จุดประสงค์ (เมื่อเรียนจบ นักเรียนสามารถ)
รู้จักและใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เลือกใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง
5.1 องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์กอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ผู้ส่ง ผู้รับ ข้อมูลข่าวสาร ตัวกลาง และข้อตกลงร่วมกัน (protocol) ในการสื่อสาร เช่น การพูดคุยสื่อสารกันระหว่างนักเรียนและครูในชีวิตประจำวัน ผู้ส่งคือครู ผู้รับคือนักเรียน ข้อมูลข่าวสารคือสิ่งที่ครูพูด ตัวกลางคืออากาศ กระดานดำ หรือไวต์บอร์ด สำหรับข้อตกลงร่วมกัน คือภาษาที่ใช้
มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น การสื่อสารระหว่างคนในครอบครัว เพื่อน คนในสังคม ในอดีตมีการใช้ภาษามือแสดงท่าทาง ต่อมามีการใช้ภาษาพูด มีการวาดภาพเพื่อถ่ายทอด ในกรณีที่ติดต่อกันทางไกล เช่น ชนเผ่าอินเดียนแดงใช้สัญญาณควันไฟ การเคาะไม้หรือตีกลอง ของชนเผ่าในแอฟริกา การสื่อสารแบบนี้มีข้อตกลงในรูปแบบควันไฟหรือจังหวะเสียงเคาะ เพื่อให้เข้าใจตรงกัน เมื่อเทคโนโลยีด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนา ปัจจุบันมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้สะดวก รวดเร็ว เช่น การใช้สมาร์ตโฟน อินเทอร์เน็ต
5.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันผ่านตัวกลางในการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (resource sharing) การประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถทำได้หลายรูปแบบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การใข้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน
การแบ่งปันอุปกรณ์ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์
การติดต่อสื่อสาร เช่น อีเมล เว็บบอร์ด Line
การแบ่งปันแหล่งข้อมูลและความรู้ เช่น เว็บไซต์
5.2.1 ชนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์
แบ่งตามลักษณะการบริหารเครือข่าย
เครือข่ายส่วนบุคคลหรือแพน (Personal Area Network:PAN) เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานส่วนบุคคลแบบไร้สาย สามารถใช้งานได้ในระยะประมาณ 10 เมตร เช่น บลูทูธ (bluetooth technology) อินฟราเรด (infrared technology)
เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลน (Local Area Network:LAN) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน หรือพื้นที่ของหน่วยงานเดียวกัน แลนจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายที่หน่วยงานสามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง เช่น ระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน ทั้งแบบใช้สาย (LAN) และไร้สาย (Wireless LAN: WLAN) โดยใช้เทคโนโลยีไวไฟ (Wi-Fi technology)
เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะไกล เช่น ระหว่างจังหวัด ประเทศ หรือทวีป
แบ่งตามลักษระของการให้บริการ
เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ (Client-server network) เป็นเครือข่ายที่มีเครื่องบริการ (server) ที่รองรับการขอใช้บริการจากเครื่องรับบริการ (Client)
เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer-to-Peer network: P2P network) เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและให้บริการในขณะเดียวกัน
5.2.2 ตัวกลาง
ตัวกลางของการสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลจากต้นทาง (ผุ้ส่ง) ไปยังปลายทาง (ผู้รับ) ตัวกลางในการสื่อสารมีทั้งแบบมีสายและไร้สาย ดังนี้
สายคู่บิดเกลียว
(Unshielded Twisted Pairs:UTP)
สายใยแก้วนำแสง
(fiber optic cable)
สายยูเอสบี
(Universal Serial Bus: USB)
แบบไร้สาย (wireless media)
เช่น บลูทูธ ไวไฟ
5.2.3 อุปกรณ์เครือข่าย
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มีหลายแบบตามลักษณะของการใช้งาน เช่น การเชื่อมต่อแลนและแวน โดยอาจเป็นการเชื่อมต่อผ่านสายนำสัญญาณหรือเชื่อมต่อแบบไร้สาย ซึ่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สนับสนุนการเชื่อมต่อแต่ละแบบ
สวิตช์ (switch) ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล โดยรับเข้าข้อมูลจากเครื่องต้นทางออกไปยังเครื่องปลายทางได้หลายเครื่อง
ไวร์เลสเราเตอร์ (wireless router ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ เราเตอร์ และแอคเซสพอยต์ในเครื่องเดียวกัน
5.3 อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อมต่อเครือขายย่อยจำนวนมากจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน การเชื่อมต่อทำได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านสายโทรศัพท์ ระบบเส้นใยแก้วนำแสง ระบบเอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line: ADSL) ระบบดาวเทียม ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
องค์ประกอบที่สำคัญในการใช้ระบบอินเทอร์เน็ต
เลขที่อยู่ไอพี (Internet Protocol address: IP address) ทำหน้าที่เสมือนเลขที่ป้ายทะเบียนกำกับอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้แต่ละอุปกรณ์สื่อสารกันได้ เช่น เครื่องให้บริการ สสวท. มีเลขไอพีเป็น 202.168.1.192
ชื่อโดเมน (domain name) เป็นชื่อที่ใช้ระบุตัวตนของเครื่อง แทนการใช้เลขไอพี ซึ่งยากต่อการจดจำ โดยจดทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่จัดการโดเมน โดเมนประกอบด้วยหลายส่วน แต่ละส่วนจะคั่นด้วยจุด (.) และมีความหมายเฉพาะ เช่น www.tkl.ac.th มีความหมาย ดังนี้
tkl หมายถึง โดเมนระดับที่สาม ชื่อหน่วยงาน : โรงเรียนทุ่งกุลาพิทยาคม
ac หมายถึง โดเมนระดับที่สอง ประเภทหน่วยงาน : สถาบันการศึกษา
th โดเมนระดับบนสุด ประเทศ : ไทย (cn ประเทศจีน in ประเทศอินเดีย) นอกจากนี้ยังมีโดเมนระดับบนสุดในลักษณะหน่วยงาน ดังภาพ
โดเมนระดับบนสุด
โดเมนระดับที่สอง ที่ใช้ในประเทศไทย
5.4 บริการบนอินเทอร์เน็ต
เครื่องบริการแต่ละเครื่องจะให้บริการที่แตกต่างกัน อินเทอร์เน็ตช่วยให้ผุ้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทำได้ทุกที่ทุกเวลา เปรียบเสมือนการสื่อสารไร้พรมแดน ตัวอย่างการให้บริการบนอินเทอร์เน็ต
อีเมล เป็นบริการส่งข้อความ ไฟล์ชนิดต่าง ๆ ผ่านเครื่องให้บริการต้นทางไปยังกล่องจดหมาย (mailbox) ของผู้รับปลายทาง โดยปัจจุบันสามารถทำได้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) โดยมีบัญชีผู้ใช้อีเมล์ เช่น Gmail (ตัวอย่างบัญชี Gmail: harnsamer@gmail.com)
2. บริการค้นหาข้อมูล โดยใช้โปรแกรมค้นหาหรือเสิร์ชเอนจิน (search engine) ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล เช่น google.com, bing.com, yahoo.com ปัจจุบันสามารถค้นหาได้จากรูปภาพ หรือวิดีทัศน์ ได้
3. บริการส่งข้อความทันที (instant messaging: IM) หรือ แชท (chat) ปัจจุบันสามารถสนทนาได้เป็นกลุ่ม และยังสามารถส่งไฟล์ภาพ เสียง วิดีทัศน์ และสนทนาได้ด้วยเวลาจริง สามารถใช้กล้องได้ เช่น LINE, messenger, whatsApp
4. อีคอมเมิร์ช (electronic commerce: e-commerce) หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการในการทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถชำระค่าสินค้าและบริการได้ เช่น www.amazon.com, www.ebay.com, www.lazada.co.th, www.shopee.co.th เป็นต้น
5.5 คลาวด์คอมพิวติง
คลาวด์คอมพิวติง (cloud computer) เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีระบบติดตั้งอยู่ที่ไหน มีขนาดเท่าไร และไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ในเครื่องผู้ใช้ ให้บริการ เช่น พื้นที่จัดเก็บข้อมูล การทำงานร่วมกัน ตัวอย่างบริการบนคลาวด์
บริการเก็บไฟล์ข้อมูลเป็นบริการที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากมีทั้งแบบให้บริการฟรี แบบที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งแบบที่ให้บริการฟรีบางส่วนและเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น Googel Drive, OneDrive, iCloud
2. บริการใช้งานโปรแกรมเป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมในเครื่องผุ้ใช้ หรือติดตั้งเพียงบางส่วน ซึ่งช่วยประหยัดทรัพยากรและพื้นที่จัดเก็บได้มาก เช่น Google Maps, Google Photos, Microsoft Office 365
เมล์หาครู จากเมล์ส่วนตัวหรือเมล์องค์กรก็ได้ โดยส่งมาที่ >>samruang.har@tkl.ac.th
นักเรียนใช้ Google Photo อัพโหลดรูป แล้วแท็กครู หรือ นักเรียนใช้ Google Drive สร้างโฟลเดอร์เก็บรูป แล้วแชร์มาให้ครู