โอห์มมิเตอร์แบบขนาน

 โอห์มมิเตอร์แบบอันดับเป็นการนำหลักการของกระแสผ่านแอมมิเตอร์ และจำกัดกระแสให้ผ่านพอดี โดยตัวต้านทานปรับค่าได้ เมื่อนำตัวต้านทานที่ไม่ทราบค่ามาต่ออันดับ ทำให้ค่าความต้านทาน ในวงจร โอห์มมิเตอร์อันดับ เพิ่มขึ้นกระแสจะไหลผ่านมิเตอร์ลดลง เมื่อปรับแต่งหน้าปัดให้เป็นสเกลโอห์ม ก็สามารถอ่านค่าความต้านทาน ที่วัดออกมา ได้เป็นโอห์ม แต่โอห์มมิเตอร์แบบอันดับจะมีข้อเสียคือ วัดค่าความต้านทานต่ำๆ ได้ไม่ดี เพราะการอ่านค่าได้ไม่ละเอียด จะวัดค่าได้ดีเฉพาะความต้านทานปานกลาง และความต้านทานสูง

             จากข้อเสียของโอห์มมิเตอร์แบบอันดับตรงที่วัดค่าความต้านทานต่ำไม่ได้ เพราะจากค่าความต้านทานของขดลวด เคลื่อนที่ของ มิเตอร์มีค่าความต้านทานสูง จึงทำให้นำไปวัดค่าความต้านทานต่ำๆ ไม่ได้ ดังนั้นการดัดแปลงให้ ห์มมิเตอร์วัด ค่าความต้านทานต่ำได้ จึงต้องทำให้ค่าความต้านทานของขดลวดต่ำลง การทำโดยหาค่าตัวต้านทานทราบค่ามีความต้านทานต่ำลง จึงสามารถนำไปวัดค่าความต้านทานต่ำได้ โอห์มมิเตอร์แบบนี้เรียกว่า โอห์มมิเตอร์แบบปรับแบ่งแรงดัน หรือแบบโพเทนทิโอมิเตอร์ การปรับเปลี่ยนย่านการวัดค่าความต้านทาน ทำได้โดยเปลี่ยนค่าความต้านทานมาต่อขนาน กับขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์

              โอห์มมิเตอร์ชนิดที่สามารถวัดค่าความต้านทานได้หลายย่านวัด เป็นโอห์มมิเตอร์ที่ดัดแปลงมาจากโอห์มมิเตอร์แบบ ปรับแบ่งแรงดันนั่นเอง โดยเพิ่มค่าความต้านทานค่าต่างๆ เข้าไป และเลือกย่านวัดด้วยซิเล็กเตอร์สวิตซ์

             โอห์มมิเตอร์แบบขนาน คือโอห์มมิเตอร์ที่มีขั้วต่อวัดความต้านทานที่ไม่ทราบค่า ต่อขนานกับดาร์สันวาล์มิเตอร์ โครงสร้างเบื้องต้นของโอห์มมิเตอร์แบบขนาน ประกอบด้วยดาร์สันวาล์มิเตอร์ ต่ออันดับกับแบตตเตอรี่ ( ถ่านไฟฉาย ) ค่าต่ำ ต่ออันดับกับตัวต้านทานปรับค่าได้ ต่ออันดับกับตัวต้านทานคงที่วยป้องกันขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์ชำรุด และดาร์สันวาล์มิเตอร์ จะต่อขนานกับตัวต้านทานไม่ทราบค่า แสดงวงจรดังรูป

 

             

             จากรูป เป็นวงจรเบื้องต้นของโอห์มมิเตอร์แบบขนาน มีจุดต่อ X , Y เป็นจุดต่อไว้วัดตัวต้านทานไม่ทราบค่า ก่อนการวัดตัวต้านทานที่ไม่ทราบค่า จะต้องปรับแต่งให้โอห์มมิเตอร์พร้อมใช้งาน โดยเปิดจุด X , Y ออกปรับตัวต้าน ทาน ปรับค่าได้จนเข็มมิเตอร์ชี้ที่ตำแหน่งค่าอนันตืพอดี เพราะขณะเปิดจุด X , Y หมายถึงตัวต้านทานท ี่ไม่ทราบค่า จะทำการวัดมีค่าความต้านทานป็นอนันต์   จากรูปข้างบน เป็นการนำโอห์มมิเตอร์แบบขนาน ไปต่อวัด ความต้านทาน ไม่ทราบค่า ( RX ) ซึ่งก่อนการต่อ RX จะมีกระแสไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์เต็มสเกล เมื่อต่อ RXเข้าไปทำให้ค่า ความต้านทานรวมที่จุด X , Y (RM // RX ) เปลี่ยนแปลง มีกระแสไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์เป็น I0 และกระแสไหลผ่าน RX เป็น IX ทำให้เข็มมิเตอร์ชี้ค่าเปลี่ยนแปลง ตามค่ากระแสที่ไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์ และถ้าช้อตจุด X , Y เข้าด้วยกัน จะไม่มีกระแสไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์เลย

จากรูปจะได้สมการดังนี้

IFS = E / RM + RS + RADJ ……………สมการที่ ( 1 )

จากรูปที่ 2 จะได้สมการดังนี้

RXY = RM // RX = (RM x RX) / (RM + RX).....................สมการที่ (2)

 

IO = E / ( RS + RADJ +RXY )

เมื่อ IFS = กระแสไฟตรงเต็มสเกล หน่วยแอมแปร์ ( A )

                                 Io = กระแสไฟตรงไหลผ่านมิเตอร์ขณะต่อ RX หน่วยเป็นแอมแปร์ ( A )

                      E = แรงดันไฟตรงจากแบตเตอรี่ในวงจร หน่วยเป็นโวลต์ ( V )

               RM = ความต้านทานเดิมของมิเตอร์ หน่วยเป็นโอห์ม ( W )

                    RS = ความต้านทานอันดับป้องกันกระแสจำนวนมากผ่านมิเตอร์ หน่วยเป็น โอห์ม ( W )

RADJ = ความต้านทานปรับค่าได้ใช้จำกัดกระแส หน่วยเป็นโอห์ม ( W )

RX = ความต้านทานไม่ทราบค่า หน่วยเป็นโอห์ม ( W )

สเกลหน้าปัดโอห์มมิเตอร์แบบขนาน

            การเปลี่ยนสเกลหน้าปัดของมิเตอร์ให้เป็นสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบขนานทำได้โดยใช้หลักการหาตำแหน่ง

คล้ายกับการหาสเกลหน้าปัดของโอห์มมิเตอร์แบบอันดับนั่นเอง แตกต่างกันตรงสมการที่ใช้ต่างกัน โอห์มมิเตอร์ แบบขนานจะใช้สมการที่ 2หาค่ากระแสผ่านขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์ ในขณะมีตัวต้านทานที่จะมาต่เข้าที่จุด X , Y ถูกกำหนดค่าจากค่าน้อยไปหาค่ามากเป็นลำดับ ได้แล้วนำค่าความต้านทานต่างๆ ที่คำนวณค่าได้กำหนดลง ในตารางแทนค่ากระแส ถ้าคำนวณอย่างละเอียด ก็จะได้สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบขนานละเอียด ความแตกต่างของสเกลระหว่างโอห์มมิเตอร์แบบอันดับกับโอห์มมิเตอร์แบบอันดับกับโอห์มมิเตอร์แบบขนาน ตรงที่ตำแหน่งค่าความต้านทานที่แสดงบนสเกลจะตรงข้ามกัน โอห์มมิเตอร์แบบอันดับ 0 โอห์มมิเตอร์ อยู่ทางขวามือ ส่วนอินฟี้นิตี้โอห์ม อยู่ทางซ้ายมือ แต่สำหรับโอห์มมิเตอร์แบบขนาน 0 โอห์ม จะอยู่ทางซ้ายมือ ส่วน อินฟี้นิตี้โอห์ม จะอยู่ทางขวามือ สามารถได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

           ต่อไปนี้เป็นรูปวงจรตัวอย่างจากรูป จะต้องทำการคำนวณก่อน จากสูตรที่ให้ไปข้างบน แล้วจึงจะได้รูปหน้าปัดสเกล ของ โอห์มมิเดตอร์แบบขนาน

 

 

      จากรูปวงจรต่อไปนี้สามารถเขียนเป็นหน้าปัดสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบขนาน โดยจะต้องทำการ คำนวณก่อน

โดย ใช้สูตรที่ให้ไว้ข้างต้น และหน้าปัดสเกลจะออกมาเป็นดังรูปข้างล่างนี้