เรื่องที่ 8 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เป็นกฎหมายว่าด้วยการรักษาสภาพแวดล้อม ที่อยู่รอบตัวคนในชุมชน มิให้เกิดความผิดปกติจากธรรมชาติที่ควรจะเป็นตลอดจนการดูแล ปกป้อง และป้องกันให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ไม่เอารัดเอาเปรียบต่อกันซึ่งกฎหมาย ที่ควรรู้ได้แก่ 

8.1 กฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 

โดยทั่วไปบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต้องมีส่วนร่วมในการจัดการบํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน รวมถึงมีหน้าที่ต้องอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ โดยเฉพาะ  พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดไว้ ดังนี้ 

8.1.1 สิทธิของบุคคลเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 

1) มีสิทธิจะได้รับข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการ 

2) มีสิทธิได้รับชดเชยค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ กรณีได้รับความเสียหายจากภัยอันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ หรือภาวะมลพิษ อันมีสาเหตุจากกิจการ/โครงการ โดยส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ 

3) มีสิทธิร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทําผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ 

8.1.2 หน้าที่ของบุคคล 

1) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการ 

ส่งเสริมการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 

2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่่งแวดล้อมด้วยความเคร่งครัด 

8.1.3 ปัญหากระทบต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมี 2 ประการ คือ 

1) การลดลงและขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจาก การทําลายต้นไม้ ป่าไม้และ

แหล่งกําเนิดของลําธาร 

2) เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีและจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การใช้มากทําให้เกิดสิ่งที่เหลือจากการใช้ทรัพยากร เช่น ขยะ น้ําเสีย จากครัวเรือน โรงงาน ควันไฟ สารเคมี ทําให้เกิดมลพิษทางน้ํา อากาศ และบนดิน 

ผู้ที่ได้รับผลกระทบ คือ ประชาชน ดังนั้น พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 จึงได้กําหนดให้มี 

1) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทําหน้าที่กําหนดมาตรฐาน ควบคุมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยมาตรฐานคุณภาพของน้ํา อากาศ เสียง และอื่นๆ 

2) กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในกิจการช่วยเหลือให้กู้ยืมเพื่อการลงทุนแก่ส่วนราชการ ท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ เอกชน ในการจัดระบบบําบัดน้ําเสีย อากาศเสีย และระบบกําจัดของเสีย 

3) กองควบคุมมลพิษ โดยคณะกรรมการควบคุมมลพิษทําหน้าที่ เสนอแผนปฏิบัติการต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกําหนดมาตรฐานมลพิษทางน้ํา มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง พร้อมเข้าทําการเองและแก้ไขอันตรายอันเกิดจาก มลพิษเหล่านั้น 

4) ความรับผิดชอบของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกําเนิดมลพิษ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา 

8.2 กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค 

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคซึ่งบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้แก่ บุคคล 6 ประเภทดังนี้ 

8.2.1 ผู้ซื้อสินค้าจากผู้ขาย 

8.2.2 ผู้ได้รับการบริการจากผู้ขาย 

8.2.3 ผู้เช่าทรัพย์สินจากผู้ให้เช่า 

8.2.4 ผู้เช่าซื้อทรัพย์สินจากผู้ให้เช่าซื้อ 

8.2.5 ผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือได้รับการชักชวนให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ 

8.2.6 ผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็น ผู้เสียค่าตอบแทน 

สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง มีดังนี้ 

สิทธิที่ได้รับข่าวสารรวมทั้งคําพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอกับสินค้าหรือบริการสิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินคาหรือบริการ สิทธิจะได้รับความเป็นธรรมในการทําสัญญา สิทธิจะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหายจากสิทธิของผู้บริโภคนี้ กฎหมายได้วางหลักการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ 4 ด้าน ได้แก่ 

1. คุ้มครองด้านโฆษณา คือ ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า 

2. คุ้มครองด้านฉลาก คือ ผู้บริโภคมีสิทธิและอิสระในการเลือกซื้อสินคา และบริการ 

3. คุ้มครองด้านสัญญาคือผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในการซื้อขายและทําสัญญา กรณีการซื้อขายเป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ขาย 

4. คุ้มครองด้านความเสียหาย ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการชดเชย หากได้รับความเสียหายหรืออันตรายจากสินค้าหรือบริการนั้นๆ ซึ่งมีสิทธิของผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองโดยที่ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคได้จัดตั้งองค์กรเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทําหน้าที่ดําเนินการ