Zone 2 ภูมิอากาศแห้งแล้ง

ลักษณะภูมิอากาศ 

          เป็นบริเวณที่อากาศแห้ง ปริมาณการระเหยของน้ำมากกว่าปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวมีความเข้มแสงมากกว่า90%กลางวัน และกลางคืน มีอุณหภูมิต่างกันมากโดยกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า30องศา (50องศา ในช่วงฤดูร้อน) กลางคืนอาจจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง –15องศาในช่างฤดูหนาว ปริมาณน้ำฝนในรอบปีประมาณ 50 มิลลิเมตร บางที่อาจไม่ตกเลยพื้นที่ในเขตนี้กินอาณาบริเวณ 30องศา ของพื้นที่ทวีปทั้งหมดของโลก อยู่ระหว่างละติจูดที่20 ถึง 30 องศา เหนือและใต้โดยมากจะเป็นทะเลทรายบนที่ราบซึ่งห้อมล้อมด้วยเทือกเขา ได้แก่ ทะเลทรายซาฮาร่า ในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ทะเลทรายโกบี ในประเทศจีน ทะเลทรายเหล่านี้มักจะประกอบด้วย ดินทราย ซึ่งจะมีพืชบางประเภทเท่านั้นที่สามารถดำรงชีวิตได้ เช่น กระบอกเพชร

กลุ่ม B (ภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง)

ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งเป็นบริเวณที่มีการระเหยของน้ำสูง ไม่มีปริมาณฝนเหลือพอที่จะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ปรากฏทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แบ่งเป็นภูมิอากาศย่อย ดังนี้

 

ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW) ปริมาณฝนตลอดปีน้อยกว่า 250 มิลลิเมตร (10 นิ้ว) ส่วนมากพบอยู่ตอนในของภาคพื้นทวีปทั้งบริเวณอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น ทำให้แบ่งภูมิอากาศย่อยได้ ดังนี้

ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh)

ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตอบอุ่น (BWk)

 

ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย (BS) มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าสั้น ๆ ปริมาณฝนอยู่ระหว่าง 250 - 750 มิลลิเมตร (10 - 30 นิ้ว) พบอยู่รอบทะเลทรายบริเวณอากาศร้อนและทะเลทรายบริเวณอากาศอบอุ่น ทำให้แบ่งภูมิอากาศย่อยได้ ดังนี้

ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตร้อน (BSh)

ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น (BSk)

อ้างอิงจาก ... https://th.wikipedia.org

จัดเรียงข้อมูลโดย

นาย วสันต์  ไชยชนะศรีพลี

( นักวิชาการ วิทยาศาสตร์ศึกษา )