เรื่องที่ 5

ความพร้อมของประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน

7.5.1 จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ ของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน

การก่อตั้งอาเซียน มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศใน ภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า ทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความ เสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกสมาชิกอาเซียนในแต่ละประเทศต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนของละประเทศแตกต่างกันออกไป จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจของแต่ละประเทศสมาชิก โดยสรุป มีดังนี้

1. ประเทศสิงคโปร์

(1) จุดแข็ง

- การเมืองมีเสถียรภาพ

- รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดในกลุ่มสมาชิกอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก

- เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ

- แรงงานมีทักษะสูง มีการศึกษาและภาษาดี ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลและธุรกิจ

ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือในภูมิภาค

(2) จุดอ่อน

- พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง

- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจและค่าครองชีพสูง

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า

2. ประเทศอินโดนีเซีย

(1) จุดแข็ง

- เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

- ตลาดมีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

- ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก

- ทรัพยากรธรรมชาติมีจำนวนมากและหลากหลาย โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซ ธรรมชาติ และโลหะต่าง ๆ

- สถาบันการเงินเข้มแข็ง

(2) จุดอ่อน

- ลักษณะที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว

- สาธารณูปโภคพื้นฐานพัฒนาอยู่ในระดับต่ำ

- การคมนาคมและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรภายในประเทศเป็นหลัก

3. ประเทศมาเลเซีย

(1) จุดแข็ง

- รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์และบรูไน

- ปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก

- ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร

- แรงงานมีทักษะ

- มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง

(2) จุดอ่อน

- จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานระดับล่าง

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- เป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทยและตั้งเป้าหมายเป็น ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2563

4. ประเทศบรูไน

(1) จุดแข็ง

- รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก - การเมืองค่อนข้างมั่นคง

- ผู้ส่งออกน้ำมันและมีปริมาณน้ำมันสำรองอันดับ 4 ของอาเซียน

(2) จุดอ่อน

- ตลาดขนาดเล็ก เนื่องจากมีประชากรประมาณ 4 แสนคน

- ขาดแคลนแรงงาน

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และให้ ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก

5. ประเทศฟิลิปปินส์

(1) จุดแข็ง

- ประชากรมีจำนวนมากเป็นอันดับ 12 ของโลก

- แรงงานทั่วไปมีความรู้และสื่อสารภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางของประชาคม

(2) จุดอ่อน

- ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศมีลักษณะเป็นเกาะน้อยใหญ่

- ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- สหภาพแรงงานมีบทบาทมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ และการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก

6. ประเทศเวียดนาม

(1) จุดแข็ง

- ประชากรมีจำนวนมากเป็นอันดับ 14 ของโลก

- การเมืองมีเสถียรภาพ

- ปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก

- แนวชายฝั่งทะเลมีความยาวมากกว่า 3,200 กิโลเมตร

- ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากกัมพูชา

(2) จุดอ่อน

- ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานพัฒนาอยู่ในระดับต่ำ

- ราคาที่ดินและค่าเช่าสำนักงานสูง

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- การเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วในแทบทุกด้าน

7. ประเทศกัมพูชา

(1) จุดแข็ง

- ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน

- ทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ แร่ธาตุ ป่าไม้

(2) จุดอ่อน

- ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร - ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสาร) อยู่ในระดับสูง

- ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบันทอนโอกาสการขยายการค้าและการ ลงทุนระหว่างกันได้ในอนาคต

8. ประเทศลาว

(1) จุดแข็ง

- การเมืองมีเสถียรภาพ

- มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่าง ๆ

- ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ

(2) จุดอ่อน

- ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

- พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก และไม่มีทางออกสู่ทะเล

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่

9. ประเทศพม่า

(1) จุดแข็ง

- ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีจำนวนมาก

- พรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย

- ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ

(2) จุดอ่อน

- ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

- ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบาย

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและเครือข่ายคมนาคมภายในประเทศเชิงรุกและ เชื่อมต่อภายนอกประเทศ ได้แก่ ทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ

10. ประเทศไทย

(1) จุดแข็ง

เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเครือข่ายเชื่อมโยงการคมนาคมด้านต่าง ๆ สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง สถาบันการเงินมีความเข้มแข็ง

ตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาค มีความเสี่ยงภัยธรรมชาติค่อนข้างต่ำและมี พรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุดในภูมิภาค

(2) จุดอ่อน

- แรงงานส่วนใหญ่ขาดทักษะและระดับความรู้และการใช้ภาษากลางยังต้องได้รับ การพัฒนา

เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่เป็นขั้นกลางเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่มีความแน่นอนและปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย บริเวณจังหวัดชายแดนใต้

(3) ประเด็นที่น่าสนใจ

- ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว 7.5.2 การเตรียมพร้อมของไทย

ปี พ.ศ. 2558 ประชาคมอาเซียนที่สมาชิกกำลังรอคอยก็จะมาถึงและนั่นหมายถึงความร่วมมือ ที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีตลาดเดียวเหมือนสหภาพยุโรป แต่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ยังไม่ใช้เงินสกุลเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากประเทศสมาชิกยังมีปัจจัยพื้นฐานทาง เศรษฐกิจที่แตกต่างกัน การเป็นตลาดเดียวกันของอาเซียนจึงเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรค ที่ผู้ประกอบการทั้ง ภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนต้องวางแผน เตรียมพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ผู้ที่มีการเตรียมพร้อมก่อนย่อมได้โอกาสในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยแนวทางการเตรียมการมี ดังนี้

1. การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธุรกิจ การใช้แรงงานจาก AEC วิธีการแก้ปัญหาการ ขาดแรงงานฝีมือ

2. การเรียนรู้คู่แข่ง จะมีคู่แข่งทางธุรกิจและบริการใหม่ในอาเซียน ควรพัฒนาจุดแข็งสด จุดอ่อน และใช้โอกาสในการเปิดหรือขยายตลาดลูกค้าอาเซียนและคู่เจรจา

3. การพัฒนาและปรับตัว ปรับระบบการดำเนินงานขององค์กร บริษัท เช่น การใช้ประโยชน์ โลจิสติกส์ในการลดต้นทุน สร้างความสะดวกรวดเร็วในการบริหารจัดการ เป็นต้น

4. ได้โอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในประเทศสมาชิกอื่น ๆ ขณะเดียวกันอาจถูกแย่งลูกค้า งานฝีมือ จากคู่แข่งสมาชิกในอาเซียน 9 ประเทศ และจากประเทศคู่เจรจา

5. ประชาชนต้องเตรียมตนเอง ในกฎบัตรอาเซียนข้อ 34 ได้บัญญัติภาษาที่ใช้ในการทำงาน ของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ “The working language of ASEAN shall be English" ซึ่งภาษาอังกฤษ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น บางคนอาจเข้าใจว่าเกี่ยวข้องเฉพาะผู้ทำงานในภาคราชการและภาคธุรกิจ เอกชนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วจะเกี่ยวข้องไปถึงทุกคนทุกส่วนของประชาคมอาเซียน และต่อไป ประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนหรือประมาณ 600 ล้านคน จะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น

นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่น มีการเดินทางไปมาหาสู่กัน เดินทางท่องเที่ยว และ “ สร้างความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เพราะทุกคนเป็นประชาคมเดียวกัน ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่ง สำหรับพลเมืองอาเซียนในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์ นอกจากภาษาที่ใช้ในประเทศของตน เพราะต่อไปท่าน อาจจะเป็นคนทำงานในอาเซียน มีเพื่อนในอาเซียน ท่องเที่ยวในอาเซียน