วิดีทัศน์แอปเงินกู้(4)

สื่อการเรียนรู้ "เตือนภัย กู้เงินออนไลน์"
หน่วยงาน -
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

กรมสอบสวนคดีพิเศษได้จัดทำแอปพลิเคชัน ชื่อว่าแอป 'รู้ทัน'เป็นเรื่องของแอปแจ้งเตือนภัยไซเบอร์ เรื่องที่มีประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนมากที่สุดคือเรื่องการกู้ยืมเงินออนไลน์

Q : ช่องทางการกู้เงินออนไลน์ในปัจจุบันมีให้เห็นหลายรูปแบบซึ่งรูปแบบที่เห็นมาก คือการกู้เงินผ่านแอปพลิเคชัน ?

A : แอปเงินกู้ต่าง ๆ ประชาชนก็จะต้องไปดาวน์โหลดแอปพลิเคชันกรอกข้อมูลส่วนตัว แล้วก็ยินยอมให้เขาเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือแอปเงินกู้ต่าง ๆ ตรงนี้เขาจะมีการตรวจพิสูจน์ตัวตนของคนกู้ด้วยถ้าเขาสงสัยเขาอาจจะมีการซักถามประวัติข้อมูล ก่อนที่จะให้เงินกู้การให้เงินกู้เขาก็โอนเงินผ่านธนาคารให้กับลูกหนี้ก็เรียนว่า แอปตรงนี้ ให้กู้จริง

Q : การกู้เงินผ่านแอปถึงจะได้เงินจริง แต่เราต้องเสียสิ่งที่สำคัญ นั่นก็คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ?

A : แอปเงินกู้ต่าง ๆ เข้าจะให้กดยอมรับให้เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในโทรศัพท์ข้อมูลส่วนบุคคลตัวนี้ เป็นข้อมูลสำคัญที่กลุ่มเจ้าหนี้จะเอาไปใช้ ไปทำประโยชน์อย่างอื่น เช่น การทวงถามหนี้กับบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้เองการดึงข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ไฟล์วิดีโอต่าง ๆ เอาไปใช้ประโยชน์ในการที่จะทวงถามหนี้หรือเอาไปข่มขู่ประจานบางรายจะมีรูปลูก มิจฉาชีพกลุ่มนี้ก็จะดึงรูปลูกออกมาแล้วก็บอกว่าให้ระวังนะ จะไม่ปลอดภัย

Q : ดอกเบี้ยของการกู้เงินผ่านแอปยังมากกว่าปกติด้วย ?

A : การกู้ยืมเงิน สมมติกู้ 2,000 บาท จะได้เงินประมาณพันกว่าบาท ส่วนที่เขาหักไว้ถ้าคิดเป็นดอกเบี้ยแล้วจำนวนมหาศาลซึ่งตามกฎหมายดอกเบี้ยคิดได้ร้อยละ 15 ต่อปีแต่ว่าถ้าเป็นแอปเงินกู้ เขาหักส่วนต่างตรงนี้ไปคิดแล้วประมาณ ร้อยละ 900 กว่า ต่อปี

Q : การให้กู้ในลักษณะนี้ยังผิดกฎหมายด้วย ?

A : การให้กู้ยืมเงินในลักษณะนี้จะผิดกฎหมาย 2 เรื่องเรื่องแรกเลย เรื่องอัตราดอกเบี้ยซึ่งกฎการกู้ยืมเงิน การกู้ทั่วไปร้อยละ 15 ต่อปี เรื่องที่ 2.ในเรื่องของการปล่อยกู้ เขาไม่ได้รับอนุญาตให้กู้ยืมเงิน


Q : การติดตามดำเนินคดีกับแอปกู้เงินเหล่านี้ ยังอาจทำได้ยากด้วย ?

A : แอปพลิเคชันต้นกำเนิดมันอยู่ที่ต่างประเทศ มันอยู่ที่ไหนก็ได้ เพราะฉะนั้น มันเหมือนเป็นเครื่องมือ เครื่องมือหนึ่ง ที่มันอยู่บนอากาศ แอปพลิเคชันให้กู้ยืมเงินปัจจุบันมีพัฒนาไปหลายแอปพลิเคชันมาก เมื่อเราเข้าไปสืบสวนแอปใดแอปหนึ่ง เขาจะเปลี่ยนชื่อตอนนี้เราพบว่ามีประมาณ 40 กว่าแอปพลิเคชันเรื่องการให้กู้ยืมเงินแล้วอีกเรื่องที่เขาเปลี่ยนชื่อเพราะว่าอาจจะมีการพูดในโซเชียลว่าแอปเหล่านี้มันฉ้อโกงคน ชื่อเสียงไม่ดี เขาก็พยายามที่ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นชื่ออื่น ๆ

Q : นอกจาก การกู้เงินผ่านแอปแล้ว ยังมีการหลอกให้กู้เงินออนไลน์ในรูปแบบอื่นด้วย ?

A : กลุ่มมิจฉาชีพใช้วิธีการหลอกล่อให้ประชาชนสนใจที่จะกู้ยืมเงินอย่างเช่น อาจจะมีการโฆษณาว่าอนุมัติเร็วภายใน 1 ชั่วโมงให้กู้ยืมเงินด่วน ซึ่งจะมีการโฆษณาเยอะแยะมากมายถ้าดูในโซเชียลในปัจจุบัน

Q : กู้เงินแบบนี้นอกจากจะไม่ได้เงินแล้ว ที่สำคัญคือถ้าหลงเชื่อยังเสียเงินด้วย ?

A : เขามีข้อแม้ว่าถ้ากู้ยืมเงินแต่ว่าต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าดำเนินการก่อนคนที่หลงเชื่อเมื่อโอนเงินไปแล้ว พวกเว็บไซต์พวกนี้ก็ปิดหนี ติดตามตัวไม่ได้ มีข้อสังเกตว่า ถ้าแอปให้กู้ยืมเงินจริง ๆ เขาจะให้กู้ยืมเงินจำนวนไม่มาก พัน สองพัน สามพัน เป็นต้นแต่ถ้ามีการหลอกลวงว่าให้กู้ยืมเงินแล้วให้โอนค่าธรรมเนียมก่อนเขาจะให้กู้ในจำนวนที่สูงเพื่อจะได้เรียกค่าธรรมเนียมในจำนวนที่สูงด้วย

Q : ดังนั้นทางที่ดีคือการไม่กู้เงินผ่านช่องทางออนไลน์แบบไม่มีที่มาที่ไปและไม่น่าเชื่อถือ ?

A : ถ้าแนะนำก็คือการไม่กู้ดีที่สุด ผมเคยแนะนำเรื่องคนที่เป็นหนี้นอกระบบการติดต่อสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อกู้ยืมเงินจะดีกว่าสถาบันการเงินเหล่านี้ เข้าจะถูกควบคุมโดยรัฐเพราะฉะนั้น การกระทำที่ผิดกฎหมายจะไม่มี

หากได้รับผลกระทบหรือมีเบาะแสเกี่ยวกับการกู้เงินออนไลน์ สามารถแจ้งได้ผ่านช่องทางของกรมสอบสวนคดีพิเศษใครที่กู้ยืมเงินแล้ว แล้วได้รับผลกระทบจากการทวงถามหนี้ก็แล้วแต่หรือการข่มขู่ในรูปแบบต่าง ๆสามารถแจ้งเบาะแสมาได้ที่แอปพลิเคชัน 'รู้ทัน'ของกรมสอบสวนคดีพิเศษคนที่เห็นเหตุการณ์หรือคนที่อาจจะมีญาติพี่น้องถูกละเมิดก็สามารถที่จะแจ้งได้