อิเหนา เล่ม ๕ บทละครพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

"อิเหนา" เป็นนิทานที่เล่ากันมากในประเทศชวา (อินโดนีเซีย) บางทีเรียกนิทานปันหยี เป็นนิทานอิงประวัติศาสตร์ มีเค้าโครงเรื่องจากพงศาวดารชวา มีมากมายหลายสำนวน นิทานอิเหนา สันนิษฐานว่าเข้ามาในประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยหญิงเชลยปัตตานีผู้เป็นข้าหลวงรับใช้เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เล่าถวาย จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองทรงแต่งเป็นบทละครเรียกว่า อิเหนาเล็ก (อิเหนา) และ อิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ดังมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระราชนิำพนธ์อิเหนาเป็นบทละครรำ ซึ่งได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2459 ว่าเป็นยอดแห่งบทละครรำก เพราะเป็นหนังสือที่แต่งดี มีลีลาภาษาที่สละสลวยและงดงาม ทั้งยังให้ความรู้ด้านประเพณีไทยโบราณอีกด้วย จึงควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้าให้สืบทอดคงอยู่เป็นมรดกทางวรรณกรรมของชาติสืบไป