บทที่ ๑๑ การปรับการยิงในสถานการณ์พิเศษ

บทที่ ๑๑

การปรับการยิงในสถานการณ์พิเศษ


ตอนที่ ๑ กระสุนระเบิดปรับปรุง (ไอซีเอ็ม)

๑. ลักษณะของกระสุน ไอซีเอ็ม

ก. กระสุนไอซีเอ็ม (Improved Convention Munitions) เป็นกระสุนขับออกท้ายประกอบชนวนเวลายิงให้แตกอากาศเพื่อรับลูกระเบิดเก ๆ ที่บรรจุอยู่ภายในออกมากระจายคลุมเป้าหมาย มีอยู่ ๒ ชนิด คือ แบบสังหาร (Antipersonnel, AP) แบบสองความมุ่งหมาย (Dual Pumose, DP)

ข. ไอซีเอ็ม สังหาร เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ทำอันตรายต่อบุคคลในที่โล่งด้วยการยิงอย่างจู่โจม เมื่อขบวนเริ่มทำงาน ดินดำขับลูกระเบิดออกทางท้าย ปีกเล็กๆ ของลูกระเบิดจะกางออกเป็นการขึ้นนก หรืออยู่ในสภาพพร้อมระเบิดเมื่อฐานของลูกระเบิดกระทบพื้น ลูกระเบิดจะกระดอนขึ้นสูง ๕ ถึง ๖ ฟุต แล้วระเบิด

รูปที่ ๑๑ – ๑ กระสุน ไอซีเอ็มสังหาร


ค. กระสุน ไอซีเอ็มสองความมุ่งหมาย ใช้ทำลายยานยนต์ที่มีเกราะบาง ๆ และยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ได้ดี รวมทั้งสังหารบุคคลได้อีกด้วย เมื่อลูกระเบิดถูกขับออกทางท้าย ....กระพือออกเป็นการพร้อมทำงานและใช้เป็นเครื่องประคองลูกระเบิด เมื่อกระทบเป้าหมายจะระเบิด ดินระเบิดโพลงจะช่วยเจาะเกราะและมีสะเก็ดทำอันตรายได้อีกด้วย

ง. ตารางต่อไปนี้แสดงถึงจำนวนลูกระเบิดในแต่ละแบบของกระสุน ไอซีเอ็ม

อาวุธ กระสุน จำนวนลูกระเบิด

๑๐๕ มม. เอ็ม.๔๔๔ สังหาร ๑๘

๑๕๕ มม. เอ็ม.๔๔๐ สังหาร ๖๐

๘ นิ้ว เอ็ม.๔๐๔ สังหาร ๑๐๕

๑๕๕ มม. เอ็ม ๔๘๓ สองความมุ่งหมาย ๘๘

๘ นิ้ว เอ็ม.๔๓๐ สองความมุ่งหมาย ๑๙๕

๒. เทคนิคการยิง

การยิงกระสุนไอซีอ็ม อาจใช้เทคนิค ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

ก. การยิงหาผลโดยใช้ตัวแก้ เป็นเทคนิคที่ได้ผลสูงมากเพราะมีการจู่โจม

ข. ปรับด้วยกระสุนระเบิด ยิงหาผลด้วยไอซีเอ็ม เมื่อไม่มีตัวแก้ที่ถูกต้อง ผตน. ก็อาจต้องปรับการยิงด้วยกระสุนระเบิดก่อน แล้วย้ายไปยิงหาผลด้วยกระสุน ไอซีเอ็ม

ค. ปรับการยิงด้วยกระสุนไอซีเอ็ม เป็นวิธีที่สิ้นเปลือง และลดผลของการยิงมก

๓. การขอยิงและการปรับการยิง

การขอยิงใช้คำขอยิงปกติ แต่การปรับการยิงนั้นก็คล้าย ๆ กัน กล่าวคือ

ก. การแก้ทางทิศและทางระยะ ให้ใช้ศูนย์กลางของพื้นที่อันตรายเป็นหลักในการแก้ทางทิศและทางระยะ กระสุนนี้มีพื้นที่ครอบคลุมมาก ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลจากการจู่โจม ผตน. ควรจะกล้าย้ายไกล ๆ เพื่อยิงหาผลโดยการปรับทางทิศน้อยกว่า ๕๐ เมตร ทางระยะน้อยกว่า ๑๐๐ เมตรจึงมักไม่ทำ

ข. การแก้สูงกระสุนแตก การปรับสูงกระสุนแตกให้กระทำครั้งละ ๕๐ เมตร ไม่มีกฎที่ตายตัวว่าควรจะใช้สูงกระสุนแตกเท่าใดจึงจะเหมาะ แต่มีข้อพิจารณาเพิ่มเติมว่า

๑) ถ้ามีลูกระเบิดด้านมาก หรือพื้นที่ครอบคลุมเล็กเกินไป ผตน.ควรจะแก้สูงขึ้น แต่ไม่ควรแก้เกิน ๑๐๐ เมตร จนกว่า ผตน. จะคุ้นเคยกับผลการระเบิดในแต่ละความสูงได้ดีพอ

๒) สูงกระสุนแตกที่มากเกินไป มักจะไม่ค่อยปรากฏผลที่แตกต่างกันนักจึงไม่ค่อยสำคัญ

๓) สูงกระสุนแตกนั้นปกติแล้วมักจะไม่ทำการปรับ

ค. อันตรายใกล้ฝ่ายเรา การยิง ไอซีเอ็มไม่ควรทำการยิงใกล้ฝ่ายเราน้อยกว่า ๖๐๐ เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ตั้งปืน เป้าหมาย และที่ตั้งของฝ่ายเราว่าสัมพันธ์กันอย่างไร

ข้อพิจารณาพิเศษที่สำคัญได้แก่ ทิศทางและความเร็วลมในบริเวณเป้าหมายเป็นหลัก

ปืนที่ใช้ยิงหาผลควรจะได้ทำการปรับการยิงมาแล้วทุกกระบอก และการปรับการยิงให้ถือเอาขอบของพื้นที่อันตรายที่อยู่ใกล้ฝ่ายเราเป็นสำคัญ

๔. ภารกิจตัวอย่าง

ก. การยิงหาผลด้วย ไอซีเอ็ม

“ลพบุรี ๑๘ จากลพบุรี ๒๔ ยิงหาผล เปลี่ยน, พิกัด๓๗๒๔๐๑ เปลี่ยน, หมวดทหารราบในที่รวมพล กระสุนไอซีเอ็ม เปลี่ยน

ข. ปรับการยิงด้วยกระสุนระเบิด

“ลพบุรี ๑๘ จาก ลพบุรี ๒๔ ปรับการยิง เปลี่ยน, พิกัด ๙๓๓๘๗๖, มุมภาค ๑๒๐๐ เปลี่ยน, ทหารราบ ๑ กองร้อยกำลังพัก, กระสุนไอซีเอ็ม ในการยิงหาผล เปลี่ยน

ค. ปรับด้วยกระสุน ไอซีเอ็ม

“ลพบุรี ๑๘ จาก ลพบุรี ๒๔ ปรับการยิง เปลี่ยน, พิกัด ๓๖๑๒๙๐ ทิศทาง ๖๐๐ เปลี่ยน, กองร้อยทหารราบในที่รวมพล กระสุนไอซีเอ็ม เปลี่ยน

ตอนที่ ๒ การส่องสว่างสนามรบ

๕. กล่าวทั่วไป

ความมุ่งหมายของการส่องสว่างสนามรบ ก็เพื่อให้กำลังฝ่ายเราสามารถปฏิบัติการในเวลากลางคืน โดยให้ได้รับแสงสว่างอย่างพอเพียง โดยเฉพาะการส่องสว่างในเวลากลางคืนนั้น มีผลทางขวัญกำลังฝ่ายเดียวกันให้สามารถปฏิบัติการได้สะดวก นอกจากนี้ยังเป็นการรบกวนและจำกัดการมองเห็นของข้าศึกอีกด้วย

๖. การดำเนินการยิงโดยใช้กระสุนส่องแสง

ก. การใช้กระสุนส่องแสงใช้สำหรับ

๑) ส่องสว่างพื้นที่ซึ่งสงสัยว่าจะมีการเคลื่อนไหวของข้าศึก

๒) ส่องสว่างเพื่อทำการปรับการยิง หรือ เฝ้าตรวจผลการยิงของปืนใหญ่ในเวลากลางคืน โดยใช้ผู้ตรวจการณ์หน้าทางอากาศ หรือผู้ตรวจการณ์หน้าทางพื้นดิน

๓) รบกวนข้าศึกโดยบังคับให้อยู่ในที่ตั้งหรือที่มั่น

๔) ชี้ทิศทางให้แก่กองทหารฝ่ายเดียวกันให้ทำการเข้าตีหรือลาดตระเวน (โดยวางร่มส่องสว่างไว้ข้างหน้าทหารฝ่ายเดียวกัน ให้ไกลออกไปเพื่อมิให้เปิดเผยกำลังต่อฝ่ายข้าศึก)

๕) ชี้ทิศทางให้แก่เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธวิธี ต่อเป้าหมายสำคัญ ๆ ซึ่งอยู่ในระยะของปืนใหญ่

ข. กระสุนตามตาราง ๑๑ – ๒ ได้ให้ค่าแฟคเตอร์บางอย่างไว้สำหรับพิจารณาในการใช้กระสุนส่องแสงของปืนใหญ่ หลักฐานต่าง ๆ เป็นค่าโดยประมาณและแปรเปลี่ยนไปตามสภาพไม่มาตรฐาน

ค. คำขอยิง เมื่อผู้ตรวจการณ์ต้องการที่จะส่องสว่างสนามรบ โดยใช้กระสุนส่องแสง ก็ส่งคำขอยิงโดยใช้วิธีปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กล่าวไว้ในบทที่ ๙ และบทที่ ๑๐ ในองค์ประกอบคำขอยิง ส่วนในข้อวิธีกาโจมตี จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษถึง

๑) ชนิดของลูกกระสุน ต้องบ่งเป็นกระสุนส่องแสง

๒) ชนิดชนวนกระสุนส่องแสงใช้ชนวนเวลาอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องกล่าวองค์ประกอบนี้ในคำขอยิง

๓) การวางตำบลระเบิด ขนาดและรูปร่างของพื้นที่จะส่องสว่าง ระยะ ตม สภาพของทัศนวิสัย และกำลังแรงเทียนของลูกกระสุน ย่อมมีอิทธิพลต่อการเลือกการวางตำบลระเบิด การวางตำบลระเบิดที่อาจจะนำมาใช้มีดังนี้

ก) ปืนหนึ่งกระบอก ยิง ๑ นัด จากปืน ๑ กระบอก

ข) ปืนสองกระบอก ยิง ๑ นัด จากปืนแต่ละกระบอกจำนวนสองกระบอก ด้วยหลักฐานเดียวกัน พร้อม ๆ กัน ณ ประมาณจุดเดียวกันในโอกาส

ค) ปืนสองกระบอก/ต่างทิศ ยิง ๑ นัด จากปืนแต่ละกระบอกจำนวนสองกระบอกพร้อม ๆ กัน ณ ระยะเดียวกันแต่มุมทิศต่างกัน (สำหรับระยะห่างระหว่างตำบลระเบิดดูในตาราง ๑๑ – ๒)

ง) ปืนสองกระบอกต่างระยะยิง ๑ นัด จากปืนแต่ละกระบอกจำนวนสองกระบอกพร้อม ๆ กัน แต่ระยะต่างกันตามแนว ปม. (ดูตาราง ๑๑ – ๒)

จ) ปืนสี่กระบอกยิง ๑ นัด แต่ละกระบอกจำนวนสี่กระบอกพร้อม ๆ กัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีด้านทแยงกับแนว ปม.

ตาราง ๑๑ – ๒ คุณลักษณะของกระสุนส่องแสง

ง. การปรับการยิง

๑) การปรับทางระยะและทางข้าง ก็คงใช้หลักการปรับทำนองเดียวกับการปรับการยิงธรรมดา เว้นแต่ว่าไม่จำเป็นต้องปรับให้ตรงเป้าหมายหรือจุดปรับมากนัก เพียงอยู่ห่างจากตำบลที่ต้องการประมาณ ๒๐๐ เมตรก็ใช้ได้ ตามธรรมดาการปรับทางข้างทางระยะและสูงกระสุนแตกมักจะปรับไปพร้อม ๆ กัน ถ้าสูงกระสุนแตกคลาดเคลื่อนไปมากผู้ตรวจการณ์ก็อาจจำเป็นต้องปรับกระสุนแตกให้ได้เสียก่อนส่วนหนึ่ง เพื่อให้มีแสงสว่างเพียงพอที่จะเห็นเป้าหมายได้

๒) ที่อยู่อันถูกต้องของร่มส่องแสงอันสัมพันธ์กับจุดปรับการยิงนั้นขึ้นอยู่กับภูมิประเทศและลม โดยทั่ว ๆ ไป ร่มสมส่องแสงควรจะอยู่ทางปีกด้านหนึ่งของจุดปรับการยิง และประมาณระยะเดียวกัน ในเมื่อมีลมแรง ตำบลระเบิดควรจะอยู่ในระยะห่างอันหนึ่งจากจุดปรับการยิง ทั้งนี้เพราะการลอยของร่มส่องแสง ถ้าเป้าหมายอยู่บนลาดหน้าเนิน ร่มส่องแสงควรจะอยู่ทางปีกและอยู่ในระยะใกล้กว่าเล็กน้อย ถ้าจุดปรับการยิงเป็นเป้าหมายเด่นชัด ก็อาจทำให้มองเห็นเป็นเงาดำ

๓) สูงกระสุนแตกที่เหมาะสมนั้นคือความสูงที่จะทำให้ส่วนส่องสว่างดับสนิทเมื่อตกถึงพื้นดิน การแก้สูงกระสุนแตกนั้น แก้เป็นจำนวนเต็ม ๕๐ เมตร การแก้เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีประโยชน์มากนักเนื่องจาก เวลาไหม้ของส่วนส่องสว่างเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

๔) เมื่อตำบลระเบิดอยู่สูงเกินไป การแก้สูงกระสุนแตกก็ประมาณเอาจากความสูงของร่มส่องแสงขณะที่ดับ เมื่อตำบลระเบิดอยู่ต่ำเกินไป การแก้กระทำโดยประมาณเวลาเป็นวินาที (ว) ที่กระสุนไหม้อยู่ที่พื้นแล้วนำเวลานี้ไปคูณกับอัตราการตกของกระสุนแก้เป็นสูงขึ้น

ตัวอย่าง ส่วนส่องสว่างของกระสุน เอ็ม ๓๓๔ เอ ๒ ไหม้อยู่บนพื้นดินนาน ๑๓ วินาที จึงดับการแก้คือ "สูงขึ้น ๑๕๐" (๑๓ x ๑๐ = ๑๓๐ ให้แก้เป็นจำนวนเต็ม ๕๐ เมตร) สำหรับอัตราการตกของกระสุนต่าง ๆ ดูจากตาราง ๑๑ – ๒

๕) หลังจากที่ผู้ตรวจการณ์หน้าได้ปรับร่มส่องแสงให้อยู่ตรงที่ต้องการแล้ว ก็ควรจะควบคุมอัตราเร็วการยิง และจำนวนที่จะใช้ทำการยิง เพื่อลดความสิ้นเปลืองของกระสุน

๗. การส่องสว่างสำหรับการปรับกระสุนระเบิด

ก. เมื่อปรับกระสุนส่องแสงได้เหมาะสมเห็นเป้าหมาย ผู้ตรวจการควรร้องขอ “ ส่องสว่างต่อเนื่อง” เพื่อปรับการยิงด้วยกระสุนระเบิดต่อไป
ข. ทันทีที่ผู้ตรวจการหน้าได้กำหนดที่ตั้งเป้าหมาย ที่เหมาะสมสำหรับยิงด้วยกระสุนระเบิด ก็ควรจะเริ่มส่งคำขอยิงตามปกติถ้าไม่มีวิธีการที่จะกำหนดที่ตั้งเป้าหมายได้ดีกว่า แล้วก็อาจใช้จุดศูนย์กลางของการส่องสว่างเป็นจุดอ้างได้
ค. ถ้าผู้ตรวจการณ์หน้าตกลงใจที่จะปรับการยิงกระสุนส่องแสงและกระสุนระเบิดไปพร้อมกัน ก็ให้ใช้ว่า “ กระสุนสองแสง” นำหน้าการแก้ที่เกี่ยวกับการสองสว่างและใช้คำว่า “กระสุนระเบิด” นำหน้าการแก้ที่เกี่ยวกับกระสุนระเบิด
ตัวอย่างเช่น “กระสุน ส่องแสง เพิ่ม ๒๐๐ กระสุนระเบิด ขวา ๖๐ เพิ่ม ๒๐๐ เมื่อใช้วิธีนี้ผู้ตรวจการณ์หน้ามักจะรวมเอาคำว่า “ ตามคำสั่งข้าพเจ้า” ไว้ในวิธีควบคุมด้วย

ง. ถ้าทำการปรับกระสุนระเบิดต่อเป้าหมายอยู่กับที่ เช่น รถถังชำรุดหรือสะพาน ผู้ตรวจการณ์หน้าอาจจะประหยัดกระสุนส่องแสงได้ โดยปรับการยิงด้วยกระสุนระเบิดประสานกับการส่องสว่าง โดยส่งคำขอยิงว่า “ ประสานส่องสว่าง” แทนการ “ส่องสว่างต่อเนื่อง” และรวมเอาคำว่า “ชนิดกระสุนตามคำสั่งข้าพเจ้า” ไว้ในวิธีควบคุมด้วย ซึ่งแสดงว่าจะทำการยิงทั้งกระสุนระเบิดและกระสุนส่องแสง ตามคำสั่งของผู้ตรวจการณ์หน้าเท่านั้น เมื่อ ศอย. รายงานว่ากระสุนส่องแสงและกระสุนระเบิด พร้อมที่จะยิงแล้ว ผู้ตรวจการหน้าก็จะสั่งยิงกระสุนส่องแสงก่อนแล้ว จึงสั่งยิงกระสุนระเบิดเพื่อให้กระสุนระเบิดไปถึงเป้าหมาย ในขณะที่กระสุนส่องแสงกำลังให้ความสว่างเต็มที่

๑) ผู้ตรวจการหน้าอาจเปลี่ยนวิธีการควบคุมส่องแสง เป็นพร้อมแล้วยิงได้ในระหว่างนี้การควบคุมการยิงกระสุนระเบิดก็ยังคงดำเนินต่อไป ผู้ตรวจการณ์หน้าต้องบอกว่า “กระสุนส่องแสง ยกเลิกตามคำสั่งข้าพเจ้า” ซึ่งหมายความว่า เมื่อปืนพร้อมให้ยิงกระสุนส่องแสงไปได้เลย แต่กระสุนระเบิดยังต้องยิงตามคำสั่งของผู้ตรวจการณ์หน้าอยู่
๒) อีกวิธีหนึ่ง ผู้ตรวจการณ์หน้าอาจจะควบคุมเฉพาะกระสุนส่องแสงเท่านั้น และให้ ศอย. สั่งยิงกระสุนระเบิดเอง เมื่อได้ปรับกระสุนส่องแสงจนได้แสงสว่างดีที่สุดแล้ว ผู้ตรวจการณ์หน้าจะบอกว่า “ส่องแสงแตกเหมาะ” ไปยัง ศอย. เพื่อแจ้งให้ ศอย. ทราบเวลาที่แท้จริง เมื่อเป้าหมายได้รับแสงสว่างดีที่สุด ศอย.ก็หาห้วงเวลาระหว่างการยิงกระสุนส่องแสงจริง ๆ และเวลาที่ได้รับจากผู้ตรวจการณ์ให้หมายการส่องสว่าง จากการเปรียบเทียบห้วงเวลานี้กับเวลาแล่นของลูกกระสุนระเบิด ศอย. ก็สามารถควบคุมการยิงกระสุนระเบิดให้ไปถึงเป้าหมายในระหว่างห้วงเวลาที่มีการส่องสว่างมากที่สุดได้

รูปที่ ๑๑ – ๒ การยิงกระสุนส่องแสงด้วย ป.๔ กระบอก

๘. ภารกิจการยิงประสานส่องสว่าง

ก. ผู้ตรวจการณ์หน้าได้ยินเสียงพาหนะขนาดหนัก ณ มุมภาคประมาณ ๕๘๐๐ มิล ทั่วบริเวณพื้นที่มือสนิท จากเสียงที่ได้ยินประกอบกับการตรวจสอบบนแผนที่ จึงตัดสินใจเอาว่ากำเนิดเสียงนั้นอยู่ประมาณพิกัด ๗๒๕๓๖๕ และห่างจากที่ตรวจการณ์ประมาณ ๒๐๐๐ เมตร จึงส่งคำขอยิงไปดังนี้

“เสือดาว จาก เสือดำ ปรับการยิง เปลี่ยน”

“พิกัด ๗๒๕๓๖๕ มุมภาค ๕๘๐๐ เปลี่ยน”

“เสียงพาหนะสงสัยเป็นรถถัง กระสุนส่องแสง ปืน ๒ กระบอก ต่างทิศ เปลี่ยน”

ข. กระสุนส่องแสงชุดแรกปรากฏอยู่ทางซ้าย พื้นที่ที่สงสัยนั้นประมาณ ๑๐๐ มิล และสูงกว่าปกติประมาณ ๑๕๐ เมตร ผู้ตรวจการณ์หน้าส่งการแก้ไปว่า

“ขวา ๒๐๐ ต่ำลง ๑๕๐”

ค. ชุดที่ ๒ ให้แสงสว่างอยู่หน้าเป้าหมายใกล้แนว ตม.มาก แต่อยู่ต่ำเกินไป โดยที่กระสุนยังสว่างอยู่บนพื้นดิน ๕ วินาที จึงดับ ผู้ตรวจการณ์ส่งการแก้ไปว่า

“เพิ่ม ๔๐๐ สูงขึ้น ๕๐” ๕๑๐ = ๕๐

ง. ชุดที่ ๓ ปรากฏว่าอยู่เหนือบริเวณพื้นที่สงสัยและได้ความสูงพอดี และผู้ตรวจการณ์หน้าตรวจเห็นรถถัง ๒ คัน พร้อมด้วยทหารราบที่ติดตามรถถังกำลังเคลื่อนที่ไปทางขอบขวาของพื้นที่ที่ได้รับแสงสว่างประมาณ พิกัด ๗๓๑๓๙๖ ผู้ตรวจการณ์หน้าจึงพิจารณาย้ายกระสุนส่องแสงไปทางขวาอีก ๔๐๐ เมตร จากจุดกึ่งกลางกระสุนส่องแสงนั้น และเพื่อเป็นการประหยัดกระสุนส่องแสง จึงขอยิงประสารส่องสว่างและส่งไปว่า

“ขวา ๔๐๐ ประสานส่องสว่าง เปลี่ยน”

“ปรับการยิง เปลี่ยน”

“พิกัด ๗๓๑ ๓๙๖ มุมภาค ๖๑๐๐ เปลี่ยน”

“รถถัง ๒ คัน และหมวดทหารราบ ชนวนไว และวีที ในการยิงหาผล (ชนิดกระสุน) ตามคำสั่งข้าพเจ้าเปลี่ยน”

จ. เมื่อปืนพร้อมที่จะยิงกระสุนส่องแสงและกระสุนระเบิดแล้ว ศอย. ก็จะบอก ผตน.ว่า “พร้อม” ผู้ตรวจการณ์หน้าจะสั่งยองกระสุนส่องแสงก่อน แล้วสั่งยิงกระสุนระเบิด เพื่อให้กระสุนระเบิดไปถึงเป้าหมาย ในขณะที่กระสุนส่องแสงกำลังให้ความสว่างเต็มที่ เมื่อปืนยิงกระสุนส่องแสงและกระสุนระเบิดไปแล้ว ผตน. ส่งการแก้ไปว่า

“กระสุนส่องแสง ยิงซ้ำ กระสุนระเบิด ซ้าย ๗๐ เพิ่ม ๑๐๐ เปลี่ยน”

ฉ. ผู้ตรวจการณ์หน้าปรับกระสุนระเบิดจนเข้าขั้นการยิงหาผล แลละส่งไปว่า

“กระสุนส่องแสงยิงซ้ำ กระสุนระเบิด ขวา ๑๐ ลด ๕๐ ยิงหาผล เปลี่ยน”

หมายเหตุ ผู้ตรวจการณ์หน้าก็ยังควบคุมเวลายิง และเฝ้าตรวจผลการยิงต่อไป”

ช. รถถังและทหารราบ ส่วนที่เหลือเคลื่อนที่ไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างออกไปจากผู้ตรวจการณ์หน้า ซึ่งจำเป็นจะต้องเลื่อนกระสุนส่องแสงตามไป และต้องการที่จะให้มีการยิงหาผลซ้ำอีก จึงส่งการแก้ไปว่า

“กระสุนส่องแสง เพิ่ม ๔๐๐ กระสุนระเบิด ซ้าย ๕๐ ยิงซ้ำ เปลี่ยน”

ซ. รถถังและทหารราบเคลื่อนที่ออกไปจากการตรวจการณ์แล้ว ผู้ตรวจการณ์หน้าจึงสั่งจบภารกิจไปว่า

“กรุยเป้าหมาย จบภารกิจ รถถังและทหารราบหนีไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เปลี่ยน”


ตอนที่ ๓ การใช้ควัน

๙. ทั่วไป

ปกติแล้วควันไม่ถือว่าเป็นอำนาจกำลังรบ เพราะไม่อาจใช้ทำอันตรายข้าศึกได้ แต่ถ้าใช้ควันอย่างถูกต้องแล้ว สามารถที่จะลดประสิทธิภาพของข้าศึกลงได้อย่างมาก และหากใช้ควันร่วมกับการยิงข่มอย่างเหมาะสม จะช่วยให้หน่วยกลยุทธสามารถปฏิบัติภารกิจของตนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถลดความล่อแหลมจากการยิงของข้าศึกลงได้เป็นอันมาก

๑๐. การยิงกระสุนควันของ ป.

ก. ป.สนามสามารถใช้ยิงกระสุนควัน เพื่อความมุ่งหมาย ๒ ประการคือ รบกวนการเห็นและกำบังสายตา

๑) ควันรบกวน (Obscuring Smoke) ยิงกระสุนควันลงบนเป้าหมาย หรือใกล้ ๆ ข้าศึก เพื่อข่มการตรวจการณ์ และลดขีดความสามารถในการมองเห็นของข้าศึกลง

๒) ฉากควันกำบัง (Screening Smoke) สร้างควันระหว่างที่ตรวจการณ์ของข้าศึกกับกำลังฝ่ายเรา เพื่อกำบังการปฏิบัติของฝ่ายเราหรือเพื่อลวงข้าศึกให้สับสน

รูปที่ ๑๑ – ๓ การใช้ควัน


ข. อย่าลืมใช้ควันในเวลากลางคืน ทั้งนี้เพราะอาวุธเล็งตรงของข้าศึก เช่น จรวดแซกเกอร์ เป็นต้น มีกล้องกลางคืนด้วย ความมืออาจทำให้ประมาทในการระวังป้องกัน นั่นแหละคืออันตราบอย่างใหญ่หลวง

ค. ไม่ว่าจะเป็นการรบด้วยวิธีรุกหรือวิธีรับ ควันสามารถที่จะ

๑) ลดความล่อแหลมต่ออันตรายของฝ่ายเราลงได้

๒) เพิ่มโอกาสที่จะปฏิบัติการได้สำเร็จมากขึ้น

๑๑. ควันรบกวน

ก. จำกัดการใช้การการะยะด้วยแสง จำกัดโครงการต่อต้านการยิงของข้าศึก

ข. กำบังการตรวจการณ์ของปืนใหญ่ เป็นการลดความถูกต้องเกี่ยวกับการยิงที่มีการตรวจการณ์ของข้าศึก

ค. กำบังการใช้อาวุธยิงเล็งตรงของข้าศึก รวมทั้งอาวุธนำวิ๔ที่ใช้เส้นลวดซึ่งสามารถลดประสิทธิภาพลงได้ถึง ๙๐ %

ง. รบกวนการใช้แสงเลเซอร์ของข้าศึก เป็นการลดประสิทธิภาพในการใช้

จ. ทำให้ข้าศึกเกิดความหวาดกลัว ต้องเพิ่มการลาดตระเวนมากขึ้น

ฉ. ทำให้การเคลื่อนที่ของยานยนต์ข้าศึกช้าลง

ช. เป็นการเพิ่มปัญหาในเรื่องการควบคุม และบังคับบัญชา ป้องกันการใช้ทัศนสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการทำให้ข้าศึกต้องใช้สัญญาณทางวิทยุมากขึ้น

ซ. กำจัดการใช้เครื่องมือตรวจการณ์ในเวลากลางคืน และลดขีดความสามารถของเครื่องมือที่ใช้แสงอินฟาเรด


" จงเพิ่มประสิทธิภาพของเราด้วยการลดประสิทธภาพของข้าศึกลง "



๑๒. การใช้ฉากควันกำบัง

ก. ช่วยการดำเนินกลยุทธ

๑) เนื่องจากควันชักนำให้เกิดการยิง จึงควรให้แน่ใจว่าฉากควันที่สร้างนั้นต้องใหญ่เพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสียจากการยิงสุ่มของข้าศึก

๒) การใช้ฉากควันลวง จะทำให้ข้าศึกกระจายการยิงออก ทำให้เปลืองกระสุน

ข. กำบังปีก อาจจะใช้ฉากควันเพื่อกำบังปีกเปิด

ค. การใช้ ณ พื้นที่หน้าที่หมาย การใช้ฉากควันจะช่วยหน่วยกลยุทธเกี่ยวกับการจัดระเบียบใหม่ ณ ที่หมายได้

ง. การยุทธข้ามลำน้ำ การสร้างฉากควันกำบังพื้นที่หลักที่จะใช้ข้ามเป็นการป้องกันการหาข่าวที่แท้จริงของข้าศึก และอาจจะใช้ฉากควันเพื่อลวงข้าศึกมิให้ทราบ ซึ่งจะเป็นท่าข้ามหลักของฝ่ายเรา


" จงลดความล่อแหลมต่ออันตรายให้เหลือน้อยที่สุด "


๑๓. กระสุนควัน และอาวุธที่ใช้ยิงควันได้

ก. ปืนใหญ่สนาม กระสุนควันของปืนใหญ่สนามประกอบด้วย กระสุน ๒ ชนิด ซึ่งมีคุณลักษณะในการเผาไหม้ต่างกัน

๑) กระสุนควัน WP (กระสุนควันขาว) White Phosphorus

๒) กระสุนควัน HC (Hexachloroethane)



" จงทราบถึงขีดความสามารถ และขีดจำกัดของกระสุน ที่ท่านใช้ "



ข. เครื่องยิงลูกระเบิด เครื่องยิงลูกระเบิดสามารถที่จะสร้างฉากควันในตอนเริ่มแรกได้อย่างดี ด้วยกระสุนควัน WP เพราะว่าอัตราเร็วในการยิงสูง

ค. รถถัง รถถังที่ทำการยิงออกจากที่ตั้งที่เฝ้าตรวจสามารถที่จะยิงข่มพลเล็งอาวุธจรวดต่อสู่รถถังได้ในระยะ ๑,๕๐๐ – ๓,๐๐๐ เมตร ด้วยกระสุนควัน WP อัตรากระสุนมูลฐานรถถังได้รวมเอากระสุนควัน WP ไว้ด้วย


" ต้องรู้ว่าหน่วยดำเนินกลยุทธสามารถสนับสนุนการสร้างฉากควันได้ขนาดไหน "

รูปที่ ๑๑ – ๔ กระสุนควันของ ป.สนาม

รูปที่ ๑๑ – ๕ ความสามารถในการสร้างควันของหน่วยกลยุทธ

รูปที่ ๑๑ – ๖ ระเบิดยิงควันของ ค.


หมายเหตุ เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๔.๒ นิ้ว มีขีดความสามารถในการทำควันได้ดีกว่าปืนใหญ่ขนาด ๑๐๕ มม. ยิงด้วยกระสุนควัน

๑๔. ข้อพิจารณาในการใช้

ก. สภาพอากาศ ความเร็วลมและหลักฐานเงื่อนไขการทำควันสำหรับบริเวณเป้าหมายนั้น ตามปกติแล้วได้มาจากผู้ตรวจการณ์หน้า โดย ผตน. จะหาหลักฐานเอาจากสิ่งที่ตนเห็นและรู้สึก ความคงที่ของบรรยากาศ ความเร็วลม ทิศทางลมเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการสร้างฉากควัน

๑) ความคงที่ของบรรยากาศ สภาพของดินฟ้าอากาศ เวลาต่างกันของวัน และความเร็วลมล้านแต่กระทบกระเทือนต่อความคงที่ของบรรยากาศทั้งสิ้น ความคงที่ของบรรยากาศนั้น จำแนกออกได้เป็น ๓ ชั้น (ตามความทวีของอุณหภูมิอากาศ) คือคงที่ ปานกลาง และไม่คงที่ ความทวีของอุณหภูมิอากาศนั้น หมายถึงความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศจาก ๑/๒ เมตร ถึง ๔ เมตร เหนือพื้นดิน ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในทางดิ่งกระทบกระเทือนต่อความคงที่ของบรรยากาศซึ่งทำให้กระทบกระเทือนต่อกระแสบรรยากาศทางดิ่งอีกต่อหนึ่ง


" สำหรับภารกิจสร้างฉากควันของปืนใหญ่สนามนั้น คำว่าดีเลิศ ดี และไม่ดีนั้น ใช้บรรยายถึงลักษณะของสภาพควัน

ข้อพิจารณาในการใช้ควัน

รูปที่ ๑๑ – ๗ สภาพทั่ว ๆ ไปของบรรยากาศและผลที่มีต่อควัน


คำว่า ดีเลิศ ดี และ ไม่ดี นั้นถือเอาตามความสิ้นเปลืองในการใช้กระสุนเป็นเกณฑ์ ตามปกติแล้ว ถ้าความทวีของอุณหภูมิคงที่จะยังผลให้สิ้นเปลืองกระสุนน้อยกว่าสภาพปานกลางและไม่คงที่ ดังนั้นจึงถือว่าสภาพคงที่นี้ดีเลิศสำหรับการใช้ควัน สภาพปานกลางก็สิ้นเปลืองกระสุนน้อยกว่าสภาพไม่คงที่ ดังนั้นจึงถือเอาว่าอยู่ในเกณฑ์ดีสำหรับการใช้ควัน

๒) ทิศทาง และความเร็วลม การเคลื่อนที่ของควันนั้นย่อมขึ้นอยู่กับทิศทาง และความเร็วลม

ก) ความเร็วลมในห้วง ๔ ถึง ๑๔ น๊อต ถือว่าเหมาะที่สุดในการสร้างฉากควัน ความเร็วที่เหมาะสมที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของควันที่ใช้

ข) ทิศทางลมมีผลกระทบกระเทือนต่อที่ตั้งของควันที่ต้องการในบริเวณเป้าหมาย

๓) ข้อพิจารณาอื่น ๆ

ก) อุณหภูมิ การที่อุณหภูมิของอากาศเพิ่มสูงขึ้น อาจจะทำให้อัตราการระเหยของควันเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นเหตุให้ฉากควันจางไปเร็วกว่าที่ควร

ข) ความชื่นและฝน ความชื้นและฝนจะทำให้ประสิทธิผลในการใช้ควันเพิ่มพูนขึ้น

ข. กระสุน อัตรากระสุนมูลฐานนั้นมีกระสุนควัน จำนวนจำกัด ความสิ้นเปลืองในการใช้กระสุนควันนั้นแปรไปตามแต่ละภารกิจ ผู้ซึ่งใช้กระสุนควันทั้งหลายไม่ว่าผู้ตรวจการณ์หน้า นายทหารอำนวยการยิงหรือนายทหารการยิงสนับสนุน จะต้องทราบถึงจำนวนกระสุนที่มีอยู่ว่าจะสามารถสร้างฉากควันได้ขนาดไหน เมื่อมีความต้องการในการใช้กระสุนควันเป็นจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องแจกจ่ายอัตรากระสุนมูลฐานให้กับอีกหลาย ๆ หน่วย หรือเพิ่มจำนวนกระสุนควันให้เป็นพิเศษ สำหรับการยุทธครั้งหนึ่ง ๆ ประสบการณ์จากการรบได้แสดงให้เห็นว่า กระสุนควันที่มีอยู่นั้น ไม่อาจสนับสนุนการสร้างฉากควันได้ทุกภารกิจที่ร้องขอ

รูปที่ ๑๑ – ๘ ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ควัน


ค. อาวุธที่มีอยู่ ก่อนจะทำการยิงภารกิจซึ่งใช้ควัน ผู้ตรวจการณ์หน้า นายทหารอำนวยการยิงและนายทหารหารยิงสนับสนุนจะต้องพิจารณาถึงอาวุธที่มีอยู่ผู้ตรวจการณ์หน้าจะแนะนำผู้บังคับหน่วยดำเนินกลยุทธว่าควรจะใช้ปืนใหญ่ หรือเครื่องยิงลูกระเบิดทำการยิง นายทหารอำนวยการยิงจะตกลงใจว่าจะใช้อาวุธปืนใหญ่กระบอกไหนทำการยิง หรือจะใช้หน่วยปืนใหญ่เพิ่มเติมการยิง สนับสนุนภารกิจ นายทหารการยิงสนับสนุนจะให้ข่าวทางยุทธวิธี ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่ออาวุธยิงสนับสนุนที่มีอยู่ พึงระลึกว่าอาวุธยิงสนับสนุนนั้นมีจำกัด ในบางภารกิจจะต้องทำการตกลงใจว่า ใครจะสามารถตอบสนองความต้องการให้ได้ดีที่สุด

ง. เทคนิคการยิง การใช้ปริมาณควันที่แตกต่างกันในสนามรบต่อเป้าหมายซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน ย่อมต้องการเทคนิคการยิงที่ต่างกัน การใช้เทคนิคการยิงทั้งสองวิธีตามที่แสดงไว้ข้างล่างนี้ อาจใช้ในโอกาสอย่างอื่นหรือความมุ่งหมายอื่นก็ได้ ความมุ่งหมายของเทคนิคการยิงทั้งสองก็เพื่อกำบังการตรวจการณ์ของข้าศึกหรือสร้างฉากควันกำบังส่วนดำเนินกลยุทธ ความแตกต่างระหว่างเทคนิคการยิงได้กล่าวไว้ในตาราง

ตาราง ๑๑ – ๓ เทคนิคการยิง

* เทคนิคควันฉับพลันนั้นสามารถนำไปใช้กับภารกิจยิงข่มต่อเป้าหมายตามเหตุการณ์ได้ การใช้กระสุนควัน WP และควัน HC ผสมกัน ตามปกติจะยิงต่อจากนัดแรกของการยิงข่มเมื่อมีการร้องขอให้ยิงควันฉับพลัน

** ความรวดเร็วในการสนองตอบเป็นเครื่องบ่งว่า ทั้งภารกิจควันฉับพลัน และควันเร่งด่วน จะต้องยิงด้วยหมวดปืนที่เตรียมพร้อม

*** สำหรับพื้นที่ที่กว้างขวางกว่าก็ให้พิจารณาใช้เทคนิคควันเร่งด่วนต่อจุดเล็งหลายๆจุด

จ. การควบคุมและบังคับบัญชา ผู้บังคับหน่วยกลยุทธ ซึ่งเป็นผู้วางแผนในการใช้ควัน จะต้องอนุมัติในการใช้แต่ละครั้ง ทุกครั้งที่เสนอแผน และแนวความคิดการปฏิบัติมาให้ ผู้บังคับหน่วยกลยุทธจะต้องกำหนดปริมาณของควันที่สามารถใช้ได้มาให้เป็นแนวทางด้วย พร้อมทั้งข้อจำกัดในการใช้ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการใช้ควันเป็นไปอย่างถูกต้อง ผู้ตรวจการณ์หน้า นายทหารการยิงสนับสนุน และ/หรือผู้ประสานการยิงสนับสนุนจะต้องร้องขอแนวความคิดในการใช้ควันด้วยหากว่ามิได้กล่าวไว้ในแผน

๑) ผู้บังคับหน่วยกลยุทธที่รับผิดชอบในการยุทธครั้งนั้น จะต้องประสานการใช้ควันกับทุก ๆ นัด หน่วยที่มีส่วนร่วมหรือกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติการใช้ควันนั้น

๒) นายทหารยุทธการ (ฝอ.๓/สธ.๓) เป็นผู้รับผิดชอบในการรวบรวมแผนการใช้ควันให้เข้ากับแผนดำเนินกลยุทธ

๓) นายทหารการยิงสนับสนุน/ผู้ประสานการยิงสนับสนุน จะต้องให้คำแนะนำแก่ผู้บังคับหน่วยกลยุทธเสมอในเรื่องของอาวุธ และกระสุนที่มีอยู่

๔) ทหารในหน่วยรบทุกนายจะต้องได้รับการฝึกเกี่ยวกับการยุทธที่ใช้ควันเป็นอย่างดี และมีความเข้าใจและทราบถึงระเบียบปฏิบัติประจำอย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการสนองตอบลง

๑๕. ข้อพิจารณาในทางยุทธวิธีของผู้ตรวจการณ์หน้า

" กุญแจสำคัญที่จะทำให้การใช้ควันของทาหรปืนใหญ่สนามบรรลุผลนั้น อยู่ที่ผู้ตรวจการณ์หน้า "


ก. อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตรวจการณ์ได้

๑) ถ้าข้าศึกใช้ควันให้

ก) เคลื่อนที่ไปอยู่ในที่ที่สูงขึ้น

ข) เคลื่อนที่ไปอยู่เหนือลม

๒) ใช้การส่องสว่างสนามรบ หรือว่าอุปกรณ์ช่วยการเห็นในเวลากลางคืน เมื่อจะใช้ควันในเวลากลางคืน


" ผู้ตรวจการณ์หน้าจะปฎิบัติภารกิจให้สำเร็จได้จะต้องสามารถตรวจการณ์ได้ "


ข. รู้จักภูมิประเทศ เนื่องจากภูมิประเทศมีผลกระทบกระเทือนต่อการใช้ควัน

๑) การใช้ควันกับรถถังในขบวนเดินจะทำให้เกิดการหลงทิศได้

๒) พึงระลึกไว้ว่าควันนั้นจะปกคลุมลงไปยังจุดที่ต่ำกว่าเสมอ

๓) พึงระบึกไว้ว่าการยิงกระสุนควันลงบนพืชพันธ์ที่แห้งอาจจะเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นได้

๔) อย่ายิงกระสุนควันลงในพื้นที่ที่เป็นโคลน น้ำหรือหิมะ เพราะจะทำให้กระสุนควันนั้นทำงานผิดปกติได้

๕) อย่ายิงกระสุนควัน HC ลงบนที่ลาดชันมาก ๆ เพราะจำทำให้กระป๋องที่บรรจุควันกลิ้งลงไปยังตามลาด

ค. ต้องมีความอ่อนตัว

๑) พึงระลึกไว้ว่าการจะใช้ควันให้ได้ผลนั้น ไม่จำเป็นต้องยิงลงบนข้าศึกในแนวหน้าหรือหน้าข้าศึกในแนวหน้าเสมอไป อาจจะยิงลงข้างหลังข้าศึกในแนวหน้าก็ได้เพื่อทำให้เกิดเงาดำ หรือกำบังการตรวจการณ์ของข้าศึก

๒) การยิงกระสุนควันโดยใช้ผู้ตรวจการณ์ทางอากาศนั้น เป็นเรื่องที่กระทำได้ยากมาก เพราะผู้ตรวจการณ์ทางอากาศ ไม่อยู่ในตำแหน่งที่จะทราบถึงสภาพของควันได้อย่างแท้จริง หรือพอที่จะประกันได้ว่าจะใช้ควันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓) พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้าหากว่าควันเริ่มขัดขวางส่วนดำเนินกลยุทธของฝ่ายเรา

ง. ทราบถึงขีดความสามารถในการทำควันของปืนใหญ่สนาม

ผู้ตรวจการณ์หน้าจะต้องทราบถึง

๑) จำนวนกระสุนควันที่มีอยู่

๒) จำนวนกระสุนโดยประมาณ ที่ต้องการให้กองร้อยสร้างฉากควันครอบคลุมพื้นที่ขนาดที่กำหนดให้ด้วยสภาพบรรยากาศ ความเร็วลม และทิศทางลมต่าง ๆ กัน

หมายเหตุ - แฟคเตอร์ ดูตาราง ๑๑ – ๔

- อัตราเร็วในการยิง ดูตาราง ๑๑ – ๕

- ห้วงเวลาสร้างฉากควันเป็นนาที


ฉากกำบัง
ตาราง ๑๑ – ๔ แฟคเตอร์ฉากกำบังมีความยาว ๑๐๐ เมตร


ตาราง ๑๑ – ๕ อัตราเร็วในการยิง

* ภายใต้เงื่อนไขอันนี้จำนวนกระสุนที่ใช้เกินกว่าอัตราเร็วในการยิงของอาวุธ

๓) ผู้บังคับหน่วยกลยุทธ จะต้องทราบถึงขีดความสามารถในการสนับสนุน ตามที่ร้องขอที่อาจสนับสนุนให้ได้ ตั้งแต่ขั้นวางแผนในการปฏิบัติ มิใช่ภายหลังจากที่ได้วางแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

จ. รู้จักข้าศึก และการโจมตีข้าศึก

๑) ทำการยิงกระสุนควันลงบนที่ตรวจการณ์ ศูนย์อำนวยการยิงของปืนใหญ่ข้าศึกเพื่อลดประสิทธิภาพปืนใหญ่ของข้าศึก

๒) ทำการยิงกระสุนควัน และกระสุนระเบิดลงบนข้าศึก เมื่อข้าศึกแปรจากรูปขบวนแถวตอนเป็นขบวนถาหน้ากระดาน กระสุนระเบิดจะทำให้ข้าศึกต้องปิดป้อมรถถังและกระสุนควันจะทำให้ข้าศึกเกิดความสับสน

๓) ทำการยิงกระสุนควัน และกระสุนระเบิดลงบนสนามทุ่นระเบิด เพื่อให้เกิดการสับสน ข้าศึกจะได้ไม่มีโอกาสได้ทราบว่าเขาถูกโจมตีด้วยอะไร

ฉ. เข้าใจถึงผลของการใช้ควันที่มีต่อประสิทธิภาพของฝ่ายเรา การใช้ควันโดยไม่ไตร่ตรองให้ดี และวางแผนให้ดีนั้น จะเป็นการลดประสิทธิภาพของฝ่ายเรามากกว่าที่จะลดประสิทธิภาพของข้าศึก

ช. ชดเชยประสิทธิภาพที่ลดลงของการใช้ควัน ช่องว่างที่เกิดขึ้นในการสร้างฉากควัน ซึ่งเกิดจากการใช้กระสุนผิด หรือกรวยผิดจะต้องได้รับการชดเชย

“ อย่าปล่อยให้หน่วยกลยุทธอยู่ในที่โล่งแจ้ง ”


๑๖. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับสภาพอากาศ

ก. หาความเร็ว และทิศทางลม

๑) ความเร็วลม ใช้ตารางมาตราส่วนเปรียบเทียบความเร็วลม หรือการปล่อยหญ้า (วิธีแสวงเครื่อง)

ก) ตารางมาตราส่วนเปรียบเทียบความเร็วลม


ข) วิธีปล่อยใบหญ้า ยื่นแขนออกไปตามลมเสมอกับไหล่แล้วปล่อยใบหญ้าจากมือเหยียดแขนให้สุด ชี้มือไปยังจุดที่ใบหญ้าหล่นสู่พื้นดิน วัดง่ามมุมที่เกิดจากแขนและลำตัวเป็นองศา เอา ๔ หารง่ามมุมที่วัดได้เพื่อหาความเร็วลมเป็นน๊อตโดยประมาณ

๒) ทิศทางลม จากการสังเกต

ก) ควันหรือฝุ่น

ข) การโอนเอียงของต้นไม้หรือต้นหญ้า

ค) การกระเพื่อมของน้ำ

๓) หาทิศทางของลม สัมพันธ์กับแนวการเคลื่อนที่และเป้าหมายสำหรับการกำบัง ผู้ตรวจการณ์เพียงแต่หาทิศทางลมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

ก) ลมทางข้าง

ข) ลมเฉียง

ค) ลมส่ง / ลมต้าน

รูปที่ ๑๑ – ๙ การพิจารณาหาทิศทางลม



ข. หาเงื่อนไขของการใช้ควัน (ดีเลิศ ดี หรือไม่ดี) ถ้าหากว่าผู้ตรวจการณ์จำเงื่อนไขของการใช้ควันไม่ได้ และไม่สามารถหาความเร็วลมได้ ก็ให้รายงานสภาพของภูมิอากาศตามที่ได้เห็นไปให้ ศอย. แล้ว ศอย. จะเป็นผู้ดำเนินการเอง


ผตน. “ จาก ๒๔ ขอทราบเงื่อนไขของการใช้ควันและความเร็วลม

สภาพอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนมาก ลมพัดฝุ่นลอยขึ้นจากพื้นดิน เปลี่ยน ”

ศอย. “ จาก ๑๘ เงื่อนไขการใช้ควัน ดี ความเร็วลม ๑๕ น๊อต เปลี่ยน ”


๑๗. เทคนิคในการสร้างฉากควันของผู้ตรวจการณ์หน้า

ก. ควันฉับพลัน

๑) ความมุ่งหมาย ความมุ่งหมายของควันฉับพลันก็เพื่อกำบังหรือรบกวนการตรวจการณ์ของข้าศึก

๒) จะใช้ควันฉับพลันเมื่อไร การยิงข่มต่อที่ตั้งเล็ก ๆ อาจจะกระทำให้สำเร็จได้โดยใช้ควันฉับพลัน ทั้งนี้เพื่อลดขีดความสามารถในการตรวจการณ์ของข้าศึก การใช้ควันฉับพลันนั้นอาจจะวางแผนไว้เป็นเป็นอีกแผนหนึ่งของแผนการยิงข่มก็ได้ หรืออาจจะใช้หลังจากที่พบว่าการยิงข่มฉับพลันใช้ไม่ได้ผล เมื่อวางแผนใช้ควันฉับพลัน จะต้องส่งเป้าหมายที่จะใช้ควันฉับพลันนั้นรวมไปกับบัญชีเป้าหมายให้กับ ศอย. ด้วย ในการวางแผนใช้ควันฉับพลันนั้น จะต้องพิจารณาถึงสภาพลมฟ้าอากาศด้วย เพราะหากลมเปลี่ยนทิศทาง ก็จะทำให้ใช้ไม่ได้ผล ถ้าหากว่าการยิงข่มฉับพลันไม่บังเกิดผล เนื่องจากที่ตั้งเป้าหมายไม่ถูกต้อง ผู้ตรวจการณ์ก็อาจจะใช้การย้ายเข้าหาเป้าหมายเลยทีเดียว และขอยิงด้วยกระสุนควันก็ได้


จาก ๒๔ ควันฉับพลัน

ขวา ๓๐๐ เพิ่ม ๔๐๐

ยิงซ้ำ เปลี่ยน

ควันฉับพลันที่ใช้กระสุน HC ถ้าหากว่าใช้ตามลม จะใช้ได้ผลในระยะ ๑๑๐๐ เมตร หรือมากกว่า

เทคนิคการใช้ควันฉับพลันสามารถใช้ในภารกิจยิงข่มฉับพลันต่อเป้าหมายตามเหตุการณ์ได้ ตามปกติจะใช้กระสุนควันผสมกันระหว่าง WP และ HC ยิงในนัดต่อจากนัดที่ยิงข่มนัดแรกเมื่อมีการร้องขอควันฉับพลัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ รปจ.ของหน่วย

๓) ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ ตามปกติจะไม่ร้องขอให้เริ่มยิงควันฉับพลัน ถ้าหากว่ากระสุนระเบิดอยู่ในถาดป้อนกระสุนอยู่แล้วตาม รปจ. แทนที่จะเปลี่ยนกระสุน ผู้ตรวจการณ์ก็ควรจะร้องขอภารกิจยิง ซึ่งจะต้องใช้กระสุนที่เป็นนัดยิงข่มนั้นเสียตาม รปจ. (ใช้เป็นนัดปรับการยิง) แล้วจึงร้องขอควันฉับพลัน แต่ก่อนที่จะทำการยิงควันฉับพลัน ผู้ตรวจการณ์จะต้องพิจารณาถึง

ก) จะวางควันลงตรงไหน

ข) การใช้ควันฉับพลันนั้น จะไม่รวดเร็วเท่ากับการยิงข่มฉับพลันด้วยกระสุนระเบิด ทั้งนี้เพราะต้องเสียเวลาในการก่อตัวของควันอีกด้วย

ค) การวางควันลงไม่ถูกจุดก็อาจจะยังคงได้ผลในการกำบังอยู่ ในขณะที่การยิงกระสุนระเบิดลงบนเป้าหมายเป็นจุดไม่ถูกต้อง อาจจะไม่ได้ผลตามที่ต้องการ

ง) การใช้ควันฉับพลันนั้นจะได้ห้วงเวลาในการข่ม (โดยการกำบัง) นานกว่าที่ใช้กระสุนระเบิด

จ) การยิงควันฉับพลันนั้น จะต้องได้รับการเห็นชอบจากผุ้บังคับหน่วยกลยุทธก่อนทำการยิง (การเห็นชอบนี้อาจจะกำหนดให้ในลักษณะทั่ว ๆ ไป สำหรับแต่ละขั้นของการยุทธก็ได้

ฉ) การใช้ควันฉับพลันนั้นจะบังเกิดผลต่อเป้าหมายเป็นจุด หรือเป้าหมายเป็นพื้นที่บริเวณเล็ก ๆ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า ๑๕๐ เมตรเท่านั้น

๔) จะใช้ควันฉับพลันอย่างไร

ก) กระสุน กระสุนที่จะใช้ยิงนั้นจะบ่งไว้ใน รปจ.ของหน่วย มีข้อแนะนำว่าควรใช้ปืน ๒ กระบอก ยิงผสมกัน คือ ปืนกระบอกหนึ่งยิงด้วยกระสุนควัน WP (สำหรับการก่อตัวที่รวดเร็ว) และอีกกระบอกหนึ่งยิงด้วยกระสุนควัน HC จากนั้นก็ยิงทั้งสองกระบอกด้วยกระสุนควัน HC

ข) การปรับ เนื่องจากควันฉับพลันนั้นมักจะใช้กับเป้าหมายที่ได้วางแผนยิงข่มเอาไว้ หรือใช้ภายหลังจากที่ยิงข่มด้วยกระสุนระเบิด หรือ ICM แล้วปรากฏว่าไม่ได้ผล ไม่ต้องมีการปรับแต่อย่างใด ก่อนที่จะยิงด้วยกระสุนควัน ต่อเมื่อพบว่าควันไม่บังเกิดผล จึงค่อยมีการแก้ทางข้างทางระยะ และสูงกระสุนแตก การแก้ทางข้างน้อยที่สุดควรเป็น ๕๐ เมตร ทางระยะควรจะ ๑๐๐ เมตร และการปรับสูงกระสุนแตกกระทำได้ดังนี้

- ระเบิดที่ดิน สูงขึ้น ๑๐๐

- กระป๋องควันกระดอน สูงขึ้น ๕๐

- กระป๋องควันกระจัดกระจายมากเกินไป ต่อลง ๕๐

รูปที่ ๑๑ – ๑๐ การปรับกระสุนควัน


ค) ห้วงเวลา เมื่อยิงด้วยกระสุน HC และกระสุนควัน WP ผสมกันก็สามารถที่จะมุ่งหวังได้ว่าควันจะบังเกิดผลภายใน ๓๐ วินาที หลังจากที่กระสุนกระทบพื้น และจะดำรงอยู่ได้นานประมาณ ๔ – ๕ นาที ถ้าต้องการห้วงเวลาที่นานกว่านี้ ก็ร้องขอให้ยิงกระสุนควัน HC ทั้งชุดเพิ่มเติมให้ได้

๕) การวางฉากควันฉับพลัน จุดที่จะใช้วางฉากวันนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพของภูมิอากาศ จะต้องวางฉากควันเหนือลม เพื่อให้ควันกำบังการตรวจการณ์ของข้าศึกตามแนวทางการเคลื่อนที่ ตามปกติแล้วจุดที่จะใช้วางฉากควันนั้น จะอยู่หน้าเป้าหมายตามแนวหน่วยกลยุทธเป้าหมายประมาณ ๑๐๐ เมตร และจากที่ตั้งของข้าศึกอยู่ไปทางเหนือลมอีก ๑๐๐ เมตร

หน่วยของระยะคือ เมตร

สำหรับ ปบค.๑๐๕ มม. และ ปกค. ๑๕๕ ม.

รูปที่ ๑๑ – ๑๑ การวางฉากควันเมื่อเป็นลมส่ง

ถ้าเป็นลม

ก) ลมเฉียง เช่นเดียวกับลมทางข้าง

ข) ลมต้าน (พัดมาจากเป้าหมาย) ก็ให้วางจุดปรับหน้าเป้าหมาย ๑๐๐ เมตร ตามแนวหน่วยดำเนินกลยุทธ – เป้าหมาย การใช้ควันเมื่อเป็นลมต้านนี้ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะว่าควันอาจจะถูกพัดกลับมายังหน่วยกลยุทธก็ได้

ค) ลมส่ง (พัดไปยังเป้าหมาย) ให้วางจุดปรับหน้าเป้าหมายอย่างน้อย ๒๐๐ เมตร เพื่อป้องกันมิให้ควันตกหลังเป้าหมาย

ข. ควันเร่งด่วน

๑) ความมุ่งหมายของควันเร่งด่วน ก็เพื่อกำบังการตรวจการณ์ของข้าศึก หรือสร้างฉากควันให้กับส่วนดำเนินกลยุทธ

๒) จะใช้ควันเร่งด่วนเมื่อไร ภารกิจควันเร่งด่วนนั้นปกติแล้วถือว่าเหมือนกับภารกิจปรับการยิงด้วยกระสุนระเบิดตามธรรมดา เป็นการต้องการที่จะกำบังจากการตรวจการณ์ข้องข้าศึก แต่ความเร่งด่วนของสถานการณ์มิได้บ่งว่าต้องใช้ควันฉับพลัน ภารกิจควันเร่งด่วนจะใช้กำบังพื้นที่บริเวณเป้าหมายได้กว้างถึง ๖๐๐ เมตร หากต้องการกำบังพื้นที่ซึ่งกว้างเกินกว่า ๖๐๐ เมตร ผู้ตรวจการณ์หน้าอาจจะขอให้ยิงภารกิจควันเร่งด่วน ซ้อนกันหลายภารกิจ ณ จุดปรับต่าง ๆ กัน

ตัวอย่างที่ ๑ ผตน.ยิงภารกิจควันเร่งด่วน ตรวจดูผลแล้วรายงานมายัง ศอย.ว่า

“จุดปรับที่ ๒ ขวา ๕๐๐,ลด๒๐๐,ยิงซ้ำ,เปลี่ยน”

ถ้าหาก ผตน. ต้องการจะเลื่อนควันเร่งด่วนไปยังจุดอื่นอย่างง่าย ๆ ก็ใช้การแก้ขั้นต่อไปอย่างปกติ ดังนี้

“ขวา ๕๐๐ ลด ๒๐๐ ยิงซ้ำ เปลี่ยน”

จุดปรับที่ ๒ (หรือจุดปรับอื่น ๆ ตาม รปจ.) เป็นการบอกให้ ศอย. ได้ทราบว่า ขณะนี้ ผตน. ต้องการให้ยิงลงบนจุดปรับที่ ๒ และให้กองร้อยเตรียมสร้างควันเพิ่มเติมให้กับจุดปรับหนึ่งใน ๒ จุดปรับนั้น โดยการที่สังเกตว่าควันใกล้จุดปรับทั้ง ๒ นั้น มีผลอยู่นานเพียงใด ผตน. ก็อาจหาห้วงเวลาซึ่งต้องการให้ยิงกระสุนควันได้ดังนี้

ห้วงเวลา = ระยะเวลาที่บังเกิดผล-เวลาในการก่อสร้าง ผตน.สามารถที่จะส่งข่าวไปให้ ศอย.ดังนี้

“ควันต่อเนื่อง ทุกๆ ๓ นาที เป็นเวลานาน ๑๕ นาที เปลี่ยน”

รูปที่ ๑๑ – ๑๒ การปรับฉากควัน


ตัวอย่างที่ ๒ ผตน.ขอให้ยิงต่อจุดปรับหลาย ๆ จุดตั้งแต่ตอนเริ่มแรกของภารกิจ

“ลพบุรี ๑๘จากลพบุรี ๒๔ ยิงหาผล ควันเร่งด่วน เปลี่ยน”

“พิกัด ๘๔๓๓๒๑ ๒ หมวด พิกัด ๘๔๐๓๒๒ ๑ หมวด กระสุน HC เปลี่ยน”

หมายเหตุ

- ถ้าหากการวางกระสุนแต่ละนัดเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญ กับทั้งอาวุธและกระสุนได้รับมอบให้สร้างฉากควันในห้วงระยะเวลานานมากๆแล้ว ก็ให้พิจารณาใช้โดยการวางแผนอย่างละเอียด

- การใช้กระสุนควัน HC เร่งด่วนตามลม อาจให้ผลถึง ๑๕๐๐ เมตร หรือมากกว่า

๓) ข้อพิจารณาในการใช้ ก่อนที่จะยิงภารกิจควันเร่งด่วน ให้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- คำอนุมัติของ ผบ.หน่วยกลยุทธระดับกองพัน

- ที่ตั้งของพื้นที่ซึ่งต้องการกำบัง หรือสร้างฉากควัน

- เวลาที่มีผล

- ห้วงเวลาที่ต้องการ

- สภาพภูมิอากาศ

- แผนสำรองหากว่าใช้ควันไม่ได้ผล

- จำนวนอาวุธที่มีอยู่

- จำนวนกระสุนที่มีอยู่

๔) การวางแผนสำหรับควันเร่งด่วน

ก) หาขนาดของพื้นที่ที่ต้องการกำบังหรือสร้างฉากควัน

ข) หาจำนวนปืนที่ต้องการทำการยิง เนื่องจากตามปกติแล้ว จะไม่มีเวลามากพอที่จะส่งหลักฐานสภาพภูมิอากาศ และลักษณะเป้าหมายมายัง ศอย.ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ ผตน. ที่จะพิจารณาว่า จะสามารถสร้างฉากควันได้หรือไม่ และพิจารณาจำนวนหมวดที่จะใช้ทำการยิง ให้ทำความคุ้นเคยกับตารางหลักฐานควันเร่งด่วนในการหาจำนวนหมวดที่จะใช้ทำการยิง

" ตารางหลักฐานควันเร่งด่วน "

* สำหรับความมุ่งหมายในการวางแผนใช้กว้างด้านหน้าของกองร้อยปกติหรือใช้ตัวแก้ประจำเขตการยิง

** ทิศทางลมโดยใช้แนวหน่วยกลยุทธ - เป้าหมายเป็นแนวอ้าง

***สำหรับกระสุน WP จะต้องมีลมซึ่งมีความเร็วอย่างน้อยที่สุด ๑๐ น๊อต

๕) การเลือกจุด สำหรับสร้างควันเร่งด่วน นอกจากจะเลือก.ปรับสำหรับกระสุนระเบิดแล้ว ผู้ตรวจการหน้า ยังจะต้องคำนึงถึงทิศทางลม ชนิดกระสุนที่จะใช้ยิงหาผลว่าจะใช้กระสุน HC หรือ WP โดยคิดเอาว่าใช้ปืนกระบอกกลางเป็นปืนปรับการยิง โดยคิดจากจุดกึ่งกลางของพื้นที่ที่จะกำบังหรือสร้างฉากควัน

สำหรับ ปบค.๑๐๕ มม.และ ปกค.๑๕๕ มม.

การปรับการยิงกระสุนควันสำหรับลมเฉียง

ค่าที่ทราบ

ทิศทางลม ลมเฉียง

ความเร็วลม ๘ น๊อต

พื้นที่ต้องการสร้างฉากควัน ๔๐๐ เมตร

ชนิดของกระสุนควัน HC

ชนิดอาวุธ ปกค.๑๕๕ มม.

๖) การยิงหาผล

ก) ก่อนที่จะทำการยิงกระสุนควันในขั้นการยิงหาผลนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับกองพันหน่วยกลยุทธเสียก่อน แต่การขอความเห็นชอบนั้นจะต้องไม่ทำให้การยิงด้วยกระสุนระเบิดล่าช้า

ข) หากต้องการให้สร้างฉากควันในระยะเวลาที่ยาวนาน (นานกว่า ๒ นาทีสำหรับกระสุน WP และนานกว่า ๕ นาที สำหรับกระสุน HC) จะต้องบอกสิ่งต่อไปนี้ให้ ศอย.ทราบคือ ความเร็วลม สภาวะของควันและห้วงเวลาที่ต้องการให้สร้างฉากควัน โดยการส่งข่าวให้ ศอย. ทราบเสียแต่เนิ่น ๆ (ก่อนที่จะสั่งยิงหาผล) ผู้ตรวจการณ์หน้ามีโอกาสเลือก ในการขยายห้วงเวลาสร้างฉากควันได้อีกอย่างหนึ่งคือ การขอให้ยิงกระสุนชุดต่อๆไปก็ได้

ค) หากผู้ตรวจการณ์ต้องการให้สร้างฉากควันอย่างบังเกิดผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ก็ขอให้ขอว่า “ตามคำสั่งข้าพเจ้า” และขอทราบเวลาแล่นด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้หาเวลาที่จะออกคำสั่งยิง โดยการเอาเวลาแล่น บวกเข้ากับเวลาเฉลี่ยในการสร้างฉากควัน (๓๐ วินาที สำหรับกระสุน WP และ ๖๐ วินาที สำหรับกระสุน HC)

ง) ถ้าการสร้างฉากควันไม่บังเกิดผล ก็ให้ตัดสินใจว่าจะย้ายควันต่อไป หรือจะยิงกระสุนระเบิด ถ้าหากผู้ตรวจการณ์ตัดสินใจที่จะย้ายก็พึงระลึกว่าอาจจะมีช่องว่างของฉากควันเกิดขึ้นในขณะที่ ศอย.คำนวณหาหลักฐานยิงใหม่

ย้ายกระสุนควัน

“จากลพบุรี ๒๔, ซ้าย ๒๐๐

เพิ่ม ๑๐๐ ยิงซ้ำ, เปลี่ยน”

หรือ ยิงกระสุนระเบิด

“จากลพบุรี ๒๔, ซ้าย ๑๐๐

เพิ่ม ๓๐๐, ระเบิด, ยิงซ้ำ, เปลี่ยน”


ตอนที่ ๔ การดำเนินการยิงทำลายใกล้ชิด

๑๘. กล่าวทั่วไป

ก. การยิงทำลายใกล้ชิด เป็นเทคนิคพิเศษของการยิงเล็งจำลอง ซึ่งจะใช้ส่วนบรรจุสูงสุดที่ให้ความปลอดภัยแก่การยิงข้ามยอดที่กำบัง ทั้งนี้เพื่อให้มีความเร็วต้นสูงสุด และให้มีผลต่อการเจาะทะลุทะลวง การยิงกระทำในระยะใกล้จากที่ตั้งอาวุธซึ่งอยู่ในที่ซ่อนพราง เพื่อให้ยิงต่อเป้าหมายอยู่กับที่ได้อย่างแม่นยำจริงๆ การยิงในระยะใกล้และกระสุนวิถีที่ทราบเหยียดย่อมทำให้สามารถยิงถูกส่วนเดียวกันของเป้าหมายอย่างต่อเนื่องได้ในภารกิจนี้ใช้ปืนเพียงกระบอกเดียว และตามปกติแล้ว ศอย.จะตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งอาวุธหรืออยู่ใกล้ชิดกับที่ตั้งอาวุธนั้น

ข. การยิงทำลายใกล้ชิดสำหรับทำลายอุโมงค์ รังปืน หรือป้อมสนามประจำที่อื่น ๆ กระทำโดยการยิงลงบนส่วนใดส่วนหนึ่งของเป้าหมาย

๑๙. กระสุนที่ใช้สำหรับยิงทำลายใกล้ชิด

ก. ลูกกระสุน ใช้กระสุนระเบิดแรงสูงสำหรับการยิงทำลายใกล้ชิด

ข. ชนวน ชนวนเจาะคอนกรีตเหมาะสำหรับทำลายป้อมสนาม ชนวนไวสำหรับปรับการยิงและสำหรับตัดกำแพงหรือมูลดิน หลังจากนั้นก็ใช้ชนวนเจาะคอนกรีตถ่วงเวลา สำหรับยิงหาผลเพื่อให้มีผลต่อการเจาะทะลุทะลวงและมีผลต่อการทำลาย ถ้าการใช้ชนวนเจาะคอนกรีตถ่วงเวลามีผลเป็นกระดอนแตกมากเกินไป ก็ควรใช้ชนวนเจาะคอนกรีตไม่ถ่วงเวลา จนกระทั่งได้หลุมระเบิดโตพอที่ที่จะป้องกันมิให้เกิดการกระดอนแตกจากชนวนถ่วงเวลา ชนวนเจาะคอนกรีตไม่ถ่วงเวลา ก็อาจใช้เพื่อกวาดเศษหินในระหว่างการยิงหาผลได้

๒๐. การเตรียมการปฏิบัติ

ผู้ตรวจการณ์และเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับภารกิจยิงทำลายใกล้ชิด ควรจะเตรียมแผ่นรายละเอียดสำหรับภารกิจไว้ การวางแผนโดยละเอียด การลาดตระเวนและการประสาน จะต้องสำเร็จเรียบร้อยก่อนที่จะนำอาวุธเข้าที่ตั้ง ผู้ตรวจการณ์ต้องเข้าประจำที่ตรวจการณ์ที่อยู่ใกล้เป้าหมายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอยู่บนแนวปืน – เป้าหมาย หรือใกล้ ๆ กับแนวปืน – เป้าหมาย

๒๑. หลักฐานเริ่มแรก

ตากปกติเจ้าหน้าที่จะเตรียมหลักฐานเริ่มแรกไว้ล่วงหน้า โดยใช้วิธีการที่ดีที่สุดที่มีอยู่ (ปกติใช้งานแผนที่) เพื่อกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยตรงและที่ตั้งอาวุธที่ใช้ยิงทำลายใกล้ชิด ดังนั้นส่วนมากแล้วคำขอยิงที่สมบูรณ์จากผู้ตรวจการณ์จึงไม่มีความจำเป็น

๒๒. การปรับการยิง

ผู้ตรวจการณ์หน้า ใช้วิธีปรับการยิงที่ดัดแปลงซึ่งผู้ตรวจการณ์หน้าจะเป็นผู้ควบคุมการยิงอย่างสมบูรณ์ตลอดภารกิจ ผู้ตรวจการณ์หน้าจะให้การแก้เป็นเมตรสำหรับแต่ละนัดติดต่อกันไป จนกว่ากระสุนจะกระทบส่วนของเป้าหมายที่ต้องการ ผู้ตรวจการณ์หน้าแก้นัดที่ระเบิดนอกแนวเพื่อให้นัดต่อไปเข้าหาแนวตามวิธีปรับการยิงตามปกติ ยกเว้นผู้ตรวจการณ์หน้าจะให้การแก้ทางข้างเป็นจำนวนเต็มเมตร และจะสร้างห้วงควบในทางระยะและผ่าห้วงควบติดต่อกันไป

๒๓. การยิงหาผล

ก. เมื่อผู้ตรวจการณ์หน้าผ่าห้วงควบทางระยะ ๕๐ เมตร แล้วก็อยู่ในขั้นการยิงหาผล แม้ว่าจะมิได้ประกาศว่ายิงหาผลก็ตาม ขณะนี้ตามธรรมดาแล้วผู้ตรวจการณ์ย่อมสามารถประมาณความคลาดเคลื่อนทางดิ่งได้แม่นยำกว่า การประมาณความเคลื่อนทางระยะ ดังนั้นผู้ตรวจการณ์มักจะทำการแก้ทางสูงมากกว่าที่จะแก้ทางระยะ หลังจากที่ได้ผ่าห้วงควบทางระยะ ๕๐ เมตรแล้ว การแก้ที่น้อยที่สุดที่เหมาะในทางทิศหรือทางสูงก็คือ ๑/๒ เมตร ผู้ตรวจการณ์หน้ายังคงส่งการแก้สำหรับแต่ละนัดที่ยิงไปยัง ศอย. ต่อไป การยิงกระสุนทั้งหมดกระทำทีละนัดหรือตามที่ผู้ตรวจการณ์ร้องขอ เพื่ออำนวยให้มีการแก้หรือเปลี่ยนแปลงกระสุนได้ระหว่างนัดต่าง ๆ ตามต้องการ ผู้ตรวจการณ์หน้ามีความรับผิดชอบในการควบคุมและขอจบภารกิจ

ข. ตามปกติผู้ตรวจการณ์หน้า จะสามารถเห็นลูกกระสุนแต่ละนัดขณะแล่นเข้าสู่เป้าหมาย โดยการสังเกตตำแหน่งของแต่ละนัดในทันทีที่ก่อนการระเบิดแทนที่จะพิจารณาเอาจากตำบลระเบิดเท่านั้น ย่อมทำให้ผู้ตรวจการณ์หน้าสามารถตรวจผลได้ถูกต้องยิ่งขึ้น และแล้วก็จะสามารถทำการแก้เล็กน้อยตามความจำเป็นเพื่อให้ยิงตรงจุดได้อย่างแม่นยำจริงๆ

๒๔. ตัวอย่างภารกิจยิงทำลายใกล้ชิด

เป้าหมาย อุโมงค์หินบนไหล่เขา

ภารกิจ อุดปากทางเข้าอุโมงค์

อาวุธ ปค. ๘ นิ้ว

ระยะ ปม. ๑๕๐๐ เมตร

ระยะ ตม. ๑๐๐๐ เมตร

การเตรียมรายละเอียดต่าง ๆ สำหรับภารกิจนี้ได้กระทำไว้ล่วงหน้าแล้ว ฉะนั้น คำของยิงที่ครบสมบูรณ์ไม่มีความจำเป็นนัก ผู้ตรวจการณ์ได้รายงานพร้อมที่จะตรวจ และเจ้าหน้าที่ ศอย. ก็ได้เตรียมหลักฐานไว้ล่วงหน้าอย่างประณีต คำสั่งยิงเพื่อให้ ป. ยิงกระสุนนัดแรกแล้ว การยิงในระยะใกล้กรณีนี้เริ่มด้วยหลักฐานประณีต และถูกต้อง กระสุนนัดแรกจึงตกใกล้เป้าหมายมากดังนี้

ผลการตรวจ การแก้ของผู้ตรวจการณ์หน้า

นัดที่ ๑ ตกขวาแนว ตม.๑๐ มิล ซ้าย ๑๐

สงสัยทางระยะ

นัดที่ ๒ ตกระหว่างผู้ตรวจการณ์และเป้าหมาย เพิ่ม ๕๐

นัดที่ ๓ ตกหลังเป้าหมาย ลด ๒๕

นัดที่ ๔ ถูกมุมบนขวาของปากอุโมงค์ ซ้าย ๑ ต่ำลง ๑

(การแก้ทางดิ่งกระทำได้ดังนี้)

นัดที่ ๕ ถูกขอบล่างซ้ายปากอุโมงค์ ขวา ๑/๒ สูงขึ้น ๑/๒

นัดที่ ๖ ตกเข้าไประเบิดในปากทางเข้าอุโมงค์ ชนวนเจาะคอนกรีตถ่วงเวลา

(ชนวนเจาะคอนกรีตถ่วงเวลาเหมาะที่จะ ยิงซ้ำ

ใช้เพื่อเจาะทะลุทะลวงหินแข็งในขณะนั้น)

นัดที่ ๗ ระเบิดปากทางเข้าอุโมงค์อีก ยิงซ้ำ

ปากทางเข้าอุโมงค์ถูกปิดเกือบสนิท

นัดที่ ๘ ถูกปากอุโมงค์ด้านบน จบภารกิจ

ขณะนี้ปากอุโมงค์ปิดสนิทแล้ว ทางเข้าปากอุโมงค์ปิดสนิท


ตอนที่ ๕ การดำเนินการตรวจการณ์ร่วม

๒๕. กล่าวทั่วไป

ก. การตรวจการณ์ร่วม เป็นการตรวจการณ์ชนิดหนึ่งที่ ซึ่งใช้ผู้ตรวจการณ์สองคนหรือมากกว่าอยู่ ณ ที่ตั้งต่างกัน เพื่อให้ได้ผลการตรวจต่อเป้าหมายเดียวกัน การดำเนินการยิงโดยการใช้การตรวจการณ์ร่วมกันอย่างได้ผลนั้น มุมสกัดของแนว ตม. ไม่ควรน้อยกว่า ๑๕๐ มิล มุมสกัดของแนว ตม. ระหว่าง ๓๐๐ ถึง ๕๐๐ มิล เป็นที่พึงประสงค์

ข. การตรวจการณ์ร่วมใช้สำหรับภารกิจชนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

๑) การยิงหาหลักฐานแตกอากาศสูง

๒) การยิงหาหลักฐานจุดปานกลางมณฑล

๓) การยิงเพื่อหวังผลจู่โจมโดยการยิงหาผลด้วยการย้ายยิง

๔) การเฝ้าตรวจการยิงที่ได้วางแผนไว้

ค. ที่ตรวจการณ์ควรจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ในเวลากลางวัน เพื่อว่าอาจตั้งเครื่องมือไว้ให้ถูกทิศ และทำแนวไว้บนพื้นดินสำหรับใช้ในการตั้งให้ถูกทิศในเวลากลางคืน ผู้ตรวจการณ์ทุกคนจะบันทึกค่ามุมมุมภาคของแนว ตม. ไปยังเป้าหมายต่าง ๆ ที่หาไว้ตั้งแต่เวลากลางวัน ผู้ตรวจการณ์อาจกำหนดที่ตั้งเป้าหมายในเวลากลางคืนได้โดยการวางกากบาทของเส้นสายใยทางดิ่งและทางระดับของกล้องทับบนแสงไฟที่แวบออกจากอาวุธของข้าศึก แล้วบันทึกมุมดิ่ง และมุมภาคไว้ ถ้าการปรับการยิงยังมิได้เริ่มกระทำในทันที ในทางที่ดีควรหมายทิศไปยังแสงแวบนั้นไว้บนพื้นดิน โดยใช้แถบสีขาวหรือใช้หลักสองหลัก

๒๖. อุปกรณ์

ก. เพื่อให้ได้ความถูกต้องมากที่สุด ผู้ตรวจการณ์หน้าแต่ละคนควรจะมีกล้องผู้บังคับกองร้อย หรือกล้องกองร้อย

ข. ถ้าไม่มีแนวที่ทราบทิศทางแล้ว ทิศทางเริ่มแรกไปยังเป้าหมายสามารถหาได้โดยใช้เข็มทิศ ความคลาดเคลื่อนทางข้างในขั้นต่อไปอาจวัดได้ด้วยกล้องสองตา ถ้าไม่มีกล้องผู้บังคับกองร้อย หรือกล้องกองร้อย อย่างไรก็ดี การใช้เข็มทิศและกล้องสองตา สำหรับการตรวจการณ์ร่วมอาจจะไม่ถูกต้องแม่นยำ การไม่มีกล้องผู้บังคับกองร้อย อาจจะทำให้หมดโอกาสที่จะใช้การตรวจการณ์ร่วมในเวลาค่ำมืดได้

๒๗. การยิงหาหลักฐานแตกอากาศสูง

ก. กล่าวทั่วไป ในเวลากลางคืนการปรับการยิงด้วยสายตาต่อจุดยิงหาหลักฐานบนพื้นดิน โดยไม่มีการส่องสว่างย่อมไม่สามารถกระทำได้ การยุทธในทะเลทราย ในป่าทึบ หรือการยุทธแถบขั้วโลกนั้นมักไม่มีจุดยิงหาหลักฐาน ที่มองเห็นได้เด่นชัดในบริเวณเป้าหมาย เพื่ออำนวยให้ทำการยิงหาหลักฐานในสถานการณ์เหล่านี้ได้ จึงได้พัฒนาวิธีปฏิบัติพิเศษขึ้น วิธีหนึ่งของวิธีปฏิบัติพิเศษเหล่านั้นก็คือ การยิงหาหลักฐานแตกอากาศสูงด้วยชนวนเวลา (สำหรับวิธีปฏิบัติของ ศอย. ดู รส. ๖ – ๔๐)

ข. การตั้งเครื่องมือของผู้ตรวจการณ์ให้ถูกทิศ ในการยิงหาหลักฐานแตกอากาศสูงนั้น ตามปกติจะใช้ผู้ตรวจการณ์หน้าสองคน (ต.๑ และ ต.๒) ศอย.จะต้องทราบที่อยู่ของผู้ตรวจการณ์แต่ละคนและตำบลระเบิดที่ต้องการ ศอย.จะหาและแจ้งให้ผู้ตรวจการณ์แต่ละคนทราบถึงทิศทางและมุมดิ่งไปยังตำบลระเบิดที่กำหนด ข่าวตามแบบที่ใช้ส่งจาก ศอย. ไปยังผู้ตรวจการณ์ มีดังนี้

“ ตรวจการยิงหาหลักฐานแตกอากาศสูง เปลี่ยน”

“ต.๑ มุมภาค ๑๑๖๔ มุมดิ่ง + ๑๒ วัดมุมดิ่ง เปลี่ยน”

“ ต.๒ มุมภาค ๗๑๘ มุมดิ่ง – ๓ พร้อมแล้วรายงาน เปลี่ยน”

ค. การดำเนินการยิงหาหลักฐาน ผู้ตรวจการณ์หน้าแต่ละคนตั้งเครื่งอมือของตนตามมุมภาคและมุมดิ่งที่กำหนดให้และรายงาน เมื่อพร้อมที่จะทำการตรวจ หลังจากที่ผู้ตรวจการณ์หน้าตั้งเครื่องมือของตอนให้ถูกทิศแล้ว ผู้ตรวจการณ์หน้าจะรีบปักหลักซึ่งสามารถประกอบดวงไหสำหรับการติดตั้งให้ถูกทิศในเวลากลางคืน ตามทิศทางที่ทราบแล้วโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฝอ.๓ สั่งให้ยิงนัดสำหรับชี้ทิศไปหนึ่งนัด ผู้ตรวจการณ์หน้าจะตั้งกึ่งกลางของมาตราประจำแก้วของเครื่องมือทับตำบลระเบิด หลังจากนัดสำหรับชี้ทิศแล้ว ผู้ตรวจการณ์จะไม่เปลี่ยนทิศทางของเครื่องมืออีก แต่จะนำความคลาดเคลื่อนทางข้างที่ตรวจได้บนมาตราประจำแก้ว รวมเข้ากับค่าที่อ่านได้บนมาตรามุมภาคส่วนใหญ่ และส่วนย่อย เพื่อให้ได้มุมภาคที่วัดได้ ใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้ สำหรับวัดมุมดิ่ง ผู้ตรวจการณ์หน้าทั้งสองรายงานมุมภาคที่อ่านได้ แต่สำหรับมุมดิ่งที่อ่านได้ให้รายงานเฉพาะผู้ตรวจการณหน้าที่กำหนดให้รายงานเท่านั้น (เช่นตามข่าวถึงผู้ตรวจการณ์หน้าข้างบนเฉพาะ ต.๑ เท่านั้น ที่จะรายงานมุมดิ่ง)

๒๘. ตัวอย่างการตั้งเครื่องมือและการดำเนินการยิงหาหลักฐาน

ศอย.ส่งข่าวให้ ต.๑ และ ต.๒ ดังนี้

“ ตรวจการยิงหาหลักฐานแตกอากาศสูง เปลี่ยน”

“ ต.๑ มุมภาค ๔๓๐ มุมดิ่ง +๑๕ วัดมุมดิ่ง เปลี่ยน”

“ ต.๒ มุมภาค ๑๑๐ มุมดิ่ง – ๕ พร้อมแล้วรายงาน เปลี่ยน”

ต.๑ ตั้งกล้องกองร้อยตรงมุมภาค ๔๓๐ มิล และมุมดิ่ง +๑๕ มิล กระสุนนัดแรกปรากฏว่าอยู่ทางซ้ายเส้นสายใยดิ่ง ๔๐ มิล และอยู่ต่ำกว่าเส้นสายใยทางระดับ ๕ มิล

ต. ๑ จึงตั้งกล้องใหม่ให้ตรงทิศทางอีกครั้งหนึ่งด้วยมุมภาค ๓๙๐ (๔๐๐ – ๔๐ = ๓๙๐) โดยหมุนควงมาตรามุมภาค แต่ไม่ได้แตะต้องมาตรามุมพื้นที่เลย ดังนั้น ตำบลระเบิดอยู่ต่ำกว่าเส้นระดับ ๕ มิล เท่านั้น โดยผู้ตรวจการณ์หน้ารายงานไปว่า “ต.๑ มุมภาค ๓๙๐ มิล มุมดิ่ง + ๑๐”

กระสุนนัดที่ ๒ ที่ยิงมาปรากฏอยู่ทางขวาเส้นสายใย ๑๐ มิล และอยู่ต่ำกว่าเส้นระดับ ๓ มิล ผู้ตรวจการณ์หน้า ต้องรายงานในครั้งนี้ว่า “ต.๑ มุมภาค ๔๐๐(๓๙๐+๑๐=๔๐๐) มุมดิ่ง ๑๒(๑๕-๓=๑๒)”

ต. ๒ ให้ทิศทางแก่เครื่องมือทำนองเดียวกับ ต. ๑ และรายงานเฉพาะมุมภาคไม่ต้องรายงานมุมดิ่ง

หมายเหตุ หลังจากรายงานมุมภาคของนัดชี้ทิศให้ ศอย.ทราบแล้ว การรายงานทางทิศของนัดต่อไป อาจรายงานเป็น ขวา หรือ ซ้าย ของนัดชี้ทิศนั้นก็ได้

๒๙. การยิงหลักฐานจุดปานกลางมณฑล

การยิงหาหลักฐานจุดปานกลางมณฑล คงดำเนินการยิงเหมือนกับการยิงหาหลักฐานแตกอากาศสูง เว้นแต่ใช้ชนวนกระทบแตกแทนที่จะใช้ชนวนเวลา

๓๐. การตรวจการณ์ร่วมสำหรับภารกิจอื่น นอกเหนือไปจากการยิงหาหลักฐานแตกอากาศสูง หรือการยิงหาหลักฐานจุดปานกลางมณฑล

ก. กล่าวทั่วไป เมื่อทำการตรวจการณ์ในระยะไกล ๆ (มากกว่า ๔๐๐๐ เมตร) การใช้การตรวจการณ์ร่วมจะทำให้ประหยัดกระสุนได้มาก การตรวจการณ์ร่วมมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับทหารปืนใหญ่ เนื่องจากระยะตรวจการธรรมดามักไกล จนทำให้การปรับการยิงโดยปกติกระทำได้ยาก

ข. วิธีปฏิบัติหลังจากที่ได้กรุยที่ตั้งที่ตรวจการณ์ลงบนแผ่นเรขายิงแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้

๑) ที่ตั้งเป้าหมายและการตั้งเครื่องมือให้ถูกทิศทาง ณ ที่ตรวจการณ์

ก) เมื่อที่ตั้งเป้าหมายซึ่งกองบังคับการหน่วยเหนือให้มามีความถูกต้อง ศอย. จะให้ที่ตรวจการณ์ตั้งเครื่องมือให้ถูกทิศทางได้โดยใช้วิธีปฏิบัติ ตามที่กล่าวไว้

ข) เมื่อผู้ตรวจการณ์คนใดคนหนึ่ง กำหนดที่ตั้งเป้าหมายถูกต้อง ผู้ตรวจการณ์คนอื่นก็จะได้รับทิศทางของเป้าหมายจากเจ้าหน้าที่ ศอย. เพื่อนำไปตั้งเครื่องมือให้ถูกทิศทางต่อไป

ค) เมื่อผู้ตรวจการณ์คนใดคนหนึ่งกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย ผู้ตรวจการณ์คนนั้นก็อาจจะเป็นผู้กำหนดให้ผู้ตรวจการณ์คนอื่นตั้งเครื่องมือให้ทิศทางตรงไปยังที่ตั้งเป้าหมายนั้น แล้วผู้ตรวจการณ์ทั้งสองก็รายงานทิศทางไปยังเป้าหมายให้ ศอย.ทราบ และศอย. ก็สามารถกำหนดที่ตั้งเป้าหมายได้ด้วยการสกัดตรง

๒) วิธีปฏิบัติในระหว่างการปรับการยิง เมื่อผู้ตรวจการณ์ทั้งสองรายงานว่าพร้อมที่จะทำการตรวจ การยิงก็เริ่มขึ้น หลังจากที่ได้ยิงแต่ละนัดไปแล้ว ผู้ตรวจการณ์แต่ละคนก็จะรายงานทิศทางไปยังตำบลระเบิดแต่ละนัด ผู้ตรวจการณ์หน้าที่ถูกกำหนดให้รายงานมุมดิ่ง ก็จะรายงานมุมดิ่งไปยังตำบลระเบิดด้วย ถ้าได้รับคำสั่งให้รายงานเป็นมุมข้าง ผู้ตรวจการณ์หน้าก็จะรายงานความคลาดเคลื่อนทางข้าง (จำนวนเป็น มิล ทางขวาหรือทางซ้ายของแนว ตม.) แทนที่จะรายงานมุมภาค

๓๓. ฐานบริเวณเป้าหมาย

ฐานบริเวณเป้าหมาย (ฐานสั้น) ตามรูปอาจสร้างขึ้นเพื่อให้กำหนดที่ตั้งเป้าหมายได้รวดเร็วและมีความถูกต้อง ฐานบริเวณเป้าหมายประกอบด้วยที่ตรวจการณ์สองแห่ง ซึ่งสามารถกำหนดที่ตั้งของจุดต่าง ๆ ในบริเวณเป้าหมายได้โดยการสกัดตรง และการกรุยโปล่าร์ผสมกัน ระยะห่างของฐานสามารถคำนวณหาได้ แต่การกรุยเป้าหมายลงบนแผ่นเรขายิงจะใช้วิธีโปล่าร์ ฐานควรยาวพอที่จะให้ได้มุมยอด ณ เป้าหมายอย่างน้อยที่สุด ๑๕๐ มิล (มุมยอดคือมุม ณ เป้าหมายเกิดขึ้นโดยการตัดกันของแนวตรวจการณ์จากที่ตรวจการณ์สองแห่ง) ฐานนี้ควรให้เกือบตั้งฉากกับทิศทางไปยังบริเวณเป้าหมายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ที่ตรวจการณ์ทั้ง ต.๑ และ ต.๒ ต้องกรุยลงบนแผ่นเรขายิง หาระยะและมุมภาค ระหว่าง ต.๑ และ ต.๒ ไว้

ก. ถ้าฐานสองฐานสามารถมองเห็นกันได้ ผู้ตรวจการณ์ก็สามารถวัดมุมภายในของ ต.๑ และ ต.๒ ได้ ถ้าฐานสองฐานไม่สามารถมองเห็นกันได้ เจ้าหน้าที่ก็สามารถหามุมภายในได้ โดยเปรียบเทียบมุมภาคของฐานกับมุมภาคจากที่ตรวจการณ์ไปยังเป้าหมาย

ข. มุมยอด หาได้โดยนำเอาผลบวกของมุมภายในไปลบออกจาก ๓๒๐๐

ค. ระยะห่างจาก ต.๑ ไปยังเป้าหมาย หาได้โดยใช้สูตรไซน์ ดังต่อไปนี้

เมื่อใช้สูตรไซน์ อาจใช้มุมภายนอกแทนมุมประชิดภายในที่ ต.๒ ได้ เพราะไซน์ของมุมภายนอกย่อมเท่ากันกับไซน์ของมุมภายใน

ต.๑ และ ต.๒ ไม่สามารถมองเห็นกันได้ ฐานบริเวณเป้าหมาย (ฐานสั้น)


ง. ไม้บรรทัดคำนวณแบบทหารได้จัดไว้แก้ปัญหาเกี่ยวกับฐานสั้นได้อย่างรวดเร็วและง่าย ขั้นตอนต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา มีดังนี้

๑) ตั้งเส้นหางม้าบนกรอบเลื่อน ให้ทับค่าที่อ่านได้จากกล้องของ ต.๒ บนมาตราที่เขียนไว้ว่า “มุมตรงข้าม” Opposite Angle

๒) เลื่อนไม้เลื่อน ไปจนกระทั่งค่าของมุมยอดบนมาตราที่เขียนไว้ว่า “มุมยอด” (Appex Angle) อยู่ใต้เส้นหางม้า

๓) เลื่อนกรอบเลื่อนไปจนกระทั่งเส้นหางม้าอยู่ตรงความยาวของฐาน บนมาตรา C (ฐาน Base)

๔) อ่านระยะห่างจาก ต.๑ ไปยังเป้าหมาย บนมาตรา D (ระยะX

จ. รายงานที่ตั้งเป้าหมายไปยัง ศอย. โดยใช้วิธีโปล่าร์ ว่า

“จาก ต.๑ มุมภาค.....ระยะ.....สูงขึ้น/ต่ำลง.....”

หมายเหตุ - ปัจจุบันเครื่องคำนวณขนาดเล็กมีใช้อย่างแพร่หลาย ผตน. อาจนำมาใช้แทนบรรทัดคำนวณแบบทหารได้เป็นอย่างดี

- การรายงานตำบลกระสุนตกให้ ศอย. ทราบนั้น ถ้าจะรายงานเป็นมุมภาคและมุมดิ่งทั้ง ๒ ต. ก็จะสะดวกและรวดเร็วขึ้น เพราะ ศอย. มีเครื่องมือดีกว่าในการที่จะกำหนดที่ตั้งของตำบลระเบิดและที่ตั้งของเป้าหมาย

- โดยปกติแล้ว ถ้าเครื่องมือวัดมุมดีพอ มักจะยิงหาผลได้ในนัดที่ ๒ ซึ่งนับว่าเป็นเทคนิคที่ให้การจู่โจทได้เป็นอย่างดี


ตอนที่ ๖ การปรับการยิงมุมใหญ่และจุดปรับการยิงช่วย

๓๒. กล่าวทั่วไป

ก. การยิงซึ่งกระทำด้วยมุมสูงที่โตกว่ามุมสูง สำหรับระยะไกลสุดเรียกว่าการยิงมุมใหญ่ การยิงมุมใหญ่มักกระทำเมื่อทำการยิงออกจากที่กำบังสูง ๆ จากในเมือง หรือยิงข้ามลักษณะภูมิประเทศสูง ๆ ใกล้ทหารฝ่ายเดียวกัน การยิงมุมใหญ่ยังใช้เมื่อเป้าหมายตั้งอยู่หลังยอดเขา ในป่าทึบ ในคูลึก ๆ หรือในหุบเขา ซึ่งไม่สามารถยิงให้ถึงได้ด้วยมุมเล็ก

ข. อาวุธปืนใหญ่ส่วนมากสามารถยิงมุมใหญ่ได้ คือ เป็นอาวุธที่มีมุมสูงใหญ่สุดเกิน ๘๐๐ มิล (ประมาณ ๔๕ องศา)

๓๓. การพิจารณาความต้องการสำหรับการยิงมุมใหญ่

ตามปกติผุ้ตรวจการณ์สามารถพิจารณาความจำเป็นในการยิงด้วยกระสุนวิถีให้มุมกระสุนตกใหญ่ด้วยการตรวจในแผนที่ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศ หรือจากการปรับการยิงครั้งก่อน ๆ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็นต้องยิงด้วยมุมใหญ่ ผู้ตรวจการณ์ก็แจ้งไปให้ ศอย.ทราบ ซึ่ง ศอย. จะตรวจสอบดูอีกครั้งหนึ่งจากแผนที่ เพื่อให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริง หรือในกรณีที่ ศอย. ตกลงใจยิงมุมใหญ่ก็จะแจ้งให้ผู้ตรวจการณ์ทราบเช่นเดียวกัน

๓๔. คำขอยิง

ก. เมื่อต้องการยิงมุมใหญ่ ผู้ตรวจการณ์ต้องบ่ง “มุมใหญ่” ไปในคำขอยิงด้วย

ข. ย่านคาดคะเนสูงกระสุนแตก ซึ่งมีค่ามากประกอบกับเวลาแล่นที่ยาวนาน ดังนั้นการยิงมุมใหญ่ด้วยชนวนเวลา จึงเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ การยิงกระดอนแตกกระทำไม่ได้เพราะมุมกระสุนตกชัน

ค. ชนวนไวและชนวนวีที ให้ผลดีเลิศจากการสาดของสะเก็ดทางด้านข้าง เพราะมุมกระสุนตกชัน ชนวนวีทีทำให้เกิดสูงกระสุนแตกต่ำกว่าที่ได้รับจากการยิงด้วยมุมเล็กตามธรรมดา

๓๕. การปรับการยิง

ก. วิธีปฏิบัติของผู้ตรวจการณ์สำหรับการปรับการยิงมุมใหญ่ ก็คงเช่นเดียวกันกับวิธีปฏิบัติที่ใช้สำหรับการยิงมุมเล็ก

ข. ผู้ตรวจการณ์ต้องระลึกว่า การแก้ทางข้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างการปรับการยิงอาจจะไม่มีความจำเป็นและสิ้นเปลืองเวลา เพราะอาการกระจายของการยิงมุมใหญ่มีมาก

ค. เนื่องจากเวลาแล่นที่ยาวนานทั้งในการปรับการยิงและยิงหาผล ศอย. จะประกาศว่า “ยิงไปแล้ว” เมื่อได้ยิงนัดนั้นไปแล้ว และประกาศ “เตรียมตรวจ” ๕ วินาทีก่อนที่จะเกิดการระเบิด

๓๖. จุดปรับการยิงช่วย

เพื่อให้ได้ผลต่อการจู่โจม ผู้ตรวจการณ์หน้าอาจจะตกลงใจไม่ปรับการยิงต่อเป้าหมาย แต่จะปรับต่อจุดที่อยู่ใกล้ ๆ กัน จุดที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งใช้เป็นจุดปรับการยิงช่วยนั้น ต้องอยู่ห่างจากเป้าหมาย พอที่จะปกปิดความมุ่งหมายอันแท้จริงของการปรับการยิง ในเวลาเดียวกัน จุดปรับการยิงช่วยนั้นต้องเลือกให้สามารถทำการย้ายไปยังเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง (ควรเป็นทางข้าง) เมื่อการปรับการยิงต่อจุดปรับการยิงช่วยเสร็จก็กระทำการย้ายไปยิงหาผลต่อเป้าหมายนั้น

ตอนที่ ๗ การปรับการยิงด้วยเสียง

๓๗. กล่าวทั่วไป

ในระหว่างปฏิบัติภารกิจ เมื่อผู้ตรวจการณ์หน้าไม่สามารถตรวจเห็นตำบลระเบิดเนื่องจากภูมิประเทศไม่อำนวยให้ เช่น เป็นป่าทึบภูเขาสลับซับซ้อน การปรับการยิงธรรมดาไม่สามารถกระทำได้ จึงมีอยู่วิธีการเดียวที่จะนำมาใช้ คือ การปรับการยิงด้วยเสียง

๓๘. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

ที่ตั้งเป้าหมายอาจกำหนดได้โดยตัวผู้ตรวจการณ์เอง หรือโดยหน่วยรับการสนับสนุน รายงานมาให้ทราบก็ได้ถ้า ผตน. สามารถทราบที่ตั้งของข้าศึกได้ด้วยการได้ยินจากเสียง (ตัวอย่างเช่น เสียงจากการยิงของอาวุธ เสียงเครื่องยนต์ หรือเสียงการเคลื่อนที่ของหน่วยทหาร เป็นต้น) ผตน.ก็สามารถประมาณ มุมภาค และระยะ จากที่อยู่ของ ผตน.ไปยังที่ตั้งของข้าศึกได้

๓๙. คำขอยิง

เมื่อจะทำการปรับการยิงโดยใช้เสียง ผู้ตรวจการณ์จะบ่งเอาไว้ในคำขอยิงด้วย เช่น

- “ลพบุรี ๑๘ จากลพบุรี ๒๔ ปรับการยิง ใช้เสียง เปลี่ยน”

- “พิกัด ๑๖๕๔๔๕ มุมภาค ๑๒๐๐ เปลี่ยน”

- “เสียงยานยนต์ประมาณ ๕ คัน เปลี่ยน”

๔๐. การปรับการยิง

ก. การปรับการยิงใช้ปืนแต่เพียงกระบอกเดียว เมื่อได้ยินเสียงการระเบิดของนัดปรับ ผตน. ก็ประมาณมุมภาคไปยังตำบลระเบิด และเปรียบเทียบกับมุมภาคไปยังเป้าหมาย ผตน. ก็จะเปลี่ยนความคลาดเคลื่อนทางข้างเป็นการย้ายทางข้างเป็นเมตรได้ โดยใช้ระยะที่กะประมาณได้จากที่อยู่ของ ผตน. ไปยังเป้าหมาย (การย้ายทางข้าง = ฟตม. มุมข้าง)

ข. ระยะไปยังตำบลระเบิดนัดปรับเป็นการยากที่จะตัดสินใจได้ ดังนั้น ผตน. อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคการคืบ เพื่อการปรับเข้าเป้าหมาย ผตน. สามารถหาระยะได้โดยการจบเวลา ซึ่งเสียงจากตำบลระเบิดมาถึง ผตน. และคูณห้วงเวลานั้นด้วยความเร็วของเสียง ซึ่งมีค่า ๓๕๐ เมตร/วินาที (ในกรณีนี้ ศอย. จะต้องบอกเวลาที่กระสุนตกให้ด้วย)

ค. ผตน. จะต้องใช้ความระมัดระวังในภูมิประเทศที่ไม่ราบ (ขาดเป็นห้วง ๆ ) ส่วนในบริเวณที่มีเนินดินหรือภูเขา เสียงอาจจะเดินทางไปรอบ ๆ เนินเขาก่อนที่จะมาถึง ผตน. และถ้าเป็นดังนั้น จะทำให้การหาทิศทางไปยังตำบลระเบิดผิด ถ้าเกิดเช่นนี้ขึ้นก็อาจจำเป็นต้องยิงแตกอากาศสูงตั้งแต่เริ่มแรก

ง. การปรับการยิงโดยใช้ ผตน.มากกว่าหนึ่งคน

๑) การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย ย่อมมีความถูกต้องยิ่งขึ้น ถ้า ผตน. ๒ คนหรือมากกว่าเมื่อได้ยินเสียงที่เกิดขึ้น ณ ที่ตั้งของข้าศึก ผตน. แต่ละคนรายงาน มุมภาค โดยประมาณไปยังที่ตั้งของข้าศึก ศอย. สามารถกรุยหลักฐานและหาที่ตั้งบนพื้นดินได้โดยการสกัดตรง

๒) ในระหว่างการปรับการยิง ผตน. แต่ละคนรายงานมุมภาค ไปยังตำบลระเบิด และ ศอย.ก็กรุยหลักฐาน ศอย.หาตำบลกระสุนตกได้โดยการสกัดกลับและใช้ตัวแก้ที่เหมาะสมกับกระสุนนัดต่อไป เพื่อนำตำบลระเบิดเข้าหาเป้าหมาย


ตอนที่ ๘ ภารกิจยิงต่อเป้าหมายเคลื่อนที่

๔๑. กล่าวทั่วไป

เพื่อให้สามารถวางการยิงลงบนเป้าหมายเคลื่อนที่ได้ผลดี ทั้ง ผตน.และ ศอย. จะต้องใช้วิธีปฏิบัติและเทคนิค ซึ่งต่างไปจากวิธีปฏิบัติที่ใช้ยิงเป้าหมายอยู่กับที่เล็กน้อย

๔๒. การวางแผนล่วงหน้า

การวางแผนล่วงหน้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเตรียมไว้สำหรับการยิงเป้าหมายเคลื่อนที่ เมื่อเวลาอำนวยให้ ผตน. ควรจะเตรียมการในสิ่งต่อไปนี้

ก. เลือกจุดดักตามแนวที่น่าจะเป็นแนวทางเคลื่อนที่ และหาระยะระหว่างจุดดักที่ต่อเนื่องกันแต่ละจุด บันทึกระยะเอาไว้ เพื่อจะได้นำมาใช้ในการหาอัตราเร็วของเป้าหมาย

ข. แจ้งให้ ศอย. ทราบถึงที่ตั้งของจุดดักแต่ละจุด ศอย. จะกำหนดหมายเลขเป้าหมายให้กับจุดดักแต่ละจุดและจะหาและรักษาหลักฐานยิงของจุดดักแต่ละจุดให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ค. ควรจะทำการยิงนัดสองลงบนจุดดักให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ผลคาดคะเนของความแม่นยำของกระสุนนัดแรกเพิ่มมากขึ้น ควรจะทำการยิงนัดสอบเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าหลักฐานยังใช้ได้ในขณะนั้นฅ

๔๓. การกำเนินการยิง

ก. เนื่องจากเวลาเป็นสิ่งสำคัญมากในภารกิจเป้าหมายเคลื่อนที่ และอาจจะต้องย้ายอาวุธ (ย้ายท้ายรางปืน) จะต้องส่งข่าวต่อไปนี้ให้ ศอย. โดยทันทีที่ตรวจพบเป้าหมายเคลื่อนที่

๑) การแสดงตนของผู้ตรวจการณ์

๒) คำสั่งเตือน

๓) ที่ตั้งโดยทั่ว ๆ ไปของเป้าหมาย (ช่องตาราง อยู่ใกล้กับจุดที่ทราบใดบ้าง ฯลฯ)

๔) ลักษณะเป้าหมาย แจ้งให้ทราบว่าเป้าหมายเคลื่อนที่ เพื่อที่จะเตือนให้ ศอย. ทราบว่าอาจจะเกิดความล่าช้า และการควบคุมการยิง “ตามคำสั่งข้าพเจ้า” อาจจะติดตามมาภายหลัง

“โยธิน ๑๘ จากโยธิน ๒๔ ยิงหาผล บริเวณเป้าหมาย กจ.๗๒๐ รถถัง ๓ คัน กำลังเคลื่อนที่ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เปลี่ยน”

ข. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย เลือกจุดดักซึ่งจะทำการยิงตามเส้นทางเคลื่อนที่ของเป้าหมายที่คาดว่า เป้าหมายจะเคลื่อนที่ผ่าน โดยจะต้องหาอัตราเร็วของเป้าหมายและเวลาที่เป้าหมายจะผ่านจุดดักนั้น ๆ ไว้แล้วอำนวยให้หน่วยมีเวลาเพียงพอในการเตรียมพร้อมที่จะยิง

ค. คำขอยิง ส่งคำขอยิงที่สมบูรณ์ไปยัง ศอย. โดยใช้ชนิดของภารกิจยิงหาผล และใช้การควบคุมการยิงว่า “ตามคำสั่งข้าพเจ้า” เช่น

“โยธิน ๑๘ จากโยธิน ๒๔ ยิงหาผล เปลี่ยน”

“จุดที่ ๑ พิกัด.....มุม.....เปลี่ยน”

“จุดที่ ๒ พิกัด.....มุม.....เปลี่ยน”

“รถถัง ๓ คัน กำลังเคลื่อนที่ ตามคำสั่งข้าพเจ้า เปลี่ยน”

ง. การหาจังหวะยิง องค์ประกอบของข่าวที่ต้องการสำหรับหาจังหวะที่จะสั่งยิง ก็คือ เวลาแล่นของลูกกระสุน และอัตราเร็วของเป้าหมาย หาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดังนี้

๑) กะระยะระหว่างจุด ๒ จุด ซึ่งเป้าหมายจะเคลื่อนที่ผ่าน

๒) บันทึกเวลาที่เป้าหมายใช้ในการเคลื่อนที่ผ่านระหว่าง ๒ จุดนี้ และหาอัตราเร็วได้ดังนี้

อัตราเร็ว = ระยะทาง (เมตร)เวลา (วินาที)

๓. เมื่อหาอัตราเร็วของเป้าหมายได้แล้ว ใช้อัตราเร็วนี้หาระยะที่เป้าหมายจะอยู่ห่างจุดดัก เพื่อสั่งยิงระยะนี้หาได้ ดังนี้

ก) ขอทราบเวลาแล่นของกระสุนจาก ศอย. และบวกด้วย ๒ วินาที (เวลาส่งข่าว)

ข) หาระยะทางซึ่งเป้าหมายจะเคลื่อนที่ไปได้ระหว่างเวลาแล่นบวก ๒ วินาที

ระยะ (เมตร) = อัตราเร็ว เวลา

ค) กะระยะที่หาได้ในข้อ (ข) จากจุดดักไปตามเส้นทางเคลื่อนที่ของเป้าหมาย และเลือกจุดที่มองเห็นเด่นชัดเอาไว้ เมื่อเป้าหมายถึงจุดนี้ก็จะสั่งให้ทำการยิง

จ. การปรับการยิง ถ้าการยิงไม่บังเกิดผล ซึ่งมีวิธีการอยู่ ๒ อย่าง ที่จะทำให้บังเกิดผลแน่นอน คือ

๑) หาตัวแก้ที่ต้องการ เพื่อวางจุดปานกลางมณฑลลงบนจุดดักจุดแรก เช่น จุดปานกลางมณฑลของชุดที่ทำการยิงหาผล อยู่ซ้ายของจุดดักประมาณ ๑๐๐ เมตร และหน้าจุดดัก ๒๐๐ เมตร เมื่อคิดตามแนว ตม. ผตน. จะต้องแก้ว่า “ขวา ๑๐๐เพิ่ม ๒๐๐ ยิงซ้ำ เปลี่ยน”

๒) หาจุดดักใหม่ ขณะที่เป้าหมายกำลังหลบหนี เช่น

“จุดดักใหม่ พิกัด.....มุมภาค.....เปลี่ยน”

ผู้ตรวจการณ์ต้องอหาระยะที่เป้าหมายอยู่ห่างจากจุดดักเพื่อสั่งยิงใหม่ (อัตราเร็วเวลา) และภารกิจยิงก็คงดำเนินต่อไป


ตอนที่ ๙ การดำเนินการยิงเมื่อ ผตน. ไม่อาจวางตนให้ถูกทิศได้

๔๔. กล่าวทั่วไป

ในสถานการณ์ที่มีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ผตน. อาจจะสับสนและวางตนไม่ถูกทิศทาง ผตน. ซึ่งอยู่ในยานพาหนะที่กำลังเคลื่อนที่จะมีปัญหาในเรื่องการวางตนให้ถูกทิศทาง เพราะทิศทางของแนว ตม. เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การที่จะวางการยิงลงบนเป้าหมายในเมื่อทิศทางเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือในเมื่อไม่ทราบทิศทางทั้ง ผตน. และ ศอย. ต้องใช้การพินิจพิจารณาและมีความริเริ่ม

๔๕. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

ถ้ากระทำได้ก็หาที่ตั้งเป้าหมาย โดยใช้วิธีปฏิบัติตามที่กล่าวแล้วในบทที่ว่าด้วยการกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย ถ้ากำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยวิธีธรรมดาไม่ได้ ผตน. ต้องร้องขอให้ทำการยิงกระสุนไปยังจุดที่ตนสามารถมองเห็นตำบลระเบิดได้ และใช้นัดนั้น ๆ เป็นจุดที่ทราบ เช่น ขอยิงหมายพิกัดเพื่อใช้เป็นจุดอ้าง (จุดที่ทราบ) เป็นต้น

๔๖. วิธีปรับการยิงโดยใช้แนวปืน – เป้าหมาย

ก. เมื่อ ผตน. ไม่สามารถหามุมภาคของแนว ตม. ได้ หรือมุมภาคของแนว ตม. เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ (ตัวอย่างเช่น เมื่อ ผตน. อยู่กับหน่วยรถถัง หรือหน่วยทหารราบยานยนต์) ผตน. อาจจะตกลงใจทำการปรับการยิงโดยใช้แนวปืน – เป้าหมายก็ได้ การหาทิศทางของแนว ปม. นั้น ผตน.อาจจำเป็นต้องขอการยิงหมายระยะยิง ๒ นัดด้วยมุมทิศเดียวกัน แต่ระยะต่างกัน ๔๐๐ เมตร การแก้จะกระทำจากนัดใกล้หรือนัดไกล เมื่อผู้ตรวจการณ์ปรับการยิง โดยใช้แนว ปม. ฝอ.๓ ควรจะเลือกใช้หน่วยซึ่งมีที่ตั้งจะให้เกิดมุม ต. เล็กที่สุดเป็นหน่วยที่ทำการยิง

ข. นอกจากนั้น ผตน. อาจจะกำหนดเอาแนวใด ๆ เป็นแนวตรวจการณ์ก็ได้เมื่อมั่นใจว่า ศอย.ทราบ เช่น แนวถนน ทางรถไฟ หรือแนวจากยอดเขาถึงยอดเขา รวมทั้งการใช้ทิศหลักทั้ง ๘ ก้สามารถใช้ได้


ตอนที่ ๑๐ ภารกิจพิเศษของ ผตน.

๔๗. ผู้ตรวจการณ์ทางอากาศ (ผตอ.)

ก. อากาศยานต่าง ๆ ทั้งของ ทอ.และทบ. ทั้งชนิดปีกตรึงและปีกหมุน สามารถใช้ประโยชน์ในการลาดตระเวน การตรวจการณ์ และปรับการยิงทางอากาศได้ ดังนั้น ผตน. อาจต้องทำหน้าที่เป็น ผตอ. ในบางครั้งตามความจำเป็น อย่างไรก็ตามในที่นี้จะกล่าวเน้นเฉพาะการตรวจการณ์โดยใช้ ฮ.ตรวจการณ์เป็นหลักเพราะปัจจุบันเครื่องบินปีกตรึงความเร็วต่ำทั้งหลายเป็นอันตรายต่อการ ปภอ. ของข้าศึกอย่างมาก

ข. การเตรียมการก่อนบิน ถ้าทำได้ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ นักบินและ ผตอ.ควรจะได้รับฟังการบรรยายสรุป จาก นยส. ฝอ.๓และ ฝอ.๒ ของกองพันในเรื่องหลัก ๆ ต่อไปนี้

๑) ที่ตั้งของกองร้อย ป.ต่าง ๆ จล. เป้าหมาย แนวอ้างในการปรับการยิง (ถ้าไม่ใช่แนว ปม.) เป้าหมายที่สงสัย และพื้นที่ที่ต้องการให้ตรวจค้น

๒) สถานการณ์ทางยุทธวิธี รวมทั้ง...ควบคุมต่าง ๆ ในแนวหน้าและที่ตั้งของฝ่ายเรา และเขตปฏิบัติการของหน่วยรับการสนับสนุน

๓) การเฝ้าตรวจที่ต้องการ เวลาเริ่มภารกิจ แผนที่และภาพถ่ายที่จะใช้การ ปภอ.ของข้าศึกที่ทราบ คำแนะนำในการบินและข้อจำกัดเกี่ยวกับความปลอดภัย

๔) รายละเอียดเกี่ยวกับการสื่อสาร รวมทั้งที่ตั้งของสถานีวิทยุต่าง ๆ และที่ตั้งแผ่นผ้าสัญญาณ ความถี่ของคลื่นวิทยุ นามเรียกขาน เวลาซักซ้อม และประมวลลับต่าง ๆ

๕) วิธีเรียกให้ทำการยิงข่ม ปภอ. ข้าศึก

๖) ที่ตั้งของข้าศึกที่สำคัญทั้งหมด แนวและมาตรการควบคุมต่าง ๆ และพื้นที่วิกฤติที่ชี้แจงแล้วให้บันทึกหรือหมายไว้ในแผนที่ หรือภาพถ่ายทางอากาศ แล้วมอบให้ไป

๗) รปจ.ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ควัน การยิงหาหลักฐาน และการใช้กระสุนพิเศษต่าง ๆ


การบรรยายสรุปที่ไม่สมบูรณ์อาจจะพบกับความหายนะได้

ค. การบอนของ ฮ. นั้นปกติแล้วจะใช้ ๓ วิธีด้วยกัน คือ การบินเรี่ยพื้น การบินลัดเลาะ และการบินต่ำ

๑) การบินเรี่ยพื้น ได้แก่การบินให้ต่ำเรี่ยพื้นที่สุดเท่าที่ยอดไม้หรือสิ่งกีดขวางต่าง ๆ จะไม่เป็นอันตรายต่อการบิน ความเร็วและความสูงเปลี่ยนแปลงไปตามภูมิประเทศสภาพอากาศและสถานการณ์ของข้าศึก ปกติแล้วมักจะบินด้วยความเร็วต่ำ

๒) การบินลัดเลาะ ได้แก่การบินต่ำลัดเลาะไปตามภูมิประเทศที่หุบหรือระหว่างช่องเขาเป็นต้น ความเร็วและความสูงเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของภูมิประเทศ และเครื่องกีดขวาง

๓) การบินต่ำ คือบินในระดับความสูงที่เลือกแล้ว ที่สามารถลดการตรวจจับหรือการตรวจการณ์ของข้าศึกลงได้ เส้นทางบันมักจะเป็นเส้นตรง ความสูงและความเร็วคงที่

๔) การปฏิบัติการของข้าศึก เป็นปัจจัยหลักในอันที่จะตกลงใจบินแบบใด และถ้าข้าศึกมีขีดความสามารถในการตรวจจับได้สูง ผตอ.จะต้องไม่ใช้เวลาเกินกว่า ๑๐ วินาที ในอันที่จะปรากฏตัวต่อข้าศึก ในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

ง. แนวตรวจการณ์ที่ ผตอ. จะเลือกใช้นั้นกระทำได้หลายแบบและ ศอย. จำเป็นต้องรู้ด้วย เช่น ใช้แนว ปม. แนว ตม. ทิศหลักและแนวที่ปรากฏในภูมิประเทศที่อาจกำหนดลงในแผนที่ได้ง่าย ๆ เป็นต้น ผตอ.จะต้องได้ตกลงกับ ศอย. ไว้ล่วงหน้า หรือถ้าจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องแจ้งให้ทราบ

จ. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายให้ถูกต้องนั้นกระทำได้ยาก เพราะใช้ตาเปล่า การใช้กล้องสองตาทำได้ลำบาก และมักจะผิดพลาด เพราะแผงกั้นลมทำให้ภาพบิดเบี้ยว ส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดย

๑) วิธีพิกัด เช่น “พิกัด ๔๓๒๕๖๗ แนวปืนเป้าหมาย เปลี่ยน”

๒) วิธีย้ายจากจุดที่ทราบ เช่น “ จาก กข. ๑๒๓ แนวตรวจการณ์ ถนนเหนือ – ใต้ ขวา ๔๔๐ เพิ่ม ๘๐๐ เปลี่ยน”

ฉ. เมื่อปรับการยิง ผตอ. อาจใช้เทคนิค ๒ อย่าง คือ การลอยตัวนิ่ง และการโผขึ้น

๑) การลอยตัวนิ่ง คือนักบินนำ ฮ. ลอยนิ่งอยู่หลังต้นไม้หรือสิ่งกำบังต่าง ๆ เพื่อการกำบัง แต่สามารถมองเห็นป้าหมายได้

๒) การโผขึ้นคือนักบินดึง ฮ. ขึ้นเหนือสิ่งกำบัง ๒ – ๓ วินาที ก่อนกระสุนจะระเบิด เมื่อ ผตอ.เห็นตำบลระเบิดแล้ว นักบินจะดึงลงกำบังตัว ผตอ.รายงานการแก้ แล้วนักบินอาจจะอยู่ที่เดิม หรือเปลี่ยนที่ใหม่ในนัดต่อ ๆ ไปก็ได้ การโผขึ้นนี้บางครั้งอาจจำเป็นต้องทราบเวลาแล่นของกระสุนด้วย หรือไม่ก็ให้รายงาน “เตรียมตรวจ” ก่อน ๕ วินาที เพื่อที่จะให้นักบินนำ ฮ. โผขึ้นได้พอเหมาะกับเวลาระเบิดของกระสุน

ช. หากเป็นเครื่องแบบปีกตรึง เทคนิคการบินที่ใช้อยู่เดิมได้แก่ การบินวนเป็นรูปเลข 8 การบินวนเป็นวงกลมหรือวงรีอยู่เหนือเป้าหมาย เหนือที่ตั้ง ป. ระหว่าง ป.กับ ม. หรือข้าง ๆ แนว ปม.ซึ่งปัจจุบันนี้ อันตรายมากจากอาวุธ ปภอ. ของข้าศึก จึงไม่ขอแนะนำให้ใช้ หากจำเป็นจะต้องใช้ก็ควรบินลัดเลาะอยู่หลังสิ่งกำบัง เมื่อจะตรวจผลจึงบินขึ้นแล้วดำลงกำบังตัวโดยเร็ว คล้าย ๆ กับวิธีโผขึ้นดังกล่าวแล้ว

ซ. การกะระยะของ ผตอ.นั้นกระทำได้ลำบาก เพราะความสูงและระยะตรวจการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นเพื่อให้การปรับทางทิศ และทางระยะได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น ผตอ. ควรจะ

๑) พิจารณาภูมิประเทศประกอบกับแผนที่ แล้วหาระยะห่างระหว่าง ๒ จุดนั้น จำเอาไว้เป็นมาตรการสำหรับเปรียบเทียบกับระยะห่างของตำบลกระสุนตกที่จะต้องปรับการยิง

๒) ขอการยิงระยะต่าง ๔๐๐ หรือ ๕๐๐ เมตร เอาไว้เป็นมาตราสำหรับเปรียบเทียบ นอกจากนั้น การยิงต่างระยะ ยังอาจใช้ตำบลกระสุนตก ตำบลใดตำบลหนึ่งเป็นจุดอ้างในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายได้ดีอีกด้วย (ปกติระยะต่างใช้ ๔๐๐ เมตร เป็นหลัก)

ฌ. ตัวอย่าง

๑) การขอการยิงโดยใช้พิกัด

“ลพบุรี ๑๘ จาก ลพบุรี ๒๔ ปรับการยิง เปลี่ยน พิกัด ๔๒๑๗๙๑ เปลี่ยน หมวดทหารราบกับรถบรรทุก ๑๐ คัน ในที่โล่งแจ้ง ไอซีเอ็มในการยิงหาผล เปลี่ยน”

เพื่อความรวดเร็ว การขอโดยวิธีพิกัดแนวตรวจการณ์ยังไม่ต้องบอกก็ได้ เพราะ ศอย. สามรถกรุยที่ตั้ง ม. ได้อยู่แล้ว ก่อนจะปรับการยิงแต่ละนัด หรือภายหลังส่งคำขอจบแล้วจึงส่งแนวตรวจการณ์ให้ ศอย.ก็ได้

ในกรณีที่ไม่ขานแนวตรวจการณ์ ศอย. จะใช้แนว ปม. เป็นแนวอ้างในการปรับโดยอัตโนมัติ

๒) การขอยิงโดยย้ายจากจุดที่ทราบ ใช้แนว ปม. เป็นแนวตรวจการณ์

“ลพบุรี ๑๘ จากลพบุรี ๒๔ ปรับการยิง จาก จล.๑ เปลี่ยน ขวา ๔๐๐

เพิ่ม ๘๐๐ เปลี่ยน หมวดทหารราบในที่โล่งแจ้ง วีทีในการยิงหาผล เปลี่ยน”

๓) การขอยิงโดยย้ายจากจุดที่ทราบ ใช้แนวตรวจการณ์อื่นนอกจากแนว ปม.

“ ลพบุรี ๑๘ จากลพบุรี ๒๔ ปรับการยิง จากยอดเขา ๘๐๖ เปลี่ยน

แนวตรวจการณ์ยอดเขา ๖๔๓๘๐๖ ขวา ๔๐๐ ลด ๘๐๐ เปลี่ยน”

๔) การขอยิงหมายถึงกึ่งกลางเขตปฏิบัติการแล้วย้ายจากกระสุนนัดใดนัดหนึ่ง

“ลพบุรี ๑๘ จากลพบุรี ๒๔ ปรับการยิง เปลี่ยน หมายถึงกึ่งกลางเขตปฏิบัติการ

ระยะต่าง เปลี่ยน ทหารราบ ๑ กองร้อยในที่รวมพล ไวและวีทีในการยิงหาผล

เปลี่ยน”

เมื่อ ศอย. ยิงระยะต่าง ๔๐๐ เมตร มา ๒ นัด ผตอ. ก็กำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยย้ายจากนัดใดนัดหนึ่งต่อไป เช่น

“จากนัดไกล ขวา ๖๐๐ เพิ่ม ๔๐๐ เปลี่ยน”

แล้วคำเนินการปรับต่อไปจนจบภารกิจ

๔๘. การยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย

ก. ฉากป้องกันขั้นสุดท้ายได้แก่แผนการยิงที่เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นฉากควันขัดขวางสำหรับป้องกันกำลังฝ่ายเรา ตามหลักแล้วจะยิงเป็นแนวยาวของแต่ละ ร้อย ป. หรือหมวด ค. ขนาดของฉากขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของอาวุธ โดยทั่วไปถือหลัก ดังนี้

๑) ค.๘๑ มม. (ตอน ๓ กระบอก) ฉากยาว ๑๐๐ เมตร

๒) ค.๑๐๗ มม.(๔.๒นิ้ว (หมวด ๔ กระบอก ฉากยาว ๒๐๐ เมตร

๓) ค.๑๒๐ มม. (หมวด ๔ กระบอก) ฉากยาว ๓๐๐ เมตร

๔) ป.๑๐๕ มม. (กองร้อย ๔ กระบอก) ฉากยาว ๑๕๐ เมตร

๕) ป.๑๐๕ มม. (กองร้อย ๖ กระบอก) ฉากยาว ๒๐๐ เมตร

๖) ป.๑๕๕ มม. (กองร้อย ๔ กระบอก) ฉากยาว๒๐๐ เมตร

๗) ปค. ๑๕๕ มม. (กองร้อย ๖ กะบอก) ฉากยาว ๓๐๐ เมตร

หมายเหตุ ค.นั้นอาจได้รับเฉพาะเป็นรายกระบอก หรือ ๒ กระบอกก็ได้ ความยาวของฉากให้ถือการเรียงเส้นผ่าศูนย์กลางพื้นที่อันตรายของตำบลระเบิดของแต่ละชนิดอาวุธดังนี้ ค.๘๑ = ๓๔ เมตร ค.๑๐๗ = ๕๐ เมตร ค.๑๒๐ = ๗๕ เมตร ป.๑๐๕ = ๓๐ เมตร ป.๑๕๕ = ๕๐ เมตร

ข. ที่ตั้งฉาก ปกติแล้วกำหนดโดย ผบ.หน่วยกลยุทธ (ระดับกองร้อย) อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ หน้าแนวฝ่ายเรา ปกติจะให้ ป. หรือ ค. ยิงฉากในพื้นที่อับกระสุนเล็งตรง และอยู่หน้าแนวหน้า ระหว่าง ๒๐๐ – ๔๐๐ เมตร นั่นคือภารกิจอันตรายใกล้ฝ่ายเรา ดังนั้น การยิงจะต้องกระทำด้วยความแม่นยำ และระมัดระวังปืนทุกกระบอกที่จะใช้ยิงต้องได้ปรับการยิงต่อฉากนั้นไว้แล้วเป็นรายกระบอก

ค. ปกติแล้วการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้ายถือว่ามีความเร่งด่วนอันดับหนึ่ง กองร้อยที่ได้รับมอบฉากการยิงจะต้องเตรียมกระสุนไว้ให้พร้อมส่วนหนึ่ง และเมื่อว่างจากภารกิจจะหมุนปืนมาตั้งหลักฐานยิงฉากไว้เสมอ หรือแม้แต่ยิงภารกิจอื่นอยู่ เมื่อได้รับคำขอหรือสัญญาณยิงฉากก็จะหยุดยิงและหมุนปืนมายิงฉากก่อน

ง. คำของยิงเพื่อปรับฉาก ก็คงคล้ายกับคำขอธรรมดา แต่มีข้อยกเว้นบางอย่างคือ

๑) พิกัดที่ตั้งจุดกึ่งกลางของฉากที่ส่งไปครั้งนั้น ควรจะเป็นพิกัดที่จะให้ความปลอดภัยต่อฝ่ายเราในระยะที่เหมาะ (๔๐๐ – ๖๐๐ เมตร) และพิกัดนี้เป็นการแจ้งแนวตั้งรับของฝ่ายเรา ควรจะต้องเข้าประมวลลับนอกจากนั้นควรบอกลักษณะของฉากหรือแนวเฉียงของฉากไว้ด้วย

๒) ลักษณะเป้าหมายใช้คำว่า “ยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย”

๓) “อันตรายใกล้ฝ่ายเรา” ประกาศในข้อวิธีโจมตีเสมอ

จ. การยิงและการปรับฉากดำเนินการตามระเบียบ ดังนี้

๑) ร้อย ป. หรือ หมวด ค. ยิงทั้งหมด ๑ นัด ในพิกัดที่ขอไว้ครั้งแรก

๒) ผตน. เริ่มปรับหมู่ทางปีกที่ยิงได้ใกล้แนวของฉากมากที่สุดก่อน (ในรูปคือ หมู่ ๓)

๓)ใช้เทคนิคการปรับแบบยิงคืบ เพราะจะเป็นอันตรายได้

๔) การแก้น้อย ๆ ขนาด ๕๐ เมตร หรือน้อยกว่า นัดนั้นไม่ต้องยิง (แก้เฉย ๆ ไม่ต้องยิง)

๕) เมื่อปรับกระบอกแรกแล้ว ผตน. ก็เริ่มปรับกระบอกที่ ๒ โดยขอ “หมู่ ๒ ยิงซ้ำ” แล้วปรับหมู่ ๒ และหมู่ ๓ ไปจนจบ

รูปที่ ๑๑ – ๑๔ การยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย เริ่มจากหมู่ ๓


ฉ. ภารกิจตัวอย่าง สมมุติว่า ผตน. ทราบที่ตั้งของฉากจาก ผบ.ร้อย ร. แล้ว

๑) เริ่มขอปรับฉากป้องกันขั้นสุดท้าย

“ลพบุรี ๑๘ จากลพบุรี ๒๔ ปรับการยิงเปลี่ยน พิกัด กขคข จฉกล เปลี่ยน”

ฉากป้องกันขั้นสุดท้าย แนวเฉียง ๑๙๐๐ อันตรายใกล้ฝ่ายเรา เปลี่ยน”


รูปที่ ๑๑ – ๑๕ ปรับฉากป้องกันขั้นสุดท้าย เริ่มจากหมู่ ๖


๒) กองร้อยยิงมา ๑ นัด ปรากฏผลดังรูปข้างบน ผตน.เห็นว่า หมู่ ๖ ใกล้แนวฉากที่สุด และเริ่มปรับด้วย หมู่ ๖

“มุมภาค ๘๑๐ หมู่ ๖ ซ้าย ๑๐๐ ลด ๕๐ เปลี่ยน”

๓) หมู่ ๖ ยิงมา ๑ นัด ผตน. ตรวจผล และจะแก้ ลด ๕๐ มั่นใจว่ากระสุนต้องเข้าแนวแน่ จึงไม่ต้องยิง และจะปรับ หมู่ ๕ ต่อ

“หมู่ ๖ ลด ๕๐ หมู่ ๖ จบ หมู่ ๕ ยิงซ้ำเปลี่ยน”

๔) หมู่ ๕ และหมู่อื่น ๆ ดำเนินการไปเช่นนี้ จนครบทุกหมู่แล้ว ผตน. ก็จะขอจบภารกิจ

ช. บางครั้งถ้าเวลาไม่พอที่จะปรับการยิงฉากไว้ก่อน ผตน. ก็จะบอกพิกัดจริงของฉาก โดยบอกพิกัดหัวท้ายของฉากหรือพิกัดจุดกึ่งกลางของฉากพร้อมแนวเฉียงให้

ซ. การสั่งให้ยิงฉากนั้นปกติแล้ว ผบ.ร้อยกลยุทธเป็นผู้ตกลงใจ อาจจะสั่งยิงทุกฉากหรือแต่ละฉากก็ได้โดยการใช้พลุสัญญาณ หรือส่งทางเครื่องมือสื่อสาร เมื่อ ผตน. ได้รับทราบการสั่งยิงฉากก็จะส่งข่าวให้ ศอย. หรือ ร้อย ป.ทราบสั้น ๆ หรือตามสัญญาณที่ตกลงกันไว้ เช่น “ลพบุรี ๒๔ ร้อย ๑ ยิงฉาก” เป็นต้น

๔๙. การยิงหลายภารกิจพร้อมกัน

ก. เมื่อเริ่มปะทะกับข้าศึกแล้ว ภารกิจยิงต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผตน. อาจจำเป็นต้องขอยิงและปรับการยิง ๒ หรือ ๓ ภารกิจพร้อม ๆ กันก็ได้

ข. ผตน.ควรจะได้หารือกับ ผบ.หน่วยกลยุทธ หรือใช้ดุลยพินิจของตนเองว่าจะต้องโจมตีเป้าหมายใดก่อน สำหรับ ผตน.ที่ชำนาญแล้วจะไม่ค่อยมีปัญหาในการปรับการยิงพร้อม ๆ กันหลายภารกิจ หลักการโดยทั่วไปก็คือ

๑) ให้กำหนดเป็นภารกิจที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ไว้เสมอ และใช้กำกับในการรายงานการยิง และการปรับ เช่น “ภารกิจที่ ๑ ยิงไปแล้ว” เพื่อป้องกันความสับสน ศอย.ควรบอก “ภารกิจที่ ๑ เตรียมตรวจ”ไว้ด้วยแล้ว ผตน.ก็รายงานการแก้นำด้วย “ภารกิจที่...” เสมอไป

๒) เพื่อมิให้สับสนหรือหลงลืม ผตน. ควรบันทึกผลการตรวจหรือการแก้แต่ละภารกิจไว้ด้วยทุกขั้นตอน

๓) ถ้ามี ผตน. คนอื่น ๆ ใช้ข่ายวิทยุเดียวกัน แต่ละครั้งที่พูดวิทยุจะต้องใช้นามสถานีของตนนำหน้าเสมอ เช่น “จากลพบุรี ๒๔ ภารกิจที่ ๑ ขวา...เพิ่ม...ดังนี้เป็นต้น

๕๐. เป้าหมายรูปร่างผิดปกติ

ก. เมื่อของยิงต่อเป้าหมายรูปร่างผิดปกติ ผตน.จะต้องกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย และให้รายละเอียดของเป้าหมายอย่างเพียงพอที่ ศอย. จะตัดสินตกลงใจโจมตีได้อย่างถูกต้อง ด้วยการรายงานพิกัด ขนาดและแนวเฉียงของเป้าหมาย

ข. ถ้าเป้าหมายเป็นเส้นตรง ผตน. จะส่งพิกัดของกึ่งกลางเป้าหมาย และแนวเฉียงเส้นตรงของเป้าหมาย โดยพิจารณาเป็นมุมภาคที่จัดจากทิศเหนือผ่านแกนยาวของเป้าหมาย เช่น

“พิกัด ๔๖๕๓๒๑ เปลี่ยน มว.ร. ในคูสนามเพลาะ แนวเฉียง ๒๖๐๐ เปลี่ยน”

รูปที่ ๑๑ – ๑๖ แนวเฉียงของเป้าหมาย


ค. ผตน. อาจจะใช้พิกัดหัวท้ายของเป้าหมายที่มีลักษณะตรงก็ได้เช่นเดียวกัน (แทนการบอกเป็นแนวเฉียง) เช่น “พิกัด ๑๖๘๑๙๘ และ ๑๗๑๑๙๖ เปลี่ยน กองร้อย ร.ในที่รวมพล เปลี่ยน”

ง. ถ้าเป้าหมายไม่เป็นเส้นตรง ก็อาจบอกพิกัดหลายจุดเพิ่มขึ้น เช่น ๓ จุด หรือ ๔ จุด ของกึ่งกลางแต่ละส่วนของเป้าหมาย เช่น

“พิกัด ๑๖๘๑๙๗ และ ๑๖๙๑๙๘ และ ๑๗๐๑๙๓ เปลี่ยน ร้อย ร.ตามแนวป่า เปลี่ยน”

จ. ถ้าพิจารณาได้ว่า ม. ค่อนข้างจะเป็นวงกลม ก็บอกพิกัดของจุดศูนย์กลางเป้าหมายและรัศมีของวงกลมนั้น เช่น

“ พิกัด ๖๔๒๓๗๗ เปลี่ยน ที่ตั้งจรวดแซกเกอร์ รัศมี ๑๕๐ เมตร เปลี่ยน”

๕๑. การอำนวยการยิงกรณีฉุกเฉิน

ก. ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อไม่มี ศอย. จ้าจะหาหลักฐานยิงให้แก่ปืน ผตน. ก็อาจจะดำเนินการแทนก็ได้ โดยใช้หลักการดังต่อไปนี้

ข. หลักฐานเริ่มแรก

๑) ประมาณระยะจากกองร้อยไปยังเป้าหมาย (ใช้แผนที่)

๒) หาสูตรบรรจุที่จะใช้โดยยึดหลัก

ก) ปบค.๑๐๕ มม. ส่วนบรรจุ = ระยะเต็มพัน +1 เช่น ระยะ ๕,๐๐๐ ใช้ บจ.๖ เป็นต้น

ข) ปกค.๑๕๕ มม. ส่วนบรรจุ = ระยะเต็มพัน เช่น ระยะ ๕,๐๐๐ ใช้ บจ.๕ เป็นต้น

หมายเหตุ ใช้ได้กับ ป. ทุกแบบ แต่ต้องเป็นกระสุนอเมริกัน

๓) หามุมทิศโดย พิจารณามุมภาคตั้ง ป. ตรงทศกับมุมภาพของแนว ปม. ใช้กดมุมภาคเพิ่มมุมทิศรถหรือจะยิงด้วยวิธีหมายกึ่งกลางเขตปฏิบัติการก็ได้

๔) ยิงด้วยมุมยิง ๒๔๐ มิล

ค. การแก้ขั้นต่อมา ปรับโดยใช้แนวปืน-เป้าหมาย เป็นหลักโดยใช้กฎดังต่อไปนี้
๑) หาค่า ๑๐๐/ร. โดยใช้กฎ ๑๐๐/ร. เท่ากับ ๑๐๐ หารด้วยระยะเต็มพันละเอียด ๑๐๐ เมตร เช่น ระยะ ๕,๖๐๐ ม. ๑๐๐/ร. หาร ๔.๖ = ๒๒ เป็นต้น

๒) การแก้มุมทิศ = ระยะทางข้างเต็มร้อย คูณด้วย ๑๐๐/ร. เช่น แก้ขวา ๖๐ มิล มุมทิศลด = ๖x๒๒ = ๑๓ มิล

๓) การแก้มุมยิง ให้ใช้ค่ามุมสูงเปลี่ยนเมื่อระยะเปลี่ยน ๑๐๐ เมตร (ซีแฟคเตอร์)

โดยใช้ตารางข้างล่าง

๔) มุมยิงเปลี่ยน = ระยะเปลี่ยนเต็มร้อยคูณซีแฟคเตอร์ เช่น ลด ๒๐๐ = ๒ x ๗ = รถมุมยิง ๑๔ มิล เป็นต้น

๕) หาค่าเวลาชนวนโดยการประมาณ

๖) ปรับสูงกระสุนแตกไม่มีกฎ

ง. ระบบนี้ใช้ได้แต่เฉพาะ ส่วนบรรจุ ๓, ๔, ๕ เท่านั้น

ตัวอย่าง สมมุติว่า ปกค. ๒๕ ระยะเริ่มต้น ๔๐๐๐ เมตร (บจ.๔)

๑) หลักฐานเริ่มแรก

ก) มุมทิศ ๓๒๐๐ (ตั้ง ป.ตรงทิศ)

ข) มุมยิง ๒๔๐

๒) ข้อมูลการแก้

ก) ๑๐๐/ร = ๑๐๐ หาร ๔๐๐๐/๑๐๐ = ๒๕

ข) แก้มุมทิศ = ระยะทางข้าง/๑๐๐๑๐๐/ร

ค) ซีแฟคเตอร์ ปกค ๒๕ = ๑๑ – บจ = ๗

ง) แก้มุมยิง = ระยะแก้/๑๐๐ซีแฟคเตอร์

๓) นัดที่ ๑ ยิงลงมาแล้วสมมุติได้การแก้ตามรูป คือ ขวา ๖๐ ลด ๑๐๐ หลักฐานยิงนัดที่ ๒ คือ

ก) แก้มุมทิศ = ๖๐/๑๐๐๒๔ = ข.๑๕ มิล

= ๓๒๐๐ – ๑๕ = มุมทิศ ๓๑๘๕

ข) แก้มุมยิง = ๑๐๐/๑๐๐๗ = ลด ๗ มิล

= ๒๔๐ – ๗ = มุมดิ่ง ๒๓๐

๔) นัดที่ ๒ ยิงมาปรากฏว่า ต้องแก้ซ้าย ๓๐๐ เพิ่ม ๕๐ นัดยิงหาผลก็คือ

ก) มุมทิศ = ๓๑๘๕ บวก (๓๒๕) = ๓๑๘๕ บวก ๘ = ๓๑๙๓

= มุมทิศ ๓๑๙๓

ข) มุมยิง = ๒๓๓ บวก (๕๗) = ๒๓๓ บวก ๔ = ๒๓๗

= มุมยิง ๒๓๗