เรื่องที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคณะลูกเสือแห่งชาติ 

 2.1 คณะลูกเสือแห่งชาติ คณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วย บรรดาลูกเสือทั้งปวง และบุคลากรทางการ ลูกเสือ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ลูกเสือ หมายความว่า เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือ ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิง ให้เรียกว่า “เนตรนารี”บรรดาลูกเสือทั้งปวง หมายถึง ลูกเสือในโรงเรียน ลูกเสือนอกโรงเรียน ลูกเสือ หลักสูตรพิเศษ ลูกเสือชาวบ้าน ลูกเสือในโรงเรียน หมายถึง เยาวชนที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือในกองลูกเสือโรงเรียน  ได้แก่ ลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ  ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ ลูกเสือนอกโรงเรียน หมายถึง เยาวชนที่ไม่ได้สมัครเข้าเป็นลูกเสือในกองลูกเสือ โรงเรียน แต่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมกับลูกเสือในโรงเรียน และลูกเสือหลักสูตรพิเศษ ลูกเสือหลักสูตรพิเศษ หมายถึง ลูกเสือที่สมัครเข้ารับการอบรมในหลักสูตรพิเศษ ต่าง ๆ เช่น ลูกเสือช่อสะอาด ลูกเสือป่าไม้ ลูกเสือจราจร ลูกเสือป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ลูกเสืออาสา กกต. ลูกเสือไซเบอร์ ลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ลูกเสือชาวบ้าน  หมายถึง กลุ่มชาวบ้านที่มารวมกันเพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม  ผ่านกระบวนการลูกเสือ โดยที่มีการทำงานหรือการเข้าค่ายต่าง ๆ คล้ายกับลูกเสือในโรงเรียน ลูกเสือชาวบ้าน เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 โดยตำรวจตระเวนชายแดนได้ฝึกอบรมให้ชาวบ้านรู้จักดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน การป้องกันตนเอง ตลอดจนการสอดแนมรักษาความปลอดภัย ตามแนวชายแดน บุคลากรทางการลูกเสือ หมายความว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ อาสาสมัครลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ  

       2.2 การบริหารงานของคณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วย  

 2.2.1 สภาลูกเสือไทย  ประกอบด้วยคณะบุคคล ดังต่อไปนี้ 

1. นายกรัฐมนตรี เป็น สภานายก 

2. รองนายกรัฐมนตรี เป็น อุปนายก 

3. กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการ ทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสภากาชาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด และ        ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน 

4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินแปดสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ  เป็นผู้ช่วยเลขานุการ สภาลูกเสือไทย อาจมีสภานายกกิตติมศักดิ์ อุปนายกกิตติมศักดิ์ และ กรรมการกิตติมศักดิ์ ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อีกครั้ง

 2.2.2 คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เป็นองค์กรบริหารของคณะลูกเสือ แห่งชาติ ประกอบด้วยคณะบุคคล ดังต่อไปนี้ 

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็น ประธานกรรมการ 

2. กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธาน เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสภากาชาดไทย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และผู้อำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน 

3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบห้าคน ซึ่งสภานายกสภา ลูกเสือไทยแต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ตาม 1. และ 2. ซึ่งใน จำนวนนี้ต้องมาจากภาคเอกชน ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ  รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ  เป็นผู้ช่วยเลขานุการ เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงาน ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสำนักงาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนหนึ่ง ทำหน้าที่ เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงอื่นในกระทรวงศึกษาธิการ ท าหน้าที่รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการตามจำนวนที่เหมาะสม  

 2.2.3 คณะกรรมการลูกเสือจังหวัด ประกอบด้วยคณะบุคคล ดังต่อไปนี้ 

1. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ประธานกรรมการ 

2. กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธาน กรรมการ ปลัดจังหวัด นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด นายอำเภอ นายกเทศมนตรี นายกสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัด และ ผู้อำนวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา 

3. กรรมการประเภทผู้แทนจำนวนห้าคน ได้แก่ ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ผู้แทนสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผู้แทนค่ายลูกเสือจังหวัด ผู้แทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือ และ ผู้แทนลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งเลือกกันเองกลุ่มละหนึ่งคน (หลักเกณฑ์และวิธีการเลือก ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ) 

4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบคน ซึ่งประธานกรรมการ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการลูกเสือจังหวัด ตามข้อ 2 และ 3 ในจำนวนนี้ จะต้องแต่งตั้ง จากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ผู้อำนวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 2.2.4 คณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา  คณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยคณะบุคคล ดังต่อไปนี้ 

1. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ 

2. กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรของทุกอำเภอ ในเขตพื้นที่การศึกษา หรือ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลของทุกสถานีในเขตพื้นที่การศึกษา ของกรุงเทพมหานคร 

3. กรรมการประเภทผู้แทน ได้แก่ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนสถานศึกษาเอกชน ผู้แทนสถานศึกษา อาชีวศึกษา ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ผู้แทนศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ผู้แทน ค่ายลูกเสือ และผู้แทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือ ซึ่งเลือกกันเองกลุ่มละหนึ่งคน (หลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกให้เป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ) 

4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินเจ็ดคน  ซึ่งประธานกรรมการ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่ตามข้อ 2 และ 3 ในจำนวนนี้ จะต้องแต่งตั้ง จากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้ผู้อำนวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอีกไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ มีสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นหน่วยประสานงานระหว่าง สภาลูกเสือไทยกับคณะกรรมการต่าง ๆ เพื่อนำมติที่ประชุมมากำหนดเป็นโยบาย แผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้งบประมาณ

2.3 การลูกเสือในสถานศึกษา  การลูกเสือในสถานศึกษา มีการจัดหน่วยลูกเสือ ดังนี้ 

1. กลุ่มลูกเสือ 2. กองลูกเสือ 3. หมู่ลูกเสือ 1. กลุ่มลูกเสือ ประกอบด้วยลูกเสือ 4 ประเภท คือ กองลูกเสือสำรอง กองลูกเสือสามัญ กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และกองลูกเสือวิสามัญ ประเภทละ 1 กอง เป็นอย่างน้อย แต่ถ้าสถานศึกษาแห่งใดมีลูกเสือเพียงประเภทเดียว การจัดกลุ่มลูกเสือต้องมี กองลูกเสือประเภทนั้นอย่างน้อย 4 กองขึ้นไป หรือ ถ้ามีกองลูกเสืออย่างน้อย 2 – 3 ประเภท การจัดกลุ่มลูกเสือต้องมีประเภทละ 2 กอง ขึ้นไป ผู้รับผิดชอบกลุ่มลูกเสือ คือ ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ และรองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ 

2. กองลูกเสือ ผู้รับผิดชอบกองลูกเสือ คือ ผู้กำกับกองลูกเสือ และรองผู้กำกับ กองลูกเสือ 

3. หมู่ลูกเสือ ประกอบด้วยลูกเสือ จำนวน 4 – 6 คน หรือ 6 – 8 คน  (รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ลูกเสือ) ผู้รับผิดชอบหมู่ลูกเสือ คือ นายหมู่ลูกเสือ และรอง นายหมู่ลูกเสือ การเรียกชื่อหมู่ลูกเสือ กศน. ให้เรียกเป็นหมู่เลข  เช่น

 หมู่ 1 กอง 1....หมู่ 2 กอง 1....หมู่ 3 กอง 1....หมู่ 4 กอง 1....

 หมู่ 1 กอง 2....หมู่ 2 กอง 2....หมู่ 3 กอง 2....หมู่ 4 กอง 2....

 หมู่ 1 กอง 3....หมู่ 2 กอง 3....หมู่ 3 กอง 3....หมู่ 4 กอง 3....

 หมู่ 1 กอง 4....หมู่ 2 กอง 4....หมู่ 3 กอง 4....หมู่ 4 กอง 4....