เรื่องที่ 1 ประวัติการลูกเสือไทย

1.1   พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี พระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม 2423 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ” ในปี พ.ศ. 2437 ได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ดำรงตำแหน่งรัชทายาท เสด็จขึ้น ครองราชย์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453มีพระราชลัญจกรประจ ารัชกาล เป็นรูปวชิราวุธ ยอดมีรัศมี ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบบัวตั้งอยู่สองข้าง เป็นสัญลักษณ์ พระนามาภิไธย “วชิราวุธ” หมายถึง อาวุธของพระอินทร์ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2468 ประชวรด้วยพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทร พระชนมายุ 45 พรรษา ทรงอยู่ในพระราชสมบัติ 15 ปี ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว ทรงพระนามว่า “เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี”

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงได้รับการศึกษาทางอักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ จากสมเด็จพระราชบิดา และนานาอาจารย์ผู้สันทัดแต่ละวิชา เมื่อปี พ.ศ. 2436 พระชนมายุ 13 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาได้โปรดให้ พระองค์ออกไปศึกษาวิชาการหลายแขนง ณ ประเทศอังกฤษ สาขาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวรรณคดี ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียน ทหารบกแซนด์ เฮิสต์ และได้เสด็จนิวัติพระนคร เมื่อปี พ.ศ. 2445

       1.2 กำเนิดลูกเสือไทย ปี พ.ศ. 2442 ขณะที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ บี.พี. หรือ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวก บัวร์ (Boer) ซึ่งเป็นชาวฮอลันดาและฝรั่งเศส จนประสบความสำเร็จ ปี พ.ศ. 2450 พระองค์ทรงทราบว่า บี.พี. ได้ตั้งกองลูกเสือที่ประเทศอังกฤษ ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก

        ปี พ.ศ. 2454 หลังจากพระองค์ท่านได้เสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จ  พระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภว่า   “...มีพลเรือน บางคนที่เป็นข้าราชการแลมิได้เป็นข้าราชการ มีความปรารถนาจะได้รับความ ฝึกหัดอย่างทหาร แต่ยังมิได้มีโอกาสฝึกหัด  เพราะติดน่าที่ราชการเสียบ้าง หรือเพราะติดธุระ อื่นเสียบ้าง การฝึกหัดเป็นทหารนั้นย่อมมีคุณ เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองอยู่หลายอย่างที่ เป็นข้อใหญ่ ข้อสำคัญก็คือ กระทำให้บุคคล ซึ่งได้รับความฝึกฝนเช่นนั้นเป็นราษฎรดีขึ้น กล่าวคือ ทำให้กำลังกายแลความคิดแก่กล้าในทางเป็นประโยชน์ ด้วยเป็นธรรมดาของคน ถ้าไม่ มีผู้ใดฤๅสิ่งใดบังคับให้ใช้กำลัง แลความคิดของตนแล้วก็มักจะกลายเป็นคนอ่อนแอไป อีกประการหนึ่ง การฝึกหัดเป็นทหารนั้นทำให้คนรู้วินัย คือ ฝึกหัดตนให้อยู่ ในบังคับบัญชาของผู้ที่เป็นหัวน่า ฤๅนายเหนือตนซึ่งจะนำประโยชน์มาให้แก่ตนเป็นอันมาก เพราะว่ารู้จักน้ำใจผู้น้อยทั้งเป็นทางสั่งสอนอย่างหนึ่ง ให้คนมีความยำเกรงตั้งอยู่ในพระราชกำหนด กฎหมายของประเทศบ้านเมือง ทั้งจะปลุกใจคนให้มีความรู้ รักพระเจ้าแผ่นดิน ชาติและ ศาสนา จนจะยอมสละชีวิตถวายพระเจ้าแผ่นดิน ฤๅเพื่อป้องกันรักษาชาติศาสนาของตนได้” การฝึกหัดข้าราชการพลเรือนในท่าทหารที่กล่าวนี้ ไม่ใช่เป็นของที่ทรง พระราชดำริห์เริ่มจะชัดขึ้น ได้ทรงทดลองจัดนับว่าเป็นการสำ เร็จมาแล้ว แลได้ทรงสังเกตผู้ที่ ได้รับความฝึกสอนเช่นนี้ใช้ได้ดีกว่าคนธรรมดา ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ จึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ตั้งกองพลสมัครขึ้นกองหนึ่งให้ชื่อว่า “กองเสือป่า” ซึ่งเป็นนามเรียกผู้สอดแนม ในการสงครามในประเทศสยามมาแต่โบราณ  ภายหลังที่พระองค์ทรงตั้งกองเสือป่าได้ 2 เดือน จึงมีพระราชปรารภที่จะ ตั้งกองลูกเสือขึ้น ซึ่งได้ปรากฏอยู่ในคำปรารภของข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือฉบับแรก  ซึ่งประกาศ ใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ดังนี้ “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรง ดำรงพระยศเป็นนายกองใหญ่ในกองเสือป่า ทรงพระราชดำริห์ว่า กองเสือป่าได้ตั้งขึ้นเป็น หลักฐานแล้ว พอจะเป็นที่หวังได้ว่าจะเป็นผลดีตามพระราชประสงค์ แต่ผู้ที่จะเป็นเสือป่า ต้องเป็นผู้ที่นับว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฝ่ายเด็กชายที่ยังอยู่ในปฐมวัย ก็เป็นผู้ที่สมควรจะได้รับการ ฝึกฝน ทั้งในส่วนร่างกายและในส่วนใจให้มีความรู้ในทางเสือป่า เพื่อว่าเมื่อเติบใหญ่ขึ้นแล้วจะได้ รู้จักหน้าที่ ซึ่งผู้ชายไทยทุกคนควรจะประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง อันเป็นที่เกิด เมืองนอนของตน และการฝึกฝนปลุกใจให้คิดถูกเช่นนี้ต้องเริ่มฝึกฝนเสียเมื่อยังเยาว์อยู่

          1.3 กิจการลูกเสือไทยแต่ละยุค กิจการลูกเสือไทย เริ่มขึ้นครั้งแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ วิทยาลัย ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 มีความเจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2561) นับเนื่องเป็นเวลา 107 ปี โดยจำแนกตามรัชสมัย ดังนี้

         1. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2454 – 2468)  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งกองเสือป่า เมื่อวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2454 และทรงจัดตั้งกองลูกเสือไทยในประเทศไทย เป็นครั้งแรก ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน ) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ขนานนามว่ากองลูกเสือกรุงเทพ ที่ 1 ลูกเสือคนแรก คือ “นายชัพน์  บุนนาค” (ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น นายลิขิต สารสนอง) เพราะเป็นผู้กล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือ ต่อหน้าพระพักตร์เป็นคนแรก พระองค์ทรงตราระเบียบข้อบังคับลักษณะการปกครองทรงฝึกอบรม สั่งสอนด้วยพระองค์เองโดยตลอด และพระองค์ทรงดำ ารงตำแหน่งสภานายกทรงวางนโยบาย ให้มีการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นในโรงเรียนต่าง ๆ ทรงรับกองลูกเสืออังกฤษ The South - West London Troop ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้เป็นกองลูกเสือในพระองค์แห่งพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยาม (The King of Siam’s Own) กับพระราชทานตราเครื่องหมายประจำกอง เป็นรูป ช้างเผือกบนพื้นธงสีแดง ซึ่งเป็นรูปคล้ายธงช้างเดิม พ.ศ. 2457 ทรงพระราชทานธงประจำกองแก่กองลูกเสือมณฑลกรุงเทพฯ  และกองลูกเสืออื่น ๆ  พ.ศ. 2458 โปรดให้มีการประชุมสภานายกกรรมการจัดการลูกเสือมณฑล ต่าง ๆ พร้อมด้วยสภากรรมการกลางขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สโมสรเสือป่าสวนดุสิต และได้เสด็จ มาประทับเป็นประธานที่ประชุมด้วยพระองค์เอง พ.ศ. 2463 โปรดให้ตั้ง “กองฝึกหัดผู้กำกับลูกเสือในพระบรมราชูปถัมภ์”ขึ้น ในบริเวณสโมสรเสือป่า เป็นสำนักศึกษาวิชาผู้กำกับลูกเสือทั่วไป พ.ศ. 2465 คณะลูกเสือไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกคณะลูกเสือโลก เป็นกลุ่ม ประเทศที่ 3 ของโลก 

       2. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 – 2477)

                ระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ ได้ทรงฟื้นฟูกิจการลูกเสือ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดังนี้

                พ.ศ. 2470 จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ กรุงเทพฯ และกำหนดให้มีงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งต่อไป ในทุก ๆ 3 ปี

                พ.ศ. 2472 ส่งผู้แทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 3 ณ ประเทศอังกฤษ

                พ.ศ. 2473 จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 ณ พระราชอุทยานสราญรมย์   ซึ่งมีผู้แทนคณะลูกเสือจากประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าร่วมงานชุมนุมในครั้งนี้

                พ.ศ. 2475 จัดตั้งกองลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาในจังหวัดแถบชายทะเล

       3. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร  รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 – 2489)

                ปี พ.ศ. 2478 จัดทำตราสัญลักษณ์ลูกเสือแห่งชาติขึ้นเพื่อให้มีความเป็นสากล สอดคล้องกับคณะลูกเสือต่างประเทศทั่วโลก

                ปี พ.ศ. 2482 ได้ตราพระราบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2482 ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้จัดตั้ง “ยุวชนทหาร” ขึ้นซ้อนกับกิจการลูกเสือที่มีความแตกต่างกัน ในเรื่องการฝึกอบรม เน้นการฝึกเยาวชนเพื่อการเป็นทหารอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพราะเป็นช่วงเวลาของการเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 และสงครามอื่น ๆ อีกหลายครั้ง รวมทั้งเกิดวิกฤติการณ์ภายใน ภายนอกประเทศ เหตุจากเกิดลัทธิเผด็จการคุกคามสันติภาพของโลก จึงทำให้การลูกเสือมีความซบเซาเป็นอย่างมาก

       4. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอลุยเดช รัชกาลที่ 9  (พ.ศ. 2489 – 2559)

       ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช การลูกเสือ ได้เริ่มมีการฟื้นฟูขึ้นใหม่ และเพื่อให้กิจการลูกเสือไทยดำเนินการต่อไป ได้มีการออกพระราชบัญญัติ ลูกเสือ พุทธศักราช 2490 ซึ่งมีหลักการคล้ายกับพระราชบัญญัติลูกเสือ พุทธศักราช 2482 แต่มี สาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นคือ “การกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งพระบรมราชูปถัมภ์ คณะลูกเสือแห่งชาติ” และได้มีการโอนทรัพย์สินของลูกเสือซึ่งตกเป็นขององค์กรยุวชนทหาร กลับมาเป็นของคณะลูกเสือแห่งชาติอย่างเดิม

       พ.ศ. 2507 ออกพระราชบัญญัติลูกเสือ เพิ่มเติมขึ้นอีก มีหลักสำคัญ คือ คณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วย บรรดาลูกเสือทั้งปวง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ

       พ.ศ. 2508 จัดประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1

       พ.ศ. 2508 จัดประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1

       พ.ศ. 2528 ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 9 และงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 11 

       พ.ศ. 2529 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือ ภาคพื้น เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 15 ณ เมืองพัทยา เฉลิมฉลอง 75 ปี การลูกเสือไทย ด้านกิจกรรมลูกเสือ ต่างประเทศ เป็นผลให้คณะลูกเสือไทยมีความสัมพันธ์อันดียิ่งกับสมาคมลูกเสือทั่วโลก การประชุม สมัชชาลูกเสือภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกทุกครั้ง คณะลูกเสือไทยมีบทบาทสำคัญในเวทีกิจการ ลูกเสือนานาชาติมาโดยตลอด 

       พ.ศ. 2536 ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมลูกเสือระดับโลก ทั้งการ ประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 36 ณ กรุงเทพ  

        พ.ศ. 2546 ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20  ณ บริเวณหาดยาว ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งประสบความสำเร็จได้รับชื่อเสียงเป็น อย่างมาก 5  

       5. รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 (พ.ศ. 2559 - ถึงปัจจุบัน) 

      สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดำรง พระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานพระราโชวาท ในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนาม เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ เมื่อวันที่  1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541

      “...กิจการลูกเสือและเนตรนารีนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเยาวชนของชาติ เพราะการฝึกอบรมอย่างถูกต้องครบถ้วนตามแบบแผนและวิธีการของลูกเสือนั้น ย่อมจะทำให้ เยาวชน มีคุณสมบัติในตัวเองสูงขึ้นหลายอย่าง เช่น ทำให้มีระเบียบวินัยที่ดี มีความเข้มแข็ง อดทน ขยันหมั่นเพียร เอื้อเฟื้อ เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต และรู้จักใช้ความคิดอย่างฉลาด

       คุณสมบัติเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่จะเกื้อหนุนส่งเสริมให้แต่ละคนสามารถพึ่งตนเอง และ สร้างสรรค์ประโยชน์อันยั่งยืน เพื่อส่วนรวมและประเทศชาติได้”

       เมื่อพระองค์ท่านขึ้นครองราชสมบัติ ทรงมีพระบรมราโชบายด้านการศึกษา และความมั่นคง มีพระราชประสงค์ เห็นคนไทยมีวินัย รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ สร้างวินัย โดยใช้กระบวนการกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี