เรื่องที่ 4 คุณธรรมและค่านิยมพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองสมานฉันท์


4.1 ความหมายของคุณธรรม ค่านิยม และความสมานฉันท์ 

คุณธรรม คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีจิตสํานึกที่ดี ความละอาย และเกรงกลัวในการที่จะประพฤติชั่ว ถึงแม้ว่าคุณธรรมจะเป็นเรื่องภายในจิตใจ แต่สามารถสะท้อนออกมาได้ทางพฤติกรรม เช่น ความซื่อสัตย์ความกตัญูกตเวที ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น ความปรองดอง หมายถึง ออมชอม ประนีประนอมยอมกันไม่แก่งแย่งกัน ตกลงกันด้วยความไกลเกลี่ย ตกลงกันดวยไมตรีจิต (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554) 

ค่านิยม คือ ความคิด พฤติกรรมและสิ่งอื่นที่คนในสังคมมองเห็นว่า มีคุณค่า จึงยอมรับมาปฏิบัติและหวงแหนไว้ระยะหนึ่ง ค่านิยมมักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและความคิดเห็นของคนในสังคม

ความสมานฉันท์ คือ ความพอใจรวมกัน ความเห็นพ้องต้องกัน มีความ ต้องการที่จะทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตรงกัน หรือเสมอเหมือนกัน ซึ่งความสมานฉันท์ จะเป็นตัวลดความขัดแย้ง และนําไปสู่ความสามัคคี 

ค่านิยมพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ 12 ประการ มีความสําคัญอย่างยิ่งที่คนไทยจะต้องนํามาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจําวันอยู่เสมอ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นคุณลักษณะที่แสดงถึงรักความเป็นชาติไทย เป็นพลเมืองดีของชาติ มีความสามัคคี เชิดชูความเป็นไทย เห็นคุณค่า ภูมิใจ ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และแสดงความจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ประชาชนร่วมกิจกรรมจุดเทียนถวายพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน เป็นคุณลักษณะที่แสดงถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น ละความเห็นแก่ตัว รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือ สังคมและบุคคลที่ควรให้รู้จักควบคุมตนเองเมื่อประสบกับความยากลําบากและสิ่งที่่ก่อให้เกิด ความเสียหาย 

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึง การรู้จักบุญคุณ ปฏิบัติตามคําสั่งสอน แสดงความรัก ความเคารพ ความเอาใจ่ใส่ รักษาชื่อเสียง และตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูบาอาจารย์ 

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึง ความตั้งใจ เพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียน แสวงหาความรู้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม 

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม เป็นการปฏิบัติสืบทอดอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย อันดีงามด้วยความภาคภูมิใจเห็นคุณค่าความสําคัญ 

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน เป็นความประพฤติ ที่ควรละเว้น และความประพฤติที่ควรปฏิบัติตาม 

7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง คือ มีความรู้ ความเข้าใจ ประพฤติปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่ของตนเอง เคารพสิทธิและหน้าที่ ประชาชนรวมกิจกรรมแสดงความกตัญูกตเวทีของผู้อื่น ใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบภายใต้ขอบเขตของกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ เป็นคุณลักษณะ ที่แสดงออกถึงการปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายมีความเคารพ และนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ 

9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทํา รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการประพฤติ ปฏิบัติตนอย่างมีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทํา อย่างรอบคอบถูกต้อง เหมาะสม และน้อมนําพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปฏิบัติในชีวิตประจําวัน 

10. รู้จักดํารงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจําเป็น มีไว้พอกินพอใช้ถ้าเหลือ ก็แจกจ่าย จําหน่าย และขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อม สามารถดําเนินชีวิตอย่าง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีความรู้ มีคุณธรรม และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออํานาจฝ่ายต่ําหรือกิเลสมีความละอาย เกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา เป็นการปฏิบัติตนให้มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงปราศจากโรคภัยและมีจิตใจที่เข้มแข็ง ไม่กระทําความชั่วใด ๆ ยึดมั่นในการทําความดีตามหลักของศาสนา 

12. คํานึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและต่อชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และประเทศชาติ เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม