สารเร่งเนื้อแดง

สารเร่งเนื้อแดง(Leanness - Enhancing agents) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันทั่วไปของสารเคมีในกลุ่ม เบต้าอะโกนิสท์ (Beta – agonists หรือ Beta - Adrenergic agonist) ซึ่งปกติแล้วนำมาใช้เป็นยายาหลอดลมในคน และใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆในสัตว์ แต่มีการนำมาใช้ในวัตถุประสงค์อื่น คือ ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะ หมู วัว โดยการนำไปผสมกับอาหาร หรือน้ำดื่มของสัตว์ ทำให้สัตว์เจริญเติบโตดี มีเนื้อมากขึ้น (และถ้าเป็นเนื้อแดง เนื้อจะออกสีแดงมากขึ้น) มีไขมันน้อย ผู้บริโภคจะชอบเพราะดูน่ารับประทาน และยังขายได้ราคาสูงอีกด้วย


ที่มา : w.google.co.th/search?biw=1366&bih=613&tbm=isch&sa=1&ei=ZmQZW-WfFMS3rQGEsJa4BQ&q=สารเร่งเนื้อแด

ที่มา : w.google.co.th/search?biw=1366&bih=613&tbm=isch&sa=1&ei=ZmQZW-WfFMS3rQGEsJa4BQ&q=สารเร่งเนื้อแด

ที่มา : www.youtube.com/watch?v=yNtQCKlMWp0

 วิธีสังเกตว่าเนื้อสัตว์มีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนหรือไม่


           1. ในหมูที่ยังมีชีวิตอยู่ จะเห็นได้ชัดว่าหมูมีลักษณะคล้ายนักเพาะกาย มีมัดกล้ามนูนเด่นกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณสะโพก สันหลัง และหัวไหล่ ถ้าได้รับสารเนื้อแดงปริมาณมาก หมูอาจมีอาการสั่นตลอดเวลา


           2. เนื้อสัตว์จะมีสีแดงคล้ำกว่าปกติ


           3. เนื้อที่หั่นทิ้งไว้จะมีลักษณะแห้ง ไม่เหมือนเนื้อที่ไร้สารเร่งเนื้อแดงที่หั่นทิ้งไว้ก็ยังมีน้ำซึมออกมาที่บริเวณผิว


           4. หมูที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อสูงถึง 3 ส่วนต่อมัน 1 ส่วน หรือสังเกตง่าย ๆ คือมีเนื้อแดงมากกว่ามันนั่นเอง


           5. เมื่อกดเนื้อจะรู้สึกถึงความนุ่ม ไม่กระด้าง


           6. เนื้อหมูที่ปลอดสารเร่งเนื้อแดงต้องมีมันแทรกระหว่างกล้ามเนื้ออย่างเห็นได้ชัด

          

่จัดทำโดย : นางสาวรวีวรรณ  คำเมืองไหว