เรื่องที่ 2 วัฒนธรรม ประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่นและของประเทศ

2.1 วัฒนธรรมที่สำคัญของท้องถิ่นและของประเทศ

วัฒนธรรมที่สำคัญของท้องถิ่นและขอประเทศที่แสดงออกถึงความเป็นไทยที่สำคัญต่าง ๆ คือภาษา การแต่งกาย อาหาร และมารยาท

ภาษา ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในสังคม มี 2 ลักษณะคือ ภาษาทางกาย (ภาษาทางกริยา) และภาษาทางวาจา ในแต่ละเผ่า แต่ละชุมชน แต่ละภาค จะมีภาษาถิ่น สำเนียงถิ่น กิริยาอาการแสดงออกของท้องถิ่น และจะมีภาษากิริยาอาการต่าง ๆ คนไทยจะใช้ภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาพรวมของประเทศ ดังนั้น วัฒนธรรมทางภาษาจะบ่งบอกที่มาของถิ่นกำเนิด ซึ่งควรจะเป็นความภูมิใจในตัวตน ไม่เป็นสิ่งเชย น่าอายหรือล้าสมัย ในการแสดงออกทางภาษาถิ่น เช่น การพูดของภาคอีสาน ที่บ่งบอกถึงความเป็นคนภาคอีสาน เป็นต้น

การแต่งกาย การแต่งกายของคนในสังคมไทยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ในชีวิตประจำวันคนไทยจึงแต่งตัวแบบสากล ต่อเมื่อมีงานบุญ ประเพณีต่าง ๆ หรือในโอกาสสำคัญๆ จึงนำการแต่งกายประจำถิ่นที่แสดงออกถึงความเป็นเผ่า เป็นชุมชน และเป็นภาค อย่างไรก็ตามเรายังเห็นคนรุ่นเก่า รุ่นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ในห้องถิ่นบางแห่งยังคงมีวัฒนธรรมการแต่งกายที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษให้เราเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การนุ่งผ้าซิ่นไปทำบุญที่วัด เป็นต้น

      อาหาร เนื่องจากการติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดนเราจึงสามารถรับประทานอาหารไทยที่ร้านอาหารต่าง ๆ อาทิ ในเมืองลอสแองแจลิส เมืองฮ่องกง วัฒนธรรมทางอาหารการกินของคนไทยในท้องถิ่นต่าง ๆ ยังคงสืบต่อตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเพราะสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรต่าง ๆ ส่งผลให้วัตถุติบที่ใช้ในการประกอบอาหารท้องถิ่นไทย ยังคงมีอยู่และนำมาใช้ในการประกอบอาหารการกินได้ตลอดมา แต่อาหารบางชนิดเริ่มสูญหายไป เด็กไทยปัจจุบันเริ่มจะไม่รู้จักคุ้นเคยอาหารบางชนิด เช่น ขนมกง ซึ่งเป็นประเพณีแต่งงานภาคกลาง ในอดีตจะมีขนมกงเป็นขนมทำจากถั่วทองปั้นเป็นรูปวงกลมมีชี่เหมือนล้อเกวียน เพื่อให้ชีวิตแต่งงานราบรื่นก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น

      มารยาท มารยาทของคนไทยที่อาศัยอยู่เป็นเผ่า เป็นชุมชน เป็นภาค ตลอดจนไทยกลางได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่เมื่อกล่าวโดยรวมแล้วมารยาทไทยนั้นทั่วโลกยอมรับว่ามีความงดงาม อ่อนช้อย เช่น การไหว้ การกราบ บ่งบอกถึงความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม ทำให้คนต่างประเทศประทับใจ และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เจริญก้าวหน้า

 2.2 ประเพณี

        ประเพณี คือ แนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมยึดถือ และสืบทอดกันมา เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

        2.2.1 ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย

        1) ประเพณีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์มีความใกล้ชิดและเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยมาช้านาน และชาวไทยต่างก็ยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์ เพราะพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนเสมอมา ดังนั้น ประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์พระมหากษัตริย์ที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีวันฉัตรมงคล วันพ่อแห่งชาติ หรือวันเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเราได้ยกย่องให้วันนี้เป็นวันชาติไทยด้วย

      2) ประเพณีที่เกี่ยวกับอาชีพ อาชีพหลักของคนไทยเป็นอาชีพเกษตรกรรมมาช้านาน ดั้งนั้นพิธีกรรมทางอาชีพการเกษตรจะเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสังคมมาตลอด ดังนั้นการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับอาชีพการเกษตรจะผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยใสตลอด เช่น พิธีวันพืชมงคล ซึ่งเป็นวันกำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญให้กับเกษตรกร และอีกวันหนึ่งคือวันสารทไทย เป็นวันทำบุญสิ้นเดือนสิบของไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการฉลองที่พืชพันธุ์ธัญญาหารและผลไม้กำลังเจริญงอกงามดีในฤดูนี้เป็นครั้งแรก

        3) ประเพณีทางศาสนา ศาสนาและความเชื่อ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่สืบเนื่องปฏิบัติติดต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติตนของชาวพุทธในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชาวันพระ วันออกพรรษา และวันตักบาตรเทโว เป็นต้น

        2.2.2 ประเพณีของแต่ละท้องถิ่น

        สำหรับประเพณีของแต่ละท้องถิ่น แบ่งเป็นภาค ดังนี้

        1) ประเพณีภาคเหนือ

ภาคเหนือ หรือเรียกว่า "ล้านนาไทย" มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ เพราะมีลักษณ

ภูมิประเทศเป็นทิวเขาและหุบเขา ประชากรมีหลายชนชาติส่วนใหญ่เป็นชาวไทย ที่เรียกว่า “ไทยเหนือ" หรือ "คนเมือง" ซึ่งส่วนใหญ่พูดภาษาสำเนียงเหนือ

ประเพณีสำคัญ ๆ ของภาคเหนือ มีดังนี้ ประเพณีลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็ง หรือลอยโขมด

เพื่อเป็นการบูชาท้าวพกาพรหม เป็นการลอยเคราะห์ ลอยบาป ลอยเพื่อบูชาพระนารายณ์ เป็นต้น 

ประเพณียี่เป็ง ตรงกับเดือนยี่ขึ้น 14-15 ค่ำ วัดวาอารามจะจัดเตรียมสิ่งของดังต่อไปนี้

1. ทำราชวัตร รอบวิหาร เจดีย์ ทำซุ้มประตูทางเข้าวัด

2. ทำโคมแขวน โคมค้าง โคมรูปต่าง ๆ

3. ทำว่าว หรือโคมลอย มี 2 ชนิด คือ

3.1 โคมที่ใช้ปล่อยตอนกลางวัน เรียกว่า ว่าว โดยใช้วิธีรมควัน

3.2 โคมที่ปล่อยตอนกลางคืน ใช้วิธีรมควันเหมือนว่าว แต่จะจุดไฟที่ผ้าผูกติดกับปากโคมปล่อย

สู่อากาศ

  4. การทำบอกไฟ (บั้งไฟ) ประกอบด้วยบอกไฟหลายชนิด เช่น บอกไฟดอก บอกไฟดาว บอก

ไฟเทียน เป็นต้น ทำขึ้นเพื่อจุดในวันยี่เป็ง

        2) ประเพณีภาคกลาง

        ประเพณีภาคกลาง มักจะเป็นประเพณีเกี่ยวกับการเกษตร เช่น ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่เป็นมรดกตกทอด เพื่อเป็นการทำขวัญควาย และให้ควายได้พักผ่อน ซึ่งเป็นประเพณีประจำจังหวัดชลบุรี ประเพณีวัวเทียมเกวียน ของจังหวัดเพชรบุรี เมื่อเสร็จสิ้นจากการทำนา ก็จะนำวัวที่เป็นสัตว์ที่ช่วยทำนา มาวิ่งแข่งกัน หรือเอาเกวียนมาเทียมวิ่งแข่งกัน เป็นต้น

        3) ประเพณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน มีพื้นที่แห้งแล้งส่งผลไปถึงการประกอบอาชีพซึ่งมี

ประเพณีที่สำคัญคือ ประเพณีแห่เทียนพรรษา ของจังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดต้นเทียน 2 

ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยมีชื่องานว่า “ฮุ่งเฮืองเมืองธรรมงามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล" ประเพณีไหลเรือไฟ ของจังหวัดนครพนม ที่ในหน้าน้ำจะนำเทียนมาตกแต่งเรือให้เป็นรูปที่สวยงาม เมื่อจุดเทียนจะเกิดแสงสว่างเป็นรูปภาพที่ออกแบบไว้ เป็นต้น

        4) ประเพณีภาคใต้

       ภูมิประเทศของภาคใต้ เป็นคาบสมุทรยื่นไปในทะเลทางตะวันตกของคาบสมุทร ชึ่งมีประเพณีสำคัญ คือ ประเพณีบุญเดือนสิบ ซึ่งเกิดจากความเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ยังต้องใช้เวรกรรมอยู่ในยมโลก และจะกลับมาเยี่ยมญาติหรือครอบครัว ประเพณีจัดอยู่ในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ถึงแรม 15 ค่ำ ส่วนมากจัดในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีอาหารที่ขาดไม่ได้ 5 ชนิด ประกอบด้วย

1. ขนมลา เปรียบเสมือนเสื้อผ้า เพื่อให้ผู้ตายสวมใส่ไปนรกภูมิ

2. ขนมพอง เปรียบเสมือนแพเพื่อให้ผู้ตายใช้เป็นพาหนะข้ามห้วงแห่งสังสารวัฏ (การเวียนว่าย ตาย เกิด)

3. ขนมบ้า เปรียบเสมือนสะบ้าให้ผู้ตายได้เล่นในนรกภูมิ

4. ขนมดีซำ เปรียบเสมือนเบี้ยหรือเงินให้ผู้ตายนำไปใช้

5. ขนมกง เปรียบเสมือนเครื่องประดับเพื่อให้ดูภูมิฐานและสวยงาม