โซน 2 รอยเลื่อนมีพลัง

 แผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

     แสดงการกระจายตัวของรอยเลื่อนมีพลัง พื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว ซึ่งพบมากในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทย มีทั้งหมด 14 รอยเลื่อนด้วยกัน พร้อมทั้งประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต ผ่านเทคโนโลยีจอภาพระบบสัมผัส เพื่อให้ทันตั้งรับต่อสถานการณ์แผ่นดินไหวที่มีมากในภาคเหนือ

จำลองสถานการ์ณแผ่นดินไหว

   ตู้และเก้าอี้สั่นสะเทือน สนุกกับการจำลองสถานการ์ณแผ่นดินไหว ผ่านเครื่องเล่นสั่นสะเทือน 

ไซโมกราฟ (Seismograph)

เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน 

            ขนาดของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน (seismograph) หลักการโดยสังเขปของเครื่องมือ คือ มีตัวโครงยึดติดกับพื้นดิน (โต๊ะ) และมีกระดาษหมุนไปด้วยความเร็วคงที่ เมื่อแผ่นดินมีการเคลื่อนไหวสะเทือน อาจสร้างความแตกต่างของแรงสะเทือนด้วยการทุบโต๊ะ เส้นกราฟจะเกิดขึ้นโดยการบันทึกการสะบัดไปมาของปากกาที่เหวี่ยงจากแรงสั่นไหวของลูกตุ้ม เรียกว่า กราฟแผ่นดินไหว

            กราฟแผ่นดินไหว (seismogram) เป็นเส้นขึ้นลงสลับกัน แสดงถึงอาการสั่นสะเทือนของพื้นดินใต้เครื่องวัดแผ่นดินไหวนั้น เครื่องวัดแผ่นดินไหวที่มีความไวสูง สามารถรับคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่รุนแรงได้ทุกแห่งในโลก เครื่องวัดแผ่นดินไหว สามารถคำนวณหาเวลา ตำแหน่ง และขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ณ สถานีวัดแผ่นดินไหวแห่งใดแห่งหนึ่งได้บนโลกได้ โดยวัดได้จากความสูงของคลื่น (amplitude) แผ่นดินไหวที่ปรากฏบนเครื่องวัดแผ่นดินไหว สามารถคำนวณได้จากสูตรทางคณิตศาสตร์เป็นลอกการิธึม ของความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้  

เขียนและภาพ โดย นิธินาถ นันตา นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง

อ้างอิิงข้อมูลจาก www.il.mahidol.ac.th ,paipibat.com