ประเภทของการออกกำลังกาย

การแบ่งประเภทของการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายได้ ดังนี้

1. การออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก ( Isometric Exercise, ) หมายถึงการ

ออกกำลังกายแบบเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อต้านกับแรงต้านทาน ดังนั้นการออกกำลังกายชนิดนี้จึงไม่มีการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ เช่น ออกแรงดันผนังกำแพง ออกแรงบีบวัตถุหรือกำหมัด การออกกำลังกายแบบนี้หากทำบ่อย ๆ เป็นประจำจะมีผลต่อการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงขึ้น แต่จะมีผลน้อยมากในการเพิ่มสมรรถภาพของหัวใจหรือระบบไหลเวียนโลหิต การออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลา สถานที่สำหรับการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นๆ เพราะเป็นการออกกำลังที่ใช้เวลาน้อยและสามารถกระทำได้เกือบทุกสถานที่นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับนักกีฬาที่เพิ่งฟื้นจากการบาดเจ็บเพราะไม่สามารถเคลื่อนอวัยวะบางส่วนได้เต็มที่


2. การออกกำลังกายแบบไอโซโทนิค ( Isotonic Exercise ) หมายถึงการออก

กำลังกายแบบมีการ ยืด หดตัว ของกล้ามเนื้อ ชนิดที่ความยาวของกล้ามเนื้อมีการเปลี่ยนแปลงและอวัยวะมีการเคลื่อนไหวขณะออกกำลัง เป็นการบริหารกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยตรง แบ่งการทำงานของกล้ามเนื้อออกเป็น 2ลักษณะ คือ

2.1. คอนเซนตริก ( Concentric ) คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อชนิดที่ความ

ยาวของกล้ามเนื้อหดสั้นเข้าทำให้น้ำหนักเคลื่อนเข้าหาลำตัว เช่น การยกน้ำหนักเข้าหาลำตัวท่าวิดพื้นขณะที่ลำตัวลงสู่พื้น

2. 2. เอคเซนตริก ( Excentric ) คือการหดตัวของกล้ามเนื้อชนิดที่มีการเกร็ง

กล้ามเนื้อและความยาวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น เช่น การยกน้ำหนักออกห่างจากลำตัว ท่าวิดพื้นในขณะยกลำตัวขึ้น

3. ไอโซคิเนติก ( Isokinatic Exercise ) หมายถึง การออกกำลังกายชนิดที่การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงเวลาของการเคลื่อนไหว เช่น การขี่จักรยานวัดงาน การก้าวขึ้นลงของฮาร์วาร์ด ( Harvard step test ) หรือการใช้เครื่องมืออื่น ๆ เข้าช่วย

4. การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค ( Anaerobic Exercise ) หมายถึง การออกกำลังกายแบบไม่ต้องใช้ออกซิเจน หรือในขณะที่ออกกำลังกายแทบไม่ต้องหายใจเอาอากาศเข้าสู่ปอดเลย เช่น การวิ่งระยะสั้น การกระโดดสูง ทุ่มน้ำหนัก เป็นต้น การออกกำลังกายแบบนี้ส่วนใหญ่จะปฏิบัติกันในหมู่นักกีฬาที่ทำการฝึกซ้อมหรือแข่งขันจึงไม่เหมาะกับบุคคลธรรมดาทั่วไป

5. การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ( Aerobic Exercise ) หมายถึง การออก

กำลังกายชนิดที่ต้องใช้ออกซิเจน หรือมีการหายใจ เข้า – ออก ในขณะออกกำลังกาย เป็นการบริหารกายเพื่อความสูงสุดในการรับออกซิเจน การออกกำลังกายแบบนี้เป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ตลอดจนวงการแพทย์ เพราะการออกกำลังกายแบบนี้ จะสามารถบ่งบอกถึงสมรรถภาพทางกายของบุคคลนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทำการทดสอบได้จากอัตราการเต้นของหัวใจ หรือความดันโลหิต การออกกำลังกายแบบนี้ได้แก่ การว่ายน้ำ การวิ่งจ๊อกกิ้งการเดิน เป็นต้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ยังมีผลดีต่อทางด้านร่างกายอีกหลายอย่าง คือ

5.1 ได้ปริมาณอากาศเข้าสู่ปอดมากขึ้นเพราะอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น

5.2 ประสิทธิภาพในการสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น

5.3 ช่วยลดปริมาณไขมันในร่างกายได้เป็นอย่างดี

5.4 ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอลในเลือดลงได้

5.5 ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ

5.6 เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก