เรื่องที่ 3 ชีวิตชาวค่าย

       ชีวิตชาวค่าย เป็นกิจกรรมสร้างนิสัย การบำเพ็ญประโยชน์ รู้จักการปรับตัว เข้าหากัน และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยการฝึกปฏิบัติตนด้วยการทำงานร่วมกัน เป็นหมู่ รู้จักยอมรับในบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ฝึกให้รู้จักช่วยเหลือ ตนเอง เมื่อมีเหตุการณ์คับขัน รู้จักการดำรงชีพกลางแจ้งโดยไม่นิ่งเฉย เชื่อฟังกฎกติกาอยู่ใน ระเบียบอย่างเคร่งครัด สร้างเสริมคุณธรรม สร้างความมีวินัย

 ชีวิตชาวค่าย ประกอบด้วย

 1. เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็นสำหรับชีวิตชาวค่าย

 2. การสร้างครัวชาวค่าย

 3. การสร้างเตาประเภทต่าง ๆ

 4. การประกอบอาหารแบบชาวค่าย

 5. การกางเต็นท์ และการเก็บเต็นท์ชนิดต่าง ๆ

 3.1 เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็นสำหรับชีวิตชาวค่าย

เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการอยู่ค่ายพักแรมมีหลากหลายประเภท แยกตามลักษณะของการใช้งาน แบ่งออกเป็น ของมีคม ได้แก่ มีด ขวาน เลื่อย เครื่องมือที่ใช้ สำหรับขุด ได้แก่ จอบ เสียม พลั่ว พลั่วสนาม และเครื่องมือที่ใช้สำหรับตอก ได้แก่ ค้อน โดยแยกเก็บตามประเภท และลักษณะการใช้งาน เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้งาน และความ เป็นระเบียบเรียบร้อย มีด คือ เครื่องมือชนิดแรก ๆ ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน

3.2 การสร้างครัวชาวค่าย

การสร้างครัว เป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับใช้ในการประกอบอาหารตลอด ระยะเวลาในการอยู่ค่ายพักแรม มีองค์ประกอบในการสร้างครัว ดังนี้

ที่ทำครัว ควรมีเขตทำครัวโดยเฉพาะ โดยเลือกพื้นที่ที่จะเป็นเหตุให้เสียหาย แก่พื้นที่น้อยที่สุด ถ้ามีหญ้าขึ้นอยู่ต้องแซะหญ้าออก (ให้ติดดินประมาณ 10 เซนติเมตร) แล้วจึง ค่อยตั้งเตาไฟ ส่วนหญ้าที่แซะออกนั้นจะต้องหมั่นรดน้ำไว้ เมื่อการอยู่ค่ายพักแรมได้สิ้นสุดลงแล้ว ก็ให้ปลูกหญ้าไว้ที่เดิม แล้วรดน้ำเพื่อให้คืนสู่สภาพเดิม ในการจัดทำเครื่องใช้นั้น อะไรควรจัดทำก่อน อะไรควรจัดทำภายหลัง ถือหลักว่า อันไหนสำคัญที่สุดก็ให้จัดทำก่อน แล้วจึงค่อย ๆ จัดทำสิ่งที่มีความสำคัญรองลงมาตามลำดับ

3.3 การสร้างเตาประเภทต่าง ๆ

เตาสำหรับหุงอาหาร เตาไฟที่ใช้ในการหุงอาหารในการอยู่ค่ายพักแรมมีอยู่หลายแบบ ซึ่งจะ จัดการสร้างได้ขณะอยู่ค่ายพักแรมตามสภาพของพื้นที่ เตาไฟแบบต่าง ๆ ได้แก่ เตาราง เตาใช้ อิฐและหิน เตายืน เตาแขวน ในการก่อสร้างเตาแต่ละครั้งลูกเสือจะต้องทำความสะอาดรอบ ๆ บริเวณที่ก่อสร้างเตาให้เตียนและอย่าให้มีเชื้อไฟหรือวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย ๆ อยู่ใกล้บริเวณนั้นไปเผา ณ ที่กำหนดไว้

3.4 การประกอบอาหารแบบชาวค่าย

การปรุงอาหารในขณะอยู่ค่ายพักแรมหรือเดินป่า เป็นการปรุงอาหาร เเบบชาวค่าย ไม่สามารถเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการหุงต้มได้ครบถ้วน เช่น ใช้เตาหลุม เตาสามเส้า เตาราง ใช้มะพร้าวอ่อนแทนหม้อ กระบอกไม้ไผ่ ใช้ดินพอกเผาแทนการต้ม การปิ้ง เป็นต้น การปฏิบัติหรือประกอบอาหารบางอย่างที่จำเป็นในขณะที่อยู่ค่ายพักแรม ควรเลือกประกอบอาหารอย่างง่าย รวดเร็ว คงคุณค่าทางอาหาร ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การหุงข้าวด้วยวิธีต่าง ๆ 1. การหุงข้าวด้วยหม้อหูสามารถหุงข้าวได้ 2 แบบ คือ แบบไม่เช็ดน้ำ และเช็ดน้ำ – การหุงข้าวไม่เช็ดน้ำ ข้าว 1 ส่วน ต่อน้ำ  2 - 2.5 ส่วน

3.5 การกางเต็นท์และการเก็บเต็นท์ชนิดต่าง ๆ

การไปอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ แต่ก่อนนั้นลูกเสือไปหาที่พักข้างหน้า ตามแต่จะดัดแปลงได้ในภูมิประเทศ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าลูกเสือไม่พักในอาคาร ลูกเสือจะต้องนอนกลางแจ้ง ซึ่งจะต้องหาวิธีสร้างเพิงที่พักง่าย ๆ ที่สามารถกันแดดกันฝนกันลม และป้องกันสัตว์เลื้อยคลานได้โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้ ต่อมาเริ่มมีการเตรียม อุปกรณ์ไปด้วย เช่น เชือกหลาย ๆ เส้น พลาสติกผืนใหญ่ เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการสร้างเพิงที่พัก มากขึ้น

ปัจจุบันลูกเสือส่วนมากจะเตรียมเต็นท์สำเร็จรูปไปด้วยเพราะเต็นท์มีขาย อย่างแพร่หลาย และมีให้เลือกหลายแบบหลายสีหลายขนาด มีน้ำหนักเบา มีขนาดกะทัดรัด สามารถนำพกพาไปได้สะดวก

3. ให้คนที่ 2 ใช้เชือกยาว 1 เส้น ยึดจากหัวเสา (หรือห่วง) ไปยังสมอบก ด้านหน้า (โดยผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด หรือผูกเงื่อนกระหวัดไม้ ไม่ต้องใช้เงื่อนผูกรั้งเพราะเป็น แผ่นปรับความตึงอยู่แล้ว) แล้วใช้เชือกสั้น 2 เส้น ยึดชายเต็นท์เข้ากับสมอบกให้เต็นท์กาง ออกเป็นรูป
หน้าจั่ว