เรื่องที่ 1 อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

อาเซียนจัดเป็นกลุ่มความร่วมมือในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่มีขนาดใหญ่ของภูมิภาคนี้ และยังเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงเป็นที่จับตามองของกลุ่มประเทศต่าง ๆ อาเซียนมีการ สร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ภายนอกกลุ่มอาเซียนในรูปแบบที่เรียกว่า “คู่เจรจา" กับประเทศ ภายนอกภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศ

อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

อาเซียน - ออสเตรเลีย

ความสัมพันธ์ประเทศคู่เจรจาของอาเซียนและออสเตรเลีย เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2517 และเป็น ประเทศคู่เจรจาอันดับแรก มีความสัมพันธ์กันอย่างรอบด้านและดำเนินการไปอย่างราบรื่น โดยมีการปรับเปลี่ยน ลำดับความสำคัญของความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เป็นไปตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและความจำเป็นอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งสองฝ่าย และการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน

1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ออสเตรเลียได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 และได้ร่วมรับรอง เอกสารแผนงานโครงการในการปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมอาเซียน-ออสเตรเลีย เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย สากล (ASEAN-Australia Joint Declaration for Cooperation to Combat International Terrorism) ออสเตรเลียได้ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอันดับต้น ๆ ที่สำคัญเรื่องการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์และยาเสพติด

2. ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ อาเซียนและออสเตรเลียได้ร่วมลงนามทำความตกลง ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area (AANZETA) ประกอบด้วย อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่จังหวัด เพชรบุรี ออสเตรเลียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 7 ของอาเซียนแลมีความร่วมมือภายใต้ Economic Cooperation Support Program (AANZETA-ECSP) โดยมีกิจกรรมสำคัญในด้านการบริการและ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา พิธีการศุลกากร ตลอดจนความปลอดภัยด้านอาหาร โดยมีเป้าหมายเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจะช่วยสนับสนุนการรวมตัวของประชากรอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

3. ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนและออสเตรเลียมีความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยในเครือข่าย ASEAN University (AUN) และ Universities Australia ปี พ.ศ. 2554 มีการ แลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างอาเซียนและออสเตรเลีย ซึ่งมีนักศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียนไป ออสเตรเลีย 61 คน และจากออสเตรเลียมาประเทศสมาชิกอาเซียน 239 คน นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุน การจัดการภัยพิบัติ โดยประกาศให้การสนับสนุนการดำเนินการ ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response (AADMER) และ ASEAN Coordinating Center for Humanitarian Assistance on Disaster Management (AHA Center) เป็นเงินจำนวน 2 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

อาเซียน-นิวซีแลนด์

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและนิวซีแลนด์ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ในช่วงแรกความสัมพันธ์ อาเซียนและนิวซีแลนด์เป็นไปในลักษณะประเทศผู้รับและผู้ให้ มีจุดมุ่งหมายหลัก คือ ความร่วมมือเพื่อการ พัฒนา ในปัจจุบันความสัมพันธ์อาเซียนและนิวซีแลนด์ได้พัฒนาเป็นความสัมพันธ์รอบด้าน เพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการและผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย

1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง นิวซีแลนด์ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 และได้ลงนามในปฏิญญาร่วมอาเซียน-นิวซีแลนด์ ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากล ระหว่างการประชุม PMC เมื่อปี พ.ศ. 2548

2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ อาเซียน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้ร่วมลงนามความตกลง เขตการค้าเสรีระหว่างกัน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่จังหวัดเพชรบุรี โดยความตกลง ANNZFTA มีผลบังคับใช้สำหรับไทยตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

3. ความร่วมมือด้านการพัฒนา นิวซีแลนด์มีหน่วยงานดแลความร่วมมือด้านการพัฒนากับ อาเซียนที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือกับประเทศในบริเวณ ภูมิภาคแปซิฟิกและกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง และในการประชุม ASEAN New Zealand Dialogue ครั้งที่ 19 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างวันที่ 3 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือและทิศทางความร่วมมือในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องความคืบหน้าของโครงการ Flagship 4 โครงการ ซึ่งนิวซีแลนด์ได้ขยายครอบคลุมประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศแล้ว รวมทั้งให้ความสำคัญกับการดำเนินการในเวที EAS โดยเฉพาะด้านความมั่นคงและสนับสนุนนโยบายด้าน Connectivity และการพลังงาน

อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี

ความสัมพันธ์ของอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2532 ในฐานะคู่เจรจา เฉพาะด้าน ต่อมาได้ยกฐานะเป็นประเทศคู่เจรจาอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2534 และทั้งสองได้ร่วมลง นามปฏิญญาว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมืออย่างรอบด้าน ต่อมามีการยกระดับความสัมพันธ์จาก หุ้นส่วนรอบด้านเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง สาธารณรัฐเกาหลีได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญา ไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ในปี พ.ศ. 2547 และได้ลงนามในปฏิญญาร่วม ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากลกับอาเซียนในปี พ.ศ. 2548 จัดตั้งสำนักงานคณะ ผู้แทนถาวรประจำอาเซียน และที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 20 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 ผู้นำ อาเซียนได้ขอให้สาธารณรัฐเกาหลี ส่งเสริมความร่วมมือกับอาเซียนเพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีได้ร่วมลงนามกรอบความตกลง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี สาธารณรัฐเกาหลีเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของอาเซียนรองจากจีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในขณะ ที่อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของสาธารณรัฐเกาหลีรองจากจีน ราคา 3. ความร่วมมือด้านการพัฒนา ปัจจุบันอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีมีความร่วมมือในด้าน การค้า การลงทุน การขนส่ง การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิชาการ สาธารณสุข การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การรักษาสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม การต่อต้านการก่อการ ราย และสนับสนุนการลดช่องว่างการพัฒนา การรวมตัวของอาเซียนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

อาเซียน-อินเดีย

ความเต็มพันธ์ของอาเซียนและอินเดียเริ่มเป็นทางการในปี พ.ศ. 2535 ในฐานะคู่เจรจาเฉพาะ ด้าน และยกระดับขึ้นเป็นคู่เจรจาอย่างสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้พัฒนาความสัมพันธ์สู่ระดับการ ประชุมสุดยอดครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2545 ความสัมพันธ์อาเซียนและอินเดีย เป็นความสัมพันธ์อย่างรอบ ค้นในฐานะหุ้นส่วน นอกจากนี้ได้มีแผนรองรับทั้งสองฝ่ายโดยจัดตั้งกองทุน ASEAN-India Fund เพื่อ สนับสนุนความร่วมมือ ปัจจุบันอยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการฉบับปี 2553 - 2559

1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง อินเดียได้เข้าร่วม ASEAN Regional Forurn (ARE) เมื่อปี พ.ศ. 2530 มีบทบาทในเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล และ เดภาคยานุวัติ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2546 และมีการรับรอง แถลงการณ์ร่วมกับอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากลในปีเดียวกัน และเขาเป็น สมาชิกของ East Asia Summit (EAS) เมื่อปี พ.ศ. 2548

2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2546 อาเซียนและอินเดียได้ลงนามกรอบความตกลง ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน ลงนามในความตกลงด้านการค้าสินค้า ในปี พ.ศ. 2552 อาเซียนและอินเดียตั้งเป้าหมายในการขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันเป็น 70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีพ.ศ. 2555

3. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา อินเดียส่งเสริมความร่วมมือกับอาเซียนในสาขาที่อินเดียมี ศักยภาพ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี IT รวมทั้งการแพทย์และเภสัชกรรม อินเดียได้จัดตั้งกองทุน ASEAN-India Science & Technology Development Fund เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตั้งกองทุน ASEAN – India Green Fund สนับสนุนกิจกรรมในการส่งเสริมการปรับตัวและ ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาค สนับสนุนความร่วมมือด้านการแพทย์แผน โบราณ นอกจากนี้อาเซียนและอินเดียได้มีโครงการประจำปีเพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนหลายกลุ่ม ได้แก่ เยาวชน นักศึกษา ผู้สื่อข่าว เป็นต้น

อาเซียน-จีน

ความสัมพันธ์ได้เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2534 ในฐานะแขกรัฐบาลมาเลเซีย ต่อมาจนได้รับสถานะคู่ เจรจาอย่างเต็มรูปแบบของอาเซียน ปี พ.ศ. 2539

1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง จีนเป็นประเทศคู่เจรจาแรกของอาเซียนที่ ภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2546 ในระหว่าง การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2546 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย จีนเป็นประเทศที่แสดงความพร้อมที่จะลงนามในพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ จีนเป็นประเทศคู่เจรจาแรกที่เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้า กับอาเซียน โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามกรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่ง งบดเป้าหมายให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน จีนกับประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศเดิมและ กับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนและจีนได้ร่วมลงนามความตกลง ด้านการค้าสินค้าและกลไกการระงับข้อพิพาทใน พ.ศ. 2547 จีนได้ขยับขึ้นมาเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียน สำหรับอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของจีนรองจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา

3. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา อาเซียนและจีนมีการตกลงร่วมมือกันใน 11 สาขาหลัก ได้แก่ การเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง การ ลงทุน พลังงาน การขนส่ง วัฒนธรรม สาธารณสุข การท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้จีนให้ความ ร่วมมือในด้านการศึกษา มีการจัดตั้งศูนย์อาชีวศึกษาและฝึกอบรมจำนวน 10 แห่ง ใน 6 มณฑลของจีน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาให้ได้ 100,000 คน

อาเซียน-รัสเซีย

ความสัมพันธ์อาเซียนและรัสเซียได้สถาปนาจากความสัมพันธ์ในฐานะคู่หารือ (Consultative Relations) เมื่อปี พ.ศ. 2534 และพัฒนาขึ้นมาเป็นประเทศคู่เจรจากับอาเซียนเมื่อ พ.ศ. 2539 ในการ ประชุมอาเซียน ครั้งที่ 29 ที่กรุงจาการ์ตา และรัสเซียได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547

1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนและรัสเซียได้ลงนามในเอกสารสำคัญ หลายฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาร่วมอาเซียน-รัสเซีย ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ ความมั่นคง ความ มั่งคั่ง และการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ปี พ.ศ. 2546 แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-รัสเซีย ว่าด้วยความ ร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย ปี พ.ศ. 2547 และรัสเซียได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความ ร่วมมือในปีเดียวกัน

2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ อาเซียนและรัสเซียได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ปี พ.ศ. 2548 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และรัสเซียถือเป็นตลาดใหม่ที่มี ศักยภาพในการขยายตลาดของอาเซียนทั้งจะเป็นประตูกระจายสินค้าอาเซียนไปยังกลุ่มประเทศเครือรัฐ เอกราชได้ในอนาคต

3. ความร่วมมือด้านการพัฒนา ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างอาเซียนและรัสเซียเป็นไปอย่างรอบด้าน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขณะนี้มีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีระหว่างนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยของอาเซียนกับรัสเซีย ด้านพลังงานเน้นความร่วมมือในด้านการส่งเสริมศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากร พลังงานทดแทน และหมุนเวียน โครงสร้างพลังงาน การใช้พลังงานนิวเคลียร์โดยสันติ และการสำรวจถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้มีความร่วมมือการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2551 ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 4 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้รับรอง TOR of ASEAN RUSSIA Join g Group on Counter-Terrorism and Transnational Crime

อาเซียน-แคนาดา

ความสัมพันธ์ของอาเซียนและแคนาดาในฐานะประเทศคู่เจรจาที่เริ่มต้นเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2520 ดำเนินการความร่วมมือครอบคลุมมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง การค้าและการลงทุน ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับประชาชน ซึ่งความร่วมมือทางการการ อาเซียนและรัสเซียมี 3 ระดับ คือ การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับ เอกอัครราชทูต

อาเซียนและแคนาดาได้ตกลงจัดทำเอกสารสำคัญหลายฉบับ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนิน ความสัมพันธ์ระหว่างกัน คือ

1. ปฏิญญาว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับแคนาดา พ.ศ. 2552

2. แผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิญญาร่วมฯ ปี 2553 - 2558 พ.ศ. 2553

3. แคนาดาได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2553

4. แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการค้าและการลงทุน พ.ศ. 2553

ในการดำเนินการความสัมพันธ์ที่ผ่านมาแคนาดาให้การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมความ ร่วมมือในเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การจัดการและบรรเทาภัยพิบัติ และการควบคุม โรคระบาด ทั้งนี้อาเซียนได้เชิญชวนแคนาดาขยายความร่วมมือกับอาเซียนในกระบวนการสร้างประชาคม อาเซียน การเชื่อมโยงในภูมิภาค รวมทั้งด้านอื่น ๆ ที่แคนาดามีศักยภาพและความเชี่ยวชาญ

อาเซียน-ญี่ปุ่น

ความสัมพันธ์ของอาเซียนและญี่ปุ่น เริ่มอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2516 และยกระดับ ขึ้นเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520 จากนั้นได้มีการลงนามปฏิญญาโตเกียว ว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนที่มีพลวัติและยั่งยืนระหว่างอาเซียน ญี่ปุ่น ในสหัสวรรษใหม่ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่เจรจาแรกที่ได้จัดตั้งคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

1. ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคง ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่เจรจาลำดับที่ 4 ท เคาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่นยังเป็นประกาย กรอบการประชุมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเป็นทางการกับอาเซียนในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีการประชุมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่สำคัญอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากจีน และ ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ อันดับ 3 ของอาเซียนรองจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา นอกจาก อาเซียนและญี่ปุ่นได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership ; AJCEP)

3. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน รายใหญ่ที่สุดในกรอบข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ต่อมามีการริเริ่มความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง กับญี่ปุ่น เพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนาโดยมีการประชุมระดับผู้นำมาแล้ว 4 ครั้ง นอกจากนี้ญี่ปุ่นจัด โครงการแลกเปลี่ยนสำหรับนักศึกษาและเยาวชน เป็นระยะเวลา 5 ปี ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 - กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยเชิญเยาวชนจากประเทศสมาชิกอาเซียนปีละประมาณ 6,000 คน มา แลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่น

อาเซียน-อเมริกา

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2520 ใน ระยะแรกเน้นความร่วมมือด้านการพัฒนา ต่อมาขยายถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน โดยอาเซียนประสงค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกา ทั้งในระดับทวิภาคีและใน ลักษณะกลุ่มประเทศ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย และยังคงต้องการมีบทบาทสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาคตลอดมา

ปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีท่าทีที่จะให้ความสำคัญมากขึ้นกับภูมิภาคเอเชียและเล็งเห็น ความสำคัญของอาเซียนทั้งในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากการที่ ประธานาธิบดี Barack Obama ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน-สหรัฐอเมริกา (ASEAN-U.S. Leaders' Meeting) รวม 3 ครั้ง เน้นเสมอว่า สหรัฐอเมริกา เป็นส่วนหนึ่งของแปซิฟิก (Pacific Nation) และแสดงเจตนารมณ์ ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย อาเซียน และสหรัฐอเมริกามีความร่วมมือที่ใกล้ชิดในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดทำปฏิญญารวมอาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (ASEAN-U.S. Joint Declaration Cooperation to Combat International Terroristm) เมื่อปี พ.ศ. 2545 และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Arrangement ; TIE4 ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญต่อพัฒนาการในพม่า สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ ความร่วมมือด้านความมั่นคงในกรอบ ASEAN Regional Forum (ARF) การ ต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนรวมทั้งการเชิญชวนให้ประเทศอาเซียน พิจารณาเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือ Trans-Pacific Partnership (TPP) กรอบของความริเริมแม่น้ำโขง Lower Mekong Initiative (LM1) ซึ่งเน้นในเรื่อง คมนาคม การศึกษา สาธารณสุข และการส่งเสริมการมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน การบริหารจัดการภัยพิบัติ การสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 และการพัฒนาความเชื่อมโยงในภูมิภาคของอาเซียน การให้ความสำคัญของสถาปัตยกรรมใน ภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลางและการมีบทบาทที่แข็งขันในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East | ดู Asia Summit ; EAS)

เมื่อปี พ.ศ. 2548 สหรัฐอเมริกาและอาเซียนได้ออกแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมกันว่าด้วยความ เป็นหุ้นส่วนเพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเอกสารกำหนดแนวทางความสัมพันธ์ระหว่าง กันทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ปัจจุบัน อาเซียน สหรัฐอเมริกา มีกลไกความร่วมมือในหลายระดับ ได้แก่ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-สหรัฐอเมริกา (ASEAN-U.S. Leaders' Meeting : AULM) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหรัฐอเมริกา (PMC) การประชุม ASEAN-U.S. Dialogue โดยมีหัวข้อการหารือครอบคลุมทุกเรื่อง มีการพิจารณา โครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียน และสหรัฐอเมริกาในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในสาขาความร่วมมือตาม Plan of Action to Implement the ASEAN

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่แต่งตั้งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำอาเซียน ณ กรุง จาการ์ตา และปัจจุบันมีนาย David Lee Carden เป็นเอกอัครราชทูต เสนอแนะแนวทางการยกระดับ ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมริกาจาก Enhanced Partnership เป็น Strategic Partnership ต่อผู้นำอาเซียน-สหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าที่ประชุมผู้ทรงคุณวุฒิจะเสนอรายงานในการประชุมผู้นำ ครั้งที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555