เรื่องที่ 2 สิทธิ เสรีภาพ บทบาท หน้าที่ของพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย


2.1 ความหมายของสิทธิเสรีภาพ หน้าที่

สิทธิเสรีภาพ เป็นรากฐานสําคัญในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย การที่จะรู้ว่าการปกครองของประเทศใดมีความเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด ต้องดูที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนในประเทศนั้น ๆ เป็นสําคัญ ถ้าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมาก ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศนั้นก็มีมาก หากสิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกจํากัดสิทธิโดยผู้มีอํานาจ

ส่วนหน้าที่นั้นเป็นกรอบหรือมาตรฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ก็เพราะว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องอาศัยกฎหมายเป็นหลักในการดําเนินการ หากประชาชนไม่รู้จักหน้าที่ของตน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระบอบประชาธิปไตยก็จะดํารงอยู่ต่อไปไม่ได้

ดังนั้น สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่จึงมีความสําคัญอย่างยิ่งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งขาดเสียมิได้เด็ดขาด


2.2 ความสําคัญของสิทธิ เสรีภาพและหนาที่ มีดังนี้

2.2.1 การที่รัฐได้บัญญัติ สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของบุคคล ในรัฐธรรมนูญทําให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเสมอภาค และยุติธรรม

2.2.2 บุคคลทุกคนจะต้องทราบและพึงปฏิบัติตามขอบเขตสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

2.2.3 การใช้อํานาจรัฐ จะต้องคํานึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน

2.3.4 ทั้งรัฐและประชาชนพึงปฏิบัติตามหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ย่อมก่อให้เกิดความสงบในชาติ

2.3.5 หน้าที่ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่

1) หน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุข

2) หน้าที่ในการป้องกันประเทศ ได้แก่ การช่วยสอดส่องดูแลและแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบถึงภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติ เช่น การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ การค้ายาเสพติด การสมัครเป็นอาสาสมัครรักษาดินแดน เป็นต้น

3) หน้าที่ในการรับราชการทหารตามกฎหมาย โดยชายไทยทุกคนที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องไปตรวจเข้ารับการเกณฑ์ทหารประจําการเป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นกําลังสําคัญเมื่อเกิดภาวะสงคราม

4) หน้าที่ในการปฏิบัติตนตามที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทําให้สังคมมีความสงบสุข และสมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

5) หน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายกําหนดเพื่อรัฐ จะได้มีรายได้เพื่อนํามาใช้จ่ายภายในประเทศ รวมทั้งจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับประชาชนในประเทศ

6) หน้าที่ในการรับการศึกษาภาคบังคับตามเงื่อนไขและวิธีการ ที่กฎหมายกําหนด เพื่อช่วยให้มีคุณภาพที่ดีและเปนกําลังใจในการพัฒนาประเทศต่อไป

7) หน้าที่ในการช่วยเหลือราชการตามกฎหมายกําหนด เพื่อประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม

8) หน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริต ในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปทําหน้าที่บริหารประเทศ ตามระบอบ  ประชาธิปไตยให้ยั่งยืนสืบไป


2.3 บทบาท

บทบาท หมายถึง การทําหน้าที่ตามสถานภาพที่สังคมกําหนด เช่น นายเอกมีสถานภาพเป็นพ่อ ต้องดําเนินบทบาทในการให้การอบรมเลี้ยงดู สั่งสอนบุตร ให้เป็นคนดี ส่งเสียบุตรให้ได้รับการศึกษาที่สมควรตามวัย