เรื่องที่ 1 ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน

อาเซียนมีความมุ่งหมายในการส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก อาเซียนจึงเป็นองค์การที่มีความเข้มแข็ง แต่ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อาเซียนต้องมีการปรับตัวและพัฒนาองค์การให้เข้มแข็งโดยการตกลงกันจัดตั้งประชาคมอาเซียน

ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เกิดจากการรวมกลุ่มของสมาคมแห่งประชาชาติอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงแรกๆ ของการก่อตั้งอาเซียน มีอุปสรรคและปัญหาต่างๆ มากมาย ผ่านการพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และร่วมกันจัดทำปฏิญญาหลายฉบับ เพื่อขยายกรอบความร่วมมือให้กว้างขวาง ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2540 ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) เพื่อกำหนดเป้าหมายว่า ภายใน พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) อาเซียนจะเป็น

1.วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2.หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต

3.มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก

4.ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร

ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 พ.ศ.2546 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้ตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมายวิสัยทัศน์อาเซียน โดยได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้ายความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord) ตกลงให้จัดตั้งประชคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2563 ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) จากนั้นในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 เมื่อ พ.ศ.2550 ที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนต่างเห็นพ้องกันว่าควรเร่งระยะให้เร็วขึ้นเป็นปี พ.ศ.2558 โดยเร็วขึ้นกว่าเดิม 5 ปี เนื่องจากโลกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อาเซียนต้องพบกับสถานการณ์ใหม่ๆ เช่น การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ตลอดเวลา ประชาคมอาเซียนหมายรวมถึงการมส่วนร่วมการเป็นเจ้าของความภาคภูมิใจ มีมิติทางมนุษยธรรม จริยธรรม มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์แห่งอาเซียนร่วมกัน จึงหลอมรวมเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ เป็นศูนย์กลางแห่งความภูมิภาค อาเซียนต้องมีความแข็งแกร่ง น่าเชื่อถือ เป็นที่ไว้วางใจ มีความน่าสนใจดึงดูดให้ต่างชาติอยากมาลงทุนในอาเซียนมากขึ้น บ้านเมืองไม่มีความวุ่นวาย ล่าสุดในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 เดือนพฤศจิกายน 2555 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผู้นำอาเซียนได้ตกลงที่จะกำหนดวันที่อาเซียนจะเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม 2558