เรื่องที่ 4 เงื่อนเชือกและการผูกแน่น
4.1 ความหมายของเงื่อนเชือกและการผูกแน่น
เงื่อนเชือก หมายถึง การนำเชือกมาผูกกันเป็นเงื่อน เป็นปม สำหรับต่อเชือกเข้าด้วยกัน หรือทำเป็นบ่วง สำหรับคล้องหรือสวมกับเสา หรือใช้ผูกกับวัตถุ สำหรับผูกให้แน่นใช้รั้งให้ตึง ไม่หลุดง่าย แต่สามารถแก้ปมได้ง่าย

การผูกแน่น หมายถึง การผูกวัตถุให้ติดแน่นเข้าด้วยกัน โดยใช้เชือกหรือวัสดุคล้ายเชือก ซึ่งมีประโยชน์ต่อลูกเสือเป็นอย่างมากในการเข้าค่ายพักแรมหรือเดินทางไกล
4.2 ความสำคัญของเงื่อนเชือกและการผูกแน่น
กิจกรรมลูกเสือ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องการให้ลูกเสือรู้จักใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อการด ารงความเป็นอยู่อย่างอิสระและพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด การผูกเงื่อนเชือก เป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ลูกเสือจำเป็นต้องเรียนรู้เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมในการอยู่ค่ายพักแรม การสร้างฐานกิจกรรมผจญภัย การตั้งค่ายพักแรมรวมทั้งการใช้งานเงื่อนในการช่วยผู้เจ็บป่วยได้
4.3 การผูกเงื่อนเชือกและการผูกแน่น
การเรียนรู้เรื่องการผูกเงื่อนเชือกและการผูกแน่น จะต้องจดจำ ทำให้ได้ ผิดพลาดไป หลุด หรือขาด ก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งของเสียหาย ขอแนะนำให้ทุกคนที่ต้องการนำไปใช้ต้องหมั่นฝึกฝน ศึกษาหาความรู้ ผูกให้เป็น นำไปใช้งานให้ได้ถึงคราวจำเป็นจะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ วิธีการผูกเงื่อนเชือกแบ่งออกเป็นลักษณะการใช้งานได้ 3 หมวด 10 เงื่อน ดังนี้

  1.เงื่อนพิรอด  2.เงื่อนขัดสมาธิ  3.เงื่อนกระหวัดไม้  4.เงื่อนบ่วงสายธนู
5.เงื่อนตะกรุดเบ็ด 6.เงื่อนประมง 7.เงื่อนผูกซุง 8.เงื่อนผูกรั้ง 9.เงื่อนปมตาไก่ผูกทแยง  10.ผูกกากบาท