กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบแดง

กระชาย

กระดุมทองเลื้อย

กระถิน

กระถินณรงค์

กระพี้จั่น

กล้วย

กล้วยไม้แวนด้า

กล้วยไม้สกุลช้าง

กล้วยไม้สกุลหวาย

กะเพรา

กาแฟ

กุหลาบ

เก๊กฮวย

เกล็ดแก้ว

แก้ว

โกสน

โกสนตรีน้ำตก

ขนุน

ขมิ้น

ข่า

ขิง

ขี้เหล็ก

เข็ม

เข็มขาว

คุณนายตื่นสาย

คริสติน่า

คำมอกน้อย

เงินไหลมา

จอก

จั๋ง

ชงโค

ชบา

ชมนาด

ชวนชม

ชะอม

ชาฮกเกี้ยน

เชียงดา

ซองออฟอินเดีย

ดาวกระจาย

ดาวเรือง

แดง

ตะขบ

ตะไคร้

ตะแบก

ตาลฟ้า

ติ้วขน

เต็ง

เตยหอม

เต่าร้าง

เทียนทอง

ไทร

ไทรเกาหลี

น้อยหน่า

บอนสี

บานชื่น

บานบุรี

บานไม่รู้โรย

ปรงเขาชะเมา

ประดู่

ปาล์มหางกระรอก

ปีบ

โป๊ยเซียน

ผักไชยา

ไผ่

ไผ่รวก

ฝรั่ง

แฝก

พลวง

พลับพลึง

พวงชมพู

พุดกังหัน

พุดซ้อน

พุทธรักษา

พู่จอมพล

เพกา

แพงพวย

แพรเซี่ยงไฮ้

โพธิ์

ฟ้าทะลายโจร

ฟิโลเดดรอนสีทอง

เฟินใบมะขาม

เฟื่องฟ้า

มะกรูด

มะขาม

มะขามเทศ

มะขามป้อม

มะนาว

มะเฟือง

มะม่วง

มะม่วงหิมพานต์

มะยม

มะละกอ

มะลิ

มิกกี้เมาส์

โมก

ยางพารา

ยูคาลิปตัส

รัก

รำเพย

ลำโพง

ลำไย

ลิ้นมังกร

ลีลาวดี

เล็บครุฑกระจก

เล็บครุฑผักชี

เล็บครุฑลังกา

เล็บมือนาง

ว่านหอยแครง

ว่านหางจระเข้

วาสนา

เศรษฐีเรือนนอก

สน

สนแผง

สนมังกร

ส้ม

ส้มป่อย

สัก

สับปะรดสีนีโอเรเจเลีย

สารภี

สาวน้อยประแป้ง

สิบสองปันนา

เสมา

เสลา

หญ้านวลน้อย

หญ้ามาเลเซีย

หม่อน

หมากนวล

หมากเหลือง

หว้า

หัวใจม่วง

หางนกยูง

หูกวาง

หูปลาช่อน

เหงือกปลาหมอ

เหมือดโลด

โหระพา

อโศกอินเดีย

อะราง

อัญชัน

อากาเว่

อินทนิลน้ำ

เอื้องหมายนา

ไอริสน้ำ

แก้ว

รหัสพันธุ์ไม้ : 7-58000-002-018

สถานที่พบ : ข้างร้านค้าสวัสดิการ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack

ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ชื่อสามัญ : Adaman Satinwood, Chinese box tree , Orange jasmine

ชื่อพื้นเมือง : แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) จ๊าพริก (ลำปาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : แก้วเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม สูงประมาณ 5-8 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีขาวปนเทา แตกเป็นร่องตามยาว ลำต้นมักคดงอและบิด รูปทรง (เรือนยอด)พุ่มใบแน่นทึบ

  • ใบ : เป็นใบประกอบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนสลับ แต่ละใบประกอบด้วยใบย่อยจำนวน 3–7 ใบ ที่มีรูปร่างคล้ายรูปไข่ รูปรี หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขนาดกว้าง 1–2 ซม. ยาว 2–5 ซม. เนื้อใบเรียบเป็นมัน และสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันขยี้ดมดูมีกลิ่นหอมฉุนเผ็ดร้อน

  • ดอก : ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก หรือช่อสั้นๆ ช่อละ 2-3 ดอก บานเวลากลางคืน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ สีขาว กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี

  • ผล : เป็นผลสดรูปไข่หรือรูปรี ผลสุกสีส้มอมแดง มีเมล็ด 1-2 เมล็ด

นิเวศวิทยา : ในประเทศไทยพบขึ้นประปราย ตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ บางครั้งพบขึ้นกระจายอยู่บนเขาหินปูนจนถึงที่สูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล

การใช้ประโยชน์ : ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องกลึง ด้ามเครื่องมือ ไม้บรรทัด ด้ามปากกา มีลายสวยงาม กรอบรูป ภาชนะ ซอ ด้ามเครื่องมือต่างๆ