บทที่ ๑๕ การวิเคราะห์เป้าหมายและแนวทางการใช้กระสุน

บทที่ ๑๕

การวิเคราะห์เป้าหมายและแนวทางการใช้กระสุน

๑. ทั่วไป

ก. ในฐานะที่ ผตน. เปรียบเสมือนตาของทหารปืนใหญ่ ผตน. จึงมีความรับผิดชอบหลักที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เป้าหมาย คือ

๑) จะต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมายอย่างพอที่ นอย. จะรู้ถึงความสำคัญอันแท้จริงของเป้าหมาย และ

๒) จะต้องเสนอแนะวิธีการโจมตีที่จะได้ผลดีที่สุดให้ นอย.ทราบด้วย

ข. การวิเคราะห์เป้าหมาย หมายถึง การตรวจสอบเป้าหมายเพื่อพิจารณา

๑) ความสำคัญทางยุทธวิธีของเป้าหมายนั้น ๆ

๒) ความจำเป็นในอันที่จะโจมตีในทันทีหรือไม่

๓) ขีดความสามารถและความเหมาะสมของระบบอาวุธที่จะใช้โจมตี

ค. ผลของการวิเคราะห์เป้าหมายจะออกมาในรูปของข้อเสนอแนะที่ว่า

๑) เป้าหมายนั้นควรจะโจมตีในทันทีด้วยระบบอาวุธและกระสุนเช่นไร หรือ

๒) วางแผนไว้เพื่อโจมตีในภายหลังในรูปของ

ก) การยิงตามคำขอ หรือ

ข) ผ่านเป้าหมายเหล่านั้นไปให้หน่วยรองวิเคราะห์เอง หรือ

ค) ทิ้งเป้าหมายนั้นเสีย

ง. เวลาที่ใช้และความละเอียดถี่ถ้วนของการวิเคราะห์เป้าหมาย ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่า

๑) ข่าวสารเป้าหมายมีมากเพียงใด

๒) องค์การยิงสนับสนุนที่เหมาะในการโจมตีและสามารถใช้ได้

๓) ต้องการประสานมากน้อยแค่ไหน และ

๔) ความเร่งด่วนในการดจมตี

จ. ตามหลักแล้วทุกองค์การยิงสนับสนุน เมื่อได้รับข่าวสารเป้าหมายจะต้องทำการวิเคราะห์เป้าหมายเสมอ ด้วยการใช้ข่าวสารทั้งสิ้นที่มีอยู่เดิม และเมื่อข่าวสารเพิ่มเติมที่ได้รับทราบใหม่เปลี่ยนแปลงไป จะต้องวิเคราะห์เป้าหมายเหล่านั้นเสียใหม่ ผลของการวิเคราะห์เป้าหมายใหม่นี้อาจจะออกมาในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

๑) มีความสำคัญมากขึ้น

๒) ความสำคัญลดลง หรือ

๓) คงอยู่ในสถานะเดิม

ฉ. ผลของการวิเคราะห์เป้าหมาย จะใช้ได้แต่เฉพาะระดับหน่วยที่วิเคราะห์เท่านั้น เช่น ที่ตั้งปืนกล ผตน. อาจจะพิจารณาว่า เป็นเป้าหมายที่ฟุ่มเฟือยเกินไปในอันที่จะยิงในขณะนั้น แต่ นตต. อาจจะวิเคราะห์เป็นว่า ที่ตั้งปืนกลนั้นมีความสำคัญต่อภารกิจของกองพันอย่างยิ่งก็ได้

ช. ผู้บังคับบัญชาจะกำหนดแนวทางในการวิเคราะห์เป้าหมายให้โดยการ

๑) กำหนดความเร่งด่วนในการโจมตีเป้าหมาย

๒) ระดับการเสี่ยงภัยที่ยอมรับ และ

๓) ผลของการโจมตีที่ต้องการ (ข่ม ตัดรอน หรือทำลาย)

ซึ่งอาจจะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความเสียหายหรือจำนวนนัดที่จะยิงก็ได้

ซ. การวิเคราะห์เป้าหมายนั้นปกติแล้วดำเนินไปตามขั้นตอนดังนี้

๑) พิจารณาว่าควรจะโจมตีก่อนหลังอย่างไร

๒) พิจารณาว่าจะใช้อาวุธและกระสุนอะไร จึงจะได้...ความมุ่งหมาย

๓) พิจารณาว่าจะโจมตีอย่างไร (วิธีโจมตี)

๒. ลำดับก่อนหลังในการโจมตี

ก. ลำดับก่อนหลังในการดจมตี เมื่อพิจารณาแล้วจะได้ลำดับความเร่งด่วนของเป้าหมาย โดยพิจารณา

๑) ลักษณะของเป้าหมาย

๒) ที่ตั้งของเป้าหมาย

๓) ภูมิประเทศ และ

๔) สภาพอากาศ

ข. ลักษณะของเป้าหมายพิจารณาสิ่งเหล่านี้

๑) การประกอบกำลัง หรือส่วนประกอบ

๒) ขนาดและรูปร่าง

๓) จุดอ่อน หรือจุดล่อแหลมต่ออันตราย

๔) ความสามารถในการเคลื่อนที่

๕) ความสามารถในการฟื้นตัว

การวิเคราะห์เรื่องนี้ ควรจะเริ่มต้นที่จุดที่เป็นอันตราย หรือจุดอ่อนของ ม. ว่าจะทำอันตรายได้ง่ายที่สุดที่ตรงไหน ด้วยอาวุธอะไรอย่างไร แล้วได้ผลออกมาเป็นระดับการสูญเสียที่ต้องการ (ระดับการทำลาย)

ค. ที่ตั้งเป้าหมาย พิจารณาชั่งน้ำหนักระหว่างที่ตั้งของเป้าหมายว่าใกล้ไกลกับฝ่ายเราเพียงใด กับความถูกต้องของการกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย ถ้า ม.มีความสำคัญแต่กำหนดที่ตั้งได้ไม่ถูกต้องก็ควรจะใช้หลาย ๆ หน่วยทำการยิง รวมทั้งพิจารณาว่า ม. นั้นอยู่ในเขตใด ของใครรับผิดชอบ จึงจะยิงได้โดยไม่ต้องประสานมาก

ง. ภูมิประเทศ พิจารณาถึงผลของกระสุน การเคลื่อนย้ายหน่วย และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเป้าหมาย

จ. สภาพอากาศ มีผลอย่างยิ่งต่อการใช้กระสุนเคมี ควัน และส่องแสง

๓. ผลที่ต้องการในการโจมตี

ก. ผลโดยทั่วไปพิจารณาเป็น ๓ ระดับ คือ

๑) การข่ม ปกจิจะลดขีดความสามารถของกำลังพลในการทำงาน

๒) การตัดรอนกำลัง ทำความเสียหาย ๑๐% ขึ้นไป จะทำให้หน่วยนั้น ๆ ไม่อาจรบได้ชั่วคราว

๓) การทำลาย ทำความเสียหาย ๓๐% ขึ้นไป หน่วยนั้นไม่อาจรบได้อีกเป็นการถาวร

ข. ถ้าพิจารณาเฉพาะการทำความเสียหายให้ยุทโธปกรณ์แล้ว จะแบ่งออกเป็นจำพวกได้ ๓ จำพวก คือ

๑) เสียการเคลื่อนที่ (Mobility Kill Damage, M-Kill) คือ ไม่อาจเคลื่อนที่ปฏิบัติการทางยุทธวิธีได้ และพลประจำไม่อาจซ่อมในสนามได้

๒) เสียการยิง (Firepower Kill Damage, F-Kill) คือ ไม่อาจยิงในทางยุทธวิธีได้ และพลประจำไม่อาจซ่อมได้

๓) เสียหายมาก (Catastrophic Kill Damage, K-Kill) เมื่อยุทโธปกรณ์เสียการเคลื่อนที่และเสียการยิง ถือได้ว่า เสียหายมาก ถ้าทำลายถึงระดับความสิ้นเปลืองเวลาและกระสุนอย่างมาก

๔. การเลือกอาวุธและกระสุนโจมตี มีเครื่องที่จะต้องพิจารณา คือ

ก. อาวุธที่มีอยู่และใช้ได้

ข. กระสุนที่มีอยู่และใช้ได้

ค. เป้าหมายเป็นอะไร คือ เป้าหมายเป็นบุคคล เป้าหมายแข้งแรง เป้าหมายยุทโธปกรณ์ เป้าหมายขนาดใหญ่ เป้าหมายเป็นจุด เป็นต้น

ง. ความปลอดภัยของฝ่ายเรา

จ. ความแม่นยำของอาวุธ

ฉ. ผลที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการโจมตี เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติมดูในข้อ ๖ และตารางในต่อต่อไป

๕. การเลือกวิธีโจมตี

การใช้อาวุธยิงสนับสนุนให้ได้ผลการทำลายสูงนั้น ต้องยึดหลักการยิงอย่างจู่โจมด้วยการรวมการยิงในเวลาสั้น ๆ คลุมเป้าหมายให้ทั่วถึงไว้เสมอ แต่การโจมตีเป้าหมายนั้นอาจมีความมุ่งหมายแตกต่างออกไปได้หลายประการ มีหัวข้อพิจารณาดังนี้

ก. จุดเล็งหรือจุดยิง เป้าหมายเล็ก ๆ อาจยิงจุดเดียว ถ้าเป้าหมายใหญ่ก็ควรจะกำหนดจุดยิงไว้หลายจุด

ข. ความหนาแน่นของกระสุนและความนานของการยิง การยิงอย่างหนาแน่นในเวลาสั้น ๆ อย่างจู่โจมได้ผลดีที่สุด แต่บางครั้งอาจจำเป็นต้องยิงนาน ๆ เพื่อผลอย่างอื่น เช่น การยิงข่ม การยิงควัน หรือการยิงส่องสว่าง เป็นต้น

๖. การแบ่งประเภทเป้าหมาย

เป้าหมายในการพิจารณาใช้กระสุนและชนวนในการโจมตีแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มด้วยกันคือ

ก. บุคคลเป็นพื้นที่ เช่น หมู่ หมวด กองร้อย เป็นต้น

ข. บุคคลเป็นจุด เช่น ที่ตรวจการณ์ หมู่ลาดตระเวนเล็ก ๆ เป็นต้น

ค. วัสดุเป็นจุด เช่น รถถัง รสพ. บังเกอร์ รังปืนกล เป็นต้น

ง. วัสดุเป็นพื้นที่ เช่น ขบวนยานยนต์ แหล่งรวมรถ และคลังกระสุน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหนึ่ง ๆ อาจมีลักษณะเป็นหลายกลุ่ม เช่น กองร้อย ป. เป็นต้น

๗. ข้อพิจารณาเลือกกระสุนและชนวนในการโจมตีเป้าหมายต่าง ๆ

ก. แนวทางในการพิจารณาใช้กระสุนและชนวนในการโจมตีเป้าหมายต่าง ๆ กำหนดไว้เป็นตัวอย่างข้างล่างนี้ โดยมีคำแนะนำ คือ

๑) ระดับของผลการยิงกำหนดเป็น ดีเลิศ ดีมาก ดี พอใช้ ตามลำดับ

๒) สำหรับเป้าหมายวัสดุ ที่มีรัศมีของเป้าหมายน้อยกว่า ๑๕๐ ม. ยิงด้วยกรวยปิด จะเพิ่มความเสียหายได้มากขึ้น

๓) เป้าหมายทั้งหมดถือว่าอยู่ในที่โล่งแจ้ง

๔) ถ้าเป้าหมายปกคลุมด้วยต้นไม้ การใช้ชนวนวีทีอาจแตกอากาศสูง

๕) ถ้าเป้าหมายอยู่ในบริเวณหล่มโคลน ชนวนกระทบแตก จะลดผลลงอย่างมาก

๖) การใช้กระสุนควันผสมกับกระสุนอื่น ๆ ......ก่อให้เกิดปัญหาในการควบคุมบังคับบัญชาได้มาก

๗) สำหรับเป้าหมายบุคคลทุกชนิด พิจารณาว่า ในนัดแรกที่ยิง ครึ่งหนึ่งจะยืน อีกครึ่งหนึ่งจะหมอบ ส่วนในนัดที่สองและต่อ ๆ มาถือว่า หมอบทั้งหมด...หมอบอยู่ในหลุมบุคคล กระสุน ไอซีเอ็ม สองความมุ่งหมาย จะลดผลลงอย่างมาก

ข. ผลของกระสุนและชนวนในการโจมตีเป้าหมายต่าง ๆ ดังตารางข้างล่าง

หมายเหตุ

๑) กระสุนไอซีเอ็ม มี ๒ ประเภทคือสังหาร (AP) และสองความมุ่งหมาย (DP, AD, AM) ถ้าเป้าหมายมียานพาหนะ หรือ อาวุธยุทโธปกรณ์อยู่ด้วย ควรใช้แบบสองความมุ่งหมาย ถ้าเป็นบุคคลล้วน ๆ หรือในคูสนามเพลาะ ควรใช้แบบสังหาร

๒) คก. หมายถึง ชนวนเจาะคอนกรีต หรือชนวนถ่วงเวลา อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ชนิดของรัง ปก. ว่าเป็นดิน หรือคอนกรีต

ค. แนวทางในการพิจารณาวิธีโจมตีเป้าหมายด้วย ป.สนาม

๑) บุคคลในที่โล่งแจ้งหรือหลุมบุคคลเปิด

- ปรับ หรือไม่ปรับการยิงก็ได้

- ใช้ ป. ได้ทุกประเภท เว้น ป.๑๗๕ มม. ให้ยิง

ก) ทำลาย ไอซีเอ็มสังหาร รบ/วีที/เวลา รวมทั้งการยิง/ทีโอที ได้ผลดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนัดแรก

ข) ตัดรอน ระเบิด/วีที/เวลา ควรรวมการยิง เว้นแต่ขนาดเล็ก

ค) ข่ม ระเบิด/ไว/วีที ยิงอย่างรวดเร็วที่สุด วีทีเหมาะกว่า

๒) บุคคลในหลุมปิด

- ควรปรับการยิง

- ใช้ ป.ได้ทุกชนิด เว้น ๑๗๕ มม. ให้ยิง

ก) ตัดรอน ระเบิด/ไว/ถ่วงเวลา หรือ ไอซีเอ็มสังหาร รวมการยิงควันขาวใช้ยิงไล่บุคคลออกจากหลุมได้ดี

ข) ข่ม ระเบิด/เวลา/ถ่วงเวลา/วีที ยิงโดยเร็วที่สุด อาจใช้ควันรบกวนการตรวจการณ์ด้วยก็ได้

๓) บุคคลในถ้ำ หรือในคูสนามเพลาะ

- ควรปรับการยิง

- ใช้ ป. ได้ทุกชนิด ป. ๑๕๕ มม. ขึ้นไปได้ผลดี ให้ยิงทำลายด้วยกระสุนระเบิด/ไว/ถ่วงเวลา โดยการเล็งตรง/ทำลายใกล้ชิด ยิงระเบิด/ไว สลับเพื่อกวาดเศษดิน-หิน หรือสิ่งพราง

๔) เมื่อกองร้อย ป.ถูกโจมตี

- ควรปรับการยิง

- ป. ทุกขนาดของกองร้อย สำหรับ ป.๑๐๕ มม. ให้ใช้กระสุนรังผึ้ง ป. อื่น ๆ ใช้ระเบิด/ไอซีเอ็ม/เวลา/วีที/ไว โดยตั้งเวลาให้ระเบิด ณ ระยะที่ต้องการ หรือยิงกระทบต้นไม้ สิ่งกีดขวางต่าง ๆ ให้ระเบิด

๕) รถถังและยานเกราะต่าง ๆ

- ควรปรับการยิง และใช้ ป.ได้ทุกขนาด ยิงเพื่อ

ก) ทำลาย โดยกระสุนนำวิถี หรือเล็งตรง โดยกระสุนต่อสู่รถถังแบบต่าง ๆ (ป.๑๐๕ มม.)

ข) ตัดรอน หรือข่ม โดย ไอซีเอ็ม โปรยทุ่นระเบิด ระเบิด/ไว/วีที/เวลา เพื่อบังคับให้ต้องปิดป้อมและไล่ทหารราบออกจาก ถ. ใช้ควันขาวกำบังการตรวจการณ์ หรือทำให้ถังน้ำมันนอกรถลุกไหม้ หากมีจำนวนมาก ควรจะรวมการยิง สำหรับ รสพ. หรือรถเกราะขนาดเบา ใช้ ไอซีเอ็มสองความมุ่งหมายตัดรอนกำลังได้เป็นอย่างดี ส่วนกระสุนโปรบทุ่นระเบิด ใช้ขัดขวางการเคลื่อนที่ให้เหมาะสมที่จะยิงทำลายยิ่งขึ้น

๖) รถยนต์บรรทุกต่าง ๆ

- ปรับการยิง หรือไม่ปรับก็ได้แล้วแต่ขนาดของเป้าหมาย และควรจะยิงทำลาย หรือตัดรอนกำลังเสีย โดยใช้กระสุนนำวิถี ไอซีเอ็มสองความมุ่งหมาย รวมทั้งระเบิด/ไว/วีที/เวลา ก็ใช้ได้ดี

๗) จรวดต่อสู้รถถัง เช่น แซกเกอร์

- ควรปรับการยิง และข่มการปฏิบัติด้วยกระสุนระเบิด/ไว/วีที กำบังการตรวจการณ์ด้วยควัน ถ้าจะทำลายยานบรรทุกก็ควรใช้กระสุนนำวิถี หรือ ไอซีเอ็ม สองความมุ่งหมาย

๘) ปตอ.หลายลำกล้อง เช่น ซู – ๒๓

- ปรับ หรือไม่ปรับก็ยิงได้ ยิงเพื่อให้เสียภารกิจ (F – KILL) โดยใช้ ไอซีเอ็ม ทุกประเภท ระเบิด/ไว/วีที/เวลา รวมทั้งควันขาว เพื่อกำบังการตรวจการณ์ในการยิงข่ม

๙) จรวดแซมต่าง ๆ

- ควรปรับการยิง เพื่อข่มหรือให้เสียการยิง โดยระเบิด/ไว/วีที/เวลา ไอซีเอ็ม หรือข่มโดยการใช้กระสุนควันกำบังสลับกับระเบิด/วีที

๑๐) ร้อย ป. หน่วย ค. หน่วยจรวดหลายลำกล้อง

- ไม่ควรปรับการยิง ถ้าทำได้ ควรยิงทำลาย หรือตัดรอนกำลัง หรือข่มด้วยกระสุนและชนวนชนิดต่าง ๆ เช่น ข่มด้วย ระเบิด/วีที/เวลา ผสมด้วยควันขาว ตัดรอน หรือทำลายด้วย ไอซีเอ็มสังหาร รวมทั้งกระสุนโปรยทุ่นระเบิด ก็ใช้ได้ดี โดยการยิงลง ณ ที่ตั้งเลย

- ควรจะรวมการยิง แบบพร้อมกัน ณ เป้าหมาย จะได้ผลดีที่สุด โดยใช้กระสุนหลายชนิด พร้อม ๆ กัน

๑๑) สถานีเรดาร์, บก.หน่วย ป. และที่ตั้งอื่น ๆ

- ปรับหรือไม่ปรับการยิงก็ได้ ถ้าจะยิงข่มก็ควรใช้ ระเบิด/ไว/วีที หรือ ไอซีเอ็ม ตามความเหมาะสม ถ้าจะทำลาย หรือตัดรอนกำลัง ก็ให้ใช้ ไอซีเอ็มเป็นหลักและมีการปรับการยิงด้วย

๑๒) ที่ตั้งตำบลส่งกำลังต่าง ๆ

- ไม่จำเป็นต้องปรับการยิง ยิงตัดรอน หรือทำลายได้งายด้วยระเบิดชนวนไวผสมกับควันขาวเพื่อจุดไฟ ถ้าขนาดใหญ่มากก็ควรรวมการยิงหลาย ๆ หน่วย

๑๓) สะพาน

- ถ้าจะยิงทำลายควรมีการปรับการยิงด้วยกระสุน ระเบิด/ไว/เจาะคอนกรีต/ถ่วงเวลาหรือนำวิถี ควรเลือกหน่วยยิงที่มีทิศทางยิงตามความยาวของสะพานจะได้ผลดีขึ้น การทำลายที่ดี คือ ทำลายเสาหรือตอม่อของสะพานเสีย

๑๔) ถนน, ทางรถไฟ

- ควรใช้ ป. ขนาด ๑๕๕ มม. ขึ้นไป ยิงทำลายโดยกระสุนระเบิด/ไว/ถ่วงเวลา/เจาะคอนกรีต ผสมกัน ยิง ณ จุดที่วิกฤติ เช่น ตอนที่เป็นดินถม, ตามแยก, สะพาน, ส่วนที่แคบ ควรเลือกหน่วยยิงที่ยิงตามยาวของถนนได้เป็นดี

หมายเหตุ

๑) ม.ที่มีขนาดรัศมีเกิน ๑๕๐ เมตรขึ้นไป ถือว่าเป็น ม. ขนาดใหญ่ควรจะรวมการยิง

๒) การยิงยานรบที่เคลื่อนที่ ความมุ่งหมายประการแรกก็คือ ให้ยานรบเหล่านั้นหยุดการเคลื่อนที่ ดังนั้นควรจะสร้างห้วงควบให้ลึกเข้าไว้ เพื่อกันยานเหล่านั้นหนีออกนอกห้วงควบ การปรับการยิงอย่างรวดเร็ว เป็นหัวใจของการยิง นอกจากนั้นการหยุดขบวนควรจะพิจารณาหยุดในตำบลที่ยานเหล่านั้นไม่อาจเปลี่ยนเส้นทางหนีได้ ควรกะจังหวะเวลาและตำบลที่กระสุนจะตกไว้ล่วงหน้า แล้วควบคุมการยิงให้พอเหมาะ และควรจะยิงหลาย ๆ จุดพร้อม ๆ กันบนถนนนั้นถ้าสามารถทำได้

๓) เมื่อต้องการความรวดเร็ว กระสุนระเบิดชนวนไว จะสนองตอบได้ดีที่สุด

๔) กระสุนควันขาวนั้น ได้ผลทั้งในการเผาไหม้ ทำลายบุคคลและกำบังการตรวจการณ์ การข่มทุกครั้งควรใช้ผสมด้วยเสมอ

๕) กระสุน ไอซีเอ็ม,โปรยทุ่นระเบิด และนำวิถีของเรายังไม่มีในขณะนี้ แต่คงจะมีในไม่ช้านี้

๘. สรุป

ก. การวิเคราะห์เป้าหมายนั้นก็คือ กรรมวิธีจะให้ได้คำตอบต่อคำถามสำคัญ ๆ เหล่านี้นั่นเองคือ

๑) จะโจมตีเป้าหมายนี้หรือไม่

๒) จะโจมตีเมื่อไหร่

๓) จะโจมตีอย่างไร

๔) จะโจมตีด้วยอาวุธอะไร

๕) จะใช้กระสุน/ชนวนอะไร จำนวนเท่าใด

ข. การวิเคราะห์เป้าหมายเพื่อตอบคำถามนี้ให้ได้ก็คือ กรรมวิธีของ ผปยส. ในอันที่จะวางแผน และประสานการยิงสนับสนุนให้ได้ผลดีที่สุดนั่นเอง ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะต้องพิจารณาและเทคนิคในการวิเคราะห์เป้าหมายเหล่านี้ ผปยส. นยส. และ ผตน. ทุกนาย รวมทั้ง นอย.ด้วย จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

--------------------------------------------------------------------