ชนิดของกีฬาไทย

ชนิดของกีฬาไทย

ฬาไทยมีกำเนิดจากการละเล่นพื้นเมืองในเทศกาลต่าง ๆ เมื่อว่างจากการศึกสงคราม ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง “สมาคมกีฬาสยาม” วันที่ 5 มกราคม 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย พระยาภิรมย์ภักดีเป็นนายกสมาคมคนแรก กีฬาที่จัดแข่งขันเป็นประจำ คือ ว่าว ตะกร้อ และหมากรุกไทย

พ.ศ. 2475 – 2480 นายยิ้ม ศรีพงษ์ เป็นนายกสมาคมกีฬาสยามคนที่ 2 มีการแข่งขันกีฬาหมากรุก ว่าว ตะกร้อวงเล็ก ตะกร้อวงใหญ่ ตะกร้อธง ตะกร้อข้ามตาข่าย และตะกร้อลอดบ่วง หลวงมงคลแมน (สังข์ บูรณะศิริ) คือ ผู้ประดิษฐ์ห่วงตะกร้อที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2480 – 2484 นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ร.น. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวงการพลศึกษาของเมืองไทย เป็นนายกสมาคมกีฬาสยาม คนที่ 3

พ.ศ. 2487 ประเทศสยามเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมกีฬาไทย

พ.ศ. 2487 – 2490 พระยาจินดารักษ์ เป็นนายกสมาคม คนที่ 4

พ.ศ. 2490 – 2498 พันเอกหลวงรณสิทธิ์พิชัย เป็นนายกสมาคม คนที่ 5 วันที่ 18 เมษายน 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับสมาคมกีฬาไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2508 เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาแห่งเอเซีย (Association Sepak Takraw Federation of Asia)

ตัวอย่างกีฬาไทยที่เรารู้จักกันดี เช่น หมากรุก หมากฮอส ว่าวไทย เรือพาย ตะกร้อลอดห่วง กระบี่กระบอง ฟันดาบ มวยไทย วิ่งกระสอบ ชักเย่อ วิ่งเปรี้ยว เป็นต้น

ยกตัวอย่างกีฬาไทย 7 ประเภท กล่าวคือ

มวยไทย

มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและใจ สำหรับการต่อสู้ที่ใช้ร่างกายเป็นอาวุธ โดยเป็นที่รู้จักว่าเป็น "นวอาวุธ" ซึ่งประกอบด้วยการโจมตีจากร่างกายทั้ง หมัด, ศอก, เข่า และเท้า หากมีการเตรียมพร้อมด้านร่างกายดี จะก่อให้เกิดอาวุธที่มีอานุภาพ มวยไทยได้เป็นที่แพร่หลายในระดับนานาชาติในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ เมื่อเหล่านักมวยไทยสามารถเป็นฝ่ายชนะนักต่อสู้ที่มีชื่อเสียงในแขนงอื่น ซึ่งการแข่งขันมวยไทยในระดับอาชีพ ได้รับการดูแลโดยสภามวยไทยโลก