เรื่องที่ 4

ปัญหาและแนวโน้มในอนาคตของสมาชิกอาเซียน

การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ประเทศสมาชิกมีพลังอำนาจเจรจา ต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศในการร่วมกันก่อตั้ง “ประชาคมอาเซียน” ใน ด้านหนึ่งก็มีปัญหาและอุปสรรคภายในประเทศที่ต้องปรับแก้ไข เช่น

7.4.1 ความแตกต่างกันด้านการเมืองการปกครอง

ประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ มีรูปแบบการปกครอง แบ่งได้ 5 รูปแบบ คือ

1. ระบบประชาธิปไตย โดยระบบรัฐสภา ได้แก่ กัมพูชา มาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์

2. ระบบประชาธิปไตย โดยระบบประธานาธิบดี ได้แก่ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

3. ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ บรูไน

4. ระบบเผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ได้แก่ ลาว และเวียดนาม

5. ระบบเผด็จการทหาร คือ เมียนมาร์ กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนถึงหลักการประชาธิปไตยและให้ประเทศสมาชิกยึดมั่นต่อ รัฐบาลที่มาจากวิถีทางรัฐธรรมนูญ ดังนั้นความร่วมมือของประชาคมอาเซียนจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการ ยกระดับการส่งเสริมประชาธิปไตยของแต่ละประเทศในอนาคตต่อไป

7.4.2 ความแตกต่างด้านสังคมและวัฒนธรรม

จัดเป็นปัญหาที่พบในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะมองข้ามไปไม่ได้ ได้แก่

1. ศาสนา ประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์ คือ ฟิลิปปินส์ พระพุทธศาสนา มี กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม ไทย และสิงคโปร์ ศาสนาอิสลาม มี บรูไน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

2. ชนกลุ่มน้อย ที่มีอยู่ในบางประเทศ เช่น พม่า อินโดนีเซีย ทำให้มีวิถีชีวิต ความเชื่อ การ ยอมรับในสิทธิที่ไม่เท่าเทียมกัน

3. ขนบธรรมเนียมประเพณี ลักษณะการมีขนบธรรมเนียมที่มีความหลากหลาย อาจต้องใช้ เวลาในการศึกษาปรับเปลี่ยนและเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของกันและกัน

7.4.3 ความแตกต่างของประเทศยากจนและร่ำรวย

การมีค่าเงินสกุลแตกต่างก็เป็นปัญหาในการแลกเปลี่ยน

74.4 ความเหมือนกันในทรัพยากร

ประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ มีสภาพภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกันจึงทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติ และสินค้าส่วนใหญ่แบบเดียวกัน หากไม่มีการร่วมมือวางแผนการผลิต กำหนดมาตรฐานคุณภาพ ทำให้ ราคาสินค้าตกต่ำและเป็นปัญหาในการพัฒนาคุณภาพสินค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนให้ดีขึ้นได้ยาก 745 ปัญหาแรงงานสมองไหล

เมื่อการเป็นประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ความร่วมมือประการหนึ่ง คือ การเปิด โอกาสให้แรงงานมีฝีมือใน 8 สาขา สามารถไปทำงานที่ใดก็ได้ในประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ แพทย์ พยาบาล สถาปนิก บัญชี ทันตแพทย์ วิศวกร ช่างสำรวจ และบริการการท่องเที่ยว เคลื่อนย้ายแรงงานไปใน ประเทศที่ให้โอกาส สวัสดิการที่ดีกว่า ผู้ประกอบการจะใช้กลยุทธ์ใดดึงกำลังแรงงานให้อยู่ในประเทศ ภาครัฐและเอกชนอาจประสบปัญหาแรงงานสมองไหล เช่นกัน

การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 นับเป็นโอกาสที่ท้าทายของแต่ละประเทศสมาชิก อาเซียน ซึ่งมีทั้งประโยชน์ อุปสรรค และปัญหา ทุกประเทศสมาชิกต้องให้ความร่วมมือแก้ไขและใช้บทบาท ประชาคมอาเซียนสร้างประโยชน์และขีดความสามารถให้กับประเทศตนเองมากที่สุด