เรื่องที่ 9 กฎหมายอื่น ๆ 


9.1 กฎหมายประกันสังคม 

กฎหมายประกันสังคม เป็นกฎหมายที่ให้หลักประกันแก่บุคคลในสังคมที่มีปัญหา หรือความเดือดร้อนทางด้านการเงิน เนื่องจากการประสบเคราะห์ หรือมีเหตุการณ์อัน ทําให้เกิดปัญหา 

ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคม 

ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้กําหนดให้ สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป และนายจ้างของสถานประกอบกิจการนั้น ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายดังกล่าว 

ลูกจ้างซึ่งมีฐานะเป็นผู้ประกันตนก็คือ บุคคลที่สมัครเข้าทํางานในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป โดยกฎหมายประกันสังคมบังคับให้ ลูกจ้างดังกล่าวต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งนายจ้างจะเป็นผู้หักเงินค่าจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างและนําส่งเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นเงินสมทบสวนของลูกจ้าง 

*ปัจจุบันกฎหมายเปิดให้ใช้ได้ตั้งแต่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไปแล้วแต่เจ้าของและลูกจ้างสมัครใจ 

ประโยชน์ทดแทน

ประโยชน์ทดแทน หมายถึง ความช่วยเหลือที่ให้แก่ผู้ประกันตนหรือ ผู้ที่มีสิทธิเมื่อผู้ประกันตนประสบเคราะห์ภัยหรือเดือดร้อน และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนดแล้ว ซึ่งรูปแบบของประโยชน์ทดแทนมี 4 รูปแบบ คือ บริการทางการแพทย์ เงินทดแทนการขาดรายได้ ค่าทําศพ เงินสงเคราะห์ 

9.2 กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด 

กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดที่บังคับใช้ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 

ความหมายของยาเสพติด 

ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใดแล้วก็ตาม ทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ เช่น ต้องการเสพในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เลิกเสพยาก สุขภาพทั่วไปจะทรุดโทรมและบางรายถึงแก่ชีวิต 

ประเภทของยาเสพติด 

ยาเสพติดให้โทษ แบ่งได้ 5 ประเภท คือ 

ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน 

ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคเคนป่น 

ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตํารับยาและยาเสพติดให้โทษ ประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ ประเภท 2 เช่น     อาเซติกแอนไฮโดรดอาเซติลคลอไรด์

ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง ประเภท 4 เชน กัญชา พืชกระท่อม 

ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่ผิดกฎหมาย 

ยาเสพติดประเภท 1 มีความผิด ดังนี้ 

- ฐานผลิต นําเข้า ส่งออกเพื่อการจําหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต 

- ฐานจําหนายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการจําหน่ายเป็นสารบริสุทธิ์ ไม่เกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจําคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000 - 500,000 บาท ถ้าเกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต 

- ถ้ามีไว้ในครอบครองไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1 – 10 ปี และปรับ 10,000 - 100,000 บาท 

- ถ้ามีไว้เสพต้องระวางโทษจําคุก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต 5,000 - 100,000 บาท 

ยาเสพติดประเภท 2 มีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท 

ยาเสพติดประเภท 3 มีลักษณะเป็นตํารับยา จึงอาจมีการขออนุญาตผลิต จําหน่าย หรือนําเข้า หรือส่งออกได้ 

ยาเสพติดประเภท 4 และ 5 นั้น อาจผลิต จําหน่าย นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองได้โดยรัฐมนตรีเป็นผู้อนุญาต โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ เป็นราย ๆ ไป 

ห้ามเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 โดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะต้องระวาง โทษจําคุก ไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 

9.3 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานของประเทศ ไทยปัจจุบันนี้คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งถือได้ว่า เป็นแม่บทในการคุ้มครองแรงงาน บุคคลที่ได้รับการคุ้มครอง จากกฎหมายฉบับนี้ คือ “ลูกจ้าง” ซึ่งหมายความถึงผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง สาระสําคัญของ พระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน ประกอบด้วย

1. การคุ้มครองกําหนดเวลาในการทํางาน 

2. สิทธิของลูกจ้างในการพักผ่อนระหว่างทํางาน 

3. สิทธิของลูกจ้างในการมีวันหยุด 

4. สิทธิการลาของลูกจ้าง 

5. สิทธิได้รับเงินทดแทนการคุ้มครองการใช้แรงงานหญิง 

6. การคุ้มครองการใช้แรงงานเด็ก 

9.4 กฎหมายว่าด้วยสิทธิเด็กและสตรี 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กําหนดให้เด็ก หมายถึง บุคคล ซึ่งมีอายุต่ํากว่า 18 ปีบริบูรณ์ ไม่รวมผู้ที่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส 

สิทธิเด็ก หมายถึง สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของเด็ก ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เช่น สิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี สิทธิในการได้รับการคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงของผู้ใหญ่ เป็นต้น 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็ก 

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การพิทักษ์ คุ้มครอง เด็กทั้งเด็กปกติ เด็กพิการ ทุพพลภาพ และเด็กด้อยโอกาส 

2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กําหนดให้รัฐจัดการศึกษา ให้เด็ก มีสิทธิ เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี 

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 กําหนดให้เด็กต้องเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี 

4. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กฎหมายที่คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติที่ดีงามของเด็ก 

5. กฎหมายแรงงาน มีข้อกําหนดห้ามใช้แรงงานเด็ก 

6. ประมวลกฎหมายอาญา กําหนดบทลงโทษหนักแก่ผู้ที่ละเมิดสิทธิเด็ก 

7. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียน กําหนดไม่ให้ครูลงโทษนักเรียนด้วยการเฆี่ยนตี ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก 

กฎหมายเกี่ยวกับความผิดของเด็กทางอาญา 

การกระทําผิดทางอาญา หมายถึง การกระทําใดๆ ที่กระทําลงไปแล้ว มีความผิดโทษทางอาญามี 5 สถาน ดังนี้ 

1. ริบทรัพย์สิน 

2. ปรับ 

3. กักขัง 

4. จําคุก 

5. ประหารชีวิต 

โทษการกระทําความผิดทางอาญาของเด็ก 

1. เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี กระทําผิดไม่ต้องรับโทษ 

2. เด็กอายุ 7-14 ปี กระทําผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลมีอํานาจว่ากล่าวตักเตือน 

3. เด็กอายุ 14 -17 ปี กระทําผิดถือว่ามีความผิด โดยกฎหมายให้สิทธิแก่ศาลที่จะพิจารณาลงโทษหรือไม่