บทที่ 3 เรื่องหลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ


3.1 หลักธรรมของศาสนาพุทธ

ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ศาสนธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนาคำสอนของสัมมาสัม

พุทธเจ้า เรียกว่า พระธรรม
      พระธรรมในศาสนาพุทธ กำหนดไว้ในพระไตรปีฎกมีอยู่ 3 ตะกร้า กล่าวคือ คำสอนของ พระพุทธเจ้าในอดีตจารึกไว้ในสมุดช่อยและใบลาน แยกไว้ 3 หมวดหมู่ คือ
      1. พระสุตตันตปิฎก เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า ในโอกาสต่าง ๆ มีชาดกประกอบ เช่น สุภชาดก ที่ 5 โทษของการไม่รู้ประมาณความสรุปว่าเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตะวัน ทรงปรารภถึงภิกษุรูปหนึ่งที่มรณภาพเพราะฉันมากเกินไปจนอาหารไม่ย่อย พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แม้ในกาลก่อนภิกษุนี้ก็ตายเพราะบริโภคมาก
      2. พระวินัยปิฎก เป็นธรรมที่เกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ความประพฤติของพระสงฆ์ ซึ่ง พระพุทธเจ้า กำหนดไว้มีทั้งหมด 227 ข้อ พระพุทธเจ้าจะทรงกำหนดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่พระสงฆ์ไม่ควรประพฤติปฏิบัติ
      3. พระอภิธรรมปีฎก คัมภีร์ที่รวบรวมเกี่ยวกับหลักธรรมหรือข้อธรรม ล้วน ๆ คำสั่งสอนว่าเป็นพระสูตรต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า ตัวอย่างคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรซึ่งกล่าวถึงมรรค 8 ซึ่งเป็นทางปฏิบัติให้ไกลจากกิเลส
      พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าที่ปรินิพานไปแล้ว เมื่อถึงคราวที่ศาสนาพุทธเกิดปัญหามีความเสื่อมลง เนื่องจากพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จะมีการนำพระไตรปิฎกมาสังคายนา มีการตรวจสอบชำระให้ถูกต้อง วัดในสมัยเก่าเก็บพระไตรปิฎก ที่จารึกไว้ในใบลานสมุดช่อย เก็บไว้ที่ศาลาธรรมที่ตั้งอยู่กลางน้ำ เพื่อป้องกัน มอด ปลวก กัดกินทำลาย
        หัวใจของศาสนาพุทธ
       โอวาทปาติโมกข์ พระพุทธองค์ทรงประกาศหัวใจของศาสนาพุทธในวันมาฆบูชาเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ซึ่งเป็นวันมหัศจรรย์คือ พระสงฆ์ 1,250 รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย พระสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าโปรดประทานบวชให้ด้วยพระองค์เองด้วยวิธีเอหิภิกขอุปสัมปทาและเป็นวันที่พระจันทร์เสวยฤกษ์เต็มดวง พระพุทธเจ้าทรงประกาศหัวใจของศาสนาพุทธไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์มีอยู่ 3 ข้อคือ
      1. การไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง คือไม่ทำชั่ว
      2. การทำบุญกุศล คือให้ทำความดี
      3. การทำจิตให้ผ่องใสไกลจากความเศร้าหมองของกิเลส

       เบญจศีล ศีล 5 เป็นข้อพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการปฏิบัติตนของชาวพุทธ คือ
      1. ละเว้นการฆ่าสังหาร ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย
      2. ละเว้นการลักขโมย เบียดบัง แย่งชิง ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สินผู้อื่น
      3. ละเว้นการประพฤติผิดในกาม ไม่ประทุษร้ายต่อของรักของหวงอันเป็นการทำลายเกียรติภูมิและจิตใจของผู้อื่น เช่น บุตร ภริยา ญาติมิตร
      4. ละเว้นจากการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ พูดคำหยาบคาย พูดส่อเสียด
      5. เว้นจากสุราเมรัย ไม่เสพเครื่องดองของมึนเมา สิ่งเสพติด อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทมัวเมา ก่อความเสียหายผิดพลาดเพราะขาดสติ อันเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ
      เบญจธรรม 5 ประการ เป็นหลักธรรมที่คนทั่วไปควรปฏิบัติ มี 5 ประการดังนี้
      1. เมตตา กรุณา เป็นธรรมะคู่กันและสนับสนุนศีลห้า- ข้อที่หนึ่ง(ไม่ฆ่าสัตว์ - ไม่เบียดเบียน)
      2. สัมมาอาชีวะ เป็นธรรมะคู่กันและสนับสนุนศีลข้อสอง (ไม่ลักทรัพย์ ไม่ฉ้อโกง)
      3. กามสังวร หมายถึง การสำรวมระวังในความต้องการเป็นธรรมะคู่กับศีลข้อสาม (การไม่ข่มเหงน้ำใจกัน)
      4. สัจจะความจริงใจ เป็นธรรมะคู่กับศีลข้อสี่ (ไม่โกหก)
      5. สติ สัมปชัญญะ เป็นธรรมะคู่กับศีลข้อห้า (ไม่ทำให้ตนเองขาดสติ)
      พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ
      1. เมตตา ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข
      2. กรุณา ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
      3. มุทิตา ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล
      4. อุเบกขา การวางจิตเป็นกลาง
      การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้
      ฆราวาสธรรม ประกอบด้วย 2 คำ "ฆราวาส" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก,ผู้ครองเรือน และ "ธรรม" แปลว่า ความถูกต้อง, ความดีงาม, นิสัยที่ดีงาม, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ
      1. สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้
      2. ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ
      3. ขันติ แปลว่า อดทน
      4. จาคะ แปลว่า เสียสละ


3.2 หลักธรรมของศาสนาคริสต์
พระธรรมคำสอนของศาสดาจะปรากฏในพระคริสต์คัมภีร คัมภีร์ไบเบิลผู้นับถือคริสต์ศาสนา 

ทุกคนต้องยึดมั่นในหลักปฏิบัติสำคัญของคริสต์ศาสนา เรียกว่าบัญญัติ 10ประการ คือ
        1. จงนมัสการพระเจ้าเพียงองค์เดียว อย่าเคารพรูปบูชาอื่น
        2. อย่าออกนามพระเจ้าอย่างพล่อย ๆ โดยไม่สมเหตุสมผล
        3. จงไปวัดวันพระอันเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
        4. จงเคารพนับถือบิดา
        5. จงอย่าฆ่าคน
        6. จงอย่าทำลามก
        7. จงอย่าลักขโมย
        8. จงอย่าพูดเท็จ หรือนินทาผู้อื่น
        9. จงอย่าปลงใจในความอุลามก
        10. จงอย่ามักได้ในทรัพย์ของเขา
       หลักคำสอนของศาสนาคริสต์ที่สรุปสำคัญมา 2 ข้อ คือ
      1. จงรักพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจ
      2. จงรักเพื่อนบ้าน (เพื่อนมนุษย์) เหมือนรักตัวเอง


3.3 หลักธรรมของศาสนาอิสลาม
      หลักธรรมของศาสนาอิสลาม จารึกไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งในอดีตถูกจารึกไว้ในหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ หลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม 5 ประการ คือ
      1. ต้องปฏิญาณตนว่า จะไม่มีพระเจ้าองค์อื่นนอกจากพระอัลเลาะห์ โดยมีพระนบีมูฮัมหมัดเป็น ศาสนทูต รับคำสอนของพระองค์มาเผยแผ่ให้ชาวมุสลิม
      2. ต้องนมัสการพระอัลเลาะห์เพื่อสรรเสริญขอพรต่อพระองค์วันละ 5 ครั้ง ในเวลาใกล้พระอาทิตย์ขึ้น บ่าย เย็น พลบค่ำ และกลางคืน
      3. ปีหนึ่งต้องถือศีลอด (อัศศิยาบา) เป็นเวลา 1 เดือน โดยงดการบริโภคอาหาร น้ำดื่ม ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก
      4. ต้องบริจาคทาน (ซะกาด) เพื่อพัฒนาและชำระจิตให้สะอาดหมดจดบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

       5. ในช่วงชีวิตหนึ่งควรไปประกอบพิธีฮัจญ์ คือเดินทางไปประกอบศาสนกิจที่มัสยิดไบดุลเลาะห์ ณ เมืองเมกกะ อย่างน้อย 1 ครั้ง
      หลักคำสอนของศาสนาอิสลามเป็นเรื่องศรัทธา คือ ความเชื่อเป็นเรื่องสำคัญที่สุด มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อและไม่ระแวงสงสัย ดังนี้
      1. เชื่อว่าพระอัลเลาะห์มีจริง มุสลิมทุกคนต้องเชื่อว่าพระเจ้ามีองค์เดียวคือ พระอัลเลาะห์
      2. เชื่อในเทพบริวารหรือเทวทูตของพระอัลเลาะห์ เพื่อชักนำไปสู่หนทางที่ดี
      3. เชื่อว่าคัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่สมบูรณ์ที่สุด
      4. เชื่อในตัวแทนพระอัลเลาะห์หรือศาสนทูต เป็นผู้นำคำสอนมาเผยแพร่
      5. เชื่อในวันสิ้นโลก เมื่อพระอัลเลาะห์ทรงสร้างโลกได้ ก็ต้องทำลายโลกได้
      6. เชื่อในกฎกำหนดสภาวะของพระอัลเลาะห์ กล่าวคือ ทุกอย่างเกิดขึ้นโดยพระอัลเลาะห์และดำเนินไปตามประสงค์ของพระองค์งาม


3.4 หลักธรรมของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
        ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เชื่อว่า พระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งตลอดจนกำหนดโชคชะตาชีวิตของคนและสัตว์ เพราะฉะนั้นวิถีชีวิต แต่ละคนจึงเป็นไปตามพรหมลิขิต แต่ละคนก็อาจเปลี่ยนวิถีชีวิตได้หากทำให้พระพรหม เห็นใจและโปรดปรานโดยการบวงสรวงอ้อนวอน และทำความดีต่อพระองค์ หากตายไป ก็จะไปเกิดในสุคติภูมิและหากโปรดปรานที่สุดก็จะไปอยู่กับพระองค์ชั่วนิจนิรันดร์ ชาวฮินดูเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะจึงไม่ตายไปตามร่างกาย ที่ว่าตายนั้นเป็นเพียง วิญญาณออกจากร่างกายเท่านั้น
        คำสอนเฉพาะเป็นคำสอนเฉพาะกลุ่มแต่ละวรรณะ แต่ละหน้าที่ ตัวอย่างคำสอนทั่วไป เช่น สอนให้มนุษย์มีความเมตตากรุณาต่อกัน สอนให้มีสันติ สอนถึงหน้าที่และสิ่งที่มนุษย์ควรปฏิบัติต่อกัน สอนให้มีขันติ สอนวิธีหาความสุขและรู้เท่าทันความจริง สอนเรื่องความเป็นอมตะของวิญญาณ หน้าที่บิดา มารดามีต่อบุตรธิดา หน้าที่ครูอาจารย์ต่อศิษย์ หน้าที่ของบุตรธิดา และศิษย์ที่มีต่อพ่อ แม่ ครู อาจารย์ หน้าที่สามีต่อภรรยา หน้าที่ภรรยาต่อสามี หน้าที่นายต่อบ่าว หน้าที่ราชาต่อราษฎร