เรื่องที่ 7 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว 


กฎหมายในชีวิตประจําวันที่เกี่ยวข้องกับตนเอง และครอบครัว ได้แก่ กฎหมายดังตอไปนี้ 

7.1 กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล 

พระราชบัญญัติชื่อบุคคลกําหนดไว้ว่า (มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล ส่วนชื่อรองมีหรือไม่มีก็ได้) 

7.1.1 การตั้งชื่อตัวต้องไม่ให้พ้องกับพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์และพระนามของ พระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคําหยาบคาย ชื่อตัวมีกี่พยางค์ก็ได้และมีความหมายดี การตั้งชื่อสกุลไม่เกิน 10 พยัญชนะ (ยกเว้นราชทินนามเก่า) 

7.1.2 ในเรื่องชื่อสกุล เดิมกฎหมายกําหนดให้หญิงที่มีสามีต้องเปลี่ยน ชื่อสกุลของตนมาใช้ชื่อ สกุลของสามี แต่ปัจจุบันกฎหมายได้มีการแก้ไขใหม่มีผลตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 ดังนี้ 

1) คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ตามที่ตกลงหรือ ต่างฝ่ายต่างใช้นามสกุลเติมของตนได้

2) เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่าหรือศาลมีคําพิพากษาให้ เพิกถอนการสมรส ให้ฝ่ายที่ใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน 

3) เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย ฝ่ายที่มีชีวิตอยู่ที่ใช้ชื่อสกุล ของอีกฝ่ายคงมีสิทธิใช้ได้ต่อไป แต่เมื่อจะสมรสใหม่ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน 

4) หญิงที่มีสามี ซึ่งใช้ชื่อสกุลสามีอยู่แล้ว ก่อนการเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้มีสิทธิใช้ต่อไป หรือจะมาใช้สิทธิกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนได้ 

7.2 กฎหมายทะเบียนราษฎร์

“กฎหมายทะเบียนราษฎร์" เกิดขึ้นมาเพื่อการจัดระเบียบคนในสังคมและการที่จะเป็นประชาชนไทยที่ถูกต้องไม่ใช่เพียงแค่ลืมตาดูโลกบนแผ่นดินไทยแล้วจะถือว่าเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ จําเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์อย่างเคร่งครัด ซึ่งกฎหมายทะเบียนราษฎร์พื้นฐานที่ควรตระหนักให้ความสําคัญ ได้แก่ การเกิด การตาย การย้ายที่อยู่และการทําบัตรประชาชน 

7.2.1 การแจ้งเกิด ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนที่อําเภอภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเกิด แล้วทางการจะออก “ใบสูติบัตร” ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงชาติกําเนิด วันเดือนปีเกิด การแจ้งเกิดนี้ไม่เสียค่าธรรมเนียมใด ๆ แต่ถ้าไม่แจ้งเกิด มีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

วิธีการแจ้งเกิด 

1) แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเด็กที่เกิด คือ ชื่อ นามสกุล เพศ สัญชาติของเด็กที่เกิด วันเดือนปีเกิด เวลาตกฟาก ตลอดจนวันข้างขึ้นข้างแรม สถานที่เกิด บ้านเลขที่ ถนน ตําบล เขต จังหวัด 

2) แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับมารดาของเด็กที่เกิด คือ ชื่อ นามสกุล และนามสกุลเดิมก่อนสมรส อายุ สัญชาติ ที่อยู่โดยละเอียด 

3) แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับบิดา คือ ชื่อ นามสกุล อายุ สัญชาติ 

4) หลักฐานที่จะต้องนําไปแสดงต่อนายทะเบียน 

- สําเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14) 

- บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวอื่น ๆ ของเจ้าบ้านและของคนแจ้ง หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.1/1) ซึ่งแพทย์หรือพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ อนามัย หรือผดุงครรภ์แล้วแต่กรณีออกให้(ถ้ามี) 

- บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวอื่น ๆ ของพ่อแม่เด็กที่เกิด 

7.2.2 การแจ้งตาย เมื่อมีคนตาย ผู้เกี่ยวข้องต้องไปแจ้งการตายเพื่อให้ได้ใบมรณะบัตร    ที่แสดงว่าคนนั้นตายแล้ว ภายใน 24 ชั่วโมง การแจ้งตายไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่ถ้าไม่แจ้งตายภายในเวลาที่กําหนดมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

วิธีการแจ้งตาย 

1) แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ตาย เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ สัญชาติ เพศ ของผู้ตาย เวลาที่ตาย ระบุวัน เดือนป เวลาโดยละเอียด สถานที่ตาย สาเหตุการตาย การ ดําเนินการกับศพของผูตาย (เก็บ ฝง เผา) ที่ไหน เมื่อไร ฯลฯ

2) หลักฐานที่จะต้องนําไปแสดงต่อนายทะเบียน 

- สําเนาทะเบียนบาน ฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14) 

- บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวอื่น ๆ ของเจ้าบ้าน 

- บัตรประจําตัวประชาชนของผู้ตาย 

7.2.3 การจดทะเบียนสมรส ชายหญิงที่จะจดทะเบียนสมรส ต้องไปให้ถ้อยคําและแสดงความยินยอมเป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนที่อําเภอ กิ่งอําเภอ เขต หรือ สถานทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศแห่งใดก็ได้โดยไม่จําเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ของท้องถิ่นนั้น หลักฐานที่จะต้องนําไปแสดงต่อนายทะเบียน 

- บัตรประชาชน 

- สําเนาทะเบียนบานของทั้งสองคน 

- กรณีที่ทั้งคู่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (17 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปี) ต้องให้บุคคลมี ผู้อํานาจให้ความยินยอม เช่น พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง เป็นต้น โดยอาจให้ผู้ยินยอม ลงลายมือชื่อในขณะจดทะเบียน หรือทําเป็นหนังสือยินยอมก็ได้

7.2.4 การจดทะเบียนหย่า การหย่าสําหรับคู่สมรสที่ได้จดทะเบียนสมรสแล้วไม่ว่ากรณีใดต้องไปจดทะเบียนหย่ากัน ที่สํานักทะเบียนจะไปจดที่อื่นไม่ได้ และต้องทําต่อหน้านายทะเบียนเท่านั้น การจดทะเบียนหย่าจะมีผลสมบูรณ์ ทําได้ 2 วิธี ดังนี้ 

1) การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย คือ การที่คู่สมรสไปจดทะเบียนหย่าด้วยตนเองที่สํานักทะเบียนแห่งใดก็ได้และจะต้องนําหลักฐานติดตัวไปด้วยดังต่อไปนี้ บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวข้าราชการของทั้งสองฝ่าย หลักฐานการจดทะเบียนสมรส เช่น ใบสําคัญการสมรส หรือสําเนาทะเบียนสมรส สําเนาทะเบียนบานฉบับเจ้าบ้านของทั้งสองฝ่าย หนังสือสัญญาหย่า 

2) การหย่าโดยคําพิพากษาของศาล หากคู่หย่าต้องการให้ นายทะเบียน บันทึกการหย่าไว้เป็นหลักฐาน จะต้องยื่นสําเนาคําพิพากษาของศาลที่แสดงว่าได้หย่ากันแล้วแก่นายทะเบียน จากนั้นนายทะเบียนก็จะบันทึกคําสั่งศาลไว้เป็นหลักฐานทั้งนี้หาก มีข้อตกลงอย่างอื่น เช่น ทรัพย์สิน อํานาจ การปกครองบุตรก็สามารถบันทึกไวในทะเบียนหย่าได้ 

7.2.5 การจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตร พ่อแม่ของเด็กซึ่งเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เด็กที่เกิดมาจึงเป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่ฝ่ายเดียว หากเด็กจะเป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อก็ต้องมีการจดทะเบียนรับรองบุตร เมื่อจดทะเบียนเรียบร้อยเด็กก็จะมีสิทธิใช้นามสกุลและรับมรดกของพ่อแม่อย่างถูกต้อง การจดทะเบียนรับรองบุตรนี้ ทําได้เฉพาะฝ่ายชายเท่านั้น ส่วนหนุ่มสาวคู่ใดที่มีลูกก่อนแต่งงาน เมื่อแต่งงานจดทะเบียนสมรสกันแล้วเด็กคนนั้นจะเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียนรับรองบุตรอีก 

หลักฐานที่จะต้องนําไปแสดงต่อนายทะเบียน 

- ใบสูติบัตร และสําเนาทะเบียนบ้านของเด็ก 

- บัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้านของมารดาเด็ก 

- บัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้านของบิดา (ผู้ยื่นคําร้อง) - 

- บัตรประจําตัวประชาชนของเด็ก(ในกรณีที่เด็กอายุเกิน 15 ปี)