กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบแดง

กระชาย

กระดุมทองเลื้อย

กระถิน

กระถินณรงค์

กระพี้จั่น

กล้วย

กล้วยไม้แวนด้า

กล้วยไม้สกุลช้าง

กล้วยไม้สกุลหวาย

กะเพรา

กาแฟ

กุหลาบ

เก๊กฮวย

เกล็ดแก้ว

แก้ว

โกสน

โกสนตรีน้ำตก

ขนุน

ขมิ้น

ข่า

ขิง

ขี้เหล็ก

เข็ม

เข็มขาว

คุณนายตื่นสาย

คริสติน่า

คำมอกน้อย

เงินไหลมา

จอก

จั๋ง

ชงโค

ชบา

ชมนาด

ชวนชม

ชะอม

ชาฮกเกี้ยน

เชียงดา

ซองออฟอินเดีย

ดาวกระจาย

ดาวเรือง

แดง

ตะขบ

ตะไคร้

ตะแบก

ตาลฟ้า

ติ้วขน

เต็ง

เตยหอม

เต่าร้าง

เทียนทอง

ไทร

ไทรเกาหลี

น้อยหน่า

บอนสี

บานชื่น

บานบุรี

บานไม่รู้โรย

ปรงเขาชะเมา

ประดู่

ปาล์มหางกระรอก

ปีบ

โป๊ยเซียน

ผักไชยา

ไผ่

ไผ่รวก

ฝรั่ง

แฝก

พลวง

พลับพลึง

พวงชมพู

พุดกังหัน

พุดซ้อน

พุทธรักษา

พู่จอมพล

เพกา

แพงพวย

แพรเซี่ยงไฮ้

โพธิ์

ฟ้าทะลายโจร

ฟิโลเดดรอนสีทอง

เฟินใบมะขาม

เฟื่องฟ้า

มะกรูด

มะขาม

มะขามเทศ

มะขามป้อม

มะนาว

มะเฟือง

มะม่วง

มะม่วงหิมพานต์

มะยม

มะละกอ

มะลิ

มิกกี้เมาส์

โมก

ยางพารา

ยูคาลิปตัส

รัก

รำเพย

ลำโพง

ลำไย

ลิ้นมังกร

ลีลาวดี

เล็บครุฑกระจก

เล็บครุฑผักชี

เล็บครุฑลังกา

เล็บมือนาง

ว่านหอยแครง

ว่านหางจระเข้

วาสนา

เศรษฐีเรือนนอก

สน

สนแผง

สนมังกร

ส้ม

ส้มป่อย

สัก

สับปะรดสีนีโอเรเจเลีย

สารภี

สาวน้อยประแป้ง

สิบสองปันนา

เสมา

เสลา

หญ้านวลน้อย

หญ้ามาเลเซีย

หม่อน

หมากนวล

หมากเหลือง

หว้า

หัวใจม่วง

หางนกยูง

หูกวาง

หูปลาช่อน

เหงือกปลาหมอ

เหมือดโลด

โหระพา

อโศกอินเดีย

อะราง

อัญชัน

อากาเว่

อินทนิลน้ำ

เอื้องหมายนา

ไอริสน้ำ

ยางพารา

รหัสพันธุ์ไม้ : 7-58000-002-110

สถานที่พบ : หน้าอาคารนิลเศวต


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hevea Brasiliensis (Willd. ex A. Juss.) Muell. Arg

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่อสามัญ : Para Rubber

ชื่ออื่นๆ : กะเต๊าะห์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ ค่อนข้างกลมหรือรูปกรวย หรือทรงกระบอก ทรงพุ่มไม่แน่นทึบ เนื้อไม้อ่อน ลำต้นเปลาตรง มีน้ำยางข้นคล้ายน้ำนม เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นพอเพียง เป็นไม้โตเร็วและเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

  • เปลือก ต้นอ่อนหรือขณะที่เป็นต้นกล้าสีเขียวอ่อน ผิวเรียบเป็นมันลอกออกง่าย ต้นที่มีอายุมากจะมีสีเทาอ่อนเทาดำหรือน้ำตาล เรียบไม่แตกสะเก็ด แต่จะพบไลเคนเจริญเติบโตเกาะติดอยู่ที่เปลือกเป็นดวงกลมๆ อยู่ทั่วไป

  • ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงเวียนสลับ มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่กลับแกมขอบขนานหรือรูปรี กว้าง 2.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบเกลี้ยงสีเขียวเข้ม ก้านใบประกอบยาว 10-18 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร ใบอ่อนแตกเป็นชั้น ๆ เรียกว่า “ฉัตรใบ”

  • ดอก สีเหลืองอ่อนขนาดเล็ก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งและปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 15-30 เซนติเมตร เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ แต่อยู่ในต้นเดียวกัน กลีบดอกติดกันเป็นรูปกรวยหรือรูประฆัง ปลายแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.5-1.0 เซนติเมตร

  • ผล เป็นผลแห้งแบบแคปซูล กลม แบน หรือทรงกระบอก แบ่งออกเป็น 3 พู กว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาว 5-6 เซนติเมตร แต่ละพูมีเมล็ด 1 เมล็ด ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลอมเทา และแตกออก เปลือกแข็งและหนาเมล็ด ทรงกลมหรือทรงกระบอก กว้าง 1.5-2.0 เซนติเมตร ยาว 2.5-3.0 เซนติเมตร ขั้วและปลายบุ๋มเล็กน้อย เปลือกหุ้มเมล็ดมีลวดลายสีน้ำตาลปนเทาอ่อน แข็งเรียบเป็นมัน คล้ายเมล็ดละหุ่งแต่มีขนาดใหญ่กว่า

ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน และผลิตภัณฑ์ไม้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องใช้ กรอบรูป รูปแกะสลัก ไม้แปรรูป ของเล่น ปาร์เก้ปูพื้น ทำฟืนและถ่าน ทำเยื่อกระดาษ น้ำยางสดจากต้น นำไปแปรรูปเป็นน้ำยางข้น ยางแห้ง ยางแผ่นดิบ ยางรมควัน และยางเครพ เพื่อนำไปใช้ประกอบเป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์และอื่น ๆ ใบแก่นำไปต้มกับด่างให้เหลือแต่โครงร่างของเส้นใบ นำไปทำดอกไม้ประดิษฐ์และของชำร่วยต่าง ๆ