เรื่องที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือไทยกับลูกเสือโลก

       การลูกเสือ เป็นขบวนการทางการศึกษาสำหรับเยาวชน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง บุคลิกภาพ และพัฒนาการทางสังคมให้กับเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ โดยใช้วิธีการของลูกเสือ ยึดมั่นในคำปฏิญาณ และกฎเรียนรู้โดยการกระทำ เน้นการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง การใช้ระบบหมู่ และความก้าวหน้าของบุคคลโดยใช้หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ

       การลูกเสือ เป็นการอาสาสมัครทำงานให้การศึกษาพัฒนาเยาวชน โดยทั่วไป ไม่มีการแบ่งแยกกีดกันในเรื่องเชื้อชาติ ผิวพรรณ วรรณะ ลัทธิทางศาสนาใด ๆ และไม่อยู่ ภายใต้อิทธิพลหรือเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยยึดปฏิบัติตามอุดมการณ์ของผู้ให้กาเนิดลูกเสือ โลกอย่างมั่นคง วงการศึกษาทั่วโลกถือว่า การลูกเสือ เป็นขบวนการที่ให้การศึกษาแก่เยาวชน นอกระบบโรงเรียน ภายใต้พื้นฐาน ดังนี้

       1. มีหน้าที่ต่อศาสนาที่ตนเคารพนับถือ

       2. มีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง

       3. มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง

       4. เข้าร่วมในการพัฒนาสังคมด้วยการยกย่องและเคารพในเกียรติของบุคคลอื่น

       5. ช่วยเสริมสร้างสันติภาพความเข้าใจอันดี เพื่อความมั่นคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั่วโลก

 

       กิจการของลูกเสือทุกประเทศ ยึดมั่นในวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการของ ลูกเสือเหมือนกันทั่วโลกทุกประเทศที่เข้ามาเป็นสมาชิกโดยสมัครใจำและเป็นอิสระจากอิทธิพล ทางการเมือง มุ่งพัฒนาเยาวชนด้วยรากฐานของอุดมการณ์ลูกเสือ ซึ่งมีคำ ปฏิญาณ และกฎ ของลูกเสือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจำนำสู่การประพฤติปฏิบัติตนของความเป็นพลเมืองดี และมี ความเป็นพี่น้องกันระหว่างลูกเสือทั่วโลก

       การลูกเสือไทย โดยคณะลูกเสือแห่งชาติ ได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกขององค์การ ลูกเสือโลกเมื่อปี พ.ศ. 2465 ใช้คติพจน์ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ทั้งนี้ คณะลูกเสือแห่งชาติ ต้องชำระเงินค่าบำรุงลูกเสือโลกให้แก่สำนักงานลูกเสือโลกและต้องปฏิบัติตามธรรมนูญลูกเสือโลกเพื่อดำรงไว้เพื่อความเป็นเอกภาพของขบวนการลูกเสือโลกนอกจากนั้นประเทศไทยยังเป็น 1 ใน จำนวน 27 ประเทศ ของสำนักงานภาคพื้นเอเชีย – แปซิฟิก(Asia – Pacific Region : APR) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงมาดาติ ประเทศฟิลิปปินส์