เรื่องที่ 1 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน

สมาชิกอาเซียนทุกประเทศล้วนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น ภูมิสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น การรวมกลุ่มอาเซียนจึงต้องมีแนวทาง และองค์กรทำงานร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้ทุกประเทศปฏิบัติตามและนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 4 ได้กำหนดโครงสร้างองค์กรและกลไกในการดำเนินงาน ของอาเซียน ดังนี้

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ประกอบด้วย ประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายของอาเซียน พิจารณาแนวนโยบายและตัดสินใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุวัตถุประสงค์ของอาเซียนในเรื่องที่สำคัญ ที่เป็นผลประโยชน์ของรัฐสมาชิกและทุกประเด็นที่มีการนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน และองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขา รวมทั้งการพิจารณาสั่งการให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในแต่ละคณะมนตรี จัดให้มีการประชุมเฉพาะกิจระหว่างรัฐมนตรี ร่วมหารือประเด็นสำคัญซึ่งคาบเกี่ยวระหว่างคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่าง ๆ โดยให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนรับกฎการดำเนินการประชุมดังกล่าว ตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะกระทบต่ออาเซียน โดยดำเนินมาตรการที่เหมาะสม ตัดสินใจในเรื่องที่มีการนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ภายใต้หมวดที่ 7 และ 8 (การตัดสินใจ การระงับข้อพิพาท) อนุมัติการจัดตั้งและยุบองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาและสถาบันอื่น ๆ ของอาเซียน ซึ่ง จะปฏิบัติหน้าที่โดยได้รับความไว้วางใจตามความพอใจของประมุขของรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล ตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จัดให้มีการ 2 ครั้งต่อปี และเรียกประชุมพิเศษหรือเฉพาะกิจ โดยมีประธานการประชุมเป็นรัฐสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียน และจัดในสถานที่ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะตกลงกัน

การประชุมสุดยอดอาเซียน เรียกอย่างเป็นทางการว่า "ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน" ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “ASEAN SUMMIT” ซึ่งค่าว่า “SUMMIT” หมายถึง จุดปลายสุดของยอดเขา ความสำเร็จสูงสุดของกิจการหรือกิจกรรมใด ๆ ในทางรัฐศาสตร์ค้าว่า “SUMMIT” หมายถึง การประชุมระดับสูงสุดของผู้นำรัฐบาลหรือผู้นำสูงสุดขององค์กรใดๆ ที่จัดการประชุม การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 กรุงพนมเปญอย่างเป็นทางการ ที่ผ่านมามีรายละเอียด ดังนี้

ตารางการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการ

รายนามเลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้