สาระสำคัญ

   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี และพระองค์ มีพระธิดาพระองค์เดียว ทรงพระนามว่า “เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี”ทรงได้รับ การศึกษาวิชาการหลายแขนง และวิชาการทหารที่ประเทศอังกฤษ ขณะทรงศึกษาอยู่ ทรงทราบ เรื่องการสู้รบ เพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง ของลอร์ด เบเดน โพเอลล์ หรือ บี.พี. ที่ได้ตั้งกองทหาร เด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยในการรบกับพวกบัวร์ (Boer) ซึ่งเป็นชาวฮอลันดา และฝรั่งเศส จนประสบความสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติ สู่ประเทศไทยจึงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น

       เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2454 หลังจากที่พระองค์ท่านได้เสด็จขึ้นครองราชย์  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “กองเสือป่า” ซึ่งเป็นนามเรียกผู้สอดแนบในการสงคราม หลังจากนั้น 2 เดือน คือ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ได้ทรงสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ตามประกาศจัดตั้งกองลูกเสือ และตั้งกองลูกเสือสำหรับเด็กชายกองแรกของประเทศไทย ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ) ได้นามว่า “กองลูกเสือกรุงเทพที่ 1” หรือ กองลูกเสือหลวงในกาลต่อมา และทรงพระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือแห่งชาติว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นลูกเสือคนแรก คือ นายชัพน์ บุนนาค เพราะสามารถ กล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือต่อหน้าพระพักตร์ได้เป็นคนแรก พระองค์ท่านได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีเข้าประจำกอง และพระราชทานธงประจำกอง เพื่อให้กองลูกเสือรักษา ธงประจำกองไว้ต่างพระองค์ และให้มีพระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวลูกเสือให้เหมาะสมกับสมัย ทรงเตรียมการสถาปนา “เนตรนารี” หรือที่เรียกกันว่า “ลูกเสือหญิง” สำหรับเด็กหญิงด้วย แต่ยัง ไม่ทันประกาศใช้ พระองค์ท่านได้เสด็จสวรรคตก่อน 

       การลูกเสือไทย มีความเจริญก้าวหน้า นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2561) เป็นต้นมา สามารถกล่าวได้ว่า ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานพระราชบัญญัติลูกเสือแห่งชาติไว้หลายฉบับ ซึ่งในพระราชบัญญัติลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ.2551 ได้กำหนดไว้ว่า คณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วย บรรดาลูกเสือทั้งปวง และบุคลากรทางการลูกเสือ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ การบริหารงานของคณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วย สภาลูกเสือแห่งชาติมีนายกรัฐมนตรี เป็นสภานายก มีกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการลูกเสือจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการประเภทผู้แทนและ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการประเภทผู้แทน และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

         1.       อธิบายประวัติการลูกเสือไทย

2.       อธิบายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคณะลูกเสือแห่งชาติ

ขอบข่ายเนื้อหา

ขอบข่ายเนื้อหา

เรื่องที่ 1 ประวัติการลูกเสือไทย

เรื่องที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคณะลูกเสือแห่งชาติ