กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบแดง

กระชาย

กระดุมทองเลื้อย

กระถิน

กระถินณรงค์

กระพี้จั่น

กล้วย

กล้วยไม้แวนด้า

กล้วยไม้สกุลช้าง

กล้วยไม้สกุลหวาย

กะเพรา

กาแฟ

กุหลาบ

เก๊กฮวย

เกล็ดแก้ว

แก้ว

โกสน

โกสนตรีน้ำตก

ขนุน

ขมิ้น

ข่า

ขิง

ขี้เหล็ก

เข็ม

เข็มขาว

คุณนายตื่นสาย

คริสติน่า

คำมอกน้อย

เงินไหลมา

จอก

จั๋ง

ชงโค

ชบา

ชมนาด

ชวนชม

ชะอม

ชาฮกเกี้ยน

เชียงดา

ซองออฟอินเดีย

ดาวกระจาย

ดาวเรือง

แดง

ตะขบ

ตะไคร้

ตะแบก

ตาลฟ้า

ติ้วขน

เต็ง

เตยหอม

เต่าร้าง

เทียนทอง

ไทร

ไทรเกาหลี

น้อยหน่า

บอนสี

บานชื่น

บานบุรี

บานไม่รู้โรย

ปรงเขาชะเมา

ประดู่

ปาล์มหางกระรอก

ปีบ

โป๊ยเซียน

ผักไชยา

ไผ่

ไผ่รวก

ฝรั่ง

แฝก

พลวง

พลับพลึง

พวงชมพู

พุดกังหัน

พุดซ้อน

พุทธรักษา

พู่จอมพล

เพกา

แพงพวย

แพรเซี่ยงไฮ้

โพธิ์

ฟ้าทะลายโจร

ฟิโลเดดรอนสีทอง

เฟินใบมะขาม

เฟื่องฟ้า

มะกรูด

มะขาม

มะขามเทศ

มะขามป้อม

มะนาว

มะเฟือง

มะม่วง

มะม่วงหิมพานต์

มะยม

มะละกอ

มะลิ

มิกกี้เมาส์

โมก

ยางพารา

ยูคาลิปตัส

รัก

รำเพย

ลำโพง

ลำไย

ลิ้นมังกร

ลีลาวดี

เล็บครุฑกระจก

เล็บครุฑผักชี

เล็บครุฑลังกา

เล็บมือนาง

ว่านหอยแครง

ว่านหางจระเข้

วาสนา

เศรษฐีเรือนนอก

สน

สนแผง

สนมังกร

ส้ม

ส้มป่อย

สัก

สับปะรดสีนีโอเรเจเลีย

สารภี

สาวน้อยประแป้ง

สิบสองปันนา

เสมา

เสลา

หญ้านวลน้อย

หญ้ามาเลเซีย

หม่อน

หมากนวล

หมากเหลือง

หว้า

หัวใจม่วง

หางนกยูง

หูกวาง

หูปลาช่อน

เหงือกปลาหมอ

เหมือดโลด

โหระพา

อโศกอินเดีย

อะราง

อัญชัน

อากาเว่

อินทนิลน้ำ

เอื้องหมายนา

ไอริสน้ำ

มะขามป้อม

รหัสพันธุ์ไม้ : 7-58000-002-100

สถานที่พบ : หน้าอาคารธีรราชธิดา


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.

ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE

ชื่อสามัญ : Indian gooseberry, Malacca tree

ชื่ออื่นๆ : กำทวด (ราชบุรี), ม่างลู่แซ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดใหญ่ หรือไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 8 – 12 เมตร เรือนยอดรูปร่มแผ่กว้าง ปลายลู่ลง เปลือกสีน้ำตาลปนเทาผิวค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องตามความยาวของลำต้น เปลือกในสีชมพู

  • ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบรูปขอบขนาน กว้าง 0.25 – 0.5 เซนติเมตร ยาว 0.8 – 1.2 ซม. โคนใบมนแคบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมนป้าน ใบเรียงชิดติดกันดูเผินๆ เหมือนใบประกอบ

  • ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามง่ามใบ ดอกย่อยสีเขียวอ่อน หรือขาวนวล ขนาดเล็ก ดอกแยกเพศร่วมต้น กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมีย มีฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย ขอบถ้วยหยัก เกสรเพศเมีย 1 อัน

  • ผล ผลมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง ลักษณะกลม มีเนื้อหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 – 2 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง เนื้อรับประทานได้ มีรสฝาด เปรี้ยว ขม และอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง มีสันตามยาว 6 สัน ภายในมี 6 เมล็ด

ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ทำเสาอาคารบ้านเรือนขนาดเล็ก ไม้กระดาน ด้ามเครื่องมือการเกษตร ทำฟืน เผาถ่าน เปลือกและใบให้สีน้ำตาลแกมเหลือง ใช้ย้อมผ้า ผลสุกนำมารับประทานสด ทำให้ชุ่มคอแก้กระหายน้ำ แก้ไอ และใช้เป็นยาขับพยาธิ