เรื่องที่ 3 อาเซียน +3

อาเซียน+3 เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เริ่มต้นขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ได้พบ หารือกันเป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ นับจากนั้นได้มีการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ขึ้นทุกปีในช่วง เดียวกับการประชุมสุดยอดอาเซียน

กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เริ่มเป็นรูปร่างภายหลังการออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือ เอเชียตะวันออกเมื่อปี พ.ศ. 2542 และการจัดตั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวันออก รุ่นที่ 1 (East Asia Vision Group 1 -EAVG 1) ในปี พ.ศ. 2542 เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ความร่วมมือในเอเชียตะวันออก โดยในปี พ.ศ. 2544 EAVG 1 ได้มีข้อเสนอให้จัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asian Community : EAC1) และ กำหนดมาตรการความร่วมมือด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้ง EAC

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ครั้งที่ 9 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในปี พ.ศ. 2548 ผู้นำได้ลงนามใน ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (Kuala Lumpur Declaration on the ASEAN+3 Summit) ซึ่งกำหนดให้การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกเป็นเป้าหมายระยะยาว และให้ กรอบอาเซียน+3 เป็นกลไกหลักเพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมายดังกล่าว นอกจากนี้ ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของ กรอบอาเซียน+3 ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก ฉบับที่ 2 และแผนงานความร่วมมืออาเซียน+3 (2550-2560) ซึ่งระบุถึงแนวทางความร่วมมือในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้กรอบอาเซียน+3 ปัจจุบันความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 ครอบคลุมความร่วมมือต่าง ๆ มากกว่า 20 สาขา ซึ่งไทยให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค ตลอดจนผลักดันการดำเนินการ ตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการเป็น ประชาคมอาเซียน การรวมตัวกันในภูมิภาคและการลดช่องว่างด้านการพัฒนา ความร่วมมือที่มี ความก้าวหน้ามากที่สุด คือ ความร่วมมือด้านการเงินภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative : CMI) ซึ่งริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 นอกจากนี้มีความร่วมมือจัดตั้ง “CMI Multilateralization IM)” หรือมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี จัดตั้งสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาค อาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office : AMRO) ทำหน้าที่เฝ้าระวัง วิเคราะห์ และ ประเมินติดตามสภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค จัดตั้งกองทุนความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN Plus Three Cooperation Fund : APTCF) เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ในกรอบอาเซียน+3