คดียักยอกทรัพย์รถยนต์

ในข้อหายักยอกทรัพย์รถยนต์ เป็นคดีเกี่ยวกับยักยอกทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานความผิดยักยอกทรัพย์ มาตรา 352  ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ตามปกติแล้วเมื่อท่านทำการเช่าซื้อรถยนต์ ขณะที่ท่านผ่อนชำระค่าเช่าซื้ออยู่ ท่านเป็นเพียงผู้ครอบครองรถยนต์คันนั้นเท่านั้น ส่วนเจ้าของธุรกิจนั้นคือบริษัทลิสซิ่งหรือไฟแนนซ์ (ลองดูในสำเนารถ ที่บริษัทไฟแนนซ์ส่งมาให้ ท่านจะทราบ)

ต่อมาเมื่อท่านไม่มีเงินผ่อนชำระค่างวด หรือขาดผ่อนเป็นเวลา 2 หรือ 3 งวดขึ้นไปทางบริษัทไฟแนนซ์ก็จะทำการทวงถามให้ท่านชำระค่างวดรถยนต์ ที่ค้างชำระนั้นในทันที

แต่ท่านไม่มีเงินชำระค่างวดรถยนต์ที่ค้างชำระ ดังนั้นบริษัทไฟแนนซ์ลีสซิ่ง จึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล โดยฟ้องท่านเป็นจำเลย ขอให้ท่านชำระค่างวดรถยนต์ที่คงค้าง และให้คืนรถยนต์นั้นได้ด้วย เป็นการฟ้องในคดีแพ่ง

แต่ถ้าท่านไม่มีตัวรถยนต์ มาคืนกับบริษัทลิสซิ่งหรือไฟแนนซ์ ท่านอาจถูกตั้งข้อหายักยอกทรัพย์รถยนต์ เพราะว่ารถยนต์นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทลิสซิ่งหรือไฟแนนซ์ ส่วนท่านเป็นเพียงผู้ครอบครอง ปัญหาเกิดแน่นอน (จะต้องดูจากเจตนาของท่านด้วย) ส่วนมากข้อหายักยอกทรัพย์รถยนต์ มักจะเป็นในกรณีนี้

บางคนนำรถยนต์ที่ยังผ่อนไฟแนนซ์ไม่หมด เอาไปจำนำแล้วปล่อยขาดไปเลย อย่างนี้ล่ะปัญหาเกิดแน่

หรือในอีกบางกรณี ท่านเช่ารถยนต์ จากบริษัทให้เช่ารถยนต์มาขับ เช่นเป็นรายเดือน ถึงเวลาท่านก็จ่ายค่าเช่ารายเดือนไป เมื่อครบกำหนดต้องตืนรถ ท่านไม่ยอมนำรถยนต์นี้ไปคืนให้บริษัทผู้ให้เช่ารถยนต์ ดังนั้นท่านจะมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์รถยนต์ เพราะขณะที่ท่านเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป(รถยนต์) ทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของท่าน โดยท่านมีเจตนาทุจริต กรณีนี้ก็มีให้เห็นเยอะ มักเกิดกับบริษัทให้เช่ารถยนต์ รายวัน รายเดือน

ยักยอกทรัพย์ รถยนต์ มีโทษยังไง

ดูตามประมวลกฎหมายอาญาข้างต้น ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีและปรับไม่เกิน 6,000 บาท แล้วจะถามว่าจริงๆ ศาลท่านจะลงเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ดุลพินิจศาล เพราะว่าอันนี้เป็นกฎหมายเขียนไว้กว้างๆ เท่านั้น ส่วนการตัดสินเป็นดุลพินิจของศาลอันไม่อาจก้าวล่วง แต่ศาลท่านก็จะพิพากษาอยู่ภายในกรอบกฎหมาย ที่เขียนไว้


ถามกฎหมาย ฟรี เบื้องต้น
ไลน์ปรึกษาทนาย 

ยังไงไม่เป็นยักยอกทรัพย์

ถ้าท่านไม่มีเจตนาทุจริต ก็ไม่เข้าข้อหายักยอกทรัพย์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการพิสูจน์เจตนาทุจริตหรือไม่ทุจริต หรือไม่ก็ต้องพิสูจน์กันในชั้นศาล ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบางเหตุการณ์มันก้ำกึ่ง จะต้องมีพยานหลักฐาน และพิสูจน์กันดีๆ ในชั้นศาล เรื่องเจตนาทุจริตเป็นสิ่งสำคัญมากในคดีอาญา


ข้อหายักยอกทรัพย์ ยอมความได้ อายุความกี่ปี

คดียักยอกทรัพย์เป็นข้อหาอาญาอันยอมความได้ ต้องแจ้งความหรือฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่อง หรือรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นแล้วคดีจะขาดอายุความ (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 ภายใต้มาตรา 95) เมื่อฟ้องคดีผู้นั้นไปต่อศาล ในคดีอาญานั้นถ้าคดีขาดอายุความ ศาลจะมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย (ปัญหาอายุความในคดีอาญา เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลสามารถยกขึ้นเองได้) ซึ่งถ้าคดีขาดอายุความ ฟ้องคดีไปก็เสียเวลาเปล่า โดยเฉพาะคดีอาญา

>>>  จ้างทนาย คดีแพ่ง 

ทางออก ยักยอกทรัพย์

ถ้ากระทำความผิดในข้อหา ยักยอกทรัพย์รถยนต์สำเร็จแล้ว ทางแก้คือพยายามพูดคุยกับโจทก์ หรือผู้เสียหาย เพื่อบรรเทาความเสียหาย จนเป็นที่พอใจแก่โจทก์ การเจรจาพูดคุยจึงเป็นทางออกทางแก้ไขปัญหา ที่สามารถ ดำเนินการได้แต่ จำเลยหรือผู้ต้องหาก็ต้องมีความจริงใจจริงๆ ในการบรรเทาความเสียหายให้โจทก์ไม่ใช่สักแต่ว่าคุยหรือรับปากไปวันๆอย่างนั้นจะทำให้มีแต่ความ ขัดข้องใจมากยิ่งขึ้น


สอบถามประกัน
ยักยอกทรัพย์ วงเงินประกันตัว 

การยักยอกทรัพย์ระหว่างสามีภรรยา

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 71 ในความผิดยักยอกทรัพย์ ถ้าเป็นการกระทำที่สามีกระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ

ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของกฎหมาย