เรื่องที่ 6 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย 


6.1 ความหมายของกฎหมาย 

กฎหมาย คือ ข้อบังคับของรัฐที่ใช้ควบคุมความประพฤติของคน ในประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะคุ้มครองประโยชน์รักษาความสงบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกันในสังคม ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษ 

6.2 ความสําคัญของกฎหมาย 

กฎหมายมีความเกี่ยวของกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น การเกิด เกี่ยวข้องกับกฎหมายบุคคล กฎหมายทะเบียนราษฎร โตขึ้นเกี่ยวของกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ แต่งงาน เกี่ยวของกับกฎหมายครอบครัว ตาย กฎหมายมรดก กฎหมายมีความสําคัญ 

6.2.1 เป็นเครื่องมือสร้างระเบียบให้สังคมและประเทศชาติ 

6.2.2 ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม 

6.3 ลักษณะทั่วไปของกฎหมาย 

6.3.1 กฎหมายมีลักษณะเป็นข้อบังคับ ดังนี้ 

1) บังคับให้ทํา เช่น ชายไทยต้องเกณฑ์ทหาร ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษี เด็กต้องเข้าเรียน ตาม พ.ร.บ. การศึกษา ฯลฯ 

2) บังคับไม่ให้ทํา เช่น ห้ามทําร้ายร่างกาย ห้ามลักทรัพย์

6.3.2 กฎหมายมีลักษณะเป็นคําสั่งที่มาจากผู้มีอํานาจสูงสุดในประเทศ เช่น ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีรัฐสภาเป็นผู้ออกกฎหมายและพระราชบัญญัติ มีรัฐบาลเป็นผู้ออกพระราชกําหนด พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง

1) กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปกับทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติ 

2) ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายต้องได้รับโทษ 

6.4 ความจําเป็นที่ต้องเรียนรู้กฎหมาย 

ในฐานะที่เราเป็นสมาชิกของสังคมจึงมีความจําเป็นต้องศึกษาและเรียนรู้ ทําความเข้าใจในกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราและสังคมที่เราอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อก่อเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ซึ่งได้แก่ 

6.4.1 รู้จักระวังตน ไม่เผลอหรือพลั้งกระทําความผิดโดยไม่รู้ตัวเนื่องมาจาก เพราะไม่รู้กฎหมาย และเป็นเหตุให้ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย 

6.4.2 ไม่ให้ถูกผู้อื่นเอาเปรียบและถูกฉ้อโกงโดยที่เราไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย 

6.4.3 ก่อเกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ถ้าหากรู้หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของตนเอง แลวยอมจะป้องกันความผิดพลาดอันเกิดจากความไม่รู้กฎหมายในอาชีพได้ 

6.4.4 ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองการปกครองของประเทศ เพราะเมื่อประชาชนรู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตนเองตามกฎหมายแล้วยอมทําให้สังคมเกิดความสงบ เรียบร้อย 

6.5 ประเภทของกฎหมาย 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันสามารถแบ่งได้เป็น

6.5.1 กฎหมายอาญา กฎหมายอาญา (Criminal Law) เป็นกฎหมายมหาชนที่บัญญัติถึง ความสัมพันธ์ระหวางรัฐ กับเอกชนที่อยู่ใต้อํานาจปกครองของรัฐ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติอื่นที่บัญญัติถึงการกระทํา ที่เป็นความผิดและโทษทางอาญา เช่น ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ยาเสพติดให้โทษ การพนัน ป่าไม้ ป่าสงวน เป็นต้น

เนื่องจากกฎหมายอาญามีสภาพบังคับ คือ มีโทษที่จะทําให้บุคคลได้รับ ผลถึงแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สิน เช่น ประหารชีวิต จําคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ดังนั้นจึงต้องมีหลักประกันแก่บุคคล กล่าวคือ บุคคลจะได้รับโทษทางอาญา จะต้องได้กระทําการใดที่มีกฎหมายข้อห้ามไว้ ถ้าไม่มีกฎหมายก็ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ เช่น ความผิดฐานสูบบุหรี่ในที่ที่กําหนด เดิมไม่มีความผิดแต่เมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครอง สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 แล้วผู้ที่สูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่หรือสูบบุหรี่ในที่สาธารณะที่กําหนด ย่อมมีความผิดและจะต้องได้รับโทษ

โทษตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จําคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน 

นอกจากนี้ยังมีการรอการลงโทษ หรือรอการลงอาญา เมื่อบุคคลกระทําความผิดและจะไดรับโทษ จําคุกไมเกิน 2 ปี ผู้นั้นอาจได้รับความกรุณาจากศาล ไม่ต้องได้รับโทษจําคุกในเรือนจํา เพราะผู้นั้นไม่เคยได้รับโทษจําคุกมาก่อน เมื่อได้พิจารณา ถึง อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม สภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแลว ศาลจะกําหนดโทษไว้ หรือรอการ ลงโทษไว้ที่เรียกกันว่า“รอการลงอาญา” 

6.5.2 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ของบุคคล เป็นกฎหมายสารบัญญัติ และเป็นกฎหมายเอกชนที่มีความสําคัญแก่ชีวิตของบุคคลตั้งแต่แรกเกิด จนสิ้นสภาพบุคคลไป 

กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ของบุคคลที่มี อาชีพค้าขาย และนักธุรกิจ กล่าวถึงระเบียบหลักปฏิบัติในทางการค้าที่บุคคลในอาชีพค้าขาย และนักธุรกิจจะต้องปฏิบัติเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัท ตั๋วเงิน ประกันภัย การขนส่งสินค้า