9.1 โครงการรางวัลบัณณาสสมโภช

โครงการรางวัลบัณณาสสมโภช

Princess Jubilee Award

โครงการรางวัลบัณณาสสมโภช (Princess Jubilee Award) เป็นโครงการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีเด่นโดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีั เพื่อนำร่องการปฎิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา

โรงเรียนดาราวิทยาลัย ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช

- ระยะที่1 พ.ศ. 2544-2549 จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาคารชัยพัฒนา พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2549

เป็น 1 ใน 25 โรงเรียนทั่วประเทศ

- ระยะที่2 พ.ศ. 2553 จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

เป็น 1 ใน 33 โรงเรียนทั่วประเทศ และเป็นโรงเรียนเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับรางวัลนี้

โรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ระยะที่2

1 ดาราวิทยาลัย

18 ศึกษาสงเคราะห์อำนาจเจริญ

ที่มาของโครงการฯ

ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับพัฒนาการอันมั่นคงและยั่งยืนในทุกมิติของ ประเทศ การสร้างความสามารถดังกล่าวจะต้องเริ่มต้นวางรากฐานตั้งแต่ระดับเยาวชนในโรงเรียนและดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเยาวชน เหล่านี้เติบโตถึงวัยที่จะประกอบอาชีพบนความคาดหวังว่าจะปลูกฝังเยาวชนเหล่านี้ให้เห็นความสำคัญและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เพียงพอที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างเท่าทันกับความก้าวหน้าทาง วิทยาการ สามารถเลือกดำเนินชีวิตได้อย่างมีเหตุผลด้วยกระบวนการคิดและตัดสินใจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งในที่สุดแล้วจะส่งผลให้ เกิดคนรุ่นใหม่ที่จะมีศักยภาพ ในการนำพาประชาชาติไทยให้ก้าวสู่อนาคตพร้อมกับประชาคมโลกได้อย่างสมสมัยและมีศักดิ์ศรี

เพื่อที่จะไปสู่จุดมุ่งหมายนั้นจะต้องมีการดำเนินการเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนสนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนการใช้ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้คิดเป็น ทำเป็นและสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาเพราะทักษะกระบวนการดังกล่าวจะช่วย บ่มเพาะให้เยาวชนเป็นคนมีเหตุมีผล รู้จักการค้นคว้า รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ทันสมัย และทันท่วงที เพื่อนำมา ประยุกต์ใช้ในการแสวงหาทางเลือก ตัดสินใจ หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

การสร้างความสามารถทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มิได้อยู่เพียงการเรียนการสอนในห้องเรียนเท่านั้นแต่ยัง หมายรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ที่เพียงพอและเหมาะสม โรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมกิจกรรม ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยวางรากฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีให้แก่เยาวชน การส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าวของโรงเรียนควรทำอย่างต่อเนื่องและในทุกระดับของการศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนมากที่สุด และยังเป็นการเสริมสร้างคุณภาพให้กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ยิ่งๆ ขึ้นไป นอกจากนั้น ปัจจัยสำคัญอีกด้านของสัมฤทธิผลใน การส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ก็คือการเพิ่มขีดความสามารถของครู ผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของตัวครูเองเพื่อให้ เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าว รวมทั้งกระตุ้นให้ครูพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทั้งสอดคล้อง เหมาะสมกับท้องถิ่นและภูมิภาค ในขณะเดียวกันก็มีความทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการที่มีความเคลื่อนไหว ตลอดเวลา โดยวิธีให้ทั้งนักเรียนและครูได้ปฏิบัติการและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียน สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการสืบค้นและจากการค้นคว้าทดลองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

จากแนวคิดดังกล่าวทั้งหมดนี้ทำให้เกิด “โครงการรางวัลบัณณาสสมโภชซึ่งจะเน้นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในทุกระดับของแต่ละสถานศึกษาที่เข้าร่วมในโครงการ โดยใช้วิธีการ Whole School Approach เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของทั้งครูและ นักเรียนในสถานศึกษานั้นๆ โดยอาศัยกิจกรรมเป็น สื่อกลางให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาจากระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และขยายผลเป็นระดับ ประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์

- ปลูกฝังจิตสำนึกและส่งเสริมเยาวชนให้มีความรักและสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างลักษณะนิสัยให้นักเรียนมีความสนใจ รู้จักคิดอย่างมีเหตุมีผล รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต

- ปลูกฝังลักษณะนิสัยให้นักเรียนรักการศึกษา ค้นคว้า มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการคิดวิเคราะห์และใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาของตนเองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

-ส่งเสริมการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของนักเรียนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ มีทัศนคติ กระบวนการคิดและการทำงานเชิงวิทยาศาสตร์

- เพิ่มขีดความสามารถของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้สามารถสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของตนเองจากการสอนแบบนี้

- เพื่อเตรียมทรัพยากรบุคคลของประเทศตั้งแต่วัยเยาว์ให้มีความสนใจและมีความรู้ความเข้าใจและความคิดในด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีอย่างแท้จริง

- เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนากิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและภูมิภาค

2 จิตรลดา

3 ชลบุรี"สุขบท"

4 ชัยนาทพิทยาคม

5 ดาราพิทยาคม

6 จุลสมัย

7 ปราโมชวิทยารามอินทรา

8 ปิยชาติพัฒนาในพระราชูปถัมภ์ ฯ

9 พิชญศึกษา

10 พิชัยรัตนาคาร

11 มหิดลวิทยานุสรณ์

12 มัธยมพระราชทานนายาว

13 มัธยมวัดหนองแขม

14 แม่จันวิทยาคม

15 รวมศูนย์วัดห้วยแก้ว

16 ราชประชานุเคราะห์ 27

17 ศรัทธาศิลาเพชรรังสรรค์

19 สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

20 อุดมศึกษา

21 จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

22 จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

23 เทศบาลศรีพนมมาศพิทยากร

24 บ้านห้วยฟอง

25 เบญจมราชรังสฤษฎิ์

26 ไผทอุดมศึกษา

27 มกุฎเมืองราชวิทยาลัย

28 มุกดาหาร

29 ราชประชานุเคราะห์ 30

30 ศึกษาสงเคราะห์เลย

31 สมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต

32 สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

33 สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โรงเรียนดาราวิทยาลัย

โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกุล

โรงเรียนนครสวรรค์

โรงเรียนจิตรลดา

โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์

โรงเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)

โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา

โรงเรียนไผทอุดมศึกษา

โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม

โรงเรียนศึกษานารี

โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายประถม)

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โรงเรียนอนุบาลจันทร์เจ้า

โรงเรียนอุดมศึกษา

โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ขอนแก่น

โรงเรียนศรียานุสรณ์

โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์

โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว

โรงเรียนชลบุรี"สุขบท"

โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ

โรงเรียนภูเขียว

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

โรงเรียนแม่จันวิทยาคม

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

โรงเรียนแม่โป่งประชาสามัคคี

โรงเรียนวัดห้วยแก้ว(รวมศูนย์วัดห้วยแก้ว)

โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

โรงเรียนพิชญศึกษา

โรงเรียนบ้านสบมาง

โรงเรียนบ้านห้วยฟอง

โรงเรียนศรัทธาศิลาเพชรรังสรรค์

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

โรงเรียนสารคามพิทยาคม

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี

โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร

โรงเรียนมกุฏเมืองราชวิทยาลัย

โรงเรียนบรรจงรัตน์

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เลย

โรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม

โรงเรียนจุลสมัย

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล

โรงเรียนศรัทธาสมุทร

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 27

โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์อำนาจเจริญ

โรงเรียนดาราพิทยาคม

โรงเรียนเทศบาลศรีพนมมาศพิทยากร

โรงเรียนศรีธวัชวิทยาลัย

โรงเรียนห้วยยางศึกษา

โรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ

โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์