เรื่องที่ 2 ประวัติศาสดา


2.1 พุทธประวัติ

       ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม คือ ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าสร้างโลก สร้างมนุษย์ กำหนดโชคชะตามนุษย์ แต่เชื่อว่าทุกอย่างเกิดมาได้เพราะมีเหตุ ทุกอย่างต้องอาศัยกัน เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน จะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้
      ศาสนาพุทธเกิดในชมพูทวีป ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของประเทศอินเดีย เนปาล ภูฏาน ปากีสถาน และ บังกลาเทศ รวมกัน
      ศาสดาของศาสนาพุทธคือ พระพุทธเจ้า ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ กำเนิดในตระกูลกษัตริย์ในยุคที่ศาสนาฮินดูเจริญรุ่งเรืองในชมพูทวีป พระองค์ประสูติ ณ ลุมพินีวัน แคว้นสักกะ เมืองกบิลพัสด์ (ปัจจุบันคือเมืองรุมมินเด ประเทศเนปาล)ทรงประสูติในวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อประสูติได้ 7 วัน พระราชมารดาคือ พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ พระราชบิดาของพระองค์ คือ พระเจ้าสุทโธทนะจึงให้พระเจ้าน้าคือพระนางประชาบดีโคตรมี เป็นผู้เลี้ยงดู พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์มาทำนายลักษณะพระโอรส พราหมณ์ได้พยากรณ์ พระราชกุมารว่า "ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลกถ้าทรงเป็นฆราวาสจะได้เป็นพระจักรพรรดิ" พระเจ้าสุทโธทนะจึงปรารถนาจะให้เจ้าชายสิทธัตถะเพลิดเพลินในความสุขทางโลก เพื่อจะได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระจักรพรรดิ ดั้งนั้นพระราชบิดาจึงสร้างปราสาทที่งดงาม 3 หลัง ให้ประทับแต่ละฤดูและให้ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยากับสำนักอาจารย์วิศวามิตร เจ้าชายทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา ถึงแม้พระราชบิดาจะหาสิ่งอำนวยความสุข ความสะดวกสบายให้พระองค์ แต่เจ้าชายสิทธัตถะก็มิได้เพลิดเพลินกับความสุขทางโลก เมื่อพระองค์เสด็จออกนอกพระราชวัง พระองค์ทอดพระเนตรเห็น การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เป็นความทุกข์ พระองค์ทรงครุ่นคิดแสวงหาทางให้มนุษย์พ้นทุกข์และเห็นว่าการหนีทุกข์ในโลกด้วยการบรรพชา
      ดังนั้นพระองค์จึงเสด็จออกจากวังในวันที่พระนางพิมพาประสูติพระโอรสคือ เจ้าชายราหล พระองค์ทรงรำพึงว่า "ห่วงเกิดแล้วหนอ" เมื่อพระองค์เสด็จผ่านทรงพบเห็นนางสนมนอนระเกะระกะอยู่ เป็นภาพที่ไม่น่าดู ไม่สวยงาม ล้วนน่าปลงสังเวช พระองค์จึงเสด็จออกบวชพร้อมกับคนรับใช้ชื่อนายฉันนะ ทรงขี่ม้าชื่อกัณฐกะ จากนั้นให้นายฉันนะกลับไปแล้วพระองค์ทรงปลงผม ถือเพศบรรพชิต และแสวงหาอาจารย์จากสำนักต่าง ๆ เพื่อสั่งสอนให้พระองค์บรรลุธรรมที่ทำให้สัตว์โลกพ้นจากความทุกข์ ทรงศึกษาที่สำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส ฝึกฝนทางจิตจนได้ฌานสมาบัติ 8 ซึ่งเน้นโยคะวิธี ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง ต่อมาพระองค์ทรงใช้วิธีการทรมานตนเองด้วยการบำเพ็ญทุกรกิริยา คือ อดอาหารและทรมานตนด้วยวิธีต่าง ๆ จนร่างกายซูบผอม ทรงพบว่าทางนี้ก็มิใช่พ้นทุกข์ จึงหันมาเดินสายกลาง และเสวยพระกระยาหารตามเดิม แล้วหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิตค้นหาสัจธรรม และทรงค้นพบสัจธรรมในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีระกา ก่อนพระพุทธศักราช 45 ปี 

ทรงมีพระชนมายุ 45 พรรษา
      สัจธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ คือ ทรงค้นพบปุพเพนิวาสญาณ คือ อดีตชาติของพระองค์ ทรงค้นพบ จุตูปปาตญาณ คือการกำเนิดของสัตว์โลกและอาสวักขยญาณ คือ การกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป เพื่อจะปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด คือ อริยสัจสี่เป็นความจริงอันประเสริฐ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ
      ทุกข์ คือ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในชีวิต ได้แก่ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
      สมุทัย คือ สาเหตุแห่งปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต
      นิโรธ คือ ความจริงว่าด้วยการดับทุกข์ การละต้นเหตุของความทุกข์
      มรรค คือ ความจริงว่าด้วยแนวทางแห่งความดับทุกข์
      หลังจากตรัสรู้แล้วพระองค์ได้เสด็จไปเทศนาธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือโกณฑัญญ: วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ซึ่งติดตามดูแลพระองค์ช่วงที่แสวงหาธรรมและบำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาจึงคิดว่าพระองค์ท้อถอย ไม่บำเพ็ญเพียรจึงพากันหนีไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อพระองค์เทศนาธรรมคือ ธัมมจักกัปวัตนสูตรซึ่งแสดงถึงข้อปฏิบัติทางสายกลางคือ มรรค 8 ซึ่งเป็น ข้อปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ คือ
      1. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ
      2. สัมมาลังกัปโป ความดำริชอบ
      3. สัมมาวาจา วาจาชอบ
      4. สัมมากัมมันโต การงานชอบ
      5. สัมมาอาชีโว ความเลี้ยงชีพชอบ
      6. สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ
      7. สัมมาสติ ความระลึกชอบ
      8. สัมมาสมาธิ การตั้งจิตชอบ
      โกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรกและปัญจวัคคีย์ทั้งหมด
      จึงบวชเป็นภิกษุ จึงถือว่าเกิดพุทธศาสนา ครบสมบูรณ์คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นไตรสรณคมณ์ ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวพุทธต่อมาพระองค์ทรงเผยแพร่ศาสนาอยู่ 45 ปี และปรินิพพานที่เมืองกุลินารา ในวันเพ็ญเดือน 6 วันเดียวกับที่พระองค์ทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เรียกว่าเป็นวันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ


2.2 ประวัติพระเยซู
        คริสต์ศาสนาเป็นศาสนา 1 ใน 3 ศาสนาสำคัญของโลก ในประเทศไทยมีจำนวนผู้นับถือคริสต์ศาสนามากเป็นอันดับ 3 ศาสนาคริสต์ พัฒนามาจากศาสนายูดาย คำว่า"คริสต์" มีรากศัพท์มาจากภาษาโรมันและภาษากรีก แปลว่า ผู้ปลดเปลื้องความทุกข์

       พระเยชู เป็นผู้ให้กำเนิดศาสนาคริสต์ ท่านเกิดที่หมู่บ้านนาซาเรทแคว้นกาลิลี่ ห่างจากนครเยรูซาเล็มประมาณ 55 ไมล์ มารดาของพระเยซูชื่อมาเรียหรือมารีย์บิดาชื่อโยเซฟ อาชีพช่างไม้ ตามประวัติมาเรียมารดาของพระเยซูนั้น ตั้งครรภ์มาก่อนขณะที่โยเซฟยังเป็นคู่หมั้น ร้อนถึงเทวทูตของพระเจ้า คือ พระยะโฮวาห์หรือยาห์เวห์ต้องมาเข้าฝันบอกโยเซฟให้รู้ว่าบุตรในครรภ์ของมาเรียเป็นบุตรของพระเจ้าคือ พระยะโฮวาห์หรือยาห์เวห์เป็นผู้มีบุญมากให้ตั้งชื่อว่าพระเยซู ต่อไปคนผู้นี้จะช่วยไถ่บาปให้ชาวยิว รอดพ้นจากความทุกข์ตั้งปวง โยเซฟปฏิบัติตามคำของทูตแห่งพระเจ้า จึงรับมาเรียมาอยู่ด้วยกัน โดยมิได้สมสู่กันเยี่ยงสามีภรรยา พระเยซูได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี มีความรู้ภาษากรีกแตกฉาน ศึกษาพระคัมภีร์เก่า ได้มอบตัวเป็นศิษย์ของโยฮันผู้แตกฉานในคัมภีร์ของยิว เมื่อท่านเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่มีนิสัยใฝ่สงบอยู่ในวิเวก ใฝ่ใจทางศาสนา เมื่อท่านอายุได้ 30 ปี ได้รับศีลล้างบาปจากจอนห์ โดยเยซูอาบน้ำล้างบาปที่แม่น้ำจอร์แดน ตั้งแต่นั้นมาถือว่าพระเยได้สำเร็จรูปธรรมสูงสุดในศาสนาคริสต์เป็นศาสดา บำเพ็ญพรต อดอาหาร และพิจารณาธรรมอยู่ในป่าสงัด ถึง 40 วัน จากนั้นจึงออกประกาศศาสนา ท่านเผยแพร่ศาสนาอยู่ 3 ปี มีผู้นับถือพระเยซูมากขึ้นจนเป็นเหตุให้พวกปุโรหิต พวกธรรมาจารย์และพวกฟาริซี เกลียดชังขณะที่พระเยซูพร้อมสาวก 12 คน กำลังรับประทานอาหารมื้อค่ำสุดท้าย พวกทหารโรมันก็จูโจมเข้าจับพระเยซูและให้ข้อหาเป็นกบฎต่อซีซ่าร์ จักรพรรดิโรมัน ตั้งตนเป็นพระเมสสิอาห์ และถูกตัดสินให้ลงโทษประหารชีวิต โดยการตรึงไม้กางเขนไว้จนสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้น 3 วัน พระองค์ได้เสด็จกลับคืนชีพและเสด็จขึ้นสวรรค์
      นักบวชและผู้สืบทอดศาสนา คือ พระบาทหลวง หมอสอนศาสนา และคริสต์ศาสนิกชน ผู้เลื่อมใสคริสต์ศาสนา ศาสนสถานที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมสำคัญคือ โบสถ์ และวิหาร สัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นคริสต์ศาสนิกชนทุกนิกายใช้เครื่องหมายกางเขนเหมือนกัน เพราะแสดงถึงความเสียสละที่ยิ่งใหญ่และเป็นนิรันดร์ของพระองค์


2.3 ประวัติพระนบีมูฮัมหมัด
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนา 1 ใน 3 ศาสนาสำคัญของโลก ในประเทศไทยจำนวน ผู้นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทยมีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 2 ศาสนาอิสลามกำเนิดในประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อ พ.ศ. 1113 คำว่า อิสลาม มาจากคำว่า อิสลามะ แปลว่าการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระอัลเลาะห์เจ้าอย่างสิ้นเชิงผู้นับถืออิสลามเรียกว่า มุสลิมหรือ อิสลามิกชน
        ศาสดาของศาสนาอิสลามคือ พระนบีมูฮัมหนัด ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 1113 เมืองเมกกะ (นักกะ) ประเทศซาอุดีอาระเบีย บิดาชื่ออับดุลเลาะห์มารดาชื่ออามีนะห์ ในตระกูลฮาซิม เผ่ากูเรซ บิดาสิ้นชีวิตก่อนพระนบีมูฮัมหมัดเกิด มารดาสิ้นชีวิตเมื่อท่านมีอายุได้ 6 ขวบ จึงอยู่ในความอุปการะของปู่และลุงตามลำดับ ท่านได้แต่งงานกับหญิงม่ายชื่อคอดียะ เป็นเจ้าของกิจการค้า มีบุตรธิดารวม 7 คน (ชาย 3 คน หญิง 4 คน)
       เมื่อท่านได้อายุ 40 ปี ท่านได้ขึ้นไปหาความวิเวกที่ถ้ำหิเราะ บนภูเขานูริเทพยิมรออิลที่เป็นบริวารของพระอัลเลาะห์เจ้า ได้ลงมาบอกว่า พระอัลเลาะห์ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นศาสดาเผยแผ่ศาสนาอิสลามของพระองค์ ท่านจึงเป็นพระนบีหรือเป็นศาสนทูตหรือตัวแทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพ เมื่อ พ.ศ. 1153 ขณะที่ท่านมีอายุได้ 40 ปี โดยใช้สถานที่ประดิษฐานหินกาบะห์เป็นที่ประกาศสัจธรรม ระหว่างการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ท่านต้องต่อสู้กับฝ่ายปรปักษ์จนได้รับชัยชนะ พระนบีมูฮัมหมัดประกาศศาสนาอยู่ 23 ปี ท่านถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 63 ปีนักบวชหรือผู้สืบทอดศาสนา ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา เช่น อิหม่ามผู้นำศาสนา และมุสลิมหรืออิสลามมิกชน ศาสนสถานคือ สถานที่ประกอบศาสนกิจของผู้นับถือศาสนาอิสลามได้แก่ สุเหร่าหรือมัสยิด ซึ่งเป็นสถานที่ที่จัดไว้เพื่อการละหมาด สัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม เนื่องจากศาสนาอิสลามสอนให้มีพระเจ้าองค์เดียว และสอนไม่ให้เคารพบูชาสัญลักษณ์หรือรูปเคารพใด 1 รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวและมีดาว 5 แฉกอยู่ตรงกลาง ที่พบตามสุเหร่าทั่วไปนั้นไม่ใช่สัญลักษณ์ทางศาสนาแต่เป็นเครื่องหมายของอาณาจักรอ้อตโตมานเตอร์กที่รุ่งเรืองมากในอดีตตั้งแต่ศตวรรษที่ 15-20 ที่ประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรนี้ ชนชาวอิสลามจึงถือเอาเครื่องหมายนั้นเป็นสัญลักษณ์ของตนและชนชาติมุสลิมสืบมา และกลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้นับถือศาสนาอิสลามไปโดยปริยาย

 
2.4 ประวัติศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือจำนวนมากในโลกเช่นกัน สำหรับในประเทศไทยมีผู้นับถือจำนวนน้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมประเพณีไทยหลายอย่างที่สืบทอดมาถึงปัจจุบันมีการนำศาสนาพราหมณ์มาปะปนอยู่ค่อนข้างมาก เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม เชื่อในเทพหลายองค์คือ พระอิศวรเป็นผู้สร้างโลก นอกจากนั้นยังมีพระนารายณ์ พระพรหม พระอุมา พระพิฆเณศซึ่งทำหน้าที่ให้กับโลกต่าง ๆ กัน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดา ผู้สืบทอดศาสนาพราหมณ์ได้แก่ พราหมณ์ นักบวช มีหน้าที่ศึกษาคัมภีร์ร่ายเวทเป็นผู้นำสวดมนต์ และประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา รวมทั้งผู้ศรัทธาเลื่อมใส ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู สถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้แก่ โบสถ์ สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์ ใช้อักษรเทวนาครีที่เขียนว่า"โอม" ซึ่งหมายถึงเทพเจ้าทั้ง 3 ที่สำคัญมากคือ พระพรหม เป็นผู้สร้างโลกต่าง ๆ พระวิษณุเป็นผู้คุ้มครองโลกต่าง ๆ นอกจากนี้ยังนิยมสร้างเครื่องหมายแนวนอน 3 เส้น ไว้ที่หน้าผากเหนือคิ้ว ซึ่งหมายถึงที่นั่งของสีหะ คือ มหาเทพที่ตนนับถือ