ความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย

ความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย

คำว่าสมรรถภาพทางกายยังมีคนเข้าใจที่แตกต่างกันไปต่างๆ นาๆ บางคนก็เข้าใจว่า สมรรถภาพทางกายก็คือความสมบูรณ์ของร่างกาย คือการที่สามรถเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้ดี เล่นได้เก่ง บางคนก็เข้าใจว่าเป็นความสมบูรณ์ของร่างกายที่จะประกอบกิจกรรมหรือทำงานในชีวิตประจำวันได้ดีมีประสิทธิภาพ สมรรถภาพทางกายมีคนให้ความหมายไว้มากมายและความหมายต่างเหล่านั้นก็ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ให้ความหมายหรือคำจำกัดความว่ามาจากสาขา หรือวงการใด เช่น วงการพลศึกษา การกีฬา วงการแพทย์ หรือวงการอื่นๆ

แฮริสัน คล๊าค

สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกาย (physical ability) ที่จะประกอบกิจกรรมหนัก (intensive activity)ได้เป็นระยะเวลานาน (long period) โดยไม่มีการพักและได้ผลดี (high quality) ยกตัวอย่างเช่น ชายสองคนเริ่มลงมือตัดต้นไม้ในลักษณะเดียวกัน เมื่อเวลาเท่าๆ กัน ปรากฎว่า ชายคนแรกตัดไปได้ 10 ท่อน ก็หมดแรงขอหยุด ในขณะเดียวกันชายคนที่สองยังสามารถตัดต่อไปได้อีกและหยุดเมื่อตัดได้ 20 ท่อน เมื่อเปรียบทั้งสองคนนี้จะทราบได้ทันทีว่า ชายคนที่สองมีสมรรถภาพทางกายดีกว่าคนแรก (วิชัย วนดุรงค์วรรณ:2535)

โดนัล เค แมทธิวส์


สมรรถภาพทางกายหมายถึง ความสามามารถของแต่ละบุคคลที่จะประกอบกิจกรรมใดก็ตามที่ต้องอาศัย การทำงานของกล้ามเนื้อ (วิชัย วนดุรงค์วรรณ:2535)


รอเรนซ์ และโรแนลด์

สมรรถภาพทางกายหมายถึง ส่วนหนึ่งของผลรวมของความสมบูรณ์ทางกาย คือ สมรรถภาพทางจิต อารมณ์ และสมรรถภาพทางสังคม สมรรถภาพทางกายมิได้เป็นเพียงความสามารถทางด้านร่างกาย ซึ่งหมายถึงการมีกายภาพที่สมบูรณ์ หรือรูปทรงที่สมส่วนเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า สมรรถภาพทางกาย เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ทางกาย (วิชัย วนดุรงค์วรรณ:2535) 


นิดสัน และเจเวทท์

สมรรถภาพทางกายหมายถึง ความสามารถทางกายของแต่ละคนที่จะประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยไม่เกิดความเหฯ็ดเหนื่อย หรือความอ่อนเพลีย ยังมีพลังและความแข็งแรงเหลือไว้พอที่จะประกอบกิจกรรมพิเศษ หรือกิจกรรมที่ต้องทำในกรณีฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย(วิชัย วนดุรงค์วรรณ:2535) 


ฮอริส เอฟ เฟส

สมรรถภาพทางกายหมายถึง ผลรวมแห่งความสามารถของร่างกาย อันประกอบด้วยความแข็งแรง ความทนทาน ความเร็ว พลังและความว่องไว (วิชัย วนดุรงค์วรรณ:2535) 


พิชิต ภูตจันทร์

สมรรถภาพทางกายหมายถึง สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถของบุคคลในอันที่จะใช้ระบบต่างๆ กระทำกิจกรรมใดๆ อันเกี่ยวกับการแสดงออก ซึ่งความสามารถทางด้านร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือได้หนักหน่วง เป็นเวลาติดต่อกันโดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้ปรากฏ และสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว (พิชิต ภูติจันทร์:2547) 


สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์

สมรรถภาพทางกายหรือความสมบูรณ์ หมายถึง ความพร้อมทางด้านร่างกายของนักกีฬา ซึ่งสามารถที่จะเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย : 2536)