เรื่องที่ 2 วิธีการปฐมพยาบาลกรณีต่าง ๆ

2.1 วิธีการปฐมพยาบาลกรณีอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมิได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บพิการและ/หรือทำให้ทรัพย์สิน

ได้รับความเสียหายนอกจากนี้ความหมายในเชิงวิศวกรรมความปลอดภัยนั้น อุบัติเหตุยังมีความหมายครอบคลุมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบกระเทือนต่อกระบวนการผิดปกติ ทำให้เกิดความล่าช้า หยุดชะงัก หรือเสียเวลา แม้จะไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือพิการก็ตาม เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์หรือทางถนน อุบัติเหตุทางน้ำ อุบัติเหตุทั่วไป เป็นต้น

อุบัติเหตุทางรถยนต์หรือทางถนน

อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุสำคัญที่คร่าชีวิตคนไทย ซึ่งการช่วยเหลือ ผู้ประสบเหตุอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการบาดเจ็บ

รุนแรงและเสียชีวิตได้ เพราะบ่อยครั้งที่ผู้เข้าช่วยเหลือได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุซ้ำซ้อน จึงมีข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติในการช่วยเหลือ ผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนอย่างถูกวิธี ดังนี้

1. ประเมินสถานการณ์ จากสภาพแวดล้อมและสภาพการจราจรของจุดเกิดเหตุ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนหรือ

ทัศนวิสัยไม่ดี ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อน

2. ส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางเพิ่มความระมัดระวัง โดยเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินของรถคันที่เกิดเหตุ นำกิ่งไม้ ป้าย

สามเหลี่ยม หรือกรวยสะท้อนแสงมาวางไว้ ด้านหลังรถห่างจากจุดเกิดเหตุในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร

3. โทรศัพท์แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมให้ข้อมูลจุดเกิดเหตุ จำนวนและอาการของ

ผู้บาดเจ็บ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้วางแผนให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างถูกต้อง

4. ช่วยเหลือผู้ที่มีอาการรุนแรงเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะผู้ที่หมดสติหยุดหายใจ-หัวใจหยุดเต้นและเสียเลือดมาก กรณีผู้

ประสบเหตุบาดเจ็บเล็กน้อยให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามอาการ

5. หากไม่มีทักษะการช่วยเหลือ ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุด้วยตนเอง ควรรอให้ทีมแพทย์ฉุกเฉินมาช่วยเหลือ และนำ

ส่งสถานพยาบาลจะช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรง ที่ทำให้ผู้ประสบเหตุพิการหรือเสียชีวิต

การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอย่างถูกวิธีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย และทำให้ผู้ประสบเหตุได้รับการ

ดูแลอย่างปลอดภัยจึงช่วยลดอัตราการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากการช่วยเหลือไม่ถูกวิธี

อุบัติเหตุทางน้ำ

อุบัติเหตุทางน้ำอาจเกิดจากสาเหตุที่สำคัญ 2 ประการ คือ ตัวบุคคล และสภาพแวดล้อม ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุ

ทางน้ำ มักเกิดจากความประมาท และการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ขับเรือ และผู้โดยสาร

อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางน้ำ ส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบเหตุที่จะได้รับอันตราย คือ ผู้ที่อยู่ในสภาวะจมน้ำ และขาด

อากาศหายใจ ในที่นี้จึงยกตัวอย่างวิธีการปฐมพยาบาล กรณีจมน้ำ ดังนี้

การจมน้ำ

การจมน้ำทำให้เกิดอันตรายจากการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองการช่วยชีวิตและการกู้ฟื้นคืนชีพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้

รอดชีวิต

ขั้นตอนการปฐมพยาบาล มีดังนี้

1. จัดให้นอนตะแคงกึ่งคว่ำ รีบตรวจสอบการหายใจ

2. ถ้าไม่มีการหายใจให้ช่วยกู้ชีพทันที

3. ให้ความอบอุ่นกับร่างกายผู้จมน้ำโดยถอดเสื้อผ้าที่เปียกน้ำออกและใช้ผ้าแห้งคลุมตัวไว้

4. นำส่งสถานพยาบาล

ข้อควรระวัง

1. กรณีผู้จมน้ำมีประวัติการจมน้ำ เนื่องจากการกระโดดน้ำ หรือเล่นกระดานโต้คลื่น การช่วยเหลือต้องระวังเรื่องกระดูก

หัก โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้จมน้ำ โดยเมื่อนำผู้จมน้ำ ขึ้นถึงน้ำ ตื้นพอที่ผู้ช่วยเหลือจะยืนได้สะดวกแล้ว ให้ใช้ไม้กระดานแข็งสอดใต้น้ำ รองรับตัวผู้จมน้ำ ใช้ผ้ารัดตัวผู้จมน้ำ ให้ติดกับไม้ไว้

2. ไม่ควรเสียเวลากับการพยายามเอาน้ำ ออกจากปอดหรือกระเพาะอาหาร

3. หากไม่สามารถนำ ผู้จมน้ำ ขึ้นจากน้ำ ได้โดยเร็วอาจเป่าปากบนผิวน้ำ โดยหลีกเลี่ยงการเป่าปากใต้น้ำ และห้ามนวด

หน้าอกระหว่างอยู่ในน้ำ

อุบัติเหตุทั่วไป (ตกจากที่สูง หกล้ม ไฟไหม้/น้ำร้อนลวก)

อุบัติเหตุทั่วไป เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ทุกที่ ทุกเวลา และเกิดได้กับบุคคลทุกเพศ และทุกวัย เช่น การตกจากที่สูง หกล้ม ไฟ

ไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นต้น

1. การตกจากที่สูง

การตกจากที่สูงสามารถทำให้เกิดอันตรายได้รุนแรงมากน้อยต่างๆ กันไป เช่น ตกจากที่สูงมากอาจทำให้เสียชีวิต ทำให้

กระดูกสันหลังหักกดไขสันหลังกลายเป็นอัมพาต อาจทำให้กระดูกส่วนต่าง ๆ หัก ในรายที่รุนแรง อาจเป็นกระดูกซี่โครงหักทำให้เกิดเลือดออกในช่องปอด และอาจทำให้อวัยวะภายในช่องท้องที่สำคัญแตกอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ การตกจากที่สูง ส่วนใหญ่จะส่งผลก่อให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูก

2. การหกล้ม

การหกล้มเป็นอาการหรือพฤติกรรมที่รู้จักกันทั่วไป ซึ่งหมายถึง การที่เกิดการเปลี่ยนท่าโดยไม่ตั้งใจ และเป็นผลให้ร่างกาย

ทรุด หรือลงนอนกับพื้น หรือ ปะทะสิ่งของต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เตียง

ทั้งนี้ การหกล้มอาจส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และสิ่งแวดล้อมในขณะที่เกิด

เหตุ เช่น เกิดแผลเปิด บาดแผลปิด และการบาดเจ็บในลักษณะฟกช้ำ ไม่มีเลือดออก เป็นต้น มีวิธีการปฐมพยาบาล  ดังนี้

บาดแผล รอยฉีกขาดรอยแตกแยกของผิวหนัง หรือเยื่อบุส่วนที่ลึกกว่าชั้นผิวหนังถูกทำลาย ทำให้อวัยวะนั้นแยกจากกัน

ด้วยสาเหตุต่าง ๆ บาดแผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. บาดแผลเปิด คือ บาดแผลที่ผิวหนังฉีกขาดจนเห็นเนื้อข้างใน เช่นแผลถลอก แผลที่เกิดจากการเจาะ การแทง การ

กระแทก แผลถูกของมีคมบาด แผลฉีกขาดเนื่องจากวัตถุมีคมอาจลึกลงไปถึงเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น ทำให้เสียเลือดมาก แขนขาขาดจากอุบัติเหตุ ถูกสัตว์ดุร้ายกัด หรือถูกยิง เป็นต้น ซึ่งบาดแผลบางอย่างอาจทำให้เสียเลือดมาก และอาจทำให้เสียชีวิตได้

2. บาดแผลปิด คือ บาดแผลที่ไม่มีรอยแผลให้เห็นบนผิวหนังภายนอก อาจเห็นเพียงแค่รอยเขียวช้ำ แต่บางกรณีเนื้อเยื่อ

ภายในอาจถูกกระแทกอย่างแรง ทำให้เลือดตกใน บางครั้งอวัยวะภายในได้รับความเสียหายมาก เช่น ม้ามแตก ตับแตก หรือเลือดคั่งในสมอง ระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปคนเจ็บอาจอาเจียน เลือดออกปากหรือจมูก หนาวสั่น ตัวซีด เจ็บปวดรุนแรง หมดสติ และอาจเสียชีวิตเนื่องจากเสียเลือดมาก

3. ไฟไหม้น้ำร้อนลวก

บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยมากมักจะมีสาเหตุจากอุบัติเหตุความประมาท ขาดความระมัดระวัง แผลไหม้จะทำให้เกิด

อันตรายแก่ร่างกาย ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงเสียชีวิตได้ การช่วยเหลืออย่างถูกต้องจะช่วยลดความรุนแรงได้

2.2 ภาวะการเจ็บป่วยโดยปัจจุบัน

2.2.1 การเป็นลม

การเป็นลม เป็นอาการหมดสติเพียงชั่วคราว เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมอง

ไม่พอ สาเหตุ และลักษณะอาการของคนเป็นลมที่พบบ่อย เช่น หิว เหนื่อย เครียด ตกใจ กังวลใจ กลัว เสียเลือดมาก มีอาการวิงเวียนศีรษะ ตาพร่า หน้ามืด ใจสั่น มือเท้าไม่มีแรง หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบา เร็ว

             2.2.2 ลมชัก

ลมชัก อาการชักของผู้ป่วย บางรายอาจชักด้วยอาการเหม่อลอย เริ่ม

กระตุก ท่าทางแปลกๆผิดปกติ ตาเหลือก อาจจะเริ่มทำท่าเหมือนเคี้ยวอะไรอยู่ หรือบางคนอาจจะเริ่มต้นด้วยอาการสับสน มึนงง พูดจาวกวนก่อนก็ได้ ก่อนที่จะเริ่มมีอาการชัก

                2.2.3 การเป็นลมแดด

การเป็นลมแดด เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่

เกิดขึ้น จนเกิดภาวะวิกฤตในภาวะปกติร่างกายจะมีระบบการปรับสมดุลความร้อน เมื่อความร้อนในร่างกายเพิ่มขึ้น อาการสำคัญ ได้แก่ ตัวร้อน อุณหภูมิร่างกาย 41 องศาเซลเซียส หน้าแดง ไม่มีเหงื่อ มีอาการเพ้อ ความดันลดลงกระสับกระส่าย มึนงง สับสน ชักเกร็ง หมดสติ โดยกลไกการท างานของร่างกาย จะมีการปรับตัวโดยส่งน้ำ หรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน เช่น สมองตับ กล้ามเนื้อ ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปเลี้ยง จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้

                2.2.4 เลือดกำเดาไหล

สาเหตุ มาจากการกระทบกระแทก การเป็นหวัด การสั่งน้ำมูกการติดเชื้อ

ในช่องจมูก หรือความหนาวเย็นของอากาศ

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

1. ให้ผู้ป่วยนั่งนิ่ง ๆ เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย

2. ใช้มือบีบปลายจมูก และให้หายใจทางปากโดยบีบปลายจมูกไว้10 นาที

ให้คลายมือออกถ้าเลือดยังไหลต่อให้บีบต่ออีก 10 นาทีถ้าเลือดไม่หยุดใน 20 นาทีให้รีบนำส่งโรงพยาบาล

3. ถ้ามีเลือดออกมาก ให้ผู้ป่วยบ้วนเลือดหรือน้ำลายลงในอ่าง หรือภาชนะ

ที่รองรับ

4. เมื่อเลือดหยุดแล้ว ใช้ผ้าสะอาดเช็ดบริเวณจมูกและปาก

                2.2.5 การหมดสติ

การหมดสติ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น สาเหตุ

เนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดใกล้ผิวชั้นนอก ทำให้เลือดไหลออกมาก แต่มีบางกรณีไม่มีเลือดไหลออกมาภายนอก ทำให้ผู้บาดเจ็บหมดสติ หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออาจทำให้เสียชีวิต-จึงต้องประเมินสถานการณ์และการบาดเจ็บ เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา

2.3 พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

2.3.1 สุนัข/แมว

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อเรบีส์ไวรัส โรคนี้เกิดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ดัง

นั้น เมื่อถูกสุนัขกัดจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

1. ชำระล้างบาดแผล ด้วยการฟอกแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลายครั้งให้สะอาดโดยการถูเบา ๆ เท่านั้น หากแผลลึกให้

ล้างจนถึงก้นแผล แล้วซับแผลให้แห้งด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าที่สะอาด (ในกรณีน้ำลายสุนัขเข้าตา ให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาเท่านั้น แต่ล้างหลาย ๆ ครั้ง)

2. พบแพทย์เพื่อดูแลแผล และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ-ข้อสังเกตุสำหรับสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า 

จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายจะกลายเป็นสัตว์ที่เชื่อง สัตว์ที่เชื่องจะกลายเป็นสัตว์ดุร้าย ตื่นเต้นกระวนกระวาย สุดท้ายจะเป็นอัมพาต และตายในที่สุด

2.3.2 งูมีพิษ/งูไม่มีพิษ

พิษจากการถูกงูกัดงูในประเทศไทยแบ่งเป็นงูมีพิษ และไม่มีพิษซึ่งจะมีลักษณะบาดแผลต่างกันคืองูพิษมีเขี้ยวอยู่ด้านหน้า

ของขากรรไกรบนและมีฟัน ส่วนงูไม่มีพิษมีแต่รอยฟันไม่มีรอยเขี้ยว

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

การปฐมพยาบาล เป็นสิ่งที่ต้องกระทำหลังถูกงูกัดทันทีก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูกัด มีดังนี้

1. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ระหว่างนำส่งอาจใช้เชือก ผ้า หรือสายยางรัดแขนหรือขาระหว่างแผลงูกัดกับหัวใจเหนือรอย

เขี้ยว ประมาณ 2 - 4 นิ้ว เพื่อป้องกันพิษงูซึมเข้าร่างกายโดยเร็ว ในปัจจุบันนักวิชาการบางท่านไม่แนะนำให้รีบทำการใช้เชือกรัดและขันชะเนาะ เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลเสีย คือ การช่วยเหลือล่าช้าขึ้น และเสี่ยงต่อการขาดเลือดบริเวณแขนหรือขา ทำให้พิษทำลายเนื้อเยื่อมากขึ้น ดังนั้น ถ้ารัดควรคำนึงถึงความเสี่ยงของการรัดด้วย โดยคลายเชือกทุก ๆ 15 นาที นานครั้งละ 30 - 60 วินาทีจนกว่าจะถึงโรงพยาบาลในกรณีที่ถูกงูไม่มีพิษกัด ไม่ควรรัด เพราะจะทำให้แผลที่บวมอยู่แล้ว เสี่ยงต่อการเกิดเนื้อตาย และการบวมอาจกดเบียดเส้นประสาทและเส้นเลือดได้

2. ควรล้างบาดแผลให้สะอาด อย่าใช้ไฟหรือเหล็กร้อนจี้ที่แผลงูกัด และอย่าใช้มีดกรีดแผลเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้

เลือดออกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าถูกงูที่มีพิษกัด หรืออาจตัดถูกเส้นเอ็นหรือเส้นประสาท รวมทั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ รวมทั้งไม่แนะนำให้ใช้ปากดูดพิษจากแผลงูกัดเพราะพิษอาจเข้าทางเยื่อบุปากได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีบาดแผลถ้ารู้สึกปวดแผลให้รับประทานพาราเซตามอล ห้ามให้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

3. เคลื่อนไหวแขน หรือขาส่วนที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ควรจัดตำแหน่งของส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ในระดับต่ำกว่าหัวใจ เช่น ห้อย

มือหรือเท้าส่วนที่ถูกงูกัดลงต่ำระหว่างเดินทางไปยังสถานพยาบาลอย่าให้ผู้ป่วยเดิน หรือขยับส่วนที่ถูกกัด เนื่องจากการขยับตัวจะทำให้กล้ามเนื้อมีการยืดและหดตัว พิษงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น

4. ควรตรวจสอบว่างูอะไรกัด และถ้าเป็นไปได้ควรจับหรือตีงูที่กัด และนำส่งไปยังสถานพยาบาลด้วย

5. อย่าให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาดองเหล้า หรือรับประทานยากระตุ้นประสาท รวมทั้ง ชา กาแฟ

6. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจจากงูที่มีพิษต่อประสาท ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจไปตลอดทางจนกว่าจะถึงสถานพยาบาลที่ใกล้

บ้านที่สุด

                2.3.3 แมงป่อง/ตะขาบ

ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อย หรือตะขาบกัด เมื่อถูกแมงป่องต่อยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างรุนแรงบริเวณที่ถูกต่อย สำหรับ

ผู้ที่ถูกตะขาบกัด เขี้ยวตะขาบจะฝังลงในเนื้อทำให้มองเห็นเป็น 2 จุด อยู่ด้านข้าง เมื่อถูกตะขาบกัดจะมีอาการบวมแดงและปวด บางรายอาจมีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

             2.3.4 ผึ้ง ต่อ แตน

ผึ้ง ต่อ แตน แมลงเหล่านี้มีพิษต่อคน เมื่อถูกแมลงเหล่านี้ต่อยโดยเฉพาะผึ้งมันฝังเหล็กในเข้าไปในบริเวณที่ต่อย และปล่อย

สารพิษจากต่อมพิษออกมา ผู้ถูกแมลงต่อยส่วนมากมีอาการเฉพาะที่ คือ บริเวณที่ถูกต่อยจะ ปวด บวม แดง แสบ ร้อน แต่บางคนแพ้มากทำให้อาการหายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ หอบ คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก มีไข้ และชัก ความรุนแรงขึ้นอยู่กับภูมิไวของแต่ละคน และจำนวนครั้งที่ถูกต่อย

2.4 ถูกทำร้าย

การหมดสติ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น สาเหตุเนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนจากการถูก

ทำร้ายร่างกายบริเวณศีรษะ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดใกล้ผิวชั้นนอกมา ทำให้เลือดไหลออกมาก แต่มีบางกรณีไม่มีเลือดไหลออกมาภายนอก ทำให้ผู้บาดเจ็บหมดสติหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออาจทำให้เสียชีวิต จึงต้องประเมินสถานการณ์และการบาดเจ็บ เพื่อให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา

ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้หมดสติ

1. สำรวจสถานการณ์บริเวณที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว ถ้าสถานการณ์ปลอดภัยให้ตะโกนเรียกผู้หมดสติ

2. หากไม่มีการตอบสนอง ใช้มือทั้ง 2 ข้างตบไหล่ เรียกพร้อมสังเกตการตอบสนอง (การลืมตา ขยับตัว และพูด) และดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก หน้าท้องถ้าพบว่ายังหายใจอยู่ให้รีบให้การช่วยเหลือ และขอความช่วยเหลือโดยการโทรศัพท์แจ้งสายด่วนรถพยาบาล 1669แต่หากไม่ตอบสนอง หน้าอกหน้าท้องไม่กระเพื่อมขึ้นลง แสดงว่า ผู้ถูกทำร้ายหมดสติและไม่หายใจ ต้องช่วยเหลือผู้หมดสติ โดยการท า CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) โดยเร็วทันทีให้แก่ผู้บาดเจ็บ ซึ่งจะช่วยให้เลือดได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นและมีการไหลเวียนเข้าสู่สมองและอวัยวะสำคัญอื่น ๆก่อนที่จะถึงมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ในกรณีที่ศีรษะ ลำคอหรือหลังของผู้บาดเจ็บได้รับการบาดเจ็บด้วย ผู้ให้การปฐมพยาบาล จะต้องระมัดระวังไม่ให้ศีรษะ ลำคอหรือหลังของผู้บาดเจ็บมีการเคลื่อนไหว ซึ่งทำได้โดยดึงขากรรไกรล่างหรือคางของผู้บาดเจ็บไปข้างหน้าเพื่อเปิดทางให้อากาศเดินทางเข้าได้สะดวก