เรื่องที่ 5 รัฐธรรมนูญ 


รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดหรือเป็นกฎหมายหลักของประเทศที่ออกโดย ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา อันประกอบด้วย ตัวแทนของประชาชน ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่ประชาชนส่วนใหญ่ ให้ความเห็นชอบ 

ความสําคัญ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่สําคัญที่สุด เป็นเสมือนกฎเกณฑ์หรือกติกาที่ประชาชนในสังคมยอมรับให้เป็นหลักในการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งการออกกฎหมายใดๆ ย่อมต้อง ดําเนินการภายในกรอบของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กฎหมายใดที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญจะไม่สามารถใช้บังคับได้

สาเหตุที่มีรัฐธรรมนูญในประเทศไทย สาเหตุที่สําคัญมาจากการที่ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชยเปนระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเริ่มมีแนวคิดตั้งแตรัชกาลที่ 6 โดยกลุ่มบุคคลที่เรียก ตนเองว่า“คณะราษฎร”ประกอบด้วย ข้าราชการ ทหาร พลเรือน ได้เข้าถึงอํานาจการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระปรมาภิไธย ในร่างรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ฉบับชั่วคราวที่คณะราษฎร ได้เตรียมไว้ นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ถือได้ว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย นับแต่นั้นมา จนถึงปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข และประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวการณ์ บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนในแตละยุคสมัย โดยมีสาระสําคัญเหมือนกันคือ ยึดมั่นในหลักการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุข มีเนื้อหาแตกต่างกันก็ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ประเทศมีรัฐธรรมนูญมาแล้วจํานวน 18 ฉบับ และปัจจุบันใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 

หลักการสําคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธคักราช 2550 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีหลักการและเจตนารมณ์ที่จะธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ซึ่งหลักการสําคัญของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ได้ระบุไว้ในหมวด 1 บททั่วไป สรุปได้ดังนี้ 

1. ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ 

2. มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

3. อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย 

4. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลต้องได้รับความคุ้มครอง 

5. ประชาชนชาวไทยทุกคนไม่แยกเพศ ศาสนา และยอมได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน

โครงสร้างของรัฐธรรมนูญ 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แบ่งโครงสร้างออกเป็น 15 หมวด และมีบทเฉพาะกาล สรุปสาระสําคัญแต่ละหมวดดังนี้ 

หมวด 1 บททั่วไป

ประเทศไทย เป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกออกมิได้ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจทางรัฐสภาคณะรัฐมนตรี และศาล

หมวด 2 พระมหากษัตริย์

ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ทรงเลือกและแต่งตั้ง ประธานองคมนตรี และองคมนตรีไม่เกิน 18 คน 

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 

การใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐ ต้องคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลทั้งด้านการประกอบอาชีพ การสื่อสาร การแสดงความคิดเห็น ความเป็นธรรมด้านการศึกษา การสาธารณสุข และสวัสดิการของรัฐ เสรีภาพในการชุมนุม ที่ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นและกฎหมาย 

หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย 

บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริยเป็นประมุข และมีหน้าที่ป้องกันรักษา ผลประโยชน์ของชาติ ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 

หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐ 

เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม การกระจายอํานาจ การดําเนินการมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ให้ความคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชน ส่งเสริมความรู้รักสามัคคี 

หมวด 6 รัฐสภา 

รัฐสภามีหน้าที่บัญญัติกฎหมาย และควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และวุฒิสภา (ส.ว.) 

หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน 

ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อวุฒิสภาให้ถอดถอนบุคคลออกจากตําแหนงได้ เพราะมีสิทธิออกเสียงประชามติ 57 

หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ 

เพื่อกําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับการจัดหารายได้ การกําหนดรายจ่าย การก่อหนี้หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐหลักเกณฑ์การกําหนดวงเงินสํารองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็นซึ่งเป็นกรอบในการกํากับการใช้จ่ายเงินตามแนวทางการรักษาวินัย การเงิน การคลัง และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืน และเป็นแนวทางในการจัดทํางบประมาณรายจายของแผนดิน 

หมวด 9 คณะรัฐมนตรี 

รัฐธรรมนูญกําหนดให้มีนายกรัฐมนตรี 1 คน และมีรัฐมนตรีอื่นอีก ไม่เกิน 35 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์

หมวด 10 ศาล

กําหนดให้ศาลหรืออํานาจตุลาการแบ่งเป็น 

1. บททั่วไป 

2. ศาลรัฐธรรมนูญ 

3. ศาลยุติธรรม 

4. ศาลปกครอง 

5. ศาลทหาร 

หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ 

กําหนดให้มีองค์กรที่จะดําเนินการตรวจสอบ ติดตามการทํางานของ บุคคล คณะบุคคล และหน่วยงานทั่งภาครัฐและเอกชน ดังนี้

1. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 

2. องค์กรอันตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ 

หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ 

กําหนดให้มีการตรวจสอบข้าราชการประจํา และข้าราชการการเมือง

หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและเจ้าหนาที่ของรัฐ 

การพิจารณา สรรหา แต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตําแหน่งต้องเป็นไปตามระบบ คุณธรรมและคํานึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมด้วย 

หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น 

ให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารงาน เน้นการกระจายอํานาจ โดยให้การสนับสนุนและกําหนดนโยบายการบริหาร 

หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 

ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่ห้ามแก้ไขที่มีผลตอการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 

บทเฉพาะกาล 

ให้องคมนตรีดํารงตําแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ