บทที่ ๑๒ การปรับการยิงอาวุธสนับสนุนอื่นๆ

บทที่ ๑๒

การปรับการยิงอาวุธสนับสนุนอื่น ๆ


ตอนที่ ๑ เครื่องยิงลูกระเบิด (ค.)

๑. ทั่วไป

ก. ในการโจมตีเป้าหมายนั้น ๆ ค.๑๐๗ และ ๑๒๐ มม. ปกติจะใช้เป็นหมวด (๔กระบอก) ส่วน ค.๘๑ และ ค.๖๐ นั้น มักใช้เป็นตอน (๓ กระบอก) แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจำเป็นอาจใช้เป็นหมู่หรือเป็นคู่ ๆ ก็ได้

ข. ตารางต่อไปนี้เป็นคุณลักษณะของ ค. โดยทั่วไป

๒. การขอยิงและการปรับการยิง

การขอยิงและระเบียบปฏิบัติของ ผตน. ในการปรับการยิง ค. คงเหมือนกับ ป. เทคนิคที่แตกต่างกันจะกล่าวในข้อต่อ ๆ ไป

๓. การยิงหาหลักฐาน

ก. การยิงหาหลักฐานประณีต คงดำเนินการเช่นเดียวกับ ป. เว้นแต่จะไม่มีการยิงหาหลักฐานด้วยชนวนเวลา

ข. การยิงหาหลักฐานแบบ เอบีซีเอ คงใช้ระบบเดียวกัน เว้นแต่

๑) เมื่อผ่าห้วงควบ ๑๐ เมตร ถ้ากระสุนตกห่างเป้าหมายภายในระยะ ๕๐ เมตร ถือว่าจบภารกิจแล้วส่งหลักฐานปรับแก้ไปให้ ศอย. ได้เลย

๒) การปรับแก้หลักฐานทางระยะใช้เต็ม ๒๕ เมตร แทน ๑๐ เมตร ส่วนทางทิศคงใช้เต็ม ๑๐ เมตรเหมือนกัน

รูปที่ ๑๒ – ๑ การปรับแก้หลักฐานการ ยฐ ของ ค.

ค. การปรับอีกอย่างหนึ่งซึ่ง ป. ไม่ใช้ แต่ใช้กับ ค. คือ การปรับกรวย (Adjust the sheaf) ซึ่งอาจจะกระทำเมื่อใดก็ได้ระหว่างการยิง แต่โดยปกติ ศอย. จะให้ปรับกรวยภายหลังการยิงหาหลักฐานจบแล้ว ถ้าต้องการให้ปรับกรวย ศอย. จะส่งข่าวดังนี้

“เตรียมปรับกรวย เปลี่ยน”

๑) จุดมุ่งหมายของการปรับกรวย ก็เพื่อปรับให้กรวยขนานคู่ทุกกระบอกในการยิงต่อไป

๒) ปกติแล้วตอนหรือหมวด ค. จะตั้งยิงเรียงหมู่จากขวาไปซ้าย (หันหน้าไปตามทิศทางยิง) สำหรับ ค. เบา (ค.๖๐, ๘๑) หมู่ ๑ อยู่ทางขวาสุด หมู่ ๓ ซ้ายสุด และทำนองเดียวกัน ค.หนัก (ค.๑๐๗, ๑๒๐) หมู่ ๑ -๔ จะเรียงจากขวาไปซ้าย

๓) เมื่อพร้อมปรับ ผตน. จะส่งข่าวให้ ศอย.ทราบ

“ทีละหมู่ เป็นรอบจากขวา (ซ้าย) ยิงซ้ำเปลี่ยน”

๔) ทั้งตอนหรือทั้งหมวดจะทำการยิงทีละหมู่จากขวา (ซ้าย) ห่างกันนัดละ ๑๐ วินาที ส่วนกระบอกที่ใช้ยิงหาหลักฐานจะไม่ยิง

๕) การปรับกรวยก็คือ พยายามดึงกระสุนให้ตกอยู่ในแนวหรือระยะเดียวกันไม่เกิน ๕๐ เมตร และมีระยะห่างทางทิศ ๔๐ เมตร สำหรับ ค. ๑๐๗ มม.

๖) การแก้ทางทิศใช้เต็ม ๑๐ เมตร แต่การแก้ที่น้อยกว่า ๕๐ เมตร จะไม่ยิง

๗) เมื่อได้หลักฐานปรับแก้ของ ค. ทุกกระบอกแล้ว เป็นอันจบการปรับกรวย (ดังรูป)

รูปที่ ๑๒ – ๒ กรวย ค. ที่ปรับแล้ว

ง. ตัวอย่างการปรับกรวย ค.๑๐๗ มม.

- ศอย. “เตรียมปรับกรวย เปลี่ยน”

- ผตน. “ทีละหมู่ เป็นรอบจากขวา ยิงซ้ำ เปลี่ยน”

- ศอย. จะสั่งยิง หมู่ ๑ หมู่ ๓ และหมู่ ๔ ทีละกระบอกห่างกัน ๑๐ วินาที (หมู่ ๒ ไม่ยิงเพราะเป็นหมู่ยิงหาหลักฐาน)

- สมมุติว่า ปรากฏผลการยิงตามรูป

รูปที่ ๑๒ – ๓ ตัวอย่างการยิงปรับกรวย

- ทุกนัดตกภายหลังห้วงความคลาดเคลื่อนทางระยะที่ยอมให้ คือไม่เกิน ๕๐ จากแนวที่ต้องการ และมี นัดที่ ๓ เท่านั้นที่ทางทิศผิดเกิน ๕๐ เมตร ดังนั้นจึงแก้หมู่ ๓ ก่อน แล้วส่งหลักฐานปรับแก้หมู่ ๑ และหมู่ ๔ ติดตาม เช่น

- ผตน. “หมู่ ๓ ซ้าย ๖๐ ยิงซ้ำ เปลี่ยน หมู่ ๑ ซ้าย ๒๐ หมู่ ๑ เสร็จ หมู่ ๔ ขวา ๓๐ หมู่ ๔ เสร็จ เปลี่ยน”

- หมู่ ๓ ยิงมา ๑ นัด สมมุติว่าตกทางซ้ายและอยู่หน้าภายในระยะ ๕๐ เมตร

- ผตน. “หมู่ ๓ ขวา ๑๐ หมู่ ๓ เสร็จ ปรับกรวยจบ จบภารกิจ เปลี่ยน”

๔. ภารกิจอื่น ๆ

ก. ภารกิจยิงอื่น ๆ เช่น การส่องสว่าง ควันและการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้ายเป็นต้น การกรับการยิงก็คงเหมือน ป.

ข. สำหรับภารกิจยิงควันนั้น ค. มีแต่เฉพาะควันขาว ดังนั้นการสร้างฉากควันกำบังด้วย ค. จะต้องใช้ ลย. เป็นจำนวนมากและมีการเตรียมการอย่างดี

ค. การส่องสว่างด้วย ค. นั้นได้ผลดีมาก สามารถยิงได้ทั้ง ค.กระบอกเดียว ๒ กระบอกหรือ ๔ กระบอก เหมือนกับ ป.สำหรับ ลย.ส่องแสงของ ค.๘๑ มม.ได้ผลคล้ายกับ ป.๑๐๕ มม. ส่วนของ ค.๑๐๗ มม. มีพื้นที่ส่องสว่างเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕๐๐ ม.


ตอนที่ ๒ การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด

๕. ทั่วไป

การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดได้แก่ การใช้อากาศยานโจมตีต่อเป้าหมายทางภาคพื้น ที่อยู่ในบริเวณใกล้ชิดกับกำลังฝ่ายเรา จึงจำเป็นต้องมีการประสานอย่างดีระหว่างอากาศยานกับหน่วยทางภาคพื้น

๖. การขอสนับสนุน

คำขอการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด (สอก) มีอยู่ ๒ แบบ คือ การขอตามแผน และการขอเร่งด่วน

การขอตามแผน ให้ใช้แบบฟอร์มและวิธีการที่กล่าวไว้ใน รส. ๖ – ๓๐ ซึ่งการขอครั้งแรกอาจจะเริ่มต้น จาก ผตน. หรือ นยส.

การขอเร่งด่วน อาจจะเริ่มจากระดับใดก็ได้ และคำขอจะต้องประกอบด้วย

๑) การแสดงตนของผู้ตรวจการณ์

๒) คำสั่งเตือน (ขอการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด)

๓) ที่ตั้งเป้าหมาย (พิกัดตาราง)

๔) ลักษณะเป้าหมาย

ก) ประเภทและจำนวน

ข) การกระทำหรือการเคลื่อนที่

ค) เป้าหมายเป็น ๆ หรือเป็นพื้นที่

๕) ผลที่ต้องการ (ตัดรอนกำลัง ทำลาย หรือรบกวน)

๖) เวลาที่ต้องการให้อยู่เหนือเป้าหมาย (เวลา ณ เป้าหมาย)

๗. การใช้ สอก.

ก. กรรมวิธี

ฝอ. ๓ ของกองพัน นยส. และ นอต. จะร่วมกันพิจารณาว่าเป้าหมายที่ขอมานั้น เหมาะที่จะใช้ สอก. โจมตีหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเหมาะ นายทหารอากาศติดต่อ (นอต.) ก็จะส่งคำขอ สอก. เร่งด่วนไปตามสายงาน ถ้าม่มีผู้ควบคุมอากาศยานหน้า (ผคน.) ของ ทอ. และอากาศยานนั้นมีวิทยุ เอฟเอ็ม ก็จะมอบให้ ผตน. เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติภารกิจ สอก.

อากาศยานที่มีวิทยุเอฟเอ็มได้แก่ บ.แบบ เอ-๑๐, เอ-๗, เอ – ๓๗ และเอ-๘ เอ

ในชั้นนี้ นอต. จะเป็นผู้เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจและวิธีโจมตีแล้วส่งข่าวให้ ผตน. ทราบ (ตัวอย่างตามข้อ ค. ช้างล่าง)

เมื่อ ผตน. ติดต่อทางวิทยุกับหัวหน้านักบินได้แล้ว ก็ควรจะซักถามเกี่ยวกับข่าวสารการโจมตีครั้งนั้น (Lineup Information) ว่าจะเหมือนกับที่ได้รับทราบมาจาก นอต.หรือไม่

มาตรการควบคุม สอก. ในการโจมตีเป้าหมายมี ๓ ประการด้วยกัน ซึ่ง ผตอ.จะต้องใช้ คือ

๑) จุดเริ่มต้นการติดต่อ (Contact Point CP) คือจุดที่อากาศยานจะเริ่มใช้วิทยุติดต่อกับผู้ควบคุมทางพื้นดิน (ผตน.)

๒) จุดเริ่มต้น (Initial Point IP) คือ จุดที่อากาศยานเริ่มตั้งต้นบินตามเวลาที่กำหนดไปสู่จุดดึงขึ้น

๓) จุดดึงขึ้น (Pullup Point PUP) คือจุดที่อากาศยานซึ่งบินต่ำเลี่ยดินมาเริ่มดึงไต่สูงขึ้น เพื่อให้เห็นเป้าหมายและให้ได้ความสูงที่ต้องการในการโจมตีเป้าหมาย

รูปที่ ๑๒ – ๔ ตัวอย่าง สอก.


ตัวอย่าง ภารกิจ สอก. ตามรูปที่ ๑๒ – ๔

ก) ข้อมูลภารกิจ

- ภารกิจที่ – ๑๒๑๐๐๒๓

- นามสถานีนักบิน - ดาวหาง ๑๑

- ประเภทและจำนวน - บ. เอ – ๗ สองเครื่อง

- อาวุธ – จรวดมาเวอร์ริค (ตถ) ๖ นัด และ ปก.๒๐ มม.

- เวลาในอากาศ – ๓๐ นาที

- นามสถานี ผคน. – ลพบุรี ๒๔

- จุกเริ่มต้น – ยอดเขาพิกัด ๔๕๙๘๕๔

- ความถี่วิทยุ – ๔๕.๕๐

ข) ข่าวสารการโจมตี

- ลักษณะเป้าหมาย – รถถัง ที่๖๒ ห้าคัน

- ที่ตั้งเป้าหมาย – พิกัด ๑๓๒๗๖๘

- จุดดึงขึ้น – ถนนและลำธารตัดกันที่พิกัด ๑๕๐๙๕๕

- การตั้งหลัก – จุดเริ่มต้น ถึงจุดดึงขึ้น

- ทิศหัวเครื่อง – ๓๕๐ องศา

- ระยะ – ๑๖ ไมล์ทะเล

- ความเร็ว ๕๐๐ น๊อต

- ความเร็ว – ๒ นาที

- ทิศหัวเครื่องเอโจมตี – ๒๔๐ องศา

- การชี้เป้าหมาย – ควันขาว

- แนวฝ่ายเรา – ตะวันออกของถนนจากพิกัด ๑๔๗๕ ถึง ๑๔๙๖

- การตรวจสอบอาวุธตกค้าง – ค- ๑๒

- การโจมตีซ้ำ – ต้องยืนยัน

- ข้อจำกัดในการโจมตี – ไม่มี

- อันตรายจากข้าศึก – ซู – ๒๓ สอง กม.ตะวันตกเป้าหมาย

- สภาพอากาศ/ลม – แจ่มใส/ค่อนข้างนิ่ง แต่เปลี่ยนแปลงได้

ผตน. จะต้องแจ้งข่าวเกี่ยวกับการโจมตีนี้ตั้งแต่การติดต่อครั้งแรก ให้หัวหน้านักบินทราบ ถ้านักบินได้รับแจ้งข่าวล่วงหน้าไว้แล้ว

ข. การหมายหรือชี้เป้า

การชี้หรือเป้าหมายที่ดีที่สุด คือ ใช้กระสุนเอซซีของ ป. หรือ กระสุนควันขาวของ ป. หรือ ค.

การชี้เป้าที่ได้ผลดีที่สุด นั้น กระสุนควรจะระเบิด ณ บริเวณเป้าหมายประมาณ ๑๐ วินาที ก่อนที่เครื่องบินจะถึงจุดดึงขึ้น

ผตน. อาจหาเวลาบินของเครื่องบินจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดดึงขึ้นได้จากข่าวเกี่ยวกับการโจมตีที่ นอต. ให้มา (ตามตัวอย่างคือ ๒ นาที)

เวลายิงกระสุนชี้เป้าหมายก็คือ ให้ใช้เวลาแล่นของกระสุน (จาก ศอย.) รวมกับเวลาเผื่ออีก ๒๐ วินาที แล้วสั่งยิงก่อนที่เครื่องบินจะถึงจุดดึงขึ้น แต่ถ้าใช้กระสุนควัน เอซซี จะต้องบวกเพิ่มอีก ๒๐ วินาที ตัวอย่างเช่น

- เวลาบินจากจุดเริ่มต้นถึงจุดดึงขึ้น ๒ นาที

- เวลาแล่นของกระสุน ๒๕ วินาที ใช้กระสุนควันขาว

- เวลาที่จะสั่งยิงก่อนถึงจุดดึงขึ้น = เวลาแล่นเผื่อ = ๒๕ + ๒๐ = ๔๕ วินาที

- เครื่องบินออกจากจุดเริ่มต้นเวลา ๑๔๑๐

- เครื่องจะบินถึงจุดดึงขึ้น เวลา ๑๔๑๐ + ๒ นาที = ๑๔๑๒

- สั่งยิงเวลา ๑๔๑๒ – ๔๕ วินาที = ๑๔๑๑ กับอีก ๑๕ วินาที (๑๔๑๑.๑๕)

ผตน.ควบคุมการยิงชี้เป้าหมาย ด้วยคำสั่งว่า “ตามคำสั่งข้าพเจ้า”

ค. การควบคุม

๑) การควบคุมภารกิจ สอก. นั้นเริ่มขึ้นเมื่อ หัวหน้านักบินเริ่มติดต่อกับ ผตน. ในครั้งแรกที่จุดติดต่อเมื่อเริ่มการติดต่อได้แล้ว ผตน. ควรจะได้ซักถามข่าวสารเกี่ยวกับการโจมตีที่ได้รับทราบมา ถ้าข่าวที่นักบินทราบมาผิดจากที่ตนได้รับทราบจาก นอต. มา ผตน. ก็ควรปรับแก้ไขให้ตรงกัน ทัง้ข้อมูลภารกิจ และข่าวเกี่ยวกับการโจมตี แต่ถ้านักบินยังไม่ทราบมาเลย ผตน. ก็จำเป็นต้องแจ้งให้นักบินทราบ

๒) ก่อนที่เครื่องบินจะถึงจุดเริ่มต้น ผตน. ควรจะได้หาเวลาสั่งยิงชี้เป้าไว้แล้วและขอภารกิจยิงชี้เป้าไปยัง ศอย. พร้อมกับการควบคุมแบบ “ตามคำสั่งข้าพเจ้า” แต่ยังไม่สั่งยิง

๓) ผตน. ตรวจสอบการเข้าสู่จุดเริ่มต้นจากหัวหน้านักบิน และถามเวลาออกจากจุดเริ่มต้นจากหัวหน้านักบินให้แน่นอน แล้วเริ่มจับเวลาเมื่อเครื่องบินเริ่มบินเข้าสู่จุดดึงขึ้น แล้วขอให้หัวหน้านักบินรายงานให้ตนทราบ เมื่อถึงเวลายิงชี้เป้าแล้วก็สั่ง “ยิง” ไปยังกองร้อย แล้วคอยตรวจผลการยิงและควบคุมเครื่องบิน

ผตน.จะต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะยิงชี้เป้าให้ได้ดีที่สุด แม้ว่าการติดต่อสื่อสารจะขัดข้อง หรือถูกขัดขวาง

๔) ผตน.ควรจะคอยสังเกตว่าเครื่องบินจะถึงจุดดึงขึ้นเมื่อใด ในลักษณะใด แล้วคอยแนะนะหัวหน้านักบิน ให้มุ่งเข้าสู่เป้าหมายซึ่งยิงชี้เป้าไว้แล้ว โดยใช้ระบบเข็มนาฬิกาในการอธิบาย

เมื่อหัวหน้านักบินเห็นควันที่ชี้เป้าหมายแล้ว ผตน. ควรจะอธิบายให้ทราบด้วยว่าเป้าหมายอยู่ทิศทางใด และเป็นระยะเท่าใด จากกระสุนชี้เป้าโดยใช้ทิศทางหลักทั้ง ๘ ในการแนะนำ

เมื่อ ผตน. จะต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอที่จะเรียกนักบินกลับก่อนที่จะปล่อยหัวรบ ถ้าเห็นว่านักบินเตรียมการโจมตีผิดเป้าหมายหรือขอให้นักบินโจมตีซ้ำอีก เมื่อผลการโจมตียังไม่เป็นที่พอใจ

เป็นความรับผิดชอบของผู้ตรวจการณ์หน้าโดยตรง ถ้านักบินโจมตีเป้าหมายผิด

ภารกิจตัวอย่าง

นักบิน “ ลพบุรี ๒๔ จากดาวหาง ๑๑ ขณะนี้อยู่ ณ จุดเริ่มติดต่อแล้ว เปลี่ยน”

ผตน. “จากลพบุรี ๒๔ ขอทราบข้อมูลการโจมตี เปลี่ยน”

นักบิน “จากดาวหาง ๑๑ ภารกิจหมายเลข ๑๒๑๐๐๒๗ เอ.๗ สองเครื่อง จรวดมาร์เวอริค ๖ นัด และ ปก. ๒๐ มม. ในแต่ละเครื่อง เวลาในอากาศ ๓๐ นาที เปลี่ยน”

ผตน. “จากลพบุรี ๒๔ ท่านมีข่าวสารการโจมตีหรือไม่ เปลี่ยน

นักบิน “ จากดาวหาง ๑๑ มีแล้ว เปลี่ยน”

ผตน. – ศอย. “ ลพบุรี ๑๘ จาก ลพบุรี ๒๔ ยิงหาผล ป.๑กระบอก พิกัด ๑๓๒๙๖๘ หมายพิกัด กระสุนควันขาว ตามคำสั่งข้าพเจ้า ขอทราบเวลาแล่น เปลี่ยน”

ศอย. – ผตน. “จากลพบุรี ๑๘ ปืนพร้อม เวลาแล่น ๒๕ เปลี่ยน”

บักบิน “ลพบุรี ๒๔ จากดาวหาง ๑๑ ขณะนี้ดาวหาง ๑๑ อยู่เหนือจุดเริ่มต้น เปลี่ยน”

ผตน. “จากลพบุรี ๒๔ ทราบแล้ว คุณพร้อมจากจุดเริ่มต้น รายงานเลาออกจากจุดเริ่มต้น และ ๔๕ วินาที ก่อนจะถึงจุดดึงขึ้นให้ทราบด้วย เปลี่ยน”

นักบิน “จากดาวหาง ๑๑ ออกจากจุดเริ่มต้นแล้ว เปลี่ยน”

“ จากดาวหาง ๑๑ ขณะนี้ เหลือเวลา ๔๕ วินาที ก่อนดึงขึ้น เปลี่ยน”

ผตน. – ศอย. “จากลพบุรี ๒๔ ยิง เปลี่ยน”

ศอย. – ผตน. “จาก ลพบุรี ๑๘ ยิงไปแล้ว เปลี่ยน”

ผตน. “ดาวหาง ๑๑ จากลพบุรี ๒๔ คุณเห็นควันขวทาง ๑๐ นาฬิกาหรือยัง เปลี่ยน”

นักบิน “ จากดาวหาง ๑๑ เห็นแล้ว เปลี่ยน”

ผตน. “ จากลพบุรี ๒๔ เป้าหมายของคุณคือกลุ่มรถถัง ที-๖๒ บนเนินเขา จากกระสุนควันไปทางตะวันออก ๒๐๐ เมตร คุณเห็นหรือยัง เปลี่ยน”

นักบิน “ จากดาวหาง ๑๑ ทราบแล้วผมเห็นเป้าหมายแล้ว เปลี่ยน”

ผตน. “จากลพบุรี ๒๔ ทุกอย่างปลอดภัยเปลี่ยน”

“ ดาวหาง ๑๑ จากลพบุรี ๒๔ จบภารกิจ รถถัง ที-๖๒ ถูกทำลายทั้งหมด เลิกควบคุม เปลี่ยน”

ผตน. – ศอย. “ลพบุรี ๑๘ จาก ลพบุรี ๒๔ จบภารกิจ เปลี่ยน”

ศอย. – ผตน. “ จากลพบุรี ๑๘ จบภารกิจ เลิก”


ตอนที่ ๓ ปืนเรือ

๘. ทั่วไป

ในการยกพลขึ้นบกหรือยุทธการตามชายฝั่ง สามารถที่จะใช้ปืนเรือยิงสนับสนุนได้เป็นอย่างดี และเมื่อจะใช้ก็จะจัดชุดตรวจการณ์ปืนเรือมาสนับสนุนให้หน่วยกลยุทธด้วย แต่ถ้าไม่มี ผตน. ก็ต้องทำหน้าที่ขอการยิงและปรับการยิงปืนเรือด้วย

ปืนเรือนั้นส่วนมากเป็นอาวุธวิถีราบ มีความเร็วต้นสูง มีระยะยิงไกล อำนาจการทะลุทะลวงดี มีหลายขนาด ตั้งแต่ ๔ นิ้วถึง ๑๘ นิ้ว และยังมีจรวดพื้นสู่พื้นอีกด้วย ส่วนกระสุนนั้นก็คล้าย ๆ ของ ป.สนามคือ มีกระสุนระเบิด เจาะเกราะ ส่องแสง และควันขาว ส่วนชนวนไวมี ถ่วงเวลา และวีทีเช่นเดียวกัน

๙. การขอยิง

การของยิงปืนเรือคงใช้แบบฟอร์มเหมือนกับคำขอยิงของ ป. แต่มีบางข้อแตกต่างกันออกไป ดังนี้

ก. การแสดงตนของผู้ตรวจการณ์ คงใช้นามเรียกขานเหมือนปกติ นามสถานีของเรือจะต้องได้รับทราบ จากนายทหารติดต่อปืนเรือ (นตปร) ไว้ล่วงห้า

ข. คำสั่งเตือน ปกติใช้คำว่า “ภารกิจยิง”

๑) ถ้า ผตน. จะปรับเองใช้คำว่า “ผู้ตรวจการณ์ปรับ” หรือ “ยิงหาผล” เท่านั้น

๒) ถ้าเรือสามารถมองเห็น ม. ได้ดีกว่า ผตน. ก็อาจกำหนดให้ผู้ตรวจการณ์บนเรือปรับการยิงเอง โดยขอ “เรือปรับ”

๓) ปกติแล้วคำสั่งเตือนควรจะรวมเอาหมายเลขเป้าหมายเข้าไว้ด้วย สำหรับกลามเป้าหมายต่าง ๆ ที่จะใช้ ผตน. ปรับ นตปร. จะมอบให้ล่วงหน้า

ค. ที่ตั้งเป้าหมายคงใช้พิกัดตาราง พิกัดโปล่าร์และย้ายจากจุดทราบที่ตั้งเช่นเดียวกัน แต่วิธีพิกัดตาราง จะต้องบอกความสูงของเป้าหมายและทิศทางตรวจการณ์ไปพร้อมกันด้วย

ง. ลักษณะเป้าหมาย คงเหมือนของ ป.

จ. วิธีโจมตี

๑) “อันตรายใกล้ฝ่ายเรา” ประกาศเสมอเมื่อ ม. อยู่ทางฝ่ายเราภายใน ๓๕๐ ม. สำหรับ ป.๕ นิ้ว และ ๑๐๐๐ ม. สำหรับ ป.ตั้งแต่ ๖ นิ้วขึ้นไป โดยบอกทิศทางและระยะจากเป้าหมายไปยังที่ตั้งฝ่ายเราด้วย

๒) “ลดส่วนบรรจุ” ขอไปเมื่อต้องการความแม่นยำและยิงข้ามสิ่งกีดขวาง

๓) กระสุน

ก) กระสุนระเบิดเป็นกระสุนมาตรฐานถ้าใช้กระสุนอื่นต้องบอก

ข) ชนวนไวเป็นชนวนมาตรฐาน สำหรับชนวนวีทีนั้น ปกติใช้กับเป้าหมายทางอากาศไม่ควรใช้ยิ่ง ม. ทางพื้นดินเพราะไวมาก

๔) กรวยไม่ขอในการยิงปืนเรือ

๕) องค์ประกอบที่เป็นมาตรฐานใด ๆ ไม่ต้องบอกก็ได้

ฉ. วิธียิงและการควบคุม

๑) วิธียิงต้องบอกจำนวนปืนที่จะยิงปรับและถ้ายิงหาผลด้วย ป. แตกต่างจากจำนวนที่ใช้ปรับต้องบอกด้วย

๒) วิธีควบคุมมี ๒ แบบคือ “ตรวจไม่ได้” และ “ตามคำสั่งข้าพเจ้า” ทั้ง ๒ แบบใช้เหมือนกับ ป. คำว่า “ผู้ตรวจการณ์ปรับ” “ยิงหาผล” หรือ “เรือปรับ” อาจนำมาไว้ในข้อนี้ก็ได้ ตัวอย่างเช่น

นามสถานีของเรือคือ ธนบุรี ผตน. คือ ลพบุรี ๒๔

“ ธนบุรี จากลพบุรี ๒๔ ภารกิจยิง เป้าหมาย ส.๐๐๐๑ เปลี่ยน พิกัด ๕๗๙๒๖๒ สูง ๖๕๐ มุมภาค ๓๘๐๐ บังเกอร์ข้าศึก ๕ แห่ง ลดส่วนบรรจุ ชนวนถ่วงเวลา ป.๑ กระบอกในการปรับ ๒ กระบอก ยิงหาผล ผู้ตรวจการณ์ปรับ เปลี่ยน”

๑๐. วลีในการปรับการยิง

วลีหรือคำบางคำที่ไม่ใช้ในการปรับการยิงอาวุธอื่น แต่ใช้กับปืนเรือได้แก่

ก. คำที่ใช้โดย ผตน.

๑) “ต่างมาก” (Large Spread) แสดงว่าระยะห่างระหว่างนัดมากเกินไป

๒) “เฉ” (Trend) แสดงว่าการยิงนั้นคืบหรือห่างเป้าหมายออกไปเรื่อย ๆ ให้บอกระยะ และทิศทางที่เฉด้วย เช่น “เฉ ตะวันออกเฉียงใต้ ๕๐ เมตร ต่อชุด”

๓) “ยิงกระจาย” (Spreading Fire) แสดงว่าการยิงเกือยคลุมเป้าหมายแล้วให้ตามด้วยการแก้ที่เหมาะสม

๔) “เป้าหมายใหม่” (Fleeh Target) บอกให้เรือทราบว่า ขณะทำการยิงอยู่ มีเป้าหมายที่สำคัญกว่าเกิดขึ้น จะขอย้ายไปยิงเป้าหมายใหม่นี้ให้..กำหนดที่ตั้ง ม. ด้วยการย้ายจากจุดที่ทราบที่ตั้ง คือย้ายจากจุดที่กำลังยิงอยู่นั้น

ข. คำที่ใช้โดยเรือ

๑) “รอก่อน” (Delay) แสดงว่าเรือยังไม่พร้อมยิง จะตามด้วยเวลาพร้อมยิงโดยประมาณ

๒) “ยกเลิก” (Nelect) แสดงว่ากระสุนนัดสุดท้ายที่ยิงไปนั้นตั้งหลักฐานไม่ถูกต้อง

๓) “ไม่ยิง” (Will Not Fire) แสดงว่าเรือไม่สามารถจะทำการยิงได้เพราะเหตุแห่งความปลอดภัยหรือเหตุผลอื่น ๆ

๔) “ยิงเป็นชุด” (Salvo Fire) แสดงว่าอาวุธหลายกระบอกทำการยิงพร้อมกันต่อเป้าหมายเดียวกัน