๆ เป้าที่วางแผนไว้ให้ยิงตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการยุทธ เช่น ในการเข้าตลุมบอนการตีโต้ตอบ เป็นต้น





๓) โครงการเป้าหมายหรือโปรแกรมการยิง...เป้าหมายจำนวนหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกันซึ่งจะทำการ ยิงตามคำขอ ตามเวลาที่กำหนดหรือเมื่อเงื่อนไขที่กำหนดไว้มักจะเรียกชื่อตามลักษณะเป้าหมาย เช่น โครงการต่อต้าน ป. โครงการข่มการตรวจการณ์ โครงการข่ม ปภอ. เป็นต้น

หมายเหตุ รายละเอียดเพิ่มเติมดูใน รส. ๖ – ๒๐

๙. สรุปส่วนประกอบของแผนการยิง ป. ในระดับต่าง ๆ

ก. ระดับกองร้อยกลยุทธ

- ผตน.ป. เป็นผู้จัดทำ

- มี ๑ ส่วนคือ บัญชีเป้าหมาย

- ผตน.อาจขอให้มีการจัด

๑) กลุ่มการยิง

๒) อันดับการยิงก็ได้

- ผตน.ป.เป็นผปยส.

ข. ระดับกองพันกลยุทธ

- นตต.ป. ประจำกองพันเป็นผู้จัดทำ

- ปกติมี ๓ ส่วนคือ

๑) ส่วนข้อความ

๒) บัญชีเป้าหมาย

๓) แผ่นบริวาร

- นตต.ป. อาจขอให้มี

๑) กลุ่มการยิง

๒) อันดับการยิงได้

- นตต.ป. เป็น ผปยส.

ค. ระดับ กรมกลยุทธ

- ฝอ.๓ พัน.ป.ชต. เป็นผู้จัดทำ

- ปกติมี ๕ ส่วนคือ

๑) ส่วนข้อความ

๒) บัญชีเป้าหมาย

๓) แผ่นบริวาร

๔) ตารางการยิงตามกำหนดเวลา

๕) ตารางกลุ่มการยิง (ตามคำขอ)

- ฝอ.๓ พัน.ป.ชต. สามารถทำ

๑) กลุ่มการยิง

๒) อันดับการยิงได้

- ไม่ทำโครงการยิงแต่อาจขอให้จัดทำได้

- ผบ.พัน.ป.ชต. เป็น ผปยส.

ง. ระดับกองพล

- ฝอ.๓ กรม ป.พล. เป็นผู้จัดทำ

- ปกติมี ๕ ส่วนคือ

๑) ส่วนข้อความ

๒) ส่วนบัญชีเป้าหมาย อาจประกอบด้วย

ก) บัญชีเป้าหมายทั่วไป

ข) บัญชีเป้าหมาย ค. ป. ข้าศึก

ค) บัญชีเป้าหมายการข่ม ปภอ.

๓) ส่วนแผ่นบริวาร

๔) ตารางการยิงตามกำหนดเวลา

๕) ตารางโครงการยิงต่าง ๆ คือ

ก) โครงการต่อต้านการยิง (ค. ป.)

ข) โครงการข่ม ปภอ.

- ฝอ. ๓ พัน.ป.ชต. สามารถจัดทำ

๑) กลุ่มการยิง

๒) อันดับการยิง

๓) โครงการยิงได้

- ผบ.กรม ป.พล เป็น ผปยส.

จ. แผนการยิง ป. หรือแผนการสนับสนุนด้วย ป. นี้อาจจะทำครบทุกส่วนหรือจัดทำเฉพาะส่วนที่จำเป็นก็ได้ แต่สิ่งที่จะต้องทำและมีเสมอขาดไม่ได้คือ บัญชีเป้าหมาย ต้องทำทุกครั้งและทุกระดับ

ฉ. ส่วนข้อความของแผนการยิง ป. นั้นคงใช้รูปแบบเช่นเดียวกับคำสั่งยุทธการโดยทั่วไปนั่นเอง (ดูตัวอย่างในผนวก ค.)

----------------------------------------------------------