เรื่องที่ 3 การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตนตามกฎหมายและการมีส่วนร่วม ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 


3.1 การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตนตามกฎหมาย 

ในฐานะพลเมืองของประเทศ ซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริยทรงเปนประมุข ที่มีสิทธิ เสรีภาพ บทบาทหน้าที่ ต้องปฏิบัติตนตามกรอบ ข้อกําหนดของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวของ ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายดําเนินการได้ ดังนี้ 

ก. การปลูกฝังและประพฤติปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวของกับตนเองและ ครอบครัว เช่น เมื่อมีคน เกิด ตาย ในบ้านต้องดําเนินการตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์

ข. ชุมชน/สังคม ต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการอยู่ในสังคมประชาธิปไตย ตามบทบาท หน้าที่ โดยยึดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม ไม่ทําลายธรรมชาติ 

3.1.1 การรักษาสิทธิตามกรอบของกฎหมาย 

กฎหมายให้สิทธิแก่บุคคลหรือหน่วยงาน สามารถเรียกร้อง เพื่อรักษา สิทธิของตนที่ถูกบุคคลหรือหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของเอกชนหรือรัฐ มาละเมิดสิทธิของบุคคลหรือชุมชน ซึ่งการละเมิดสิทธิมี 2 กรณี ดังนี้ 

1) การละเมิดสิทธิ/ผลประโยชน์สวนบุคคล 

2) การละเมิดสิทธิ/ผลประโยชน์ของชุมชน 

3.1.2 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 

1) การมีส่วนร่วมในกระบวนการปกครองประเทศ หมายถึง การตระหนักและเห็นความสําคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้งผูแทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา 

2) การดําเนินชีวิตตามวิถีทางประชาธิปไตย หมายถึง การปฏิบัติตนให้มี คุณธรรม จริยธรรม การเสียสละเพื่อส่วนรวม และการใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ 

3) ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ควบคุมตัวเองได้ เช่น นักเรียนเคารพกฎระเบียบของโรงเรียน เป็นต้น 

4) ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม เช่น ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต มีความสามัคคี มีความกตัญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น

5) การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน เช่น เสียสละส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม สามารถ ทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ 


3.2 การมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 

สังคมไทยให้ความสําคัญกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตยสุจริต มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน มีสุภาษิตและคําพังเพยที่คนไทยใช้สอนลูกหลานให้เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์ไม่คดโกงผู้อื่นให้ได้ยินเสมอมา เช่น "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน" "คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เป็นต้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้กําหนดมาตรการเพื่อการปฏิบัติรวมกันไว้ดังนี้ 

3.2.1 การสร้างความตระหนักให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตการสร้างความตระหนักให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต มีวิธีการดังนี้ 

1) ปลูกจิตสํานึกและค่านิยมการมีคุณธรรมจริยธรรมและการมีวินัยแก่ประชาชนทุกภาคส่วน ส่งเสริมการดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการปลูกจิตสํานึกนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน อย่างต่อเนื่อง 

2) ส่งเสริมสนับสนุนให้ความเข้มแข็งแก่เครือข่าย การมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ การสร้างขวัญและกําลังใจ การส่งเสริมข้อมูลและทักษะการทํางานด้านกฎหมาย การขยายเครือข่าย การป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้กระจายลงไปถึงระดับฐานราก 

3) ส่งเสริมความเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพแก่องค์กรที่มีหน้าที่ ตรวจสอบการทุจริตโดยเฉพาะ สํานักงาน ป.ป.ช. ให้มีการถ่วงดุลอํานาจจากภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องทุกระดับโดยปราศจากการแทรกแซงของอิทธิพลจากภาคการเมือง และภาคธุรกิจราชการ 

4) ส่งเสริมการสร้างมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและมั่นใจขององค์กรเครือข่าย 

3.2.2 การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวของกับการป้องกันและปราบปราม การทุจริตคอรัปชั่น มีกฎหมายที่เป็นหลัก เช่น 

1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 87 (3) ที่กําหนดให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใชอํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม

2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2554 มาตรา 19 (13) กําหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่ส่งเสริมให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปราม ทั้งนี้มีรายละเอียดที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้จาก www.nacc.go.th (เว็ปไซต์ของ ป.ป.ช.) 


3.3 การกระตุ้นจิตสํานึกการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 

เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสํานึกในการมีส่วนร่วม ที่จะป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในชุมชน และสังคม หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงได้กําหนดแนวทางการเรียนรู้ในรูปแบบกรณีศึกษา ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการทุจริตรูปแบบต่าง ๆ ด้วยเจตนาที่จะให้ผู้เรียนสามารถนําไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมจนเกิดการพัฒนาจิตสํานึกในการมีส่วนร่วมป้องกันและปราบปรามการทุจริต