เรื่องที่ 1 ความหมายของประชาธิปไตย 


1.1 ความหมายของประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองในประเทศมาจากคํา 2 คํา ดังนี้

“ประชา” หมายถึง ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ

“อธิปไตย” หมายถึง อํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

ดังนั้น ประชาธิปไตย หมายถึง ประชาชนปกครองหรือการปกครองโดย ประชาชน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า “ระบอบการปกครองที่ถือมติของปวงชนเป็นใหญ่ หรือการถือเสียงข้างมากเป็นใหญ”และ ศาสตราจารย์ ดร.กมล ทองธรรมชาติ ให้ความหมายว่า “ประชาธิปไตย เป็นการปกครองของ ประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน”

สรุป ประชาธิปไตย หมายถึง การที่ประชาชนหรือพลเมืองของประเทศ มีอํานาจและมีสวนรวมในการกําหนดนโยบายในการปกครองประเทศ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นหลัก


1.2 หลักการสําคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

1.2.1 หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

1.2.2 หลักความเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ความเท่าเทียมกันทางการเมือง

1.2.3 หลักสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ได้แก่ การที่ประชาชนมีอํานาจอันชอบธรรมในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีอิสระในการกระทําในขอบเขตของกฎหมาย และมีแนวทางปฏิบัติตนที่เป็นอิสระภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

1.2.4 หลักนิติธรรม การปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์และกติกาของประเทศ คือ การที่ประชาชนใช้กฎหมายเป็นหลักในการดําเนินชีวิต เพื่อการอยู่ร่วมกันอยางสันติสุข และเกิดความยุติธรรมในสังคม

  1.2.5 หลักการยอมรับเสียงข้างมาก คือ การที่ประชาชนยอมรับในมติของประชาชนสวนใหญ่

1.2.6 หลักการใช้เหตุผล คือ การที่ประชาชนใช้เหตุผลเป็นหลักในการหา ข้อสรุปเพื่อการอยู่ร่วมกัน

 1.2.7 หลักประนีประนอม คือ การที่ประชาชนไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไข ปัญหา แต่ใช้การตกลงร่วมกันในการขจัดข้อขัดแย้งที่ไม่เห็นด้วย

1.2.8 หลักความยินยอม คือ การที่ประชาชนใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจของตัวเอง ปราศจากการบังคับ มีความเห็นตรงกัน และตัดสินใจผ่านตัวแทนของประชาชน ในการดําเนินงานทางการเมืองและการปกครอง


1.3 ลักษณะของสังคมประชาธิปไตย 

 ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนจะปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

1.3.1 การเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ตามขอบเขตที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

1.3.2 การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินปัญหา ข้อขัดแย้ง

1.3.3 การเคารพในกฎกติกาของสังคมเพื่อความสงบสุขและความเป็น ระเบียบเรียบร้อยในสังคม

1.3.4 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของส่วนรวมและสังคม

1.3.5 การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าส่วนตน

1.3.6 การยึดมั่นในหลักความยุติธรรม และการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกันของสมาชิกทุกคนในสังคม


1.4 คุณลักษณะที่สําคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย

1.4.1 ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย

1.4.2 รู้จักใช้เหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งมีเหตุผลและมีการประนีประนอมกันในทางความคิด

1.4.3 เคารพในสิทธิและการตัดสินใจของผู้อื่น

1.4.4 มีความเสียสละและเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าสวนตน

1.4.5 สามารถทํางานร่วมกันกับผู้อื่น

1.4.6 ใช้เสียงข้างมากโดยไม่ละเมิดสิทธิเสียงข้างน้อย

1.4.7 ยึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของสมาชิก

1.4.8 ปฏิบัติตนตามกฎข้อบังคับของสังคม

1.4.9 รู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี


1.5 ความสําคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

1.5.1 ทําให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง

1.5.2 เกิดความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ

1.5.3 สังคมมีความเป็นระเบียบ สงบเรียบร้อย

1.5.4 สมาชิกทุกคนได้รับสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ จากกฎหมายเท่าเทียมกัน และเกิดความเป็นธรรมในสังคม

1.5.5 สมาชิกในสังคมมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจต่อกัน


1.6 วิถีประชาธิปไตย 

  การใช้คุณลักษณะประชาธิปไตยเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิต ดังนี้

1.6.1 ประชาธิปไตยในครอบครัว ประชาธิปไตยในครอบครัวจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อพ่อแม่คิดและประพฤติ ปฏิบัติต่อกัน ต่อลูก ๆ และต่อบุคคลอื่นอย่างเป็นประชาธิปไตย ในการดําเนินชีวิตประจําวัน ทุก ๆ ด้าน ได้แก่

1) การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

2) การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3) การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

4) การแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล

5) การลงมติโดยใช้เสียงส่วนใหญ่

6) การเคารพกฎระเบียบของครอบครัว

7) การกล้าแสดงความคิดเห็นต่อส่วนรวม

8) การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

1.6.2 ประชาธิปไตยในชุมชนท้องถิ่น โดยสมาชิกในชุมชนต้องมีคุณลักษณะประชาธิปไตยที่สําคัญ คือ

1) การเคารพใน กฎ ระเบียบ ของชุมชนท้องถิ่น

2) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น

3) การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

4) การตัดสินใจในส่วนรวมโดยใช้การลงมติเสียงส่วนใหญ่

5) การตัดสินใจโดยใช้วิธีการลงมติเสียงส่วนใหญ่

6) การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

7) การร่วมกันวางแผนในการทํางานเป็นกลุ่มหรือตัวแทนของกลุ่ม