กฏแห่งกรรม ตอนที่ 12

กลับหน้าแรก     หน้าสารบัญ

ตอนที่ ๑   ตอนที่ ๒   ตอนที่ ๓   ตอนที่ ๔   ตอนที่ ๕   ตอนที่ ๖   ตอนที่ ๗   ตอนที่ ๘   ตอนที่ ๙   ตอนที่ ๑๐   ตอนที่ ๑๑   ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๒

พระบาลีแสดงกฏแห่งกรรม

๑. 

กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.

กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือ ให้ทรามและประณีต.

(ม.อุ ๑๔/๓๘๕/๕๙๖)

(คำอ่าน => กัม-มัง-สัต-เต-วิ-ภะ-ชะ-ติ-ยะ-ทิ-ทัง-หี-นัป-ปะ-ณี-ตะ-ตา-ยะ.)

๒. 

ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.

การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.

(นัย. สํ. ส. ๑๕/๖๘/๒๓๙)

(คำอ่าน =>ยัง-กิญ-จิ-สิ-ถิ-ลัง-กัม-มัง-นะ-ตัง-โห-ติ-มะ-หัป-ผะ-ลัง.)

๓. 

สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.

กรรมของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.

(ขุ. ธ. ๒๕/๔๗/๒๘)

(คำอ่าน => สา-นิ-กัม-มา-นิ-นะ-ยัน-ติ-ทุค-คะ-ติง.)

๔.

สุกรํ สาธุนา สาธุ.

ความดีอันคนดีทำง่าย.

(วิ. จุล. ๗/๑๙๕/๓๘๘ ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗/๑๒๔)

(คำอ่าน => สุ-กะ-รัง-สา-ธุ-นา-สา-ธุ.)

๕.

สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.

กรรมดีอันคนชั่วทำยาก.

(วิ. จุล. ๗/๑๙๕/๓๘๘ ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗/๑๒๔)

(คำอ่าน => สา-ธุ-ปา-เป-นะ-ทุก-กะ-รัง.)

๖.

อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.

กรรมชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า.

(สํ. ส. ๑๕/๒๘/๒๓๙ ขุ. ธ. ๒๕/๕๖/๓๒)

(คำอ่าน => อะ-กะ-ตัง-ทุก-กะ-ฏัง-ไสย-โย.)

๗.

ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ

ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.

(สํ. ส. ๑๕/๖๘/๒๓๙ ขุ. ธ. ๒๕/๕๖/๓๒)

(คำอ่าน => ปัจ-ฉา-ตัป-ปะ-ติ-ทุก-กะ-ฏัง.)

๘.

กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.

ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.

(สํ. ส. ๑๕/๖๘/๒๓๙ ขุ. ธ. ๒๕/๕๖/๓๒)

(คำอ่าน => กะ-ตัญ-จะ-สุ-กะ-ตัง-ไสย-โย.)

๙.

น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.

ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.

(สํ. ส. ๑๕/๘๑/๒๘๑ ขุ. ธ. ๒๕/๒๓/๑๕)

(คำอ่าน => นะ-ตัง-กัม-มัง-สา-ธุ-ยัง-กัตะ-วา-อะ-นุ-ตัป-ปะ-ติ.)

๑๐.

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.

ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.

(สํ. ส. ๑๕/๘๑/๒๘๑ ขุ. ธ. ๒๕/๒๓/๑๕)

(คำอ่าน => ตัญ-จะ- กัม-มัง-กะ-ตัง-สา-ธุ-ยัง-กัตะ-วา-นา-นุ-ตัป-ปะ-ติ.)

๑๑.

สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.

การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย

 (ขุ. ธ. ๒๕/๓๗/๒๒)

 (คำอ่าน => สุ-กะ-รา-นิ-อะ-สา-ธู-นิ-อัต-ตะ-โน-อะ-หิ-ตา-นิ-จะ. )

๑๒.

ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.

การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.

 (ขุ. ธ. ๒๕/๓๗/๒๒)

 (คำอ่าน => ยัง-เว-หิ-ตัญ-จะ-สา-ธุญ-จะ-ตัง-เว-ปะ-ระ-มะ-ทุก-กะ-รัง.)

๑๓.

น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.

สุขไม่เป็นผลอันคนทำความชั่วจะได้ง่ายเลย.

(สํ. ส. ๑๕/๑๐๔/๓๓๖)

 (คำอ่าน => นะ-หิ-ตัง-สุ-ละ-ภัง-โห-ติ-สุ-ขัง-ทุก-กะ-ฏะ-กา-ริ-นา.)

๑๔

กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ.

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

 (สํ. ส. ๑๕/๓๓๓/๙๐๓ ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔/๒๙๔)

 (คำอ่าน => กัล-ยา-ณะ-กา-รี-กัล-ยา-ณัง-ปา-ปะ-กา-รี-จะ-ปา-ปะ-กัง.)

๑๕.

กมฺมุนา วตฺตตี โลโก

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม.

(ม. ม. ๑๓/๖๔๘/๗๐๗ ขุ. สุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒)

 (คำอ่าน => กัม-มุ-นา-วัต-ตะ-ติ-โล-โก.)

๑๖.

นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.

ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.

(ว. ว. = สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)

 (คำอ่าน => นิ-สัม-มะ-กะ-ระ-ณัง-ไสย-โย.)

๑๗.

กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ

สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้.

 (ส. ส. = สมเด็จพระสังฆราช สา )

 (คำอ่าน => กะ-ตัส-สะ-นัต-ถิ-ปะ-ฏิ-กา-รัง.)

๑๘.

ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺญา หิตมตฺตโน.

รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว.

(สํ. ส. ๑๕/๘๑/๒๘๑)

 (คำอ่าน => ปะ-ฏิ-กัจ-เจ-วะ-ตัง-กะ-ยิ-รา-ยัง-ชัญ-ญา-หิ-ตะ-มัต-ตะ-โน.)

๑๙.

กยิรา เจ กยิราเถนํ.

ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ ).

 (สํ. ส. ๑๕/๖๗/๒๓๙ ขุ. ธ. ๒๕/๕๖/๓๒)

(คำอ่าน => กะ-ยิ-รา-เจ-กะ-ยิ-รา-เถ-นัง.)

๒๐.

กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.

ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.

 (ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๒/๒๓๒๖)

(คำอ่าน => กะ-ไรย-ยะ-วาก-ยังอะ-นุ-กัม-ปะ-กา-นัง.)

๒๑.

กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช.

พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเดียว

(ว. ว. = สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)

(คำอ่าน => กา-ลา-นุ-รู-ปัง-วะ-ธุ-รัง-นิ-ยุญ-เช.)

๒๒.

รกเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.

พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.

(ส. ส. = สมเด็จพระสังฆราช สา )

 (คำอ่าน => ระ-กะ-ไขย-ยะ-อัต-ตะ-โน-สา-ธุง-ละ-วะ-ณัง-โล-ณะ-ตัง-ยะ-ถา.)

๒๓.

กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ.

พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.

(ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔/๒๙๕)

(คำอ่าน => กิจ-จา-นุ-กุพ-พัส-สะ-กะ-ไรย-ยะ-กิจ-จัง.)

๒๔.

นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.

ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.

(ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔/๙๕)

 (คำอ่าน => นา-นัต-ถะ-กา-มัส-สะ-กะ-ไรย-ยะ-อัต-ถัง.)

๒๕.

มา จ สาวชฺชมาคมา.

อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.

(ส. ฉ. = สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ฉิม)

(คำอ่าน => มา-จะ-สา-วัช-ชะ-มา-คะ-มา.)

๒๖.

อติสีตํ อติอุณฺหํ

อติสายมิทํ อหุ

อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต

อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว.

ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน 

ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.

 (พุทฺธ)

(ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙/๑๘๕)

 (คำอ่าน => อะ-ติ-สี-ตัง-อะ-ติ-อุณ-หัง-อะ-ติ-สา-ยะ-มิ-ทัง-อะ-หุ-อิ-ติ-วิส-สัฏ-ฐะ-กัม-มัน-เต-

อัต-ถา-อัจ-เจน-ติ-มา-ณะ-เว.)

๒๗.

อถ ปาปานิ กมฺมานิ

กรํ พาโล น พุชฺฌติ

เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ

อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ

เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก 

เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้.

 (พุทฺธ)

(ขุ. ธ. ๒๕/๓๓/๒๐)

 (คำอ่าน =>อะ-ถะ-ปา-ปา-นิ-กัม-มา-นิ- กะ-รัง-พา-โล-นะ-พุช-ฌะ-ติ-

เส-หิ-กัม-เม-หิ-ทุม-เม-โธ-อัค-คิ-ทัฑ-โฒ-วะ-ตัป-ปะ-ติ.)

๒๘.

ยาทิสํ วปเต พีชํ

ตาทิสํ ลภเต ผลํ

กลฺยาณการี กลฺยาณํ

ปาปการี จ ปาปกํ.

 

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น 

ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว

 (พุทฺธ)

(สํ. ส. ๑๕/๓๓๓/๙๐๓)

 (คำอ่าน => ยา-ทิ-สัง-วะ-ปะ-เต-พี-ชัง-ตา-ทิ-สัง-ละ-ภะ-เต-ผะ-ลัง-

กัล-ยา-ณะ-กา-รี-กัล-ยา-ณัง-ปา-ปะ-กา-รี-จะ-ปา-ปะ-กัง.)

๒๙.

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ

กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ

อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ

เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.

 

ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน 

แต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา), ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย.

 (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต)

(ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๘/๑๐๖๙)

 (คำอ่าน => โย-ปุพ-เพ-กะ-ตะ-กัล-ยา-โณ-กะ-ตัต-โถ-นา-วะ-พุช-ฌะ-ติ-

อัต-ถา-ตัส-สะ-ปะ-ลุช-ชัน-ติ-เย-โหน-ติ-อะ-ภิ-ปัต-ถิ-ตา-.)

๓๐.

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ

กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ

อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ

เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.

ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน 

ย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ.

 (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต)

(ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๘/๑๐๗๐)

 (คำอ่าน => โย-ปุพ-เพ-กะ-ตะ-กัล-ยา-โณ-กะ-ตัต-โถ-มะ-นุ-พุช-ฌะ-ติ-

อัต-ถา-ตัส-สะ-ปะ-วัฑ-ฒัน-ติ-เย-โหน-ติ-อะ-ภิ-ปัต-ถิ-ตา.)

๓๑.

โย ปุพฺเพ กรณียานิ

ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ

วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว

ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ.

ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อน ในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง 

ดุจมานพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น

 (โพธิสตฺต)

(ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓/๗๑)

 (คำอ่าน => โย-ปุพ-เพ-กะ-ระ-ณี-ยา-นิ-ปัจ-ฉา-โส-กา-ตุ-มิจ-ฉะ-ติ-

วะ-รุ-ณะ-กัฏ-ฐัง-ภัญ-โช-วะ-สะ-ปัจ-ฉา-อะ-นุ-ตัป-ปะ-ติ.)

๓๒.

สเจ ปุพฺเพ กตเหตุ

สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ

โปราณกํ กตํ ปาปํ

ตเมโส มุญฺจเต อิณํ.

ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ 

ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.

 (โพธิสตฺต)

(ขุ. ชา. ปญฺญาส. ๒๘/๒๕/๕๙)

 (คำอ่าน => สะ-เจ-ปุพ-เพ-กะ-ตะ-เห-ตุ-สุ-ขะ-ทุก-ขัง-นิ-คัจ-ฉะ-ติ-

โป-รา-ณะ-กัง-กะ-ตัง-ปา-ปัง-ตะ-เม-โส-มุญ-จะ-เต-อิ-ณัง.)

๓๓.

สุขกามานิ ภูตานิ

โย ทณฺเฑน วิหึสติ

อตฺตโน สุขเมสาโน

เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ.

สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน 

เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นตายไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข.

 (พุทฺธ)

(ขุ. ธ. ๒๕/๓๒/๒๐)

 (คำอ่าน => สุ-ขะ-กา-มา-นิ-ภู-ตา-นิ-โย-ทัณ-เฑ-นะ-วิ-หิง-สะ-ติ-

อัต-ตะ-โน-สุ-ขะ-เม-สา-โน-เปจ-จะ-โส-นะ-ละ-ภะ-เต-สุ-ขัง.)

๓๔.

สุขกามานิ ภูตานิ

โย ทณฺเฑน น หึสติ

อตฺตโน สุขเมสาโน

เปจฺจ โส ลภเต สุขํ.

สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นตายไปแล้ว ย่อมได้สุข

 (พุทฺธ)

(ขุ. ธ. ๒๕/๓๒/๒๐)

 (คำอ่าน => สุ-ขะ-กา-มา-นิ-ภู-ตา-นิ-โย-ทัณ-เฑ-นะ-นะ-หิง-สะ-ติ-

อัต-ตะ-โน-สุ-ขะ-เม-สา-โน-เปจ-จะ-โส-ละ-ภะ-เต-สุ-ขัง.)

๓๕.

อุฏฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ

อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ

สุสํวิหิตกมฺมนฺโต

ส ราชวสตึ วเส.

ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท มีปัญญาเห็นประจักษ์ 

จัดการงานได้เรียบร้อย, เขาพึงอยู่ในวงราชการได้.

 (พุทฺธ)

(ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๙/๙๖๙)

 (คำอ่าน => อุฏ-ฐา-ตา-กัม-มะ-ไธย-เย-สุ-อัป-ปะ-มัต-โต-วิ-จัก-ขะ-โณ-

สุ-สัง-วิ-หิ-ตะ-กัม-มัน-โต- สะ-รา-ชะ-วะ-สะ-ติง-วะ-เส.)

๓๖.

ปาปญฺเจ ปุริโส กริยา

น นํ กริยา ปุนปฺปุนํ

น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ

ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.

ถ้าคนพึงทำบาป ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาป ย่อมนำทุกข์มาให้.

 (พุทฺธ)

(ขุ. ธ. ๒๕/๓๐/๑๙)

 (คำอ่าน => ปา-ปัญ-เจ-ปุ-ริ-โส-กะ-ริ-ยา-นะ-นัง-กะ-ริ-ยา-ปุ-นัป-ปุ-นัง-

นะ-ตัม-หิ-ฉัน-ทัง-กะ-ยิ-รา-ถะ-ทุก-โข-ปา-ปัส-สะ-อุจ-จะ-โย.)

๓๗.

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ

กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ

ปจฺฉา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน

กตฺตารํ นาธิคจฺฉติ.

ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดีทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) เมื่อกิจเกิดขึ้นภายหลัง ผู้นั้น ย่อมไม่ได้ผู้ช่วยทำกิจ

(ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๙/๙๐)

 (คำอ่าน => โย-ปุพ-เพ-กะ-ตะ-กัล-ยา-โณ-กะตัต-โถ-นา-วะ-พุช-ฌะ-ติ-

ปัจ-ฉา-กิจ-เจ-สะ-มุป-ปัน-เน-กัต-ตา-รัง-นา-ธิ-คัจ-ฉะ-ติ.)

๓๘.

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส

สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน

อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา

น หเนยฺย น ฆาตเย.

 สัตว์ทั้งปวง ย่อมหวาดต่ออาชญา ย่อมกลัวต่อความตาย บุคคลทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว ไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า (สัตว์อื่น)

 (พุทฺธ)

(ขุ. ธ. ๒๕/๓๒/๒๐)

 (คำอ่าน => สัพ-เพ-ตะ-สัน-ติ-ทัณ-ฑัส-สะ-สัพ-เพ-ภา-ยัน-ติ-มัจ-จุ-โน-

อัต-ตา-นัง-อุ-ปะ-มัง-กัต-วา-นะ-หะ-ไนย-ยะ-นะ-ฆา-ตะ-เย.)

๓๙.

ปาโปปิ ปสฺสติ ภทฺรํ

ยาว ปาปํ น ปจฺจติ

ยทา จ ปจฺจติ ปาปํ

อถ ปาปานิ ปสฺสติ.

คนชั่วเห็นกรรมชั่วว่าดี ตลอดเวลาที่กรรมชั่วยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใด กรรมชั่วให้ผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นว่ากรรมชั่วนั้นชั่วจริง ๆ.

 (พุทฺธ)

(ขุ. ธ. ๒๕/๓๐/๑๙)

 (คำอ่าน => ปา-โป-ปิ-ปัส-สะ-ติ-ภัท-รังยา-วะ-ปา-ปัง-นะ-ปัจ-จะ-ติ- ยะ-ทา-จะ-ปัจ-จะ-ติ-ปา-ปัง-

อะ-ถะ-ปา-ปา-นิ-ปัส-สะ-ติ)

๔๐.

ภโทฺรปิ ปสฺสติ ปาปํ

ยาว ภทฺรํ น ปจฺจติ

ยทา จ ปจฺจติ ภทฺรํ

อถ ภทฺรานิ ปสฺสติ.

แม้คนดีย่อมเห็นกรรมดีว่าไม่ดี ตลอดเวลาที่กรรมดียังไม่ให้ผล แต่เมื่อใด กรรมดีให้ผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นว่า กรรมดีนั้นดีจริง ๆ

 (พุทฺธ)

(ขุ. ธ. ๒๕/๓๑/๑๙)

 (คำอ่าน => ?-ระ-ปิ-ปัส-สะ-ติ-ปา-ปัง-ปัส-สะ-ติ-ปา-ปัง-ยา-วะ-ภัท-รัง-นะ-ปัจ-จะ-ติ-

ยะ-ทา-จะ-ปัจ-จะ-ติ-ภัท-รัง-อะ-ถะ-ภัท-รา-นิ-ปัส-สะ-ติ.)

จบบริบูรณ์

เริ่มทำเมื่อ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๕ เสร็จเมื่อ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ เวลา ๒๓.๓๐ น. ณ โชคชัยบ้านเช่า อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี.  

นำลงใหม่เมื่อ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ณ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

ขึ้นข้างบน     กลับหน้าแรก     หน้าสารบัญ

ตอนที่ ๑   ตอนที่ ๒   ตอนที่ ๓   ตอนที่ ๔   ตอนที่ ๕   ตอนที่ ๖   ตอนที่ ๗   ตอนที่ ๘   ตอนที่ ๙   ตอนที่ ๑๐   ตอนที่ ๑๑   ตอนที่ ๑๒