หลักเกณฑ์ในการฟ้องคดีเช่าซื้อรถยนต์

เมื่อผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ จะถูกฟ้องคดี มันก็ต้องมีกติกาหลักเกณฑ์ด้วย คือสำหรับผู้ที่ผิดสัญญาเช่าซื้อ ไม่ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ 3 งวดติดต่อกันขึ้นไป ก็จะถูกบริษัทไฟแนนซ์ทำการยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาล ซึ่งคดีนี้จะเป็นคดีผู้บริโภค ฟ้อง ณ ศาลที่เป็นเขตภูมิลำเนาของจำเลย

รถโดนยึดขายทอดตลาดได้ น้อยกว่ามูลหนี้ ต้องจ่ายค่าขาดราคาหรือไม่

การที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในค่าส่วนต่างรถยนต์หรือไม่ ถ้าการคืนรถหลังจากผิดสัญญาเช่าซื้อแล้ว เช่นหลังจากผิดนัดเกิน 3 งวดไปแล้ว สัญญาเช่าซื้อเป็นอันสิ้นสุดลง อีกฝ่ายบอกเลิกสัญญาถูกต้อง เมื่อไฟแนนซ์ขายรถยนต์ได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ที่ค้าง จึงต้องมีการเรียกค่าส่วนต่างรถยนต์ต่อไป  กรณีนี้เราต้องชำระค่าราคาส่วนต่าง


แต่หากเป็นการเลิกสัญญาโดยถูกต้อง โดยที่เราไม่ได้ผิดสัญญา ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง หมายความว่าเรายังไม่ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แล้วมีการคืนรถเกิดขึ้น (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูรายละเอียดในสัญญาด้วยว่าเขียนว่าอย่างไรบ้าง หากไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือไม่ขัดต่อกฎหมายอื่นมันก็ใช้ได้)

คดีเช่าซื้อรถยนต์ อายุความกี่ปี

คดีเช่าซื้อรถยนต์มีอายุความแยกได้เป็นหลายเรื่อง จะต้องดูว่าเขาเรียกอะไรมา ดังรายละเอียดต่อไปนี้คือ 

ถ้าเป็นการเรียกฟ้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจะมีอายุความเพียง 2 ปี 

แต่สำหรับเรื่องค่าขาดประโยชน์ก่อนที่สัญญาเช่าซื้อจะสิ้นสุดลงนั้นมีอายุความ 6 เดือนแต่ถ้าหลังสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงหรือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วจะกลายเป็นอายุความ 10 ปี 

ฟ้องเรียกค่าขายรถแล้วไม่พอชำระหนี้ ค่าเช่าซื้อที่เราเป็นหนี้อยู่ จะมีอายุความ 10 ปี 

และเรื่องสุดท้ายกรณีถ้าเขาเรียกติดตามเอารถคืนซึ่งบริษัทไฟแนนซ์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์จะสามารถติดตามได้ตลอดตามประมวลแพ่งกฎหมายและพาณิชย์ 1336 ไม่มีอายุความ