เรื่องที่ 4 ค่านิยมที่พึงประสงค์ของไทยและของท้องถิ่น

4.1 ค่านิยมที่พึงประสงค์ของไทย

   ค่านิยมเป็นสิ่งที่กําหนดความเชื่อ ซึ่งส่งผลถึงพฤติกรรมของคนในสังคมจึงควรมีการกําหนด

ค่านิยมที่พึงประสงค์ให้กับประชาชนได้ปฏิบัติ อย่างไรก็ตามมีผู้แจกแจงค่านิยมของสังคมไทยไว้ดังนี้ คือ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้กล่าวว่า ค่านิยมของสังคมไทยมี 3 ประการ คือ

1. รักความเป็นไทย

2. คนไทยไม่ชอบการเบียดเบียนและหาเรื่องกับคนอื่น

3. การรู้จักประสานประโยชน์ รู้จักการประนีประนอม โอนอ่อนผ่อนตาม ทําให้เมืองไทยไม่

ตกเป็นอาณานิคมของประเทศใด

ในปัจจุบันสังคมไทยมีปัญหา คนขาดคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาเรื่องเพศเรื่อง ความรุนแรง 

และอบายมุขฯ ในปี 2549 กระทรวงศึกษาธิการจึงกําหนดลักษณะ เชิงพฤติกรรมที่เป็น 8 คุณภาพพื้นฐาน เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้เป็น       คนดีส่งผลใหสังคมไทยเป็นสังคมที่ดี คือ

1. ขยัน คือ ตั้งใจเพียรพยายามทําหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ําเสมอ อดทน

2. ประหยัด คือ รู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินแต่พอควรพอประมาณให้เกิด ประโยชน์ 

คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟื่อย ฟุ่งเฟ้อ

3. ซื่อสัตย์ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไมมีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปราศจากความรู้สึก 

ลําเอียงหรืออคติ

4. มีวินัย คือ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ มีทั้งวินัยในตนเอง และ

วินัยต่อสังคม 

5. สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ

6. สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่  

เจริญตาทําให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

7. สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียว ความปรองดอง ร่วมใจกัน ปฏิบัติ

งานบรรลุผลตามที่ต้องการเกิดการงานอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกันเป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง หลากหลายความคิด เชื้อชาติ หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าความสมานฉันท์

8. มีน้ำใจ มีความจริงใจ ไม่เห็นแก่ตัวและเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็น คุณค่าใน

เพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจําเป็น ความทุกข์สุขของ

ผู้อื่นและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน


ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติปี 

2558 มีดังนี้ 

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติ ในปัจจุบัน

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทั้งทางตรงและทางอ้อม

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงาม

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งป็น

7. เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขที่ถูกต้อง

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่

9. มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทํา รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จ พระเจาอยูหัว

10. รู้จักดํารงตนอยู่โดยใช่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดํารัสของพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักออมไว้ใช้เมื่อยามจําเป้น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย และขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี 

11. มีความเขมแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออํานาจฝ่ายต่ําหรือกิเลส มีความ

ละอายเกรงกลัวต่อบาป

12. คํานึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และต่อชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของ ตนเอง ชาติ

ควรประหยัดต่อไปให้เป็นนิสัย  

4.2 ค่านิยมท้องถิ่น

ค่านิยมของท้องถิ่นจะบ่งบอกลักษณะนิสัยเด่นของคนในท้องถิ่น เช่น คนภาคเหนือมี

มารยาทอ่อนโยน พูดจาอ่อนหวาน คนภาคใต้มีความรักใครพวกพ้องต่าง ๆ เหล่านี้สามารถศึกษาได้จาก ลักษณะของคนในชุมชน วิถีชีวิตการแสดงออก สถาบันทางการศึกษา ศาสนา และครอบครัว มีส่วนสําคัญในการสร้างเสริมค่านิยมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชน สังคม