นักสืบโภชนาการ

สารปนเปื้อนในอาหาร

สารปนเปื้อนในอาหาร เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจนถึงเสียชีวิตได้ สารปนเปื้อนในอาหารแบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ประเภทคือ

       1.  สารพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แบ่งออกตามชนิดของสารพิษได้ดังนี้

1.1  สารพิษจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น สารอะฟลาทอกซิน  (aflagoxin) ซึ่งเป็นสารสร้างจาก เชื้อราพวก     แอสเพอร์จิลลัส  (aspergillus spp) รานี้เจริญได้ดีในถั่วลิสงและเมล็ดพืชที่ชื้น ซึ่งความร้อนสูงไม่สามารถทำลายสารอะฟลาทอกซินได้ ส่วนใหญ่สารนี้จะตกค้างที่ตับทำให้เกิดเป็นมะเร็งตับ

1.2  สารพิษจากเห็ดบางชนิด ทำให้เมา มีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน

1.3 สารพิษในพืชผัก                                               

       2.   สารพิษที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน  มีดังนี้

        2.1   สารตกค้างจากการเกษตร เช่น ดีดีที ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ซึ่งอาจสะสมในอาหาร เมื่อรับประทาน    เข้าไปจะเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

         2.2   สิ่งเจือปนในอาหาร  แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

                1.  สารกันอาหารเสีย เป็นสารที่ช่วยให้อาหารคงสภาพ รส กลิ่น เหมือนเมื่อแรกผลิตและเก็บไว้        ได้นาน เช่น สารกันบูด สารกันหืน เป็นต้น

                2.  สารแต่งกลิ่นหรือรส เป็นสารที่ช่วยให้อาหารมีรสและกลิ่นถูกใจผู้บริโภค หรือใช้แต่งกลิ่นรส  ผู้บริโภคเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของแท้ หรือมีส่วนผสมอยู่มากหรือน้อยทั้งที่เป็นของเทียม สารเหล่านี้ได้แก่ 

-         เครื่องเทศ

-         สารกลิ่นผลไม้

-         สารรสหวานประเภทน้ำตาลเทียม ซึ่งเป็นสารที่ให้ความหวานแต่ไม่ใช่น้ำตาล

-         ผงชูรสเป็นสารประกอบที่เรียกว่าโมโนโซเดียมกลูเมต ถ้าเป็นผงชูรสปลอมจะใส่สารโซเดียมเมตาฟอสเฟตและบอแรกซ์  ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมาก  

3. สีผสมอาหาร เป็นสีที่ใส่เพื่อจะช่วยแต่งเติมให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น มีทั้งสีจากธรรมชาติ     ซึ่งเป็นสีที่ได้จากพืชและสัตว์ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น สีดำจากถ่าน สีแดง จากครั่ง เป็นต้น และ สีสังเคราะห์ส่วนมากจะเป็นสารพิษที่ร้ายแรงต่อร่างกาย มักมีตะกั่ว และโครเมียมอยู่ เช่น สีย้อมผ้า

ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=nd-_TNyNa3U

                                                                                                                          เขียนโดย : นางสาวรวีวรรณ  คำเมืองไหว